ASEAN Roundup ประจำวันที่ 15-21 กันยายน 2567
บริษัทต่างชาติจ้างงาน 60% ในสิงคโปร์

กระทรวงแรงงาน เปิดเผยตัวเลขเมื่อวันที่ 17 กันยายน แสดงให้เห็นว่า การจ้างงานตำแหน่งงานที่มีรายได้รวมต่อเดือนสูงกว่า 12,500 ดอลลาร์สหรัฐฯของบริษัทต่างชาติ มีสัดส่วนที่มากกว่าบริษัทของสิงคโปร์ และยังส่งผลให้เป็นกลุ่มรายได้ในระดับ 10% แรกของกลุ่มรายได้ทั้งหมดในแง่การกระจายรายได้
กระทรวงฯกล่าวว่า ตัวเลขดังย้ำถึงความสำคัญของการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และผู้มีความสามารถระดับโลกที่ตามการลงทุนมา ในลักษณะที่ช่วยเสริมการเติบโตของจำนวนพนักงานในประเทศ และสร้างงานที่ดีสำหรับชาวสิงคโปร์
การเปิดเผยข้อมูลตัวเลข ซึ่งเป็นครั้งแรกของกระทรวงฯ มีขึ้นท่ามกลางความกังวลที่ยังมีต่อเนื่อง จากบางไตรมาสเกี่ยวกับโอกาสการจ้างงานสำหรับคนในประเทศ
บริษัทที่ต่างชาติเป็นเจ้าของ ในกรณีนี้หมายถึงบริษัทที่มีคนในประเทศถือหุ้นต่ำกว่า 50% และมีพนักงานอย่างน้อยหนึ่งคน
โดยรวมแล้ว บริษัทเหล่านี้จ้างงานผู้ที่พำนักในสิงคโปร์เกือบ 1 ใน 3 ซึ่งหมายถึงผู้ที่เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรหรือพลเมือง ตามที่กระทรวงฯ ระบุไว้ในข้อมูลตลาดแรงงานล่าสุดสำหรับไตรมาสที่สองของปี 2024
กระทรวงฯเปิดเผยอีกว่า บริษัทที่ต่างชาติเป็นเจ้าของยังสร้างธุรกิจให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศ ซึ่งจ้างคนในประเทศเป็นส่วนใหญ่
อัตราการว่างงานระยะยาวในเดือนมิถุนายน 2567 อยู่ที่ 0.8% เท่ากับเดือนมีนาคม และอัตราการว่างงานโดยรวมดีขึ้นในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม จากการที่จำนวนผู้ว่างงานลดลง อัตราส่วนตำแหน่งงานว่างต่อผู้ว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลจึงเพิ่มขึ้นจาก 1.56 ในเดือนมีนาคมเป็น 1.67 ในเดือนมิถุนายน
ในเดือนมิถุนายนมีตำแหน่งงานว่างที่ปรับตามฤดูกาล 81,200 ตำแหน่ง ลดลงจาก 81,900 ตำแหน่งในเดือนมีนาคม กระทรวงฯระบุว่า ตำแหน่งที่เปิดรับมากกว่า 1 ใน 5 อยู่ในภาคที่เติบโต(growth sector) ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการผลิตและค่าจ้างที่สูงกว่า
Growth sector ประกอบด้วย บริการทางการเงินและการประกันภัย บริการแบบมืออาชีพ ตลอดจนข้อมูลและการสื่อสาร
การจ้างงานโดยรวมเพิ่มขึ้น 11,300 ตำแหน่งในไตรมาสที่สอง ซึ่งมากกว่า 4,700 ตำแหน่งในไตรมาสก่อนหน้าถึง 2 เท่า ซึ่งมาจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศทั้งหมด ขณะที่การจ้างงานผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศลดลงเล็กน้อย 600 คน
แม้ใน growth sector จะผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศมีงานทำมากขึ้น แต่กลับถูกหักกลบด้วยการลดลงตามฤดูกาลของภาคค้าปลีก และบริการด้านการบริหารและสนับสนุน
การจ้างงานผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศที่เพิ่มขึ้นมากจากภาคการก่อสร้างและภาคการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งดีดตัวขึ้นจากที่ลดลงในไตรมาสก่อนหน้า การเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากผู้ถือใบอนุญาตทำงานที่ไม่ใช่ PMET (professional, managerial, executive and technical) ซึ่งผู้มีถิ่นฐานในประเทศไม่สนใจที่จะทำงานด้วย
การปลดพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 3,270 คนในไตรมาสที่สอง จาก 3,030 คนในไตรมาสแรก โดยเพิ่มขึ้นในภาคบริการทางการเงินและประกันภัย รวมถึงการค้าส่ง
อัตราการสรรหาบุคลากรลดลงเหลือ 1.9% ในไตรมาสที่สอง จาก 2.1% ในไตรมาสแรก อัตราการลาออกลดลงเหลือ 1.3% ในไตรมาสที่สอง หลังจากทรงตัวที่ 1.4% ติดต่อกันสี่ไตรมาส
กระทรวงฯระบุว่า อัตราการรับสมัครงานและการลาออกที่ลดลงนั้นสอดคล้องกับแนวโน้มขาลงในระยะยาว ซึ่งบ่งชี้ว่าพนักงานจะอยู่ในตำแหน่งใดงานหนึ่งเป็นระยะเวลานานขึ้น และว่า อัตราการรับสมัครงานในไตรมาสนี้สูงขึ้นหรือเทียบเคียงได้กับระดับก่อนการแพร่ระบาดของบางภาคส่วน ทั้งในการผลิตอุปกรณ์การขนส่ง ท่ามกลางความต้องการการเดินทางทางอากาศที่ฟื้นตัวทั่วโลก และภาคบริการด้านสุขภาพและสังคม
กระทรวงฯ คาดว่า ค่าจ้างและการจ้างงานจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ การจ้างงานผู้ที่มีถิ่นฐานในประเทศคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากภาคบริการทางการเงิน การสื่อสารข้อมูล และบริการแบบมืออาชีพ รวมถึงการแข่ง Formula One Singapore Grand Prix และงานเฉลิมฉลองสิ้นปี
แต่รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน นายตัน ซี เล้ง กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานที่สูงของสิงคโปร์ ประชากรสูงวัย และจำนวนแรงงานในประเทศที่ลดลง หมายความว่าการเติบโตของแรงงานในสิงคโปร์จะชะลอตัวลงในระยะยาว
สิงคโปร์ผู้นำเอเชียใน World Talent

สิงคโปร์มีความก้าวหน้าในตัวชี้วัดสำคัญทั้ง 3 ด้านในการจัดอันดับ ตามรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี(19 ก.ย.) โดย IMD ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาอิสระที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ยังคงรักษาตำแหน่งที่ 1 ในด้าน “ความพร้อม” ขณะที่เลื่อนขึ้นจากอันดับที่ 31 มาอยู่ที่ 22 ใน “การลงทุนและการพัฒนา” และไต่ขึ้นจากอันดับที่ 14 สู่อันดับที่ 5 ใน “ความดึงดูด”
จากข้อมูลของ IMD การลงทุนและการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในประเทศ มีการประเมินจากขนาดของการลงทุนภาครัฐในด้านการศึกษาผ่านตัวบ่งชี้การใช้จ่ายสาธารณะ นอกจากนี้ยังประเมินคุณภาพการศึกษาโดยใช้ตัวบ่งชี้ เช่น อัตราส่วนนักเรียนต่อครู
การจัดอันดับยังประเมินความสามารถของประเทศ ในการดึงดูดผู้มีความสามารถจากต่างประเทศผ่านปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าครองชีพและคุณภาพชีวิต และระดับของทักษะและความสามารถในกลุ่มคนที่มีความสามารถ โดยพิจารณาจากการเติบโตของกำลังแรงงาน คุณภาพของทักษะที่มีอยู่ ระบบการศึกษา และประสบการณ์และความสามารถของกลุ่มผู้จัดการอาวุโสที่มีอยู่
สิงคโปร์อยู่ในอันดับต้นๆ ในด้านการเติบโตของกำลังแรงงาน ความพร้อมของแรงงานที่มีทักษะ ตลอดจนความพร้อมของทักษะทางการเงิน และยังคงเป็นอันดับสองในด้านความพร้อมของผู้จัดการอาวุโสที่มีประสบการณ์ระดับนานาชาติที่สำคัญ
สิงคโปร์มีคะแนนต่ำที่สุดในดัชนีค่าครองชีพ (อันดับที่ 63) และค่าใช้จ่ายสาธารณะในด้านการศึกษาทั้งหมด (อันดับที่ 65) โดยอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำในด้านอัตราส่วนนักเรียนต่อครูในระดับมัธยมศึกษา (อันดับที่ 36) อัตราส่วนนักเรียนต่อครูในระดับประถมศึกษา (อันดับที่ 34) ระดับการสัมผัสมลพิษจากอนุภาค (อันดับที่ 28) และกำลังแรงงานสตรี (อันดับที่ 20)
ฮ่องกงเป็นแห่งเดียวในเอเชียที่ติด 10 อันดับแรกที่มีชาติยุโรปอยู่เป็นส่วนใหญ่ โดยอยู่ในอันดับที่ 9 เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 16 ในปีที่แล้ว
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซียคงอันดับที่ 33 เท่ากับปีที่แล้ว อินโดนีเซียเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่อันดับที่ 46 จากอันดับที่ 47 ไทยลดลง 2 อันดับมาอยู่ที่อันดับที่ 47 และฟิลิปปินส์ตกลงไป 3 อันดับมาอยู่ที่อันดับที่ 63 เวียดนามไม่ติดอันดับ
สวิตเซอร์แลนด์ยังคงอยู่ในอันดับที่หนึ่ง ขณะที่ลักเซมเบิร์กอยู่อันดับที่ 3 ลดลงหนึ่งอันดับจากปีที่แล้ว ตามมาด้วยสวีเดนซึ่งขยับขึ้นมา 6 อันดับ
รายงานการจัดอันดับผู้มีความสามารถระดับโลกของ IMD ประจำปี 2567 เน้นย้ำถึงความจำเป็นของผู้กำหนดนโยบายในการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อลดการกีดกันที่อาจเกิดขึ้นจากการนำ AI ไปใช้อย่างกว้างขวาง
รายงานเตือนว่า AI อาจคุกคามความน่าดึงดูดใจของประเทศที่มีรายได้สูงต่อผู้ที่มีความสามารถ
อาร์ตูโร บริส ศาสตราจารย์ด้านการเงินและผู้อำนวยการศูนย์ IMD World Competitiveness Center ซึ่งเป็นผู้จัดอันดับ กล่าวว่า แทนที่จะถกเถียงถึงความสามารถของ AI ในการทำงานบางอย่างเช่นเดียวกับมนุษย์ เรามุ่งเน้นที่การทำความเข้าใจและการเรียนรู้เทคโนโลยี AI และ Web3 ซึ่งควรจะมีความสำคัญเหนือกว่าในระบบการศึกษาของเรา
“ในขณะที่ยังไม่ชัดเจนว่า AI จะทำให้ประเทศที่มีความสามารถมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นหรือไม่ แต่ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า AI จะส่งผลกระทบต่อความทั่วถึงและการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากพนักงานมีการเข้าถึงที่แตกต่างกัน”
ในประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ (อันดับที่ 2) สหราชอาณาจักร (อันดับที่ 27) แคนาดา (อันดับที่ 19) ญี่ปุ่น (อันดับที่ 43) และไทย (อันดับที่ 47) ผู้บริหารระดับสูงระบุว่า การใช้ AI ที่ชัดที่สุดคือในที่ทำงานผ่านความสามารถในการแทนที่แรงงานมนุษย์
สิงคโปร์จ่อกวาดธุรกิจการการเงินที่ถอนตัวจากฮ่องกง

Economist Intelligence Unit (EIU) ชี้ว่า ศูนย์กลางเหล่านี้ได้รับจากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ และระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่แตกต่างกันในแต่ละตลาด
สถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียมีความผันผวนอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้นักลงทุนต้องจัดพอร์ตการลงทุนใหม่
EIU ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและวิเคราะห์ของ The Economist Group เชื่อว่าปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ จะยังคงส่งผลกระทบต่อจีนและฮ่องกง ขณะที่ตลาดทุนในญี่ปุ่นและอินเดียจะเติบโตอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
“ยิ่งกว่านั้น สิงคโปร์จะกวาดธุรกิจการเงินส่วนใหญ่ที่กำลังออกจากฮ่องกง” รายงานระบุ
สถานะของฮ่องกงในฐานะศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลกกำลังถดถอย ขณะที่การปราบปรามของจีน และสงครามการค้าที่ยืดเยื้อกับสหรัฐอเมริกา นำไปสู่การโยกย้ายของการลงทุนจากต่างประเทศและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน EIU ระบุ
เศรษฐกิจที่ซบเซาของจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์และเทคโนโลยี ได้ทำลายความเชื่อมั่นในตลาดฮ่องกงมากขึ้น
จำนวนเงินที่ระดมทุนจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปีในฮ่องกง โดยบริษัทหลายแห่งยกเลิกแผนการจดทะเบียน เนื่องจากการประเมินมูลค่าที่อ่อนแอและความเชื่อมั่นของตลาดที่ไม่ดี
ในเดือนสิงหาคม 2566 รัฐบาลฮ่องกงได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพคล่องของตลาดหุ้น รวมถึงระบบการจดทะเบียน โครงสร้างตลาด และกลไกการซื้อขาย
“อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าเขตปกครองแห่งนี้จะต้องพึ่งพาตลาดจีนมากขึ้น แม้อาจจะยังคงเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของภูมิภาค แต่สถานะของมันในฐานะศูนย์กลางทางการเงินระดับโลกจะลดลงอย่างมากในช่วงหลายปีข้างหน้า” EIU กล่าว
ในทางตรงกันข้าม รายงานชี้ว่า ตลาดของสิงคโปร์มีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่องด้วยการปฏิรูปที่ทันท่วงที ปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และภูมิรัฐศาสตร์ที่เอื้อ
สิงคโปร์ได้ผงาดขึ้นในฐานะศูนย์กลางทางการเงินในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากการปราบปรามฮ่องกงของจีน
ความมั่งคั่งและเงินทุนภาคเอกชนจำนวนมากหลั่งไหลเข้าสู่สิงคโปร์ ซึ่งดึงดูดนักลงทุนในเรื่องความมั่นคงและเป็นมิตรกับธุรกิจ ตลาดภาษีต่ำ
แต่ความสำเร็จในตลาดเอกชนกลับไม่ส่งต่อไปยังตลาดหุ้น โดยตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) มีปริมาณการซื้อขายที่ต่ำ รายงาน EIU ระบุ
รายงานระบุว่าแม้บริษัทจดทะเบียนจะมีผลประกอบการที่ดี แต่อัตราส่วนราคาต่อกำไรของตลาด(P/E ratio) ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าหุ้นมีราคาแพงหรือถูก กลับลดลง บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ระมัดระวัง
การเพิกถอนหลักทรัพย์ใน SGX มีจำนวนมากกว่าการเข้าจดทะเบียนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีเพียงบริษัทเดียวที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ทำให้สิงคโปร์เป็นตลาด IPO ที่มีผลการดำเนินงานแย่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัทที่เข้าจดทะเบียนเพียงรายเดียวคือผู้ให้บริการรักษาโรคมะเร็ง Singapore Institute of Advanced Medicine Holdings ซึ่งระดมทุนได้เพียง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (27 ล้านเหรียญสิงคโปร์) จากการเข้าซื้อขายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
ขณะเดียวกัน มาเลเซียรับจดทะเบียนบริษัท 21 แห่ง ซึ่งระดมทุนได้ทั้งหมดประมาณ 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาด IPO อันดับต้นๆ ของภูมิภาคในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ไทยมีการเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 17 แห่ง ระดมทุนได้ประมาณ 427 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน
EIU กล่าวว่ากิจกรรม IPO ของสิงคโปร์มีแนวโน้มที่จะยังคงซบเซาในครึ่งปีหลัง 2567 นี้ เนื่องจากมูลค่าของกอง REITลดลง บริษัทที่มีการเติบโตสูงซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก private equity และ venture capital อาจลังเลที่จะระดมทุนจาสาธารณะในสภาพแวดล้อมที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปในจังหวะที่เหมาะสมอาจช่วยฟื้นฟูตลาดหุ้นของสิงคโปร์ได้
ธนาคารกลางสิงคโปร์ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อหาแนทางสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาด โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงการคลังคนที่สองเป็นประธาน และมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคเอกชนและตัวแทนภาครัฐเข้าร่วม และคาดว่าจะจัดทำรายงานให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี
ข้อเสนอแนะหนึ่งคือ กำหนดการมีส่วนร่วมในตลาดหุ้นจากเงินทุนภาคเอกชนที่หลั่งไหลเข้าสู่สิงคโปร์ เช่น สำนักงานครอบครัวและธุรกิจบริหารความมั่งคั่งอื่นๆ
อีกข้อหนึ่งคือการอนุญาตให้นำเงินบำนาญและสกุลเงินประเทศไปลงทุนในตลาดดังที่เห็นในออสเตรเลียหรือไทย ปัจจุบันเทมาเส็กลงทุนในบริษัทในประเทศและต่างประเทศ GIC ซึ่งบริหารเงินสำรองต่างประเทศของรัฐบาลจะลงทุนเฉพาะในต่างประเทศเท่านั้น
โครงการริเริ่มอื่นๆ ได้แก่ เงินทุนสนับสนุนเพื่อลดต้นทุนในการจดทะเบียน และสนับสนุนการวิจัยของหุ้นจดทะเบียนในสิงคโปร์
แม้มีการผลักดันการปฏิรูป แต่ก็อาจจำเป็นต้องมีแนวทางแบบองค์รวมมากขึ้น เพื่อสนับสนุนให้กองทุนในประเทศและผู้จัดการสินทรัพย์ซื้อขายอย่างแข็งขันมากขึ้น ควบคู่ไปกับการกำกับดูแลกิจการใหม่และกฎการเปิดเผยข้อมูล เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของนักลงทุนในระยะยาว EIU กล่าว
ตลาดหุ้นในญี่ปุ่นและอินเดียยังได้ประโยชน์จากความกังวลเกี่ยวกับการปราบปรามของจีน เนื่องจากนักลงทุนจำนวนมากกระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อบริหารความเสี่ยง
แต่ทั้งสองตลาดนี้ก็เผชิญกับความท้าทายเช่นกัน ตลาดหุ้นอินเดียมีราคาแพงกว่าหุ้นในภูมิภาค ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผลการดำเนินงานในอนาคต
สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของญี่ปุ่นอาจมีความซับซ้อนได้ จากการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะหากการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายนส่งผลให้มีจุดยืนทางนโยบายแบบแบ่งแยกมากขึ้น EIU กล่าว
เวียดนามผลักดันโครงการศูนย์กลางการเงินระดับภูมิภาค-นานาชาติ

สมาชิกของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน Nguyen Thi Bich Ngoc รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง Nguyen Duc Chi รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า Phan Thi Thang รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม Vu Hai San รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ Pham The Tung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร Pham Duc Long รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Tran Quy Kien รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม Dang Hoang Oanh รองผู้ว่าการธนาคารแห่งรัฐเวียดนาม Pham Tien Dung รองประธานสำนักงาน ของรัฐบาล รวมไปถึง Phan Van Mai ประธานคณะกรรมการประชาชน นครโฮจิมินห์ และ Ho Ky Minh รองประธานถาวรคณะกรรมการประชาชนดานัง
คณะกรรมซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 มีหน้าที่ช่วยเหลือรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีในการวิจัย กำกับ และประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการศูนย์กลางการเงินระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
ภายใต้โครงการนี้ เวียดนามมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนนครโฮจิมินห์ทางตอนใต้และเมืองดานังตอนกลาง ให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินในเอเชียและของโลกภายในปี 2588 เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับสถาบันที่โดดเด่น เพื่อดึงดูดนักลงทุนทางการเงินระหว่างประเทศ
เวียดนามมีหลายปัจจัยที่สำหรับการพัฒนาศูนย์กลางทางการเงิน นอกเหนือจากการรักษาสภาพเศรษฐกิจมหภาค และการเมืองที่มั่นคงแล้ว ยังตั้งอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ดี มีการเชื่อมต่อ มีเวลาที่แตกต่างจากศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุด 21 แห่งทั่วโลก มีตำแหน่งทางภูมิรัฐศาสตร์เชิงกลยุทธ์ และขนาดทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและการพัฒนาตลาดการเงิน
กัมพูชาร่วมมาเลเซียเปิดตัวบริการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน QR Code

การเปิดตัว ระบบการชำระเงินด้วย QR Code ข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชาและมาเลเซีย อย่างเป็นทางการในพนมเปญ มีนางเจีย สเร็ย ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งชาติกัมพูชาติ และ ดาโต๊ะ สรี อับดุล ราชีด กัฟเฟอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซีย เป็นประธาน พร้อมด้วย ดาโต๊ะไครัสซาเลห์ รัมลี ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท Maybank
ผู้ว่าการ ธนาคารกลางมาเลเซียกล่าวย้ำถึงการประชุมที่กับนายกรัฐมนตรีฮุน มาเน็ต ในระหว่างการเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ที่ได้หารือกันร่วมกันถึงแนวทางที่ให้ประชาชนและธุรกิจของทั้งสองประเทศจะได้รับประโยชน์จากระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนที่มีประสิทธิภาพ
เป้าหมายของระบบที่เพิ่งเปิดตัวคือทำให้การชำระเงินข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชาและมาเลเซียถูกลง เร็วขึ้น เข้าถึงได้มากขึ้น และโปร่งใสสำหรับทุกคน
นางสเร็ยกล่าวว่า การเปิดตัวเฟสแรกของการเชื่อมโยงนี้ จะช่วยให้นักท่องเที่ยวชาวกัมพูชาในมาเลเซียเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การชำระเงินที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยใช้แอป Bakong หรือแอป M2U KH เพื่อสแกนและชำระเงินที่ร้านค้ากว่า 2 ล้านแห่งที่แสดง DuitNow QR ของ PayNet ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินด้วย QR Code ของประเทศมาเลเซีย โดยมีเงินเรียล กัมพูชา เป็นสกุลเงินหลักในการทำธุรกรรม
“ในระยะต่อไป คนจากมาเลเซียจะสามารถใช้แอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ ของธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วม เพื่อสแกน KHQR ของร้านค้าในกัมพูชา ซึ่งมี 3.3 ล้านรายในขณะนี้”
นอกจากนี้ยังเน้นย้ำว่า บริการดังกล่าวจะช่วยลดความซับซ้อนในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน ยกระดับการเชื่อมโยง และส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ
การเปิดตัวดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับการประชุมทวิภาคีประจำปีระหว่างธนาคารกลางของทั้งสองประเทศ
นางสเร็ย กล่าวว่า การเปิดตัวระบบการชำระเงินด้วย QR Code ข้ามพรมแดนจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมกิจกรรมทางการค้า และยกระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับทั้งสองประเทศ ซึ่งแสดงถึงก้าวสำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์ของเครือข่ายอาเซียนที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ระบบการชำระเงินค้าปลีกที่ปลอดภัยและเชื่อมโยงกันทั่วทั้งภูมิภาค
ทั้งกัมพูชาและมาเลเซียประสบความสำเร็จในการเปิดตัวโครงการการชำระเงินข้ามพรมแดนกับประเทศหุ้นส่วนอื่นๆ เช่น ไทย สปป. ลาว เวียดนาม จีน และเกาหลีใต้
กัมพูชาตั้งเป้าการใช้รถยนต์ไฟฟ้า 40% ภายในปี 2050

รัฐมนตรีได้ประกาศตัวเลขในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการเผยแพร่นโยบายระดับชาติว่าด้วยการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า พ.ศ. 2567-2573 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567
“การใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในกัมพูชานั้น มาพร้อมกับการพัฒนาภาคส่วนรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยแนวโน้มโลกที่เร่งตัวอย่างรวดเร็วอย่างมาก” นายโพเนียกล่าว
แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสามแบรนด์ในกัมพูชา ได้แก่ BYD ของจีน, โตโยต้าของญี่ปุ่น และ Tesla ของอเมริกา จากข้อมูลของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง
จำนวนรถยนต์ไฟฟ้ายังมีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนรถยนต์จดทะเบียนที่ใช้ในประเทศ
ปัจจุบันมีรถยนต์และเครื่องยนต์จดทะเบียนแล้วกว่า 7 ล้านคัน โดย 85% เป็นรถมอเตอร์ไซค์ อีก 10% เป็นรถยนต์ และส่วนที่เหลือเป็นรถยนต์ขนส่ง
กระทรวงฯได้ดำเนินการตามทิศทางและมาตรการที่จำเป็น ที่กำหนดโดยรัฐบาลกัมพูชาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะยาวโดยคำนึงถึงความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า 40% และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 70% ภายในปี 2593 รัฐมนตรีกล่าวและว่า นโยบายระดับชาติเกี่ยวกับการพัฒนาภาคส่วนยานยนต์ไฟฟ้าปี 2567-2573 สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาอย่างรวดเร็วในภาคส่วนยานยนต์ไฟฟ้าในระดับภูมิภาคและระดับโลก
“นโยบายระดับชาตินี้จะเป็นแผนงานและเป็นแรงผลักดันที่มีประสิทธิผลสำหรับทิศทางการลงทุน การส่งเสริม การใช้ และการพัฒนาระบบนิเวศของยานพาหนะไฟฟ้า” นายโพเนียกล่าว
ภาคยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีศักยภาพสูงในการมีส่วนร่วม ไม่เพียงแต่ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและยกระดับสวัสดิการสาธารณะ แต่ยังมีผลต่อการผลักดันเศรษฐกิจและการกระจายฐานทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
การส่งเสริมการใช้ยานพาหนะไฟฟ้ามีส่วนสำคัญในการลดผลกระทบที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 30,000 คันภายในปี 2573