
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธานกรรมการแพลตฟอร์ม Youth in Charge อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม บรรยายในหลักสูตร วปอ. รุ่น 67 หัวข้อ “ประเทศไทยภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของโลก”(Thailand in the New Global Landscape) โดยได้พูดถึงโลกที่กำลังอยู่ในสภาวะ Global Metamorphosis ที่มีการปรับสัณฐานและโครงสร้าง เฉกเช่นเดียวกับ Biological Metamorphosis ของพัฒนาการจากหนอนเป็นดักแด้ และกลายเป็นผีเสื้อในที่สุด
โดยเป็นการปรับสัณฐานและโครงสร้างโลกขนานใหญ่ใน 3 มิติสำคัญ นั่นคือ Bio-physical Sphere, Geopolitical Sphere และ Socio-technical Sphere ไปพร้อมๆกัน
ท่ามกลาง Global Metamorphosis มนุษยชาติมี 2 ทางเลือก ระหว่าง
1. การเผชิญกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่ 6 (The 6th Mass Extinction) ที่มาจาก Global Boiling สงครามนิวเคลียร์ ฯลฯ
2. การสร้างโลกใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม (A Whole New World) ที่มนุษย์จะต้องปรับความสัมพันธ์ครั้งใหญ่ ไม่ใช่แค่ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเป็นการปรับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี
ประเด็นอยู่ที่พวกเราตัดสินใจจะเดินไปทางไหน ภายใต้โลกใหม่ที่ไม่ใช่ใบเดิม
มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หลายประเทศเร่งปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการพัฒนาที่มุ่งสู่ความทันสมัย (Modernism) สู่การพัฒนาที่มุ่งสู่ความยั่งยืน (Sustainism)
โดยเป็นกระบวนทัศน์ที่ Connect the Dots ด้วยการเชื่อมต่อ Sustainability, Humanity และ Technology เข้าด้วยกันอย่างสนิท เพื่อมุ่งเป้าไปสู่ความเป็นปกติสุข ประโยชน์สุข และศานติสุข ร่วมกันของมวลมนุษย์กับโลกพิภพ ภายใต้แนวคิดร่วมชายคา (Cohabitation) ร่วมรังสรรค์ (Cocreation) และร่วมวิวัฒน์ (Coevolution)
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ดังกล่าว นำไปสู่การปรับเปลี่ยนเชิงระบบ (Systemic Transformation) บนภูมิทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์โลกชุดใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยสองปัจจัยสำคัญคือ ทุนมนุษย์ และ เทคโนโลยี
เมื่อพูดถึง Systemic Transformation หันกลับมาดูประเทศไทย เราเคยมีการปรับโครงสร้างขนานใหญ่อย่างเป็นระบบ (The First Great Reform) เพียงครั้งเดียว ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 อันมีสาเหตุหลักมาจากการต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิล่านิคมจากประเทศตะวันตก
อาจถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องมีการปรับโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบอีกครั้งหนึ่ง หรือที่เรียกว่า The Second Great Reform เพื่อตอบโจทย์แรงกดดันจากภายนอกและแรงประทุจากภายใน
โจทย์ใหญ่ที่ท้าทายคือ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมือง จาก Extractive Political & Economic Structure ในปัจจุบัน สู่ Inclusive Political & Economic Structure อย่างแท้จริง
ในการปรับเปลี่ยนสู่ Inclusive Political Structure ผมได้กล่าวถึง 3 วาระวิกฤติ (Critical Agenda) ที่จะเป็น “คานงัด” ของการปรับเปลี่ยน ประกอบด้วย
ทั้ง 3 วาระต้องอาศัยความกล้าหาญทางการเมืองของผู้นำประเทศเป็นสำคัญ
ชุดของ 3 วาระวิกฤติ จะเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นและพอเพียงในการสร้างสังคมที่ Clean & Clear, Free & Fair และ Care & Share ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
ในการปรับเปลี่ยนสู่ Inclusive Economic Structure นั้น ในความเป็นจริงแล้ว มีจิ๊กซอว์สำคัญหลายตัวที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว แต่ยังขาดการถักทอให้เกิดพลัง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โมเดลเศรษฐกิจ BCG และโมเดล Thailand 4.0 ที่สามารถต่อเชื่อมกับ SDGs และ ESG เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
The Second Great Reform จึงเป็นการปรับโครงสร้างขนานใหญ่อย่างเป็นระบบที่ไม่ใช่เพื่อตอบโจทย์ประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่สามารถตอบโจทย์ประชาคมโลกไปพร้อมๆกัน
ขอย้ำอีกครั้ง ไม่มีห้องว่างสำหรับฝันเล็กๆ (No Room for Small Dreams) สำหรับผู้นำที่จะกระทำการขับเคลื่อนประเทศไทยภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่โลก เพราะหากทำได้สำเร็จ นี่คือ Soft Power ที่แท้จริงของประเทศไทยในเวทีโลก