
ที่มาภาพ : www.thaigov.go.th/
‘ภูมิธรรม’ อนุมัติคืน ‘Cash Rebate’ ให้กองถ่ายต่างชาติ 344 ล้าน-มติ ครม.เห็นชอบสรรพากรเข้าร่วม ‘STTR MLI’ เก็บภาษีนักลงทุนข้ามชาติ 9%-จัดงบกลาง 3,500 ล้าน เติมเงิน “กองทุนประชารัฐฯ” -ตั้งงบฯลับ 30 ล้าน แก้ปัญหายาเสพติด-จัดงบฯ 600 ล้าน ให้กรมทางหลวงจ่ายค่า K ผู้รับเหมา-เห็นชอบ-เห็นชอบแบ่งงานรองนายกฯใหม่
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุม ครม. เสร็จสิ้น นายภูมิธรรม ไม่ได้แถลงข่าว แต่มอบหมายให้นางสาวนัทรียา ทวีวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล
นางสาวนัทรียา ทวีวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุม ครม.วันนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนากยรัฐมนตรี ได้หยิบยกประเด็นเรื่องสถานการณ์น้ำขึ้นมาหารือเป็นวาระแรก เนื่องจากเป็นเรื่องสาธารณชนให้ความสนใจ และส่งผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งที่ประชุม ครม.ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางว่าสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาซ้ำซากและเรื้อรังมานาน โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ เรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือไม่มีพื้นที่รองรับน้ำที่จะสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ รวมทั้งเกิดสถานการณ์น้ำหลาก ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นทุกๆปี และก็ต้องจัดงบประมาณมาช่วยเหลือเยียวยาประชาชนได้รับผลกระทบตามมาทุกๆปีที่มีประมาณฝนมาก ซึ่งในปีนี้ที่มีปริมาณฝน และมวลน้ำเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยฝนที่ตกในช่วงนี้แตกต่างจากช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ภาวะโลกร้อน หรือ “Climate Change” ที่นับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
ดังนั้น ที่ประชุม ครม.จึงมีการหารือกันถึงแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ระดับ 1. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในตอนนี้ คือ เราจะบริหารการระบายน้ำอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบลุกลามไปมากกว่านี้ 2. หลังจากที่ระดับน้ำลดลงแล้ว รัฐบาลจะต้องเตรียมมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนอย่างไรบ้าง และ 3. การแก้ไขปัญหาในระยะยาวนั้นจะต้องผลักดันเรื่องการบริหารจัดการน้ำขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ หลังจากมี ครม.ชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว ก็จะนำเรื่องนี้บรรจุเข้าที่ประชุม ครม.เป็นวาระเร่งด่วน เพื่อที่จะเร่งดำเนินการต่อไป
“ตอนนี้สถานการณ์น้ำท่วมในบางพื้นที่เริ่มคลี่คลายแล้ว แต่หลายพื้นที่ก็ยังมีปัญหาน้ำท่วมที่หนักอยู่ เช่น สุโขทัย ค่อนข้างที่จะหนัก โดยคันกันน้ำต่าง ๆที่ใช้มา เมื่อมาเจอกับมวลน้ำขนาดใหญ่ ก็ไม่สามารถรองรับได้ เกิดการพังทลายก็มี ส่วนคันน้ำที่เรากำลังสร้างอยู่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดิน ที่ประชุม ครม.จึงมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปร่วมกันแก้ไขปัญหา” นางสาวนัทรียา กล่าว
ตั้งศูนย์รับมือน้ำท่วม พร้อมจัดงบกลางเยียวยา
นางสาวนัทรียา กล่าวต่อว่า จากนั้นที่ประชุม ครม.ได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการสถานการณ์อุทกภัย โดยการบริหารงานจะใช้รูปแบบของคณะกรรมการ แต่มีอำนาจหน้าที่ในการใช้งบประมาณที่ชัดเจน โดยมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธาน และคณะกรรมการที่เหลือจะเป็นตัวแทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการภายใต้คำสั่งดังกล่าวนี้นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ที่สำคัญได้แก่ 1. การบริหารจัดการน้ำ การระบายน้ำการ การแจ้งเตือนประชาชยน เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบข่าวสารว่าขณะนี้ปริมาณน้ำกำลังไหลมากน้อยแค่ไหน เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระตนก “รัฐบาลยืนยันปริมาณน้ำ หรือ มวลน้ำในปีนี้ไม่เหมือนปี 2554 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้คำนวณปริมาณของมวลน้ำทั้งหมดแล้ว ยืนยันว่าไม่ได้มีปริมาณมากถึงขนาดนั้น” 2. คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ดูแล ช่วยเหลือเยียวยาประชาชน ซึ่งจะอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหลัก โดยนายภูมิธรรมจะเป็นผู้พิจารณามาตรการต่างๆที่แต่ละหน่วยงานทำเรื่องเสนอขึ้นมา เพื่อขอใช้งบกลางไปใช้บรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบอุทกภัย
“สำหรับจังหวัดที่ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ทุกจังหวัดก็จะมีงบฯทดลองจ่ายจังหวัดละ 20 ล้านบาท หากไม่เพียงพอ ก็ให้หน่วยงานต้นสังกัดทำเรื่องเสนอคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อของบกลางได้ตามระเบียบและขั้นตอนของกฎหมายต่อไป กล่าวโดยสรุปคณะกรรมการชุดนี้จะมีตั้งแต่ป้องกัน แก้ไขเยียวยา และฟื้นฟูหลังน้ำลด ยกตัวอย่าง จังหวัดน่านระดับน้ำลดลงแล้ว ก็ต้องมาดูในเรื่องของการฟื้นฟูเยียวยา ส่วนจังหวัดที่น้ำยังมาไม่ถึง เช่น จังหวัดนครสวรรค์ ก็ต้องหามาตรการป้องกัน และแก้ไขไป ไม่ใช่ว่าจะทำงานแต่เชิงรับอย่างเดียว” นางสาวนัทรียา กล่าว
คืน ‘Cash Rebate’ ให้กองถ่ายต่างชาติ 344 ล้าน
นางสาวนัทรียา กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือ จำเป็น จำนวน 344,652,887.84 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. มาตรการฯ (Cash Rebate ร้อยละ 15 – 20) ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีภาพยนตร์เข้าร่วมมาตรการดังกล่าวแล้ว จำนวน 71 เรื่อง สร้างรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ประมาณ 16,218 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ภายใต้มาตรการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว จำนวน 38 เรื่องรวมเป็นเงินจำนวน 1,056.69 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณประจำปีของ กก. (กรมการท่องเที่ยว) ทั้งนี้ กก. ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ ประมาณปีละ 160 – 180 ล้านบาท
2. กก. แจ้งว่า ปัจจุบันมีภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำเสร็จสิ้นในช่วงปี พ.ศ. 2565 – 2566 และได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์และช่องทางออนไลน์เรียบร้อยแล้ว จำนวน 7 เรื่อง โดยได้นำเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาใช้จ่ายและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยประมาณ 1,865 ล้านบาท ซึ่งกระจายรายได้ไปสู่ทีมงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 22,500 คน ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนสร้างผลกระทบในระบบเศรษฐกิจอัตรา 2.8 เท่า (ประมาณ 5,222 ล้านบาท) โดยภาพยนตร์ทั้ง 7 เรื่องดังกล่าว ได้ผ่านการตรวจสอบเอกสารทางการเงินและได้รับอนุมัติเงินคืนร้อยละ 20 จากคณะกรรมการพิจารณาการคืนเงิน
สำหรับมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว โดยมีวงเงินที่ต้องคืนให้แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 344,677,540.46 บาทสรุปได้ ดังนี้
หมายเหตุ โดยที่ภาพยนตร์ทั้ง 7 เรื่อง ได้ยื่นเอกสารขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการฯ ก่อนที่กรมการท่องเที่ยวจะออกประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการ ส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 ซึ่งประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 โดยมีรายละเอียดเป็นการปรับเพิ่มกรอบวงเงินจ่ายคืนจากไม่เกิน 75 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 150 ล้านบาท ส่งผลให้ภาพยนตร์เรื่อง The Blue ได้รับอนุมัติเงินคืนไม่เกินกรอบวงเงินที่กำหนดไว้ตามประกาศฉบับเดิม คือ 75,000,000.00 บาท (ร้อยละ 2 ของวงเงิน 411,812,518.02 บาท คิดเป็น 82,362,503.60 บาท) ทั้งนี้ การขอรับสิทธิประโยชน์ภายใต้ประกาศฉบับใหม่ต้องเป็นภาพยนตร์ที่ยื่นขอรับสิทธิตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ซึ่งปัจจุบันมีภาพยนตร์จำนวน 15 เรื่อง ที่ยื่นขอรับสิทธิภายใต้มาตรการฯ แล้ว เช่น The White Lotus 3, Alien, Jurassic World 4
3. กก. ได้ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย สำหรับจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ จำนวน 7 เรื่อง ตามวงเงินดังกล่าวต่อสำนักงบประมาณ (สงป.) เรียบร้อยแล้ว โดย สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้ กก. (กรมการท่องเที่ยว) ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 344,652,887.84 บาท และให้กรมการท่องเที่ยวสมทบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 24,652.62 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 344,677,540.46 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว
4. กก. แจ้งว่า ประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศปีละเฉลี่ย 4,500 ล้านบาท (ข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2566) โดยรายได้หลักมาจากภาพยนตร์ที่เข้าร่วมมาตรการฯ สัดส่วนถึงร้อยละ 50 – 60 ของรายได้ทั้งหมด เมื่อภาพยนตร์ที่มีเงินลงทุนสูงเลือกเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและกระจายรายได้แก่บุคลากรและผู้ประกอบการทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทั้งในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นนักแสดงหรือทีมงานชาวไทย สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ สตูดิโอ ธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์ในการถ่ายทำ ธุรกิจการให้บริการหลังการถ่ายทำ (Post – Production) รวมไปถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากประเทศไทยไม่สามารถจัดสรรงบประมาณคืนเงินให้ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศได้เพียงพอ หรือ จ่ายเงินคืนล่าช้าจะส่งผลอย่างยิ่งต่อภาพลักษณ์ของมาตรการฯ และความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย
จัดงบฯ 600 ล้าน ให้กรมทางหลวงจ่ายค่า K ผู้รับเหมา
นางสาวนัทรียา กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มติอนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 600.35 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ของกรมทางหลวง ตามที่ กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยสาระสำคัญของเรื่องมีดังนี้
คค. รายงานว่า กรมทางหลวงได้ตรวจสอบรายการเงินชดเชยค่า K ที่ค้างชำระกับผู้รับจ้างที่ดำเนินการในโครงการก่อสร้างทางหลวงต่าง ๆ เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โครงการก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงพิเศษ โครงการก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน เป็นต้น ซึ่งมียอดค้างชำระจำนวน 170 รายการ วงเงิน 1,592.73 ล้านบาท ให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยค่า K ที่ค้างชำระดังกล่าว โดยสรุปโครงการได้ ดังนี้
สงป. ได้นำเรื่องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเห็นชอบ ให้กรมทางหลวงเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 600.35 ล้านบาท เพื่อจ่ายเป็นเงินชดเชยค่า K ที่ค้างชำระของกรมทางหลวง จำนวน 59 รายการ (ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 111 รายการ วงเงิน 992.38 ล้านบาท) โดยเบิกจ่ายในงบลงทุนลักษณะค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง สำหรับส่วนที่เหลือเห็นควรให้พิจารณาปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จากโครงการ/รายการ ที่ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์และมีงบประมาณเหลือจ่าย หรือ รายการที่หมดความจำเป็น หรือ รายการที่คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยการโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณีตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ต่อไป
การดำเนินการนี้จะเป็นการช่วยเหลือผู้รับจ้างที่ได้รับความเดือดร้อน จากการขาดสภาพคล่องทางการเงิน และเร่งรัดโครงการก่อสร้างทางหลวงต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนการดำเนินงานซึ่งจะทำให้การจราจรมีความคล่องตัวมากขึ้น ตลอดจนอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในการเดินทางในพื้นที่ ต่าง ๆ ของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ตั้งงบฯลับ 30 ล้าน แก้ปัญหายาเสพติด
นางสาวนัทรียา กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
1. เปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ที่ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จำนวน 30 ล้านบาท ไปตั้งจ่ายเป็นงบรายจ่ายอื่น “รายการเงินราชการลับ” ตามรายการ ดังนี้
-
1.1 โครงการป้องกันยาเสพติด งบเงินอุดหนุน รายการเงินอุดหนุนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 5 ล้านบาท
1.2 โครงการปราบปรามยาเสพติด งบเงินอุดหนุน รายการเงินอุดหนุน เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับและเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานยาเสพติด จำนวน 25 ล้านบาท
2. ให้ใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 30 ล้านบาท ตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามข้อ 1.1 และ 1.2
โดยสาระสำคัญ กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) นำเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ที่ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จากแผนงานบูรณาการ ป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด รายการโครงการปราบปรามยาเสพติดงบเงินอุดหนุน รายการเงินอุดหนุนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และโครงการปราบปราม ยาเสพติด รายการเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับและเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานยาเสพติดวงเงินรวม 30 ล้านบาท เป็นเงินราชการลับ เพื่อดำเนินโครงการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
1) โครงการสืบสวนหาข่าวปราบปราม และขยายผลการจับกุมเครือข่ายนักค้ายาเสพติดรายสำคัญ ตามแนวชายแดนตามมาตรา 5 (10) ของประมวลกฎหมายยาเสพติด และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง วงเงิน 13.70 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์
-
(1) เพื่อสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการในการติดตามพฤติการณ์เครือข่ายการค้ายาเสพติด โดยเฉพาะเครือข่ายการค้ายาเสพติดตามแนวชายแดนและพื้นที่จุดเน้นตามมาตรา 5 (10) ของประมวลกฎหมายยาเสพติดและสืบสวน ขยายผล ไปยังผู้อยู่เบื้องหลังและผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ทั้งในและต่างประเทศ
(2) เพื่อหาข่าวสารยาเสพติดของเครือข่ายการค้ายาเสพติด โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวชายแดนและพฤติการณ์บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในการสนับสนุนการสืบสวน ขยายผล ผู้ที่หลบหนีหมายจับ และ มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม และยึด/อายัดทรัพย์สินผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด
(3) เพื่อลดระดับปัญหาการค้ายาเสพติดและการแพร่ระบาดยาเสพติดในประเทศ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้แก่ประชาชนจากการปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังของรัฐบาล
(4) เพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ
2) โครงการข่าวกรอง เพื่อขยายผล จับกุมทำลายเครือข่ายยาเสพติดอาชญากรรมข้ามชาติ วงเงิน 16.30 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์
-
(1) เพื่อสืบสวนหาข่าวเชิงลึกและพฤติการณ์ของกลุ่มเครือข่ายการค้ายาเสพติดระดับสำคัญ ที่หลบหนีอยู่ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เครือรัฐออสเตรเลีย (ออสเตรเลีย) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ไต้หวัน มาเลเซีย และประเทศ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(2) เพื่อสนับสนุนหน่วยงานด้านความมั่นคงในการปฏิบัติการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เพื่อลดการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการส่งออกยาเสพติดไปยังประเทศอื่น ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค
(4) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้แก่ประชาชนในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังของรัฐบาลไทยและประเทศที่เกี่ยวข้อง
(5) เพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ
ทั้งนี้การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณดังกล่าว เป็นการดำเนินการภายใต้แผนงานและวัตถุประสงค์เดิมโดยไม่ทำให้เป้าหมายผลผลิต หรือ โครงการตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือ แผนงานในเชิงบูรณาการเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินราชการลับที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เรียบร้อยแล้ว โดยกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทยสำนักงบประมาณ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง ตามที่ ยธ. เสนอ
จัดงบกลาง 3,500 ล้านเติมเงิน “กองทุนประชารัฐฯ”
นางสาวนัทรียา กล่าวว่าที่ประชุม ครม.อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,500,000,000.00 บาท ให้แก่กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (กองทุนฯ) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสรรสวัสดิการให้แก่ผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 อย่างต่อเนื่องในปึงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อไป ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ โดยมีสาระสำคัญของเรื่องดังนี้
1. เหตุผลความจำเป็น : กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (กองทุนฯ) มีการจัดสรรสวัสดิการแก่ผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการฯ) ปี 2565 จำนวน 14.98 ล้านคน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 เป็นต้นมา ซึ่งมีสวัสดิการประกอบด้วย
-
1) การจัดประชารัฐสวัสดิการใหม่ สำหรับผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 ประกอบด้วย (1) วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม จากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และร้านอื่น ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด จำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน (2) วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด จำนวน 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (3) วงเงินรวมค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ จำนวน 750 บาทต่อคนต่อเดือน (4) มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า อุดหนุนค่าไฟฟ้าจำนวน 335 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน กรณีที่ใช้ไฟฟ้าเกินวงเงินที่กำหนดผู้มีสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ (ผู้มีสิทธิฯ) จะเป็นผู้รับภาระค่าไฟฟ้าทั้งหมด และ (5) มาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำประปา อุดหนุนค่าน้ำประปา จำนวน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน กรณีที่ใช้น้ำประปาเกิน 100 บาท แต่ไม่เกิน 315 บาท ผู้มีสิทธิฯ ยังคงได้รับการสนับสนุนในวงเงิน 100 บาท และจะต้องชำระส่วนที่เกิน 100 บาท ด้วยตนเอง แต่หากผู้มีสิทธิฯ มีการใช้น้ำประปาเกิน 315 บาท ผู้มีสิทธิฯ จะเป็นผู้รับภาระค่าน้ำประปาทั้งหมด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
2) การเพิ่มสวัสดิการเบี้ยความพิการ จากจำนวน 800 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นจำนวน 1,000 บาทต่อคนต่อเดือน ในเบื้องต้นเฉพาะคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ และผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป ตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563
2. ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 กองทุนฯ มียอดเงินคงเหลือ 3,264,688,361.19 บาท โดยในปึงประมาณ พ.ศ. 2567 กองทุนฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 50,015,273,900 บาท โดยเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อจัดสรรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่ผู้มีสิทธิฯ จำนวน 49,908,225,100 บาท
3. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนฯ สำหรับการจัดสรรสวัสดิการตามนัยข้อ 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566 – 31 กรกฎาคม 2567) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 46,681,222,340.42 บาท ทั้งนี้ ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2567 บัญชี “กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม 1” สำหรับใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่าย ในการจัดประชารัฐสวัสดิการที่เป็นความช่วยเหลือในการดำรงชีพแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยตามโครงการฯ ปี 2565 มีสถานะคงเหลือ 6,355,940,753.48 บาท (ข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง) โดยมีประมาณการค่าใช้จ่ายในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2567 เดือนละ 4,925,000,000 บาท จึงมีความจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,500,000,000.00 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อจัดสรรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่ผู้มีสิทธิฯ ต่อไป
4. คณะกรรมการฯ ได้มีมติในคราวการประชุม ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 เห็นชอบประมาณการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,500,000,000.00 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสรรสวัสดิการแก่ผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 ตามเหตุผลความจำเป็นข้างต้น ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือในการบรรเทาภาระค่าครองชีพแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยตามโครงการฯ ปี 2565 อย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
5. ประโยชน์และผลกระทบ เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการซึ่งเป็นผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 อย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมถึงเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566
อนุมัติงบฯ 16 ล้าน แก้ปัญหายาเสพติดลุ่มแม่น้ำโขง
นางสาวนัทรียา กล่าวว่าที่ประชุม ครม.มรีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
1. โครงการเสริมสร้าง และยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ (โครงการฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 16 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบเงินอุดหนุนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
2. ให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) มีอำนาจอนุมัติโครงการ แผนงาน และกิจกรรมภายใต้กรอบงบประมาณ งบเงินอุดหนุนรายการโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และสามารถจ่ายเงินงประมาณสนับสนุนหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้านแต่ละประเทศ เพื่อให้มีการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ตามที่ได้รับจัดสรร
โดยสาระสำคัญของเรื่องมีดังนี้
1. ยธ. (สำนักงาน ป.ป.ส.) ได้ดำเนินการตามแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหา ยาเสพติดภายใต้ข้อตกลงที่ประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม) ซึ่งใช้เป็นกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการสกัดกั้นยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ตั้งแต่ต้นทางภายนอกประเทศมิให้เข้าสู่แหล่งผลิตในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ และสกัดกั้นยาเสพติดจากแหล่งผลิตที่จะออกสู่ไทยและประเทศอื่น ๆ โดยได้จัดทำโครงการฯ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินโครงการฯ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)
2. ยธ. โดยสำนักงาน ป.ป.ส. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการเสริมสร้าง และยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติด และทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (โครงการฯ) ซึ่งโครงการฯ มีวัตถุประสงค์ เช่น
-
(1) เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสกัดกั้น ปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
(2) เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมแม่น้ำโขงปลอดภัยให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยการสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 16 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบเงินอุดหนุน รายการโครงการฯ ของสำนักงาน ป.ป.ส. ที่ได้รับจัดสรรไว้แล้ว เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานแก้ไข
ปัญหายาเสพติด จำนวน 5 แผนงาน ได้แก่ (1) การสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ (2) การสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ และการบำรุงรักษา (3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (4) การป้องกันและบำบัดรักษายาเสพติด (5) การบริหารจัดการและการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัย
3. ประโยชน์ที่ได้รับ : การสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมภายใต้แผนงานของโครงการฯ ตามที่ประเทศไทยได้ตกลงและเห็นชอบร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการสกัดกั้นเคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นไม่ให้เข้าสู่แหล่งผลิต และสกัดกั้นยาเสพติดจากแหล่งผลิตไม่ให้ออกไปยังประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ รวมถึงการปราบปรามเครือข่ายการค้าและลักลอบลำเลียงยาเสพติด อันจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทย ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนประเทศปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เห็นชอบสรรพากรเข้าร่วม ‘STTR MLI’ ลุยเก็บภาษีนักลงทุนข้ามชาติ 9%
นางสาวนัทรียา กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) เพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีใน Multilateral Convention to Facilitate the Implementation of the Pillar Two Subject to Tax Rule (STTR Multilateral Instrument หรือ STTR MLI) (ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือ ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กค. โดยสรรพากรดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือ ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
โดยสาระสำคัญของเรื่องมีดังนี้
1. Subject to Tax Rule (STTR) เป็นหนึ่งในหลักการภายใต้เสาหลักที่ 2 (Pillar 2) ของข้อเสนอการจัดเก็บภาษีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษี และโอนกำไรไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ [Base Erosion and Profit Shifting (BEPS)] โดย STTR เป็นการกำหนดขั้นต่ำของอัตราภาษีตามกฎหมาย (Nominal Tax Rate) ในอัตราร้อยละ 9 ของเงินได้ (Gross Income) สำหรับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงในการกัดกร่อนฐานภาษีและสามารถเคลื่อนย้ายเงินได้ง่าย เช่น ค่าสิทธิ ดอกเบี้ย สิทธิในการกระจายสินค้าเบี้ยประกันภัย และการให้บริการทางการเงิน โดยหลักการ STTR มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เขตเศรษฐกิจที่เป็นสมาชิกของกรอบความร่วมมือเพื่อป้องกัน BEPS (Inclusive Framework on BEPS) (กรอบความร่วมมือ BEPS) ที่ได้รับการพิจารณาว่าอยู่ในกลุ่มเขตเศรษฐกิจกำลังพัฒนาสามารถรักษาฐานภาษีที่เก็บจากบริษัทข้ามชาติ สำหรับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าวได้ รวมทั้งสามารถนำมาปฏิบัติได้โดยการเข้าร่วมการลงนามความตกลงแบบพหุภาคี (Multilateral Instrument) เพื่อแก้ไขอนุสัญญาหรือความตกลงเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อน [Multilateral Convention to Implement Treaty Related Measures to Prevent Base Erosion and Profit Shifting (MLI] (อนุสัญญา พหุภาคีฯ MLI) ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ในการนำหลักการ STTR มาปรับใช้จะต้องพิจารณาอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้รับเงินได้ภายใต้ขอบข่ายของหลักการ STTR ซึ่งเมื่อปรับตามสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับและเมื่อรวมกับอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่ายตามอนุสัญญาฯ แล้วน้อยกว่าอัตราร้อยละ 9 ของเงินได้ (Gross Income) ประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้จ่ายเงินได้สามารถจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่ม (Additional STTR Tax) ให้ครบร้อยละ 9 ได้
2. ในคราวการประชุมกรอบความร่วมมือ BEPS ครั้งที่ 15 ซึ่งจัดขึ้น เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ณ สำนักงานใหญ่ OECD กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส สมาชิกกรอบความร่วมมือ BEPS ซึ่งรวมถึงไทยได้พิจารณารับรอง July 2023 Outcome Statement on the Two – Pillar Solution to Address the Tax Challenges Arising from the Digitalisation of the Economy โดยเอกสารตั้งกล่าวได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการและแนวทางการดำเนินการในอนาคตของหลักการ STTR ด้วย ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจที่ประสงค์จะนำหลักการ STTR มาปรับใช้จะต้องดำเนินการลงนามใน STTR MLI เพื่อแก้ไขอนุสัญญาฯ ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
3. กรมสรรพากรมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งความเห็นต่อการพิจารณาลงนามใน STTR MLI โดยกรมสรรพากรเห็นควรให้ตอบรับการเข้าร่วมพิธีลงนาม STTR MLI ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2567 และแสดงความจำนงในการเข้าร่วมเป็นภาคีใน STTR MLI โดยการลงนามร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ (Letter of intent) ในโอกาสแรกก่อนและเนื่องจากหลักการ STTR เป็นหลักการใหม่ที่มีความซับซ้อน ดังนั้น กค. โดยกรมสรรพากรจำเป็นต้องศึกษาหลักการ STTR อย่างรอบคอบและรัดกุมก่อนนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ต่อไป ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้กรมสรรพากรพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ และรายงานความคืบหน้าการดำเนินการเพื่อนายกรัฐมนตรีทราบในโอกาสแรกด้วย (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้แจ้งเลขาธิการ OECD ทราบด้วยแล้ว)
4. ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการเข้าร่วมเป็นภาคีใน STTR MLI ของไทย โดยภายหลังการลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ กรมสรรพากรจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายเลขาธิการ STTR เพื่อนำหลักการ STTR มาปรับใช้เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศต่อไป ทั้งนี้ ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ จะส่งผลดีกับไทยในการแสดงความมุ่งมั่นที่จะให้ความร่วมมือกับนานาประเทศในการนำหลักการ STTR ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการภายใต้เสาหลักที่ 2 ของข้อเสนอการจัดเก็บภาษีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลมาปรับใช้ เพื่อปกป้องฐานภาษีจากบริษัทข้ามชาติและนำรายได้มาใช้ในการพัฒนาประเทศชาติ ลดแรงจูงใจของผู้เสียภาษีในการโอนกำไรจากไทยไป หรือ เขตเศรษฐกิจที่มีอัตราภาษีต่ำ สร้างความเป็นธรรมในการบริหารจัดเก็บภาษีให้กับบริษัทที่ประกอบกิจการในไทย ตลอดจนการลดการแข่งชั้นของประเทศ หรือ เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยใช้อัตราภาษีเป็นเครื่องมือดึงดูดนักลงทุนเข้าไปลงทุนในประเทศ หรือ เขตเศรษฐกิจของตนอีกด้วย
ผ่านร่าง MOU เขตเศรษฐกิจ “อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย”
นางสาวนัทรียา กล่าว่า ที่ประชุม ครม.มีเห็นชอบการจัดทำร่างกรอบความร่วมมือด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT – GT) (ร่างกรอบความร่วมมือฯ) ที่จะมีการลงนามในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 30 ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT – GT) และขอความเห็นชอบให้กรมศุลกากร กค. สามารถปรับปรุงถ้อยคำในเอกสารดังกล่าวได้ ในกรณีที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือ ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมลงนามในร่างกรอบความร่วมมือฯ ในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 30 ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT – GT) ตามที่ กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ โดยสาระสำคัญของเรื่อง กค. รายงานว่า
1. ร่างกรอบความร่วมมือฯ เป็นความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาล 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย และราชอาณาจักรไทย เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ง 3 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการริเริ่มการดำเนินการด้านการค้าในระดับอนุภูมิภาคและการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศุลกากรการตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน ซึ่งจะช่วยให้การเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างประเทศคู่สัญญา การปฏิบัติพิธีการด้านการศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกันง่ายขึ้น ทำให้กฎระเบียบข้อบังคับ และกระบวนการต่าง ๆ มีความโปร่งใสมากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนในการทำธุรกรรม เพิ่มความปลอดภัยทางการค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
2. ร่างกรอบความร่วมมือฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ เช่น
[pdf-embedder url=”https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2024/08/ตารางข้อตกลงกรมศุล.pdf”]3. ประโยชน์และผลกระทบ
-
3.1 ส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากการพัฒนาความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT – GT) ในการดึงดูดความสนใจ ของภาคเอกชนและนักลงทุนให้เข้ามาดำเนินการหรือลงทุนในพื้นที่ของประเทศไทย
3.2 การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้าและบุคคลภายในกลุ่มประเทศคู่สัญญาจะเรียบง่ายขึ้น ลดขั้นตอนและความยุ่งยากในการปฏิบัติพิธีการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.3 เกิดความเข้มแข็งในการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทานในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบุคคลในระดับอนุภูมิภาค
ตั้ง “สมคิด-ธีราภา-ณณัฏฐ์” นั่งรองเลขานายกฯฝ่ายการเมือง
นางสาวนัทรียา กล่าวต่อว่า วันที่ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้
1. นายสมคิด เชื้อคง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
2. นางสาวธีราภา ไพโรหกุล ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
3. นายณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
แบ่งงานรองนายกฯใหม่
นอกจากนี้ที่ประชุม ครม.ได้มีมติมอบหมาย และมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีดังนี้
1. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
1.1.1 กระทรวงกลาโหม
1.1.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.1.3 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
1.1.4 กระทรวงพาณิชย์
1.1.5 กรมประชาสัมพันธ์
1.1.6 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
1.1.7 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
1.2.1 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.2.2 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
1.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
-
1.3.1 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
1.3.2 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
1.3.3 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
1.3.4 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
1.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.3 ยกเว้น
-
1.4.1 เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
1.4.2 การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
1.4.3 การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
1.4.4 การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
1.4.5 การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
1.4.6 การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
1.4.7 เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม
2. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
2.1.1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
2.1.2 กระทรวงคมนาคม
2.1.3 กระทรวงวัฒนธรรม
2.1.4 กระทรวงสาธารณสุข
2.1.5 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
2.1.6 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่ง และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
– สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
2.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
-
2.3.1 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
2.3.2 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2.4 การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี
2.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7
3. นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
3.1.1 กระทรวงการคลัง
3.1.2 กระทรวงการต่างประเทศ
3.1.3 สำนักงบประมาณ (ยกเว้นที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ)
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
3.2.1 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
3.2.2 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.2.3 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
3.2.4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.2.5 สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
3.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
-
3.3.1 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
3.3.2 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
3.3.3 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
3.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7
4. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
4.1.1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
4.1.2 กระทรวงมหาดไทย
4.1.3 กระทรวงแรงงาน
4.1.4 กระทรวงศึกษาธิการ
4.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
-
– สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
4.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 ถึงข้อ 4.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7
5. พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
5.1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
5.1.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 5.1 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7
6. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
6.1.1 กระทรวงพลังงาน
6.1.2 กระทรวงยุติธรรม (ยกเว้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
6.1.3 กระทรวงอุตสาหกรรม
6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการ และสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
– สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
6.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 6.1 ถึงข้อ 6.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7
7. นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
7.1.1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
7.1.2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
7.1.3 สำนักงบประมาณ
7.1.4 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
7.1.5 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
7.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
-
7.2.1 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
7.2.2 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
8. นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
8.1.1 กรมประชาสัมพันธ์
8.1.2 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
8.1.3 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
8.2 การมอบหมายให้กำกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
-
– บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
8.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
-
– สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
9. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้
-
9.1 การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
9.2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น เป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
9.3 การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
9.4 การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
10. รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจปฏิบัติแทนนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ
11. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย
12. ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อวินิจฉัยสั่งการ
13. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม
14. ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ครม.ยังมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รวมทั้งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
1.1.1 คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
1.1.2 คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.1.3 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
1.1.4 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
1.1.5 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.1.6 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
1.1.7 คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
1.1.8 คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
1.2.1 คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
1.2.2 คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
1.2.3 คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
1.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
1.3.1 คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
1.3.2 คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.3.3 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
1.3.4 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
1.3.5 คณะกรรมการกำลังพลสำรอง
1.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
1.4.1 คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
1.4.2 คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
1.4.3 คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
1.4.4 คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
1.4.5 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
1.4.6 คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี
1.4.7 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
1.4.8 คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
1.4.9 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
1.4.10 คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
1.4.11 คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
1.4.12 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
1.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการคณะกรรมการ ต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
1.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
1.5.2 รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
1.5.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1.5.4 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
1.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
1.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1.6.2 รองประธานกรรมการคนที่ 1 ในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
2. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
2.1.1 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
2.1.2 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
2.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
2.1.4 คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
2.1.5 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
2.1.6 คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
2.1.7 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2.1.8 คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
2.1.9 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
2.2.1 คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
2.2.2 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
2.2.3 คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
2.2.4 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
2.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
2.3.1 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
2.3.2 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
2.3.3 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2.3.4 คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
2.3.5 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
2.3.6 คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
2.3.7 คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
2.3.8 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
2.3.9 คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
2.3.10 คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ
2.3.11 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
2.3.12 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
2.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
2.4.1 คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
2.4.2 คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
2.4.3 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ
2.4.4 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
2.4.5 คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ
2.4.6 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
2.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
2.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.5.2 อุปนายกสภาลูกเสือไทย
2.5.3 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
2.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
2.6.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
2.6.2 กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
2.6.3 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
3. นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
3.1.1 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
3.1.2 คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
3.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.1.4 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
3.1.5 คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
3.2.1 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
3.2.2 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3.2.3 คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
3.2.4 คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
3.3.1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
3.3.2 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
3.3.3 คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
3.3.4 คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง
3.3.5 คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
3.3.6 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
3.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
3.4.1 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
3.4.2 คณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติราชการ
3.4.3 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
3.4.4 คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
3.4.5 คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ
3.4.6 คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
3.4.7 คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
3.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
3.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
3.5.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
3.5.4 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
3.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
3.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้า และบริการของประเทศ
3.6.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
3.6.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
3.6.4 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
3.6.5 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
4. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
4.1.1 สภานายกสภาลูกเสือไทย
4.1.2 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
4.1.3 คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
4.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
4.2.1 คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
4.2.2 คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ
4.2.3 คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
4.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
4.3.1 คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
4.3.2 คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ
4.3.3 คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
4.3.4 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
4.3.5 คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
4.3.6 คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
4.3.7 คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
4.3.8 คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
4.3.9 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
4.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
4.4.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
4.4.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
4.4.4 รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
4.4.5 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
4.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.5.1 กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4.5.2 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
5. พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
5.1.1 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
5.1.2 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
5.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
5.1.4 คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
5.1.5 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
5.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
5.2.1 คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
5.2.2 คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ
5.2.3 คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน
5.2.4 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
5.2.5 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว
5.2.6 คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
5.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
5.3.1 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
5.3.2 คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
5.3.3 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
5.3.4 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
5.3.5 คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
5.3.6 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
5.3.7 คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
5.3.8 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
5.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
5.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
5.4.2 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
5.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
5.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
5.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
5.5.3 กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
5.5.4 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
6. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
6.1.1 คณะกรรมการกฤษฎีกา
6.1.2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
– คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
6.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
6.3.1 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
6.3.2 คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ
6.3.3 คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ
6.3.4 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
6.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
– คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์ คนนิรนามและศพนิรนาม
6.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
6.5.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
6.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
6.5.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.5.4 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
6.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
6.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
6.6.2 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
7.นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7.1 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
– คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
7.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
– คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
7.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
7.3.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
7.3.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม
7.3.3 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
7.3.4 กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
7.3.5 กรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
7.3.6 กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
7.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
7.4.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
7.4.2 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
7.4.3 กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
7.4.4 กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
8. นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรี ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-
– คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
8.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
8.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-
8.3.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
8.3.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
8.3.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
8.3.4 รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
8.3.5 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
8.3.6 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
8.3.7 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
9. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
10. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณา และข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
11. ในส่วนการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีคนใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
อ่าน มติ ครม.ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2567 เพิ่มเติม