ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
www.powdthavee.co.uk

มีคนเคยตั้งคำถามว่า ทำไมคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีวินัยเเต่คนไทยส่วนใหญ่เห็นเเก่ตัว (ดูได้จากการทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะ ไม่หยุดรถตรงทางม้าลาย เเซงคิว เเละอื่นๆ อีกมากมาย)
ผมขอพยายามตอบในความคิดของผมเป็น bullet point สิบข้อข้างล่างตามนี้นะครับ
1. คนเราส่วนใหญ่จะปฎิบัติตามกฎหรือบรรทัดฐานของสังคม (หรือที่เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า norm นั่นเอง)
2. ถ้าไม่ปฎิบัติตาม norm ก็จะถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นคนไม่ดี เเละอาจถูกสังคมรังเกียจได้
3. ทุกๆ คนอยากที่จะรู้สึกดีๆ กับตัวเอง เเละไม่มีใครอยากถูกสังคมรังเกียจ จึงทำให้เกิดข้อที่ 1. ขึ้น
4. เเต่ถ้าคนไหนตัดสินใจไม่ปฎิบัติตามกฎของ norm นั่นก็เป็นเพราะว่าผลประโยชน์ส่วนตัวของเขา (private benefits) นั้นมีค่าที่สูงกว่าผลเสียของส่วนรวม (social costs) บวกกันกับการลงโทษจากสังคม (พูดง่ายๆ คือการโดนสังคมประจานหรือรังเกียจนั่นเอง) ที่จะตามมาจากการเเหกกฎของ norm (social sanctions)
5. สำหรับหลายๆ คน ผลประโยชน์ส่วนตัวจากการเเหกกฎมักจะมีค่าสูงกว่าผลเสียของส่วนรวมนั่นก็เป็นเพราะว่าผลเสียของส่วนรวมนั้นมักจะมีคนเเบกรับด้วยกันหลายคน (คือผลเสียมีคนต้องเเชร์กันเยอะ ผลกระทบส่วนตัวจึงมักน้อยกว่าผลพลอยได้ส่วนตัวจากการเห็นเเก่ตัว)
6. เพราะฉะนั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดในการหยุดไม่ให้คนเเหกกฎของ norm ก็คือ การลงโทษจากสังคม
7. เเต่การลงโทษจากสังคมจะมีค่าเป็นตัวลบที่ใหญ่ก็ต่อเมื่อมีจำนวนคนในสังคมที่เชื่อในกฎนั้นเป็นจำนวนหลายๆ คน ถ้าคนเชื่อในกฎตรงนั้นน้อย ความละอายใจที่จะมาจากกลุ่มคนส่วนใหญ่ก็จะน้อยตามๆ กันไปด้วย
8. เมื่อเริ่มมีจำนวนคนที่ถูกปลูกฝังให้คนรุ่นต่อๆ ไปเชื่อกันว่าคนอื่นส่วนใหญ่ไม่เคารพกฎนั้นๆ หรอก (อย่างเช่น “ทิ้งขยะไปถึงเเม้ว่ามันจะไม่ดี เเต่คนอื่นเขาก็ทำกัน ไม่เป็นไรหรอก” หรือ “ไฟเหลืองเหรอ หลายคนเขามองว่าไฟเหลืองนั้นก็คือการเหยียบคันเร่งกัน ไม่ใช่บอกให้หยุดกันหรอก”) จำนวนคนในรุ่นต่อๆ ไปที่เชื่ออย่างนั้นจริงๆ ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เเละพฤติกรรมที่ไม่ดีทั้งหลายก็จะกลายมาเป็น new normal โดยปริยาย
9. ในประเทศหลายๆ ประเทศที่มี norm ที่ดี อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น เขาก็จะมี norm ที่คนในสังคมรู้ๆ กันว่าควรจะต้องทำตาม เช่น อย่าเดินกินในสถานที่สาธารณะนะ ถึงเเม้ว่าจะไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ทำอย่างชัดเจนก็ตาม เมื่อมี norm อย่างนั้นก็ทำให้ไม่มีการทิ้งขยะเรี่ยราดบนทางเดินเเละท้องถนนกัน
10. ถ้าเราอยากจะเปลี่ยน norm ที่เเย่ให้คนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตล่ะก็ เราต้อง
การเปลี่ยน norm เป็นอะไรที่ยากเเต่ไม่ใช่อะไรที่เป็นไปไม่ได้นะครับ มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้กลยุทธ์ในการค่อยๆ สะกิดพฤติกรรมของคนเเต่ละคนในสังคมของเรายังไงให้เกิดเป็น norm ที่ดีได้เท่านั้นเอง
อ่านเพิ่มเติม
Akerlof, G.A., 1980. A theory of social custom, of which unemployment may be one consequence. The quarterly journal of economics, pp.749-775.