วันที่ 24 สิงหาคม 2567 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ พร้อมด้วย ผู้บริหาร นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน นางอลิศรา มหาสันทนะ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ดร.ปิติ ดิษยะทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ได้พบปะสื่อมวลชน ในงาน BOT Press Trip 2024
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กล่าวว่า การดำเนินภารกิจของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมา ให้ความสำคัญกับ
(1) การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน (macro-financial stability) ด้วยการผสมผสานเครื่องมือนโยบายต่างๆให้สอดรับกับบริบทที่เปลี่ยนไป
(2) การวางรากฐานภาคการเงิน เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตจากทั้งกระแสดิจิทัลและความยั่งยืน
(3) การสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ใช้บริการทางการเงิน เพื่อให้ใช้บริการอย่างปลอดภัย และเป็นธรรม
โดยในด้านการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน มุ่งเน้นไปที่สองเรื่องหลัก คือ หนึ่ง มีการผสมผสานนโยบาย ได้แก่ ปรับดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจที่โน้มเข้าสู่ศักยภาพ เงินเฟ้อโน้มเข้าสู่กรอบฯ และรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน และมีมาตรการดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอย่างตรงจุด เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ สอง การแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ทั้งก่อนและหลังเป็นหนี้เสีย ส่งเสริมการปิดจบหนี้เรื้อรังเร็วขึ้น (Responsible Lending: RL) และปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้
“การดำเนินภารกิจมีความต่อเนื่องท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง โจทย์ทั้ง 3 เรื่องไม่เปลี่ยน ทั้งเรื่องเสถียรภาพ แต่สิ่งที่จะทำเพื่อให้ไปถึงเสถียรภาพจะมีการปรับเปลี่ยน รวมไปถึงการวางรากฐาน โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นโดยเฉพาะภาคการเงินเพื่อให้เศรษฐกิจพัฒนาต่อไปได้ ทั้ง open data, open competition ต้องสานต่อไป ส่วนโจทย์การการดูแลผู้ใช้บริการทางการเงิน ก็ไม่เปลี่ยน” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าว
แต่สิ่งที่จะทำในระยะต่อไปต้องปรับเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น เรื่องเสถียรภาพการเงิน ที่ผ่านมา เน้นการทำงานแบบ policy-mixed ที่ผ่านการทำงานอาจจะไม่ชัดนัก การที่กนง.ดูแลดอกเบี้ยนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนเดียว การใช้ดอกเบี้ยอย่างเดียวแก้ปัญหาต่างๆที่มีไม่ได้ ต้องใช้ในลักษณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) เรียกว่า Intergarted Policy Framework เป็นงานที่ต่อเนื่อง
“กรอบการใช้เครื่องมือต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะการณ์ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเครื่องมือนโยบายต่างที่ใช้ใน Policy-mixed ของเรา ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือความเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินกับเศรษฐกิจ ซึ่งความเชื่อมโยง linkage ตรงนี้รุนแรงกว่าที่ประเมินไว้” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าว
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า การแก้หนี้ยังเป็นโจทย์ใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ออกมาตรการ responsible lending ไปแล้ว เป็นการเน้นสิทธิของลูกหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งในความต่อเนื่องในระยะต่อไปที่สำคัญคือการปฏิบัติ(implement) อย่างจริงจัง โดยจะมีการติดตามการปฏิบัติตามเกณฑ์ responsible lending เป็นรายแบงก์
ส่วนการวางรากฐานภาคการเงิน ก็ยังดำเนินการต่อเนื่องในด้าน Open infrastructure ต่อยอดจากสิ่งที่ทำมา ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลหรือ Digital Infrastructure ของไทยไม่ได้ด้อยกว่าต่างประเทศ ระบบ promptpay ของไทยมีการเชื่อมกับ paynow ของสิงคโปร์เป็นประเทศแรก
การดำเนินการด้าน Open infrastructure ในระยะต่อไปได้แก่ การพัฒนาระบบ Nexus ที่เตรียมเปิดให้บริการปี 2570 รวมไปถึง mBridge มีระบบรองรับสำหรับการทำธุรกรรม Wholesale ปี 2568 / BAHTNET NextGen พัฒนา domestic network เพื่อยกระดับ resiliency ในปี 2569 ตลอดจนการจัดตั้งกลไกค้ำประกันเครดิต ที่ยืดหยุ่นขึ้นร่วมกับ กระทรวงการคลัง และภาคการเงิน
“ใน Nexus เราก็เป็น 1 ใน 5 ประเทศที่เริ่มทำ ในอาเซียนหลายประเทศสนใจเข้าร่วมกับเราที่เป็น คนริเริ่มคนแรก first mover ซึ่งหวังว่าถ้าทำตรงนี้ได้ และยกระดับได้ก็จะนำระบบนี้ไปเชื่อมกับที่อื่น ได้หลายประเทศ” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าว
ส่วน open data หัวใจสำคัญที่จะทำให้อย่างอื่นทำงานได้ ก็จะมีกลไกที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้สิทธิส่งข้อมูล เช่น บัญชีเงินฝาก การชำระ หรือ รับชาระเงิน การใช้ หรือจ่ายค่าน้าค่าไฟ ข้อมูลภาษี
การดำเนินการอีกด้านที่จะให้การเงินยั่งยืนได้แก่ ที่ผ่านมามีผลิตภัณฑ์สนับสนุนการปรับตัวจาก brown เป็น less brown ของธุรกิจ & SMEs อย่างเป็นรูปธรรม เน้นจากก้าวเล็ก ๆ ที่ปฏิบัติได้จริงและขยายผลในวงกว้างได้ ส่วนสิ่งที่จะทำต่อไปได้แก่ Taxonomy เฟส 2
ขณะที่การสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ใช้บริการทางการเงิน สิ่งที่ทำมาได้แก่ การจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ด้วยการจัดการบัญชีม้าจากรายบัญชีเป็นรายบุคคล โดยใช้ข้อมูลจาก ปปง. และ Central Fraud Registry และ พิจารณาไม่เปิดบัญชีใหม่ให้บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ในระยะต่อไปจะขยายการจัดการบัญชีม้าเพิ่ม เช่น e-money / บัญชีนิติบุคคล นอกจากนี้ยังคงดำเนินการให้การคุ้มครองสิทธิผู้ใช้บริการ ขยายการดูแล market conduct ให้ครอบคลุม
More Openness ที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายดอกเบี้ย
จากนั้นได้เปิดให้สื่อมวลชนซักถาม
คำถามแรก การประชุมครั้งล่าสุดของกนง.ได้มีการคงอัตราดอกเบี้ย แต่ยังเห็นว่าความเปราะบางยังมีอยู่ อัตราดอกเบี้ยโลกมีแนวโน้มลง การจะเปลี่ยนของแบงก์ชาติ จะมีสัญญานใดที่จะให้เปลี่ยนได้ และการคงดอกเบี้ยที่ผ่านมาทำให้มีการโจมตีแบงก์ชาติ ต้องดูดซับสภาพคล่องออก และทำให้สภาพคล่องหายไป การออกพันธบัตรเพื่อดูสภาพคล่องยิ่งทำให้ธนาคารไม่ต้องทำงาน
ผู้ว่าการธปท.ตอบว่า “จุดยืนของเราในเรื่องดอกเบี้ยที่ย้ำมาตลอด คือ ขึ้นอยู่กับ outlook แนวโน้ม ถ้า outlook เปลี่ยนก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายของเรา” ที่ผ่านมา outlook ของเรา เน้นที่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ เสถียรภาพทางการเงิน GDP ที่ออกมาก็อยู่ใน path อาจจะมี downside risk ในบางมิติ โดยรวมการประมาณการ ณ จุดนี้ สอดคล้องกับการคาดการณ์ ไม่ต่างไปจากศักยภาพของเศรษฐกิจนัก แต่ก็ยอมรับว่าศักยภาพลดลงมามาก
ส่วนเงินเฟ้อขณะนี้ต่ำกว่าขอบล่าง แต่แนวโน้มค่อยๆเข้าสู่ขอบล่างของกรอบเงินเฟ้อ ที่สำคัญเงินเฟ้อ คือ การที่รักษา anchor ยึดเหนี่ยวการคาดการณ์เงินเฟ้อ และแนวโน้มให้อยู่ระดับที่ต่ำ เพื่อไม่ให้คาดการณ์เงินเฟ้อหลุดสูงไป ตราบใดที่เงินเฟ้อต่ำไม่นำไปสู่ภาวะเงินฝืด ทำให้การบริโภคชะลอตัวลง การคาดการณ์เงินเฟ้อตกต่ำ และทำให้อยู่ในวงจรของ deflationary loop คือ การที่คนคิดว่าราคาจะลดลง จึงชะลอการซื้อเพื่อรอราคาถูกในอนาคต ไม่มีการบริโภค “แต่ถ้าดูตอนนี้ ภาพนั้นยังไม่เกิด ยังไม่มีความเสี่ยงทางด้านนี้”
ดร.เศรษฐพุฒฺิกล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ สองเรื่องนี้ค่อนข้าง in line, in trend กับ outlook แต่มีความกังวลมากขึ้นกับเสถียรภาพการเงิน เพราะความเชื่อมโยงระหว่างภาคเศรษฐกิจกับภาคการเงิน ความเชื่อมโยงมีสัญญานที่จะเปลี่ยนแปลง ทำให้สภาวะทางการเงินตึงตัว “หากตึงตัวมาก ตึงตัวเกินไป ก็เป็นตัวหนึ่งจะ trigger ที่ให้กนง.ต้องตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เพราะหาก credit condition ตึงขึ้นมากๆ ก็อาจจะเอื้อหรืออาจจะเหมาะกับการดำเนินนโยบายการเงิน ที่ช่วยรักษาไว้ไม่ให้ off จนเกินไป”
“Tone ในการคุยกันของกรรมการในที่ประชุม สิ่งที่อยากจะให้แถลงการที่ออกไป reflect ว่า more openness ที่มีโอกาสจะปรับดอกเบี้ย เพราะพัฒนาการของเศรษฐกิจและภาวะการเงินมีความเชื่อมโยงกัน”
…ดร.เศรษฐพุฒฺิกล่าว
ดร.ปิติ กล่าวว่า ภาคการเงินกับภาคเศรษฐกิจจริงที่กรรมการพิจารณา โดยในภาคการเงิน ธนาคารพาณิชย์ แยกออกเป็นสองส่วนคือ ความเข้มของการปล่อยด้าน supply side เทียบกับด้าน demand side ด้านสินเชื่อที่ชะลอลง การปล่อยสินเชื่อน้อยลงเป็นเรื่องปกติ แต่ที่กรรมการจับตา คิอ ถ้าผู้ปล่อยเข้มขึ้น จากความกลัวความเสี่ยงมากขึ้น เพราะสถานะแย่ลง ด้าน supply side มากขึ้นกว่าที่เป็นจริง
เป็นกลไกเศรฐกิจปกติ ต้องติดตามในระยะต่อไป เพราะคุณภาพสินเชื่อบางส่วนแย่ลง
ดร.ปิติ กล่าวว่า กลไกสภาพคล่องที่ธปท.ถือ ไม่เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ โดยการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เรื่องสำคัญมีสองส่วนคือ ส่วนแรกประเมินว่าลูกค้าที่เข้ามาคุ้มที่จะปล่อยเงินหรือไม่ การประเมิน credit risk คือ สิ่งแรกที่จะบอกว่าธนาคารพาณิชย์เต็มใจที่จะปล่อยหรือไม่ให้กับลูกค้าที่เข้ามา ซึ่งปลี่ยนแปลงไปตามสถานะของลูกหนี้ที่เข้าและสถานะของธนาคารพาณิชย์ว่ามีความเข้มแข็งในระดับไหน และความเต็มใจที่จะเสี่ยงกับลูกค้า
ส่วนที่สอง ข้อจำกัด(Constraint) ของเงินกองทุน ธนาคารพาณิชย์จะขยายงบดุลได้มากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับเงินกองทุน ธนาคารพาณิชย์จะต้องคงเงินกองทุนกับสินทรัพย์ตามที่กำหนด ส่วนสภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ถือและนำมาลงทุนในสินทรัพย์ของธปท. สะท้อนการบริหารสภาพคล่อง และในแง่ธปท.ขณะที่สะสมเงินทุนจากต่างประเทศก็ต้องดูดเงินออก ด้วยการนำสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนออกมาแลกกับเงินสดกลับเข้าไป ในลักษณะคล้ายกับการดำเนินการแทรกแซง แต่ส่วนนึ้ไม่ได้เกี่ยวกับการตัดสินใจและความสามารถในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
ปริมาณสภาพคล่องที่ธปท.ดูดออกไม่ได้เป็นปัจจัยที่ส่งผลในเชิงสินเชื่อ โดยหลักแล้ว ธปท.ซื้อดอลลาร์ใส่เงินบาทเข้ามา ส่วนด้านธนาคารพาณิชย์ที่นำเงินมาฝากธปท.เป็นเงินระยะสั้น โดยราว 50% ที่เข้ามาแบบ bilateral repo อยู่ที่ไม่เกิน 1 เดือน ส่วนพันธบัตรธปท.อายุไม่เกิน 2 ปี สินทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์ลงทุนได้รับอัตราดอกเบี้ยในระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายประมาณ 2-2.5% แต่ธุรกิจของธนาคารพาณิชย์คือสินเชื่อ ที่ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 1 ปี เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัยอายุนาน 30 ปี อัตราดอกเบี้ย 5% สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์มีไว้เพื่อการทำธุรกิจ สำหรับการโอนเงินของลูกค้า การปล่อยสินเชื่อ เงินที่ธปท.ดูดซับ มีกลับคืนไปที่ธนาคารพาณิชย์ทุกวันเพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอ ในต่างประเทศเกณฑ์การดำรงสภาพคล่อง(Liquidity Coverage Ratio:LCR)อยู่ที่ 100% แต่LCR ของธนาคารไทยมีถึง 195% ซึ่งหนึ่งในสินทรัพย์สภาพคล่องคือ การนำมาฝากไว้กับธปท. เป็นสภาพคล่องระยะสั้น การที่ธปท.ดูดซับสภาพคล่องไม่ได้ดึงออกจากระบบ แต่เป็นการเสริมสภาพคล่องระยะสั้นที่เพียงแก่ธนาคารพาณิชย์ในการดูแลการปล่อยสินเชื่อ
ดร.รุ่ง เสริมว่า ประเด็นที่แบงก์ไม่ปล่อยกู้เพราะไม่ยอมรับเสี่ยง ในภาวะปกติการปล่อยสินเชื่อให้ผลตอบแทนมากกว่าการนำเงินมาฝาก กับบธปท. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธนาคารจากการปล่อยสินเชื่อ คือ หนี้เสีย credit cost ธนาคารพาณิชย์แยกลูกค้าดีกับลูกค้าไม่ดี ได้ไม่ชัดเจนนัก นี่คือที่มาที่ธปท.ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์มีข้อมูลต่างๆ open data เพื่อให้แยกลูกหนี้ดีได้ชัดเจน และมี credit cost ต่ำ
ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่แน่นอน อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ทำให้การเข้าไปดูข้อมูลยากขึ้น ที่สำคัญคือ ต้องการบริหารจัดการ credit cost ให้ลดลง
คำถามต่อมา เมื่อแบงก์ชาติเห็นสภาพที่ว่าธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อน้อยลงจากcredit risk ที่มากขึ้น และเป็นปัญหาว่าสภาพคล่องของคนในระบบเริ่มตึงตัวแล้ว แบงก์ชาติคิดว่าสิ่งที่ควรจะทำต่อไปคืออะไร อาจจะไม่ใช่เรื่องดอกเบี้ย แต่เป็นเครื่องมือต่างๆ มีอะไรที่เตรียมการจะทำ
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า ต้องแยกปัจจัยเชิงวัฎจักรกับเชิงโครงสร้าง ที่เห็นทั่วโลกคือ financial cycle หรือ credit cycle หลังจากที่เร่งปล่อยเชื่อมาเยอะช่วงหนึ่ง ก็จะมีช่วงที่ชะลอตัวลง เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้น เพราะธนาคารมีการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงขึ้น มีการระมัดระวังในการปล่อย ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่องปกติ การชะลอตัวของเครดิตก็เป็นปกติที่จะเห็นหลังการปล่อยสินเชื่อจำนวนมาก “สิ่งที่แบงกชาติกังวล ไม่ใช่การชะลอตัวขอสินเชื่อ แต่หากมีการประเมินความเสี่ยงสูงกว่าความเป็นจริง เหมือนกับการเหยียบเบรกที่แรงเกินไป คือ สิ่งที่ไม่อยากเห็น ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมโยงของสภาพเศรษฐกิจกับการปล่อยสินเชื่อแรงกว่าที่คาด เช่น สินเชื่อรถยนต์ชะลอลงมาก เพราะรถยนต์มือสองราคาตกลงมาก ความเสี่ยงที่จะเกิดจากการปล่อยก็สูงขึ้นทันที ก็ยิ่งไม่ปล่อยราคาก็ยิ่งลง เป็นวงจร และวงจรนี้ก็เริ่มแรง และแรงกว่าที่คิด”
“สิ่งที่กังวลอีกอย่างคือ คือโครงสร้าง ถ้าอยากแก้ปัญหาเหล่านี้ แก้ credit risk ถ้าอยากจะแก้เป็นรูปธรรม ก็ต้อง หนึ่งข้อมูล เพื่อให้การประเมินแม่นยำขึ้น ชัดเจนขึ้น ตอนนี้ภาพไม่ชัดเจนไม่รู้ว่าใครเสี่ยงใครไม่เสี่ยง อีกข้อหนึ่ง คือ กลไกการค้ำประกันความเสี่ยง
แต่หากข้อมูลชัดเจนและบีบให้ credit cost ลดลง แต่ยังสูงอยู่ สิ่งที่ต้องทำให้มีคนอื่นเข้ามารับความเสี่ยงจึงเป็นที่มาของ Nacca ให้ภาครัฐเข้าช่วยค้ำประกัน ลดควาเมสี่ยง เพื่อปล่อยสินเชื่อออกไป และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำได้คือ การคิดดอกเบี้ยตามระดับความเสี่ยง risk-based pricing ซึ่งแบงก์ชาติกำลังพิจารณาในรายละเอียด เนื่องจากยังมีประเด็นเรื่องความอ่อนไหว ซึ่งมีข้อดีคือดึงให้คนที่เข้าไม่ถึงบริการการเงินในระบบและใช้การเงินนอกระบบเข้ามาในระบบ แม้ได้รับดอกเบี้ยที่สูงกว่า แต่ก็น้อยกว่าดอกเบี้ยนอกระบบ”ดร.เศรษฐพุฒิกล่าว
คำถามต่อเนื่อง ต้องมีการปรับลดเกณฑ์อะไรหรือไม่ เพราะธนาคารพาณิชย์เองก็ตั้งสำรองสูงอยู่แล้ว และการจ่ายเงินสมทบเข้า FIDF มีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่กับการปล่อยสินเชื่อหรือไม่ปล่อย
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน กล่าวว่า เกณฑ์การตั้งสำรองหนี้สูงขึ้นมาก ในช่วงวิกฤติ ถ้าจะลดหย่อนเกณฑ์ก็ต้องถามว่า เพื่ออะไร ถ้ามีหนี้เสีย แบงก์ไม่ต้องสำรอง สิ่งที่เกิดขึ้นคือแบงก์ก็จะมีปัญหาวนกลับมา คำถามแรกคือ จะต้องเข้าไปช่วยอุ้มแบงก์หรือไม่ จะต้องเข้าไปค้ำประกันผู้ฝากเงินหรือไม่ ทุกอย่างมีต้นทุน ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการลดหย่อนเกณฑ์มานานที่สุดในช่วงโควิด โดยได้มีการปิดการลดหย่อนเกณฑ์เมื่อสิ้นปี 2566 ไม่มีประเทศไหนที่ผ่อนผันนานมาถึงปี 2566
การลดหย่อนเกณฑ์ แบงก์จะได้ประโยชน์จากการสำรองน้อยลง มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่การปล่อยกู้ออกไป แล้วหนี้เสียแม้ไม่สำรอง แบงก์ก็คงไม่อยากจะปล่อย การตั้งสำรองที่แบงก์ชาติกำหนดคือ ต้นทุนที่เกิดจากความเสียจากลูกหนี้จริง “การลดหย่อนเกณฑ์เราดูตาม cycle เวลาที่เศรษฐกิจแย่ ผู้กำกับดูแลก็ทำหน้าที่ counter-cyclical กับระบบ ที่ผ่านมาเราหย่อนไปเยอะแล้ว”
ดร.เศรษฐพุฒิอธิบาย การเก็บเงินสมทบเข้า FIDF ว่าปัจจุบันเก็บในอัตรา 0.47% โดย 0.46% ส่งไปที่ FIDF ส่วนอีก 0.01% ส่งไปที่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งเงินสมทบที่เก็บมา 0.46% นั้น FIDF ไม่ได้เก็บไว้เอง แต่ส่งให้กระทรวงการคลังเพื่อนำไปชำระหนี้ ที่มีจำนวน 580 พันล้านบาท แต่การที่เรียกกันมาว่าหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย ซึ่งหนี้ก้อนหนี้เป็นหนี้ของกระทรวงการคลัง หนี้สาธารณะ ไม่ได้อยู่ในงบดุลของ FIDF หนี้ในงบดุลของกองทุนฟื้นฟูฯมีเพียง 1.4 ล้านล้านบาท
นางสาวสุวรรณีกล่าวว่า หนี้กองทุนฟื้นฟูฯเป็นพันธบัตรรัฐบาลที่ออกขายให้ประชาชน ยอดเงินต้นคงเหลือ ณ เดือนสิงหาคม คือ 580,000 ล้านบาท จะมีการจ่ายชำระอีกงวดคือประมาณเดือนกันยายน เก็บเงินสมทบครึ่งปีแรกมาแล้ว หลังชำระแล้วหนี้จะเหลือ 550,000 ล้านบาทหนี้ก้อนนี้มีต้นทุนในแต่ละปีจ่ายดอกเบี้ยจากยอด 580,000 ล้านบาทคือ 16,000 ล้านบาท เงินที่เก็บ 0.46% ก็นำมาจ่ายดอกเบี้ย 16,000 ล้านบาทนี้ ส่วนการจ่ายเงินต้น สำนักบริหารหนี้ของกระทรวงการคลัง(หรือ สบน.) จะเป็นผู้แจ้งแบงก์ชาติว่าเงินต้นแบบไหนที่จะให้จ่ายก่อน โดยให้จ่ายเงินต้นที่มีดอกเบี้ยสูงก่อน เงิน 0.46% ที่เก็บได้ปีละ 70,000 ล้านบาท ไม่ได้เก็บไว้ที่ FIDF จะมีการจ่ายไปทุกรอบที่มีเงินมา
“หากมีการลดไป 0.23% จะทำให้หนี้ลดช้าลง เพราะเงินต่อไปที่จะได้ตามฐานเงินฝากตอนนี้ เงินก็จะหายไปประมาณ 35,000 ล้านบาท ซึ่งก็จะมีต้นทุนสองด้าน ข้อแรกเงินต้นจะลดช้ากว่าที่กำหนดเพราะหายไปครึ่งปี เงินต้นก็ยืดไปอีกประมาณครึ่งปี อีกข้อหนึ่งคือ ดอกเบี้ย จากเงินต้น 580,000 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ย 16,000 ล้านบาท การที่เงินต้นลดลงช้า ดอกเบี้ย 16,000 ล้านบาทก็จะลดช้าไปด้วย เฉบี่ยก็จะมีดอกเบี้ยต่อไปที่เกิดจากพันธบัตรที่ไม่ได้ลดอีก 5,000 ล้านบาท” นางสาวสุวรรณีกล่าว
ลดเงินสมทบ FIDF เร็วเกินที่จะให้ความเห็น
คำถามต่อมา 1.ข้อเสนอให้ลด 0.46% เหลือครึ่งหนึ่ง แล้วเอาเงินก้อนนี้ไปจัดการเรื่อง NPL ของลูกค้า ข้อเสนอนี้ถ้าทำจะกระทบต่อการชำระหนี้ของ FIDF(กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 5 แสนล้านบาทมากน้อยแค่ไหน 2.แบงก์ชาติมีหนี้สิน 4.2 ล้านล้านบาทเป็นพันธบัติแบงก์ขาติ 2 ล้านล้านบาท เป็นตราสารอื่นๆ 2.2 ล้านล้านบาท คือ ตราสารหนี้ 1.5 ล้านล้านบาท เสียดอกเบี้ยปีละ 8 หมื่นล้านบาท คำถามจากเวที(Vision for Thailand 2024 เวทีแสดงวิสัยทัศน์ของทักษิณ ชินวัตร วันที่ 22 สิงหาคม 2567)ที่บอกว่า แบงก์ชาติลดเงินสภาพคล่องลงเดือนละ 1% การบริหารสภาพคล่องของแบงก์ชาติ more or less ต้องเกี่ยวกับการปล่อยปริมาณเงินออกสู่ระบบ แม้ว่า LCR จะเป็น 190% ก็ตาม และแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากกับธปท.อยู่ที่ 2.5% แต่ก็สูงกว่าการจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากที่ระดับ 1.5% ก็ยังได้ส่วนต่าง 3.จากการที่ดร.เศรษฐพุฒิจะครบวาระในการรับตำแหน่งผู้ว่าการธปท.ในปีหน้า กระบวนการผู้ว่าการคนใหม่จะเริ่มเมื่อไร 4.การดูแลนโยบายการเงินของแบงก์ชาติทั้ง 4 ด้านทั้ง อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกปลี่ยน สินเชื่อ และ ปริมาณเงินเทคนิคและเครื่องมือที่ยังไม่มี หรือที่คิดจะใช้ที่ยังไม่มี มีหรือไม่
ดร.เศรษฐพุฒิตอบว่า กระบวนการสรรหาผู้ว่าการธปท. โดยปกติ 4 เดือนก่อนครบกำหนด ซึ่งจะมีการตั้งคณะกรรมการสรรหา 7 คน เมื่อมีผู้สมัครและพิจารณาแล้ว ก็ต้องเสนอชื่อสองชื่อไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาคัดเฃือกมาหนึ่งชื่อและนำเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งการสรรหาผู้ว่าการธปท.ก็มีข้อกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่คนเดิมที่อายุยังไม่ถึง 60 ปีต้องการจะเป็นผู้ว่าการต่อไปอีกวาระ ก็ต้องสมัครเข้ามาใหม่
สำหรับเรื่องสภาพคล่อง ดร.รุ่งตอบว่า ในการดำเนินการของธปท. บางครั้งมีการอัดฉีดสภาพในช่องทางอื่น คือ ช่องทางในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน บางช่วงก็ได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าจำนวนมาก แต่การอัดฉีดเข้าไปก็มีการดูดซับออกมา สำหรับคำถามที่ว่าธนาคาพาณิชย์ได้ส่วนต่างดอกเบี้ยจากการฝากสภาพคล่องระยะสั้นกับธปท.ที่ระดับ 2.5% กับการจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก 1.5% ดูเหมือนว่าธนาคารได้ประโยชน์ แต่ธนาคารพาณิชย์มีต้นทุนอื่นด้วย และดอกเบี้ย 1% ที่ได้คงไม่ได้ทำให้ธนาคารพาณิชย์อยู่ได้ในสภาพความเป็นจริง รวมทั้งต้องคำนึงถึงผู้ถือหุ้นด้วย
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า การดำเนินการ operations ของแบงก์ชาติ ต่างๆ ไม่ว่า พันธบัตรหรือ การทำ swap ที่ทำ เพื่อให้นโยบายการเงินออกมาตามที่กนง.กำหนด เช่น ดอกเบี้ยที่ 2.5% ถ้าไม่ทำดอกเบี้ยจะ off จาก 2.5% แต่สิ่งที่คนรู้สึกสนใจ คือ รู้สึกว่า สินเชื่อคือสภาพคล่อง “สภาพคล่องที่คนสนใจ คือ จะได้สินเชื่อหรือไม่ได้สินเชื่อ ไม่ได้อยู่ที่ว่าแบงก์ชาติจะใส่เงินหรือไม่ใส่เงิน แต่อยู่ที่แบงก์เองมองว่าถ้าปล่อยจะได่กำไรคุ้มเสี่ยงหรือไม่ หลักๆเป็นอย่างนั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ credit risk และเงินทุนพอหรือไม่ ตอนนี้ทุน งบดุลของแบงก์พาณิชย์เป็นตัวที่ทำให้แบงก์ไม่ปล่อยสินเชื่อหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ แต่อยู่ที่การมองสภาพเศรษฐกิจ และ credit risk ว่าไม่คุ้มกับการที่จะปล่อย จึงไม่ปล่อยสินเชื่อ การเติบโตของสินเชื่อจึงชะลอลง”
คำถามต่อมา การลด 0.46% ลงสามารถทำได้หรือไม่ในภาวะแบบนี้ อำนาจในการประกาศลดอยู่ที่ใคร
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า อำนาจนั้นอยู่ที่ธปท. ขณะที่นางสาวสุวรรณกล่าวเสริมว่า อำนาจนี้มาจากพระราชกำหนดปี 2555 ธปท.เป็นคนกำหนด โดยกระบวนการการออกกฎหมายเรื่องนี้ ด้วยความที่เป็นหนี้กระทรวงการคลัง กระบวนการท้ายสุดต้องส่งไปรายงานคณะรัฐมนตรีก่อน โดยสรุป ธปท.ต้องขออนุญาตกระทรวงการคลัง จึงจะประกาศได้
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวต่อว่า “ประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ เร็วเกินไปที่จะตอบที่จะให้ความเห็น”
คำถามต่อมา ที่มีข้อเสนอให้แบงก์ชาติ haircut หนี้หรือลดหนี้ให้กับลูกหนี้ที่มีปัญหาเพื่อให้ระบบเดินต่อได้ หากสถานการณ์แย่กว่าที่ประเมินไว้ คุณภาพสินเชื่อด้อยลงจนในที่สุดแบงก์ชาติต้องลดดอกเบี้ย คิดว่าหากแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยแล้ว แบงก์พาณิชย์จะปล่อยสินเชื่อมากกว่านี้หรือไม่ การลดดอกเบี้ยจะตรงโจทย์จะแก้ไขปัญหาคุณภาพหนี้ได้หรือไม่
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า “เรื่องการปล่อยสินเชื่อของแบงก์พาณิชย์ได้ตอบไปแล้ว แต่ประเด็นต่างๆเหล่านี้ก็เร็วเกินไปที่จะตอบ”
คำถามผู้ว่าการเคยพูดว่าอยากจะมีการเชื่อมกันระหว่างนโยบายมหภาคกับสถาบันการเงิน เช่นเดียวกับที่ในมุมของรัฐบาล ของกระทรวงการคลังมองว่า การทำนโยบายการเงินตอนนี้ที่กนง.พยายามบอกว่าดอัตราดอกเบี้ยสนับสนุนการฟื้นตัว เหมาะสม แต่มุมของรัฐบาลมองว่านโยบายแบงก์ชาติอาจจะเป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตเศรษฐกิจ รัฐมนตรีคลังเองก็นิยามว่าเศรษฐกิจเข้าใกล้วิกฤติแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงนานเกินไป ในมุมของแบงก์ชาติถ้าหากพยายามจะเชื่อมนโยบายกับการปฏิบัติโดยการออกนโยบายให้ถึงประชาชน การเชื่อมการทำงานกันระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลที่จะสามารถทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพได้ ควรจะเป็นอย่างไร
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า “การทำงานเรากับรัฐบาล กระทรวงการคลังมีการทำงานกันตลอดเวลา มีคณะที่เจอกันคุยกันตลอดเวลา ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ งบประมาณ การที่มีมุมมองต่างๆ ในเรื่องนโยบายการเงิน ดอกเบี้ยมาจากการที่หมวกคนละใบ หมวกของเราเน้นเสถียรภาพ หมวกกระทรวงการคลังเน้นเรื่องของ growth ความแตกต่างมาจากตรงนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าทำงานร่วมกันไม่ได้ เพราะจริงๆทำงานร่วมกันตลอดเวลา มีการหารือกัน แต่ไม่ได้ออกสู่สาธารณะ
คำถามต่อมา ที่ผู้ว่าบอกว่า more open มากขึ้นหมายถึง open มากขึ้นในการที่จะทบทวนทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่าจะลดลงได้ ใช่หรือไหม และการที่มีการพูดในเวที Vision Thailand 2024 ถึงความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ แบงก์ชาติมองว่าเป็นสัญญานที่ดีหรือไม่ ในการทำงานร่วมกันในอนาคต
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่าสำหรับคำถามหลัง “เราพร้อมทำงานกับทุกคน และความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ ต้องเข้าใจว่า ความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ หมายถึงความเป็นอิสระที่จะดำเนินนโยบาย แต่มีหลายอย่างไม่ได้อิสระขนาดนั้น เช่น กรอบเงินเฟ้อ ก็เป็นการตกลงกันกับรัฐบาล หรือต้อวรายงานต่อหน่วยงาน หรือฝ่ายรัฐบาล หรือการชี้แจงกรรมาธิการมีวิธีที่สะท้อนว่า ความเป็นอิสระของเรามาพร้อมกับความรับผิดชอบ accountabilty”
สำหรับ open ดร.เศรษฐพุฒิอธิบายว่า ความหมายก็คือ…
“open ที่จะปรับเปลี่ยน นโยบายดอกเบี้ยตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งtone จากแถลงการณ์(ของกนง.) มีการ flag เรื่องความเชื่อมโยงกันระหว่างสภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้น เพราะcredit quality และความเสี่ยงต่างๆ ทำให้การปล่อยสินเชื่อชะลอ แต่หากแรงกว่าที่ควรเป็น เราก็พร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดรับกับบริบทนั้น”
คำถาม การที่ประธานธนาคารกลางกล่าวสุนทรพจน์ส่งสัญญานการปรับลดดอกเบี้ยจะเป็นแรงกดดันให้แบงก์ชาติพิจารณาลดดอกเบี้ยหรือไม่
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า “อย่าเรียกว่าแรงกดดันเลย เพราะนโยบายเราขึ้นอยู่กับเรื่องของเราเป็นหลัก เราคำนึงถึงเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ เสถียรภาพการเงิน เป็นปัจจัยของเราภายในประเทศ แต่หนีไม่พ้นว่าการตัดสินใจต้องคำนึงถึงหลายปัจจัยที่กระทบ หนึ่งในนั้นคือ การตัดสินใจนโยบายการเงินของประเทศหลักๆ กระทบผ่านช่องทางกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจะมีนัยต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและเสถียรภาพการเงินของเรา ในแง่ผลต่อตลาด เฟดส่งสัญญานมาต่อเนื่อง”