เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้ประกาศปรับขึ้นค่าโดยสารประจำทางอีก 1 บาท โดยรถธรรมดา หรือรถร้อน ค่าบริการเพิ่มจาก 8 บาท เป็น 9 บาท รถปรับอากาศจาก 11-23 บาท เป็น 12-24 บาท
สำหรับการปรับราคาค่าโดยสารครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ปรับขึ้นค่าโดยสารอัตรา 1 บาท ซึ่งมีผลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา ส่วนการปรับค่าโดยสารในระยะที่ 2 จะมีการเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เบื้องต้นมีการศึกษาไว้ว่าราคาที่เหมาะสมอาจจะอยู่ที่ 1 บาท เมื่อรวมกับระยะแรกจะอยู่ที่ 2 บาท แต่คงจะไม่ถึง 3 บาท ตามที่ผู้ประกอบการรถร่วมบริการต้องการ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาต้นทุนเสียก่อน เบื้องต้นพบว่าผู้ประกอบการให้บริการรถร่วมจะอยู่ได้หากค่าโดยสารรถร้อนอยู่ที่ราคา 10 บาทต่อคนต่อเที่ยว แต่รถธรรมดา (รถเมล์แดง) ยังราคา 6.50 บาท เท่านั้น เช่นเดียวกับรถปรับอากาศ (รถเมล์ส้ม) ยังเริ่มต้นที่ 12 บาท ซึ่งหากจะมีการปรับค่าโดยสาร ต้องรอนโยบายจากกระทรวงคมนาคมเสียก่อน
นอกจากนี้ยังมี “การยกเลิกรถเมล์-รถไฟฟรี” แก่บุคคลทั่วไป โดยจะให้ผู้มีรายได้น้อยซึ่งมีรายได้เท่ากับ 2,422 บาทต่อคนต่อเดือน ใช้ได้เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่คำนวณมาจากการเปรียบเทียบรายได้ต่อหัวของประชากรกับเส้นความยากจน ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2554
ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ปี 2557 เศรษฐกิจเติบโต 0.7 % และปีนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าจีดีพีจะโต 3.5 – 4.5% เงินเฟ้อ 0-1% แม้เงินเฟ้อจะต่ำแต่ประชาชนยังกังวลถึงค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
จากข้อมูล ณ มกราคม 2558 ของ ระบบสถิติทางการทะเบียน ระบุว่า ในกรุงเทพมหานครมีประชากรอยู่ทั้งสิ้น 5,693,492 คน ทว่าตัวเลขนี้ยังไม่รวมจำนวนประชากรแฝงอย่างแรงงานข้ามชาติ แรงงานจากต่างจังหวัด และคนไร้บ้านที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบอีกจำนวนมาก ซึ่งมีการคาดการณ์จากหลายฝ่ายว่า หากนับรวมประชากรแฝงในกรุงเทพฯ แล้ว จะมีประชากรราว 10 ล้านคนเลยทีเดียว
ในเมืองใหญ่ซึ่งผู้คนล้วนเข้ามาทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงชีพเช่นนี้ จำเป็นต้องมีการบริการขนส่งสาธารณะที่เพียงพอและมีราคาที่เหมาะสมกับรายได้ของคนเมืองเมือง ไทยพับลิก้าจึงขอนำเสนอรายจ่ายด้านค่าเดินทางที่คนเมืองต้องเจอ โดยรวมค่าใช้จ่ายการเดินทางในโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และพื้นที่ต่อเนื่อง รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถโดยสารไม่ประจำทาง(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง
ในหมวดนี้มีรถอยู่ 4 ประเภท คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟธรรมดา
(1) รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ให้บริการตั้งแต่ 06.00–24.00 น. เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทยที่ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโครงการที่ลงทุนโดยเอกชน 100% มีระยะทางในการให้บริการรวม 36.9 กม. 34 สถานี ราคา 10-52 บาท
(2) รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที หรือรถไฟใต้ดิน (MRT) ให้บริการตั้งแต่ 06.00-24.00 น. ราคาเริ่มต้น 16 บาท สูงสุด 42 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนเด็ก/ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 21 บาท
(3) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ให้บริการตั้งแต่ 06.00–24.00 น. เป็นรถไฟฟ้าที่เชื่อมกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มี 2 สาย คือ City line และ Express line โดยสาย City line ราคา 15-45 บาท สาย Express line ราคา 90-150 บาท
รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ SA City Line ให้บริการระหว่างสถานีพญาไทถึงสถานีสุวรรณภูมิ โดยจอดระหว่างทางอีก 6 สถานี ได้แก่ สถานีราชปรารภ สถานีมักกะสัน สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง และสถานีลาดกระบัง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที
ส่วนรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-มักกะสัน (Makkasan Express Line) ตั๋วโดยสารไป-กลับ ราคา 150 บาท ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวราคา 90 บาท เส้นทางสถานีมักกะสันถึงสถานีสุวรรณภูมิ ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 15 นาที
และรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พญาไท (Phaya Thai Express Line) ตั๋วโดยสารไป-กลับ ราคา 150 บาท ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวราคา 90 บาท ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 17 นาที
(4) รถไฟธรรมดา โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย
การเดินทางจากจังหวัดรอบนอกกรุงเทพฯ ยกตัวอย่างการเดินทางจาก จ. นครปฐม-กรุงเทพฯ มีรถไฟไว้บริการ 4 ประเภท คือ รถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ ราคา 14-60 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียม)
รถธรรมดา เป็นรถที่ไม่เน้นการให้บริการระยะทางไกล เป็นรถชั้น 3 เป็นส่วนมาก น้อยขบวนนักมักพบชั้น 2 และจะหยุดเกือบตลอดเส้นทาง
รถเร็ว เป็นรถที่เน้นบริการทางไกลตั้งแต่ 400 กม. ขึ้นไป มีเฉพาะชั้น 2 และ 3 เท่านั้น ในบางขบวนที่เป็นรถกลางคืนจะมีรถนอนด้วย
รถด่วน เป็นรถที่เน้นการให้บริการระยะทางไกล หยุดน้อยแต่ไม่ถือว่าน้อยมาก กลางๆ มีรถหลายแบบให้บริการทั้งชั้น 1 2 และ 3 ในขบวนนั้นๆ
รถด่วนพิเศษ เป็นรถที่เน้นการให้บริการระยะไกล หยุดน้อย และมีรถชั้นดีๆ ให้บริการ โดยเฉลี่ยตลอดเส้นทางจะหยุดรับส่งผู้โดยสารประมาณ 20-30% ของเส้นทาง
รถท้องถิ่นและรถชานเมือง ใช้สำหรับเดินทางระยะใกล้
รถโดยสารประจำทาง
ในหมวดรถโดยสารประจำทาง มี 4 ประเภท คือ รถโดยสารบีอาร์ที รถโดยสารประจำทาง รถตู้ร่วมบริการ
(1) รถโดยสารบีอาร์ที (BRT) ให้บริการตั้งแต่ 6.00-24.00 น. ราคาเริ่มต้น 12-20 บาท
เส้นทางการเดินรถเริ่มจากแยกถนนสาทร–ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า BTS ช่องนนทรี รองรับผู้โดยสารจากย่านธุรกิจบริเวณสาทรและสีลม BRT จะวิ่งไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ผ่านถนนจันทน์ เข้าสู่แยกนราราม 3 เลี้ยวขวาเข้าถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่แยกถนนรัชดาภิเษก-ถนนราชพฤกษ์

(2) รถโดยสารประจำทาง (ขสมก.) มีทั้งรถที่ให้บริการตลอดทั้งคืนและรถที่บริการตลอดวัน ถือเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมมากที่สุด ซึ่งล่าสุด ได้มีการปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 1 บาท โดยรถธรรมดา หรือรถร้อน ค่าบริการเพิ่มจาก 8 บาท เป็น 9 บาท รถปรับอากาศจาก 11-23 บาท เป็น 12-24 บาท
สำหรับการปรับราคาค่าโดยสารครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ปรับขึ้นค่าโดยสารอัตรา 1 บาท ซึ่งมีผลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา ส่วนการปรับค่าโดยสารในระยะที่ 2 จะมีการเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เบื้องต้นมีการศึกษาไว้ว่าราคาที่เหมาะสมอาจจะอยู่ที่ 1 บาท เมื่อรวมกับระยะแรกจะอยู่ที่ 2 บาท แต่คงจะไม่ถึง 3 บาท ตามที่ผู้ประกอบการรถร่วมบริการต้องการ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาต้นทุนเสียก่อน เบื้องต้นพบว่าผู้ประกอบการให้บริการรถร่วมจะอยู่ได้หากค่าโดยสารรถร้อนอยู่ที่ราคา 10 บาทต่อคนต่อเที่ยว
แต่รถธรรมดา (รถเมล์แดง) ยังราคา 6.50 บาท เท่านั้น เช่นเดียวกับรถปรับอากาศ (รถเมล์ส้ม) ยังเริ่มต้นที่ 12 บาท ซึ่งหากจะมีการปรับค่าโดยสาร ต้องรอนโยบายจากกระทรวงคมนาคมเสียก่อน
(3) รถตู้ร่วมบริการ ราคาตั้งแต่ 10-25 บาท ตามระยะทาง เพิ่ม 5 บาท หลัง 22.00 น. และคิดค่าโดยสาร 30 บาท กรณีขึ้นทางด่วน
(4) รถสองแถว ราคา 7 บาท
แม้ว่าชาวกรุงเทพฯ จะยังไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาค่าโดยสารเท่าใดนัก แต่สิ่งหนึ่งที่คนเมืองในปี 2558 นี้ ต้องเจออย่างแน่นอนในยุครัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จัทร์โอชา คือ “การยกเลิกรถเมล์-รถไฟฟรี” แก่บุคคลทั่วไป โดยจะให้ผู้มีรายได้น้อยซึ่งมีรายได้เท่ากับ 2,422 บาทต่อคนต่อเดือน ใช้ได้เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่คำนวณมาจากการเปรียบเทียบรายได้ต่อหัวของประชากรกับเส้นความยากจน ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2554
“จากการปรับปรุงเทคนิควิธีการจัดทําเส้นความยากจนใหม่ ได้ส่งผลให้เส้นความยากจนมีค่าสูงขึ้น และส่งผลให้สัดส่วนคนจนสูงขึ้นด้วย โดยปี 2554 เส้นความยากจนใหม่เท่ากับ 2,422 บาท/คน/เดือน และสัดส่วนคนจนร้อยละ 13.2 ของประชากรทั้งประเทศ เมื่อเทียบกับเส้นความยากจนทางการชุดเดิม เท่ากับ 1,781 บาท/คน/เดือน และสัดส่วนคนจนร้อยละ 5.5 ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้เส้นความยากจนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.0 สาเหตุเกิดจากการปรับเส้นความยากจนในหมวดสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร 23.2% การปรับเส้นความยากจนด้านอาหาร 10.4% และการเปลี่ยนค่าถ่วงน้ําหนักประชากรใหม่ 2.4%”
โดยเบื้องต้นได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผู้ใช้บริการฟรี ได้แก่ ผู้พิการ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี ทหารผ่านศึก พระภิกษุ สามเณร และแม่ชี และ 2. กลุ่มผู้ใช้บริการที่ได้รับส่วนลดค่าโดยสาร 50% ได้แก่ ผู้มีรายได้น้อย นักเรียน นิสิตนักศึกษา และกลุ่มคนว่างงาน
ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาอีก 5 เดือนที่เหลือจากนี้ ทางกระทรวงคมนาคมก็จะนำเรื่องไปหารือกับกระทรวงแรงงาน เพื่อหารือรูปแบบเกี่ยวกับการจัดทำบัตรสำหรับผู้มีรายได้น้อยใช้เป็นบัตรแสดงตนว่าเป็นผู้มีรายได้น้อยแสดงสิทธิ์ส่วนค่าโดยสารลด 50% รวมไปถึงการคำนวณจำนวนผู้มีรายได้น้อยในระบบทั้งหมดที่อยู่ในข่ายใช้สิทธิ์ว่ามีจำนวนเท่าใด
เรือ

หมวดเรือ มี 3 ประเภท คือ เรือโดยสารคลองแสนแสบ เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือข้ามฟาก
(1) เรือโดยสารคลองแสนแสบ ให้บริการตั้งแต่ 05.30-20.30 น. (วันหยุดสุดสัปดาห์ 19.00 น.) ราคา 10-20 บาท ตามระยะเส้นทาง




(3) เรือข้ามฟากเจ้าพระยา ราคา 3 บาท
รถโดยสารไม่ประจำทาง
จากข้อมูลของ ผศ. ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือ Urban Design and Development Center (UddC) ที่ระบุว่า ลักษณะโครงข่ายถนนกรุงเทพฯ นั้นมีลักษณะการเดินทางจากที่สาธารณะ เช่น ทางรถประจำทาง รถไฟ ไปสู่ที่รโหฐานหรือที่อยู่อาศัยโดยตรง ขนส่งสาธารณะเข้าไปไม่ถึง ทำให้รถจักรยานยนต์รับจ้างและขนส่งสาธารณะขนาดเล็กอื่นๆ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากซอยที่แยกจากถนนสายหลักนั้นลึกมากเกินกว่าจะเดินถึงได้ รวมทั้งเดินลำบาก บางที่ไม่มีทางเท้าหรือทางเท้าแคบมาก การเดินทางด้วยยานยนต์ที่ไม่มีราคากำหนดไว้อย่างชัดเจนจึงมีความจำเป็นมากขึ้นเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว

หมวดรถโดยสารไม่ประจำทาง มี 4 ประเภท คือ แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ตุ๊กตุ๊ก และรถสองแถว
(1) แท็กซี่ (taxi)
กรณีรถไม่สามารถเคลื่อนที่ หรือเดินรถต่อไปได้เกินกว่า 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตรานาทีละ 2.00 บาท
(2) มอเตอร์ไซค์รับจ้าง (motorcycle taxi) เริ่มต้น 10 บาท แล้วแต่ระยะทาง
(3) ตุ๊กตุ๊ก (tuktuk) แล้วแต่ตกลงกัน ตั้งแต่ 20 บาท ถึงหลักร้อยบาท