ThaiPublica > Sustainability > Headline > “สุวิทย์ เมษินทรีย์” จะสร้างความยั่งยืนให้ยั่งยืนได้อย่างไร ชี้ ESG ไม่ใช่ stand alone concept ในโลกทัศน์ system worldview

“สุวิทย์ เมษินทรีย์” จะสร้างความยั่งยืนให้ยั่งยืนได้อย่างไร ชี้ ESG ไม่ใช่ stand alone concept ในโลกทัศน์ system worldview

10 ตุลาคม 2024


ประธานกรรมการแพลตฟอร์ม Youth in Charge อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เมื่อวันพฤหัสที่ 3 ตุลาคม 2024 ที่ผ่านมา ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธานกรรมการแพลตฟอร์ม Youth in Charge อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ESG: Why It Matters to Make Sustainability Sustainable” ในงาน CUPT-CRISU Conference 2024

ดร.สุวิทย์กล่าวว่า “a whole new world ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงและภัยคุกคาม ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกเดือด ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ วิกฤติเศรษฐกิจ ตลอดจนการระบาดของไวรัสอย่างโควิด-19 เพื่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ เราจำเป็นจะต้องมี a whole new worldview หรือโลกทัศน์ชุดใหม่ เพื่อให้สามารถรับมือกับ a whole new world ดังกล่าว”

หลังการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ และตามมาด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชาคมโลกตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ mechanistic worldview ที่เชื่อว่าสรรพสิ่งตั้งแต่จักรวาล โลกพิภพ สิ่งมีชีวิต ตลอดจนมนุษย์เป็นเครื่องกล (Machine)

โลกทัศน์ดังกล่าวนำมาสู่ “greed to growth” mental model เป็นกรอบความคิดที่เน้นการเอาชนะ (conquering) การมีอำนาจสั่งการ (commanding) และการเข้าควบคุม (controlling) ธรรมชาติ ตลอดจนเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

mechanistic worldview และ greed to growth mental model จึงเป็นปฐมบทของการเกิดความไร้สมดุลเชิงระบบ นำพามาสู่วิกฤติเชิงซ้อนระลอกแล้วระลอกเล่าอย่างที่พวกเราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

การเรียกร้องหาความยั่งยืน จึงต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนโลกทัศน์และกรอบความคิดที่ขับเคลื่อนโลกอยู่ในปัจจุบัน

1. จาก mechanistic worldview สู่ system worldview ที่มองสรรพสิ่งไม่สามารถแยกออกจากกัน มีความสัมพันธ์ เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดแนวคิดของการแปรเปลี่ยน (becoming) ร่วมกัน ไม่ใช่แนวคิดของการมีอยู่ การดำรงอยู่ (being) ของแต่ละสิ่งอย่างเป็นอิสระ ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง*

*[แนวคิด becoming สอดคล้องกับแนวคิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพุทธศาสนา]

2. จาก greed to growth mental model สู่ “coherence to sustainability” mental model ที่เน้นความสอดคล้องลงตัว ผ่านการอยู่ร่วมชายคา (cohabitation) ร่วมรังสรรค์ (cocreation) และร่วมวิวัฒน์ (co-evolution) ระหว่างมนุษย์ด้วยกันและมนุษย์กับธรรมชาติ **

**[แนวคิดการร่วมชายคา ร่วมรังสรรค์ และร่วมวิวัฒน์ สอดคล้องกับ แนวคิดความจริง (truth) ความงาม (beauty) และความดี (virtue) หากความจริง ความงาม และความดีเป็นเงาสะท้อนของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วละก็ การร่วมชายคา ร่วมรังสรรค์ และร่วมวิวัฒน์ ก็คือเงาสะท้อนของ becoming นั่นเอง]

ประเด็นท้าทาย ณ ขณะนี้ จึงไม่ใช่การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน (realizing the importance of sustainability) แต่เป็นการทำให้ความยั่งยืนนั้นยั่งยืน (making sustainability sustainable) ได้อย่างไร

“แม้ว่าจะมีคนพูดถึง ESG อย่างกว้างขวาง ผมขอย้ำว่า ESG ไม่ใช่ stand alone concept ภายใต้โลกทัศน์แบบ system worldview การทำให้ความยั่งยืนนั้นยั่งยืน ผมได้นำเสนอ “An Integrated Sustainability Framework” โดยเชื่อมต่อ 4 building blocks สำคัญ ประกอบด้วย”

1. Sustainable Development Goals หรือ SDGs ในฐานะ “เป้าหมายร่วม” (common goals) ของประชาคมโลก เพราะพวกเราอยู่ในโลกที่สุขก็จะสุขด้วยกัน ทุกข์ก็จะทุกข์ด้วยกัน

2. Sufficiency Economy Philosophy หรือ SEP ในฐานะ “คุณค่าร่วม” (common value) ที่เน้นการสร้างความสมดุล ผ่านทางสายกลาง ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกัน

3. Bio- Circular- Green Economic Model หรือ BCG ในฐานะ “แพลตฟอร์มร่วม” (commom platform) ที่เน้น ecosystem efficiency มากกว่า economic efficiency เพียงอย่างเดียว

4. Environmental, Social & Governance หรือ ESG ในฐานะ “แนวทางปฎิบัติร่วม” (common thrust) ที่ยึดโยง แนวคิด SDGs, SEP และ BCG ดังกล่าวข้างต้นเข้าด้วยกันและแปลงออกมาเป็นบัญญัติและแนวทางปฎิบัติในกิจกรรมและกิจการขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม***

***[แนวคิดในการเชื่อมโยง SDGs, SEP, BCG และ ESG ภายใต้ Integrated Sustainability Framework จึงสอดคล้องกับหลักคิดปริยัติ ปฏิบัติ และปฎิเวธ ในพุทธศาสนา]

พร้อมกล่าวต่อว่า “ใน Integrated Sustainability Framework ผมได้พูดถึงการยึดโยงระหว่าง ESG กับ SDGs, ESG กับ SEP และ ESG กับ BCG เพื่อสะท้อนพลังของ synergies ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาชุดนโยบายและยุทธศาสตร์เชิงองค์รวม”

แท้ที่จริงแล้ว มิติทางด้าน environmental ใน ESG เป็นการสร้างความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เพื่อตอบโจทย์ที่ท้าทายของ “sustainability” ส่วนมิติทางด้าน social ใน ESG เป็นการสร้างความสมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เพื่อตอบคำถามว่าด้วย “humanity” ในขณะที่มิติทางด้าน governance ใน ESG เป็นการสร้างความสมดุลภายในตัวเรา / หรือภายในองค์กรของเรา เพื่อตอบโจทย์ใหญ่ของ “morality”

ในภาพใหญ่ ESG จึงเป็นตัวต่อเชื่อม sustainability, humanity และ morality เข้าด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรม

“ในการปาฐกถาครั้งนี้ ผมยังได้เน้นย้ำบทบาทของมหาวิทยาลัยในการเป็นแกนหลักของการขับเคลื่อน An Integrated Sustainability Framework โดยมหาวิทยาลัยจะต้องมี “power to lead”ไม่ใช่แค่ “ability to support” ใน 4 เรื่องสำคัญ คือ”

1) Research & Innovation;
2) Curriculum, Workforce Development & Skill Training;
3) Community Engagement, Public Advocacy & Thought Leadership;
4) Strategic Partnership & Collaboration

มหาวิทยาลัย จึงเป็น forefront ของการปรับเปลี่ยนมนุษยชาติสู่ความเป็น mature anthropocene อย่างสมบูรณ์

“และพลังของ “เยาวชนคนรุ่นใหม่” ที่จะเป็นตัวพลิกเกมส์ เปลี่ยนอนาคตโลก (future changer)”