“AIS Go Green” งานปลูกต้นไม้ ที่สร้าง Green Network ทั้ง ภาครัฐ คู่ค้า พันธมิตร กลุ่มสตาร์ทอัพ ให้เกิดการมีส่วนร่วม สู่การทำงานเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
การเข้ามาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” กับเป้าหมายปลูกต้นไม้ล้านต้น เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุงเทพฯ เป็นภารกิจที่ทำให้หลายภาคส่วน ต่างร่วมพลังปลูกต้นไม้เพื่อสร้างเมืองสีเขียวไว้ให้คนรุ่นต่อๆไป
การปลูกต้นไม้ 1,000,000 ต้น จึงเป็น “จุดร่วม” ของทุกภาคส่วน หนึ่งในนั้นคือ ‘AIS’ ที่สามารถดึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาช่วยกันปลูกต้นไม้สร้างความยั่งยืนได้ถึง 1 ใน 10 ของเป้าหมายผู้ว่าฯ ชัชชาติ อีกพลังที่ช่วยบรรลุภารกิจสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในเมือง รักษาสภาพอากาศตามชุมชนและสวนสาธารณะต่างๆ ด้วยการกักฝุ่นมลพิษในเมืองกรุง สร้างร่มเงา ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการ “AIS Go Green” เพื่อการปลูกต้นไม้ 100,000 ต้นภายใน 4 ปี นำร่องครั้งแรกวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565 ที่สวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ รวม 5,000 ต้น บนที่ว่างกว่า 2.4 ไร่ พร้อมทั้งมอบ Digital badges ‘AIS GO GREEN’ หรือตราสัญลักษณ์ใบรับรองคุณวุฒิดิจิทัลให้กับผู้เข้าร่วมงาน
เบื้องหลังความสำเร็จของงาน “AIS Go Green” ไม่ใช่แค่นโยบายของผู้ว่าฯ หรือมาจากภายในองค์กรเอไอเอสเพียงเท่านั้น เพราะสิ่งสำคัญของงานปลูกต้นไม้คือ ‘การผนึกกำลังความร่วมมือ’ ของทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ คู่ค้า พันธมิตร กลุ่มสตาร์ทอัพ เป็นพลังการขับเคลื่อนสู่เมืองสีเขียวในอนาคต
โครงการ AIS Go Green ได้ออกแบบการมีส่วนร่วม “Green Network” กล่าวคือเป็นการสร้างเครือข่ายสีเขียวที่ช่วยกันจุดประกายสร้างความยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยผู้ที่มาร่วมงาน AIS Go Green และคนที่ใช้บริการรถสาธารณะจะเห็นถึงความร่วมมืออย่างชัดเจนระหว่างเอไอเอสกับ ‘มูฟมี’ (MUVMI) สตาร์ทอัพให้บริการเรียกรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า โดยสิ่งที่มูฟมีทำคือดึงจุดแข็งของธุรกิจตัวเองในการใช้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาให้บริการรับส่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากสถานีรถไฟฟ้า MRT กำแพงเพชร มายังทางเข้าสวนรถไฟซึ่งเป็นพื้นที่การจัดงาน
ความร่วมมือของสตาร์ทอัพอย่าง ‘มูฟมี’ ยังตรงกับแนวคิดของ นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS ที่มองว่า “ในการจัดกิจกรรมเรามองถึงปริมาณ Carbon Footprint ที่เกิดขึ้น และพยายามคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากงานให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อทำการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยเท่ากับปริมาณที่ปล่อยออกมา เพื่อทำให้การจัดงานครั้งนี้เป็นงาน Carbon Neutral Event หรืองานอีเว้นท์ที่ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องไปกับเป้าหมายในการดูแลสิ่งแวดล้อม”

นอกจากนี้อีกเครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญคือ ‘พนักงาน’ ปัจจุบันพนักงานเอไอเอสมีประมาณ 14,000 คน เมื่อเทียบกับเป้าหมายต้นไม้ 100,000 ต้นภายใน 4 ปีแล้วก็นับว่าไม่ไกลเกินเอื้อม
มากไปกว่านั้น เอไอเอสขยายความร่วมมือไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร นั่นคือคู่ค้าและพาร์ทเนอร์ ช่วยเป็นกำลังสำคัญในการบรรลุเป้าหมายปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น
ขณะเดียวกันเอไอเอสยังสามารถนำอีเวนต์งานปลูกต้นไม้ไปเชื่อมโยงกับนโยบายลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย เพราะภายในงานสามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero landfill เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอีกด้วย
การจัดงานครั้งนี้ไม่ใช่แค่กิจกรรมปลูกต้นไม้เท่านั้น หากเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิด Green Network นำไปสู่พัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงการปฏิบัติจริง