ThaiPublica > คอลัมน์ > เมื่อผมสวมหมวก “นักประชาธิปไตย” ไปประชุม “WLFD” ที่ไต้หวัน (2)

เมื่อผมสวมหมวก “นักประชาธิปไตย” ไปประชุม “WLFD” ที่ไต้หวัน (2)

25 ธันวาคม 2024


วิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์

ต่อจากตอนที่1

2.การประชุม World League for Freedom and Democracy Conference 2024

บรรยากาศการประชุม WLFD 2024

การประชุม World League for Freedom and Democracy Conference ประจำปี 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-9 ตุลาคม 2567 ที่โรงแรม Grand Hotel เช่นที่เคยเป็นมาทุกปี โดยในปี 2567 หัวข้อการประชุมที่กำหนด คือ “Freedom and Democracy, Prosperous Economy and Pursuit of Peace (เสรีภาพและประชาธิปไตย เศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรืองและสันติสุข)” ซึ่งผมก็ได้รับเกียรติให้กล่าวสุนทรพจน์ สั้น ๆ ประมาณ 5 นาที ต่อที่ประชุมด้วย

ในวันแรก (6 ตุลาคม) หลังจากเดินทางไปถึงโรงแรม Grand Hotel ซึ่งใช้เป็นทั้งพักและที่ประชุม WLFD ผมก็ไปลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมตามกำหนดการ จากนั้นก็ต้องรีบกลับมาอาบน้ำแต่งตัวเพื่อไปร่วมงานเลี้ยงต้อนรับในช่วงเย็น และต่อด้วยการประชุม “คณะกรรมการบริหาร ” ของ WLFD ซึ่งแม้ผมจะมิใช่กรรมการบริหารก็ตาม แต่ท่านประธานฯ ก็ให้เกียรติเชิญผมเข้าร่วมประชุมและร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

บรรยากาศการประชุม WLFD 2024

วันต่อมา เป็นวันประชุมใหญ่และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ซึ่งในครั้งนี้ มี แดเนียล ฮาน (Daniel K.Y. Han) ประธานสภานิติบัญญัติสาธารณรัฐจีน เป็นประธาน โดยมี ฯพณฯ เรมัส หลี่-คุโอะ เฉิน (Remus Li-kuo Chen) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และมีการประชุมทั้งวันตามวาระที่กำหนด ประกอบด้วย (1) การรายงานของสมาชิก WLFD ในภูมิภาคและประเทศต่าง ๆ (2) การแสดงความคิดเห็น ตามด้วย (3 การรับรองรายงานการประชุม และ (4) รับทราบกำหนดการประชุมในครั้งต่อไป สำหรับภาคบ่าย เป็นการแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ (Theme) “Freedom and Democracy, Prosperous Economy and Pursuit of Peace (เสรีภาพและประชาธิปไตย เศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง และสันติสุข)” ที่กำหนด โดยมีผู้ได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์สั้น ๆ รวมทั้งสิ้น 10 คน และเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมอื่น

ส่วนตอนค่ำ มีงานเลี้ยงอำลาเพื่อเป็นการขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน (ที่ต้องจัดเลี้ยงก่อน เนื่องจากในวันรุ่งขึ้น จะมีกิจกรรมดูงานนอกสถานที่ ซึ่งต้องกลับค่ำ ผมเข้าใจว่าไม่สะดวกในการจัดเลี้ยงผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน)

ในวันที่สาม เป็นกิจกรรมเยี่ยมชมสถานที่ที่น่าสนใจของไต้หวัน โดยในปีนี้ WLFC จัดให้ไปเยี่ยมชม “วัดกลองธรรม (Dharma Drum Mountain)” และ “อ่าวจีหลง (Keelung Harbor)”

“วัดกลองธรรม (Dharma Drum Mountain)”
ที่มา : https://newtaipei.travel/en/attractions/detail/111551, https://www.archdaily.com/769893/dharma-drum-institute-of-liberal-arts-kris-yao-artech, https://www.shutterstock.com/th/search/dharma-drum-mountain และ https://www.dharmadrum.org/wcbe/

เป็นที่น่าเสียดายยิ่งสำหรับผม ที่ไม่มีโอกาสได้ไปร่วมกิจกรรมนอกสถานที่ในครั้งนี้ เนื่องจากกำหนดเวลาที่ผมวางแผนที่จะพักอยู่ในเมืองไทเปนั้นค่อนข้างสั้น (มีเวลาเพิ่มอีกเพียงวันเดียว) จึงใช้ช่วงเวลาที่ผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่น ๆ ออกไปทำกิจกรรมและดูงานนอกสถานที่ นัดพบกับท่านอดีตผู้แทนรัฐบาล สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เพื่อพูดคุยและทานข้าวกัน พร้อมทั้งได้นัดเจ้าหน้าที่ประมงของไต้หวัน ที่ผมเคยติดต่อกันมาตั้งแต่ไต้หวันได้รับ “ใบแจ้งเตือน (ใบเหลือง) จากสหภาพยุโรป” เช่นเดียวกับประเทศไทย เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องประมง

ที่ผมบอกว่าน่าเสียดายนั้น เพราะผมได้ไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับ “วัดกลองธรรม (Dharma Drum Mountain)” แล้ว พบว่าวัดนี้ “ไม่ธรรมดา” ครับ โดยเฉพาะในฐานะของชาวพุทธ และคนที่สนใจ “พุทธธรรม” ในมุมมองของปรัชญา เนื่องจากวัดแห่งนี้ “เป็นศูนย์การเรียนรู้ การปฏิบัติธรรม จิตวิญญาณ และวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน หรือเซน (Chan) แบบจีน ในระดับสากล” (วัดกลองธรรม มีศูนย์การเรียนรู้ เผยแผ่คำสอนทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย และโอเซียนเนีย)

วัดกลองธรรมก่อตั้งโดย พระอาจารย์ “ชานเซิงเยน Chan Sheng Yen” (พ.ศ. 2474-2552) ผู้ล่วงลับ ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้มุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแก่ประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงโลกและสร้าง “ดินแดนบริสุทธิ์บนโลก” ผ่านการศึกษาพระพุทธศาสนา และมีวิสัยทัศน์เพื่อ “ยกระดับคุณลักษณะของมนุษยชาติด้วยการปกป้องสภาพแวดล้อมทางจิตวิญญาณ สร้างดินแดนอันบริสุทธิ์บนโลก” ตามความเชื่อพุทธศาสนานิกายมหายานแบบจีน ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ศรัทธาของชาวจีนทั้งในแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน และภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก

ด้วยจำนวนผู้ศรัทธา และผู้สนใจศึกษาในพุทธศาสนาที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2532 สถาบันวัฒนธรรมพุทธศาสนา นิกาย Chan จึงร่วมกันซื้อที่ดินบนเนินเขา ในเขตจินซาน (Jinshan) เพื่อสร้างศูนย์การศึกษาพุทธศาสนาแห่งใหม่ โดยก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ด้วยลักษณะภูมิสัณฐานของเนินเขาที่ตั้ง ที่มองดูคล้ายรูปกลองขนาดใหญ่วางตะแคง ศูนย์การศึกษาแห่งนี้จึงได้รับการตั้งชื่อตามการเปรียบเทียบคำสอนใน “คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร” ซึ่งเป็นพระสูตรที่สำคัญของศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน ด้วยความหวังว่า a href=”https://www.dharmadrum.org/wcbe/”>“การตีกลองธรรมะขนาดใหญ่” (ผมเข้าใจว่านัยน่าจะหมายถึง “การเผยแผ่พุทธธรรมคำสอนที่ดังก้องไปไกลประดุจดังเสียงกลองขนาดใหญ่) ที่ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ จะทำให้ผู้คนจะได้รับความสงบสุขและความสามัคคี” <(ผมลองจึงไปศึกษาคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร พบว่าคำสอนสำคัญประการหนึ่งคือ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์อย่างกลมเกลียว เท่าเทียมและสันติสุข และวิธีที่พลเมืองโลกสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพโลก) ผมหวังว่า สักวันหนึ่ง ผมจะมีโอกาสไปเยี่ยมชมและสนธนาธรรมกับพระอาจารย์ที่นั่นครับ วันสุดท้ายของการประชุม หลังอาหารเช้าก็มีเฉพาะการประชุมกลุ่มย่อย โดยเป็นการพูดคุยของสมาชิกบางคนกับคณะผู้บริหารของ WLFD เป็นการเฉพาะกรณี ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมที่เหลือก็แยกย้ายกันเดินทางกลับ โดยเจ้าหน้าที่ WLFD ได้จัดให้มีรถรับส่งไปยังสนามบิน/สถานีรถไฟ/โรงแรมอื่น ตามที่สมาชิกแต่ละคนต้องการเป็นอันเสร็จสิ้นการประชุม “World League for Freedom and Democracy (WLFD) Conference” ประจำปี 2024 นี้ และหวังว่าในปีหน้าผมคงจะได้ไปร่วมประชุมกับเขาอีกครับ อ่านต่อตอนที่3