ThaiPublica > ประเด็นสืบสวน > เจาะงบฯปี’66 มหาวิทยาลัย 85 แห่ง รับงานที่ปรึกษา 1,256 โครงการ 2,887 ล้าน-ก.คมนาคมจ้างเยอะสุด

เจาะงบฯปี’66 มหาวิทยาลัย 85 แห่ง รับงานที่ปรึกษา 1,256 โครงการ 2,887 ล้าน-ก.คมนาคมจ้างเยอะสุด

30 พฤษภาคม 2024


สำรวจงบฯปี’66 พบ 85 มหาวิทยาลัย คว้างานที่ปรึกษาหน่วยงานรัฐ 1,256 โครงการ มูลค่ากว่า 2,887 ล้านบาท – ราคาถูกสุด 9,000 บาท – สจล.รับงานเดียว 142 ล้านบาท เผย 3 อันดับแรก “มธ. – จุฬา – เกษตร” ได้งานมากที่สุดกว่า 100 โครงการ มูลค่าโครงการกว่า 400 ล้านบาท ชี้ ‘สำรวจความพึงพอใจ’ โครงการยอดฮิตของ อปท.

จากบทบาทหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงานของสถาบันอุดมศึกษา รวมไปถึงการให้บริการวิชาการ วิจัยและพัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้ในการช่วยเหลือสังคม และพัฒนาประเทศชาติ นอกจากการสอนหนังสือในห้องเรียนแล้ว วันนี้ก็มีคณาจารย์ตามมหาวิทยาลัยหลายแห่ง หารายได้เสริมด้วยการไปรับจ้างเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของรัฐที่ต้องการองค์ความรู้ ข้อเสนอแนะตามหลักวิชาการกันเป็นจำนวนมาก

ปี’66 หน่วยงานรัฐจัดงบฯ 2,887 ล้าน จ่ายค่าที่ปรึกษามหาวิทยาลัย 85 แห่ง

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าไปสืบค้นข้อมูลโครงการที่เกี่ยวข้องกับงาน “จ้างที่ปรึกษา” และ “จ้างศึกษา” ของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ พัฒนาโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเว็บไซต์ actai.co พบว่า เฉพาะปี 2566 ปีเดียว มีมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด 85 แห่ง เข้าไปรับงานเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของรัฐทั้งหมด 1,265 โครงการ คิดเป็นวงเงินงบประมาณรวม 2,887,728,218.96 บาท

งานถูกสุด 9,000 บาท แพงสุด 142 ล้าน

โดยค่าจ้างที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับจากหน่วยงานของรัฐ ถูกที่สุดอยู่ที่ 9,000 บาท แพงที่สุดแค่โครงการเดียวรับค่าจ้าง 142 ล้านบาท บางมหาวิทยาลัยตลอดทั้งปีได้รับงานเป็นที่ปรึกษาแค่ 2 โครงการ ได้ค่าจ้างหลักหมื่นต้นๆเท่านั้น ขณะที่บางมหาวิทยาลัยรับงานไม่ต่ำกว่า 100 โครงการ ได้ค่าจ้างไม่ปีละหลายร้อยล้านบาท ยกตัวอย่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2566 รับงานที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของรัฐไปทั้งหมด 124 โครงการ รวมเม็ดเงินที่ได้รับ 460,722,803 บาท หรือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับงานที่ปรึกษาไป 101 โครงการ รวมเม็ดเงิน 434,305,097 บาท ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะรับงานเฉลี่ยราว 20-60 โครงการต่อปี

กว่า 80% ใช้ ‘วิธีเฉพาะเจาะจง’ จัดซื้อจัดจ้าง

ที่น่าสนใจคือ “วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง” เพราะวิธียอดนิยมที่หน่วยงานรัฐใช้มากที่สุดคือ การจิ้มไปที่มหาวิทยาลัยโดยตรง หรือที่เรียกว่า “วิธีเฉพาะเจาะจง” จำนวน 1,016 โครงการ คิดเป็น 80.32% ของวิธีการทั้งหมด ถัดมาเป็นวิธีคัดเลือกจำนวน 218 โครงการ คิดเป็น 17.23% และวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปเพียง 31 โครงการ คิดเป็น 2.45%

จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดแล้ว กลับมาสู่คำถามที่ว่า มหาวิทยาลัยสามารถทำงานที่ปรึกษาฯ โดยไม่กระทบกับภารกิจการสอนและการสร้างองค์ความรู้ได้อย่างไร เพราะทรัพยากรที่นำมาใช้ไม่ว่าจะเป็น ‘เวลา’ ค่าใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟ และอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ รวมทั้งภาษีบุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มจ่ายกันอย่างไร….

“มธ. – จุฬา – เกษตร” รับงานมากที่สุด กว่า 100 โครงการ มูลค่าเกิน 400 ล้าน

เมื่อจัดอันดับสถานศึกษาตามเกณฑ์จำนวนโครงการและเม็ดเงินที่ได้รับ พบรายละเอียดดังนี้

สถานศึกษาที่ได้เงินสูงที่สุด 10 อันดับตามลำดับ ได้แก่ (1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 460,722,803 บาท (2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 434,305,097 บาท (3) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 427,093,584 บาท (4) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 266,919,300 บาท (5) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 143,310,773 บาท (6) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 119,737,714 บาท (7) มหาวิทยาลัยบูรพา 112,984,386.24 บาท (8) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 111,047,506 บาท (9) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 91,160,117.60 บาท และ (10) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 89,758,700 บาท

สถานศึกษาที่มีโครงการมากที่สุด 10 อันดับ ตามลำดับ ได้แก่ (1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 124 โครงการ (2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 117 โครงการ (3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 101 โครงการ (4) มหาวิทยาลัยทักษิณ 71 โครงการ (5) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 69 โครงการ (6) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 63 โครงการ (7) มหาวิทยาลัยมหิดล 39 โครงการ (8) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 35 โครงการ (9) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 37 โครงการ และ (10) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 32 โครงการ

สถานศึกษาที่ได้เงินต่ำที่สุด 10 อันดับ ตามลำดับ ได้แก่ (1) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 18,000 บาท (2) มหาวิทยาลัยปทุมธานี 19,000 บาท (3) มหาวิทยาลัยเนชั่น 19,000 บาท (4) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา 20,000 บาท (5) มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 20,000 บาท (6) มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 20,000 บาท (7) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 20,000 บาท (8) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 20,000 บาท (9) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 22,000 บาท และ (10) สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 40,000 บาท

เผย 16 มหาวิทยาลัย รับงานน้อยสุด ตลอดทั้งปีได้โปรเจ็กเดียว

สถานศึกษาที่มีโครงการน้อยที่สุดอยู่ที่ 1 โครงการ มีจำนวน 16 สถานศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา มหาวิทยาลัยเนชั่น มหาวิทยาลัยปทุมธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

มหาวิทยาลัยไหน ‘รับงาน – ค่าจ้าง’ มากที่สุด

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า สรุปข้อมูลโครงการจ้างที่ปรึกษา และจ้างศึกษา ทั้งหมด 85 สถานศึกษา โดยเรียงตามเม็ดเงินที่ได้รับ ดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งหมด 124 โครงการ รวม 460,722,803 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 44 โครงการ เฉพาะเจาะจง 71 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 9 โครงการ
  2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งหมด 101 โครงการ รวม 434,305,097 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 31 โครงการ เฉพาะเจาะจง 65 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 5 โครงการ
  3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งหมด 117 โครงการ รวม 427,093,584 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 31 โครงการ เฉพาะเจาะจง 85 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  4. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทั้งหมด 32 โครงการ รวม 266,919,300 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 11 โครงการ เฉพาะเจาะจง 21 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทั้งหมด 29 โครงการ รวม 143,310,773 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 11 โครงการ เฉพาะเจาะจง 16 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 2 โครงการ
  6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งหมด 69 โครงการ รวม 119,737,714 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 9 โครงการ เฉพาะเจาะจง 60 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  7. มหาวิทยาลัยบูรพา ทั้งหมด 28 โครงการ รวม 112,984,386.24 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 5 โครงการ เฉพาะเจาะจง 19 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 4 โครงการ
  8. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทั้งหมด 26 โครงการ รวม 110,047,506 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 6 โครงการ เฉพาะเจาะจง 20 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  9. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ทั้งหมด 19 โครงการ รวม 91,160,117.60 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 4 โครงการ เฉพาะเจาะจง 14 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทั้งหมด 27 โครงการ รวม 89,758,700 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 6 โครงการ เฉพาะเจาะจง 20 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  11. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทั้งหมด 10 โครงการ รวม 84,242,692 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 6 โครงการ เฉพาะเจาะจง 4 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  12. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งหมด 63 โครงการ รวม 83,587,979.80 บาท  แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 7 โครงการ เฉพาะเจาะจง 56 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  13. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งหมด 35 โครงการ รวม 76,964,707 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 6 โครงการ เฉพาะเจาะจง 28 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  14. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ทั้งหมด 31 โครงการ รวม 56,838,148 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 3 โครงการ เฉพาะเจาะจง 27 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  15. มหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งหมด 22 โครงการ รวม 56,055,255.40 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 7 โครงการ เฉพาะเจาะจง 15 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  16. มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งหมด 39 โครงการ รวม 53,879,968 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 2 โครงการ เฉพาะเจาะจง 36 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  17. มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งหมด 26 โครงการ รวม 35,440,760 บาท  แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 7 โครงการ เฉพาะเจาะจง 18 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  18. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทั้งหมด 7 โครงการ รวม 28,965,200 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 6 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  19. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทั้งหมด 15 โครงการ รวม 19,127,390.51 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 2 โครงการ เฉพาะเจาะจง 13 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ทั้งหมด 13 โครงการ รวม 16,029,828.40 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 13 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  21. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ทั้งหมด 27 โครงการ รวม 15,453,500 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 2 โครงการ เฉพาะเจาะจง 25 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  22. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทั้งหมด 15 โครงการ รวม 12,949,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 14 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  23. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งหมด 3 โครงการ รวม 10,872,300 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  24. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทั้งหมด 5 โครงการ รวม 7,450,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 3 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  25. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ทั้งหมด 3 โครงการ รวม 5,534,410 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 2 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  26. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ทั้งหมด 4 โครงการ รวม 5,396,500 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 4 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  27. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งหมด 9 โครงการ รวม 5,192,595 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 9 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  28. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ทั้งหมด 2 โครงการ รวม 4,808,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 2 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  29. มหาวิทยาลัยทักษิณ ทั้งหมด 71 โครงการ รวม 3,877,092 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 71 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  30. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทั้งหมด 7 โครงการ รวม 3,830,615 บาท  แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 7 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  31. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทั้งหมด 4 โครงการ รวม 3,799,680 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 3 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  32. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทั้งหมด 3 โครงการ รวม 3,691,588.79 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 2 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  33. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ทั้งหมด 4 โครงการ รวม 3,681,500 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 4 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  34. มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งหมด 5 โครงการ รวม 3,010,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 5 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  35. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ทั้งหมด 18 โครงการ รวม 2,833,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 17 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  36. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งหมด 18 โครงการ รวม 2,621,478 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 17 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  37. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 1,962,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 0 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  38. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ทั้งหมด 12 โครงการ รวม 1,935,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 12 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  39. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทั้งหมด 2 โครงการ รวม 1,900,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 2 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  40. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ทั้งหมด 15 โครงการ รวม 1,782,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 5 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  41. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ทั้งหมด 5 โครงการ รวม 1,558,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 5 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  42. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทั้งหมด 4 โครงการ รวม 1,521,500 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 4 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  43. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ทั้งหมด 7 โครงการ รวม 1,450,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 6 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  44. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทั้งหมด 2 โครงการ รวม 1,440,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  45. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ทั้งหมด 6 โครงการ รวม 1,303,500 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 6 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  46. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ทั้งหมด 3 โครงการ รวม 1,210,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 2 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  47. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 884,490 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 0 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  48. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ทั้งหมด 37 โครงการ รวม 836,900 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 37 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  49. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ทั้งหมด 2 โครงการ รวม 785,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 2 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  50. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ทั้งหมด 3 โครงการ รวม 753,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 3 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  51. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ทั้งหมด 2 โครงการ รวม 732,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  52. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 700,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 0 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  53. มหาวิทยาลัยนครพนม ทั้งหมด 5 โครงการ รวม 655,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 4 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  54. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ทั้งหมด 2 โครงการ รวม 573,000 บาท  แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 1 โครงการ
  55. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 540,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  56. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ทั้งหมด 3 โครงการ รวม 536,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 3 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  57. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ ทั้งหมด 3 โครงการ รวม 520,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 1 โครงการ เฉพาะเจาะจง 2 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  58. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ทั้งหมด 4 โครงการ รวม 510,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 4 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  59. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 500,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  60. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ทั้งหมด 4 โครงการ รวม 495,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 4 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  61. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ทั้งหมด 18 โครงการ รวม 335,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 18 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  62. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ทั้งหมด 15 โครงการ รวม 327,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 15 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  63. วิทยาลัยนครราชสีมา ทั้งหมด 11 โครงการ รวม 209,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 11 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  64. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ทั้งหมด 10 โครงการ รวม 180,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 10 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  65. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ทั้งหมด 7 โครงการ รวม 175,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 7 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  66. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ทั้งหมด 6 โครงการ รวม 150,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 6 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  67. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งหมด 5 โครงการ รวม 135,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 5 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  68. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ทั้งหมด 4 โครงการ รวม 120,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 4 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  69. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ทั้งหมด 6 โครงการ รวม 138,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 6 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  70. วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ทั้งหมด 7 โครงการ รวม 112,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 7 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  71. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 90,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  72. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ทั้งหมด 4 โครงการ รวม 80,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 4 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  73. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทั้งหมด 3 โครงการ รวม 45,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 3 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  74. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 44,660 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  75. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ทั้งหมด 2 โครงการ รวม 41,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 2 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  76. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งหมด 2 โครงการ รวม 40,000 บาท  แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 2 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  77. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 22,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  78. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 20,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  79. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 20,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  80. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 20,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  81. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 20,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  82. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 20,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  83. มหาวิทยาลัยเนชั่น ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 19,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  84. มหาวิทยาลัยปทุมธานี ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 19,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ
  85. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ทั้งหมด 1 โครงการ รวม 18,000 บาท แบ่งเป็นวิธีคัดเลือก 0 โครงการ เฉพาะเจาะจง 1 โครงการ ประกาศเชิญชวนทั่วไป 0 โครงการ

สจล.คว้าโปรเจกยักษ์ งานเดียวรับ 142 ล้าน

ด้านมูลค่าโครงการ พบว่า 10 โครงการที่เม็ดเงินสูงสุดมักจะเกี่ยวข้องกับงานสาธารณูปโภค เช่น ระบบอาคาร ระบบน้ำ ถนน ฯลฯ และมีด้านการศึกษาภาษาอังกฤษ 2 โครงการ นอกจากนี้ ยังมีที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์อีก 1 โครงการ โดย รายละเอียด 10 อันดับแรก ดังนี้

  1. มูลค่าโครงการ 142,000,000 บาท จ้างที่ปรึกษาโครงการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ และเทคโนโลยีดิจิทัลติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้จ้างคือ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  2. มูลค่าโครงการ 41,980,000 บาท จ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า อาคารสำนักงานและพื้นที่สนับสนุนท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยมหาวิทยาลัยบูรพา ผู้จ้างคือ ฝ่ายบริหารงานสนับสนุน ท่าเรือกรุงเทพ
  3. มูลค่าโครงการ 38,999,000 บาท จ้างที่ปรึกษาโครงการจ้างที่ปรึกษาดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้จ้างคือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
  4. มูลค่าโครงการ 37,657,000 บาท จ้างที่ปรึกษาค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดเล็กพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก เพื่อพัฒนาศักยภาพการเก็บกักและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีคัดเลือก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้จ้างคือ กรมทรัพยากรน้ำ กรุงเทพฯ
  5. มูลค่าโครงการ 29,872,700 บาท จ้างที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาที่ดินเพื่อก่อสร้างจุดจอดพักรถบรรทุกและสถานีตรวจสอบน้ำหนักยานพาหนะ ด้วยวิธีคัดเลือก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้จ้างคือ สำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ กรมทางหลวง กรุงเทพฯ
  6. มูลค่าโครงการ 28,550,000 บาท จ้างที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2566 ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้จ้างคือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
  7. มูลค่าโครงการ 27,946,200 บาท จ้างที่ปรึกษาโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ด้วยวิธีคัดเลือก โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้จ้างคือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  8. มูลค่าโครงการ 26,455,000 บาท จ้างที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ปีที่ 7 (ระยะที่ 2) (MEA ENERGY AWARDS 2023-2024) ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้จ้างคือ การไฟฟ้านครหลวง ฝ่ายบริการระบบไฟฟ้า
  9. มูลค่าโครงการ 24,600,000 บาท จ้างที่ปรึกษาโครงการสำรวจความต้านทานการลื่นไถลของผิวทางเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุบนโครงข่ายทางหลวงสายหลักและพื้นที่จุดเสี่ยงอันตราย ด้วยวิธีคัดเลือก โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้จ้างคือ สำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ กรมทางหลวง กรุงเทพฯ
  10. มูลค่าโครงการ 22,550,000 บาท จ้างที่ปรึกษาดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาภาษาต่างประเทศ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต ด้วยวิธีคัดเลือก โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้จ้างคือ เทศบาลนครภูเก็ต

ในทางกลับกัน โครงการที่เม็ดเงินต่ำสุดอยู่ที่ 9,000 บาท คือ โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อวิจัยและประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระยาบันลือ ประจำปี พ.ศ. 2566 ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ผู้จ้างคือองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระยาบันลือ

รองลงมาเป็นโครงการที่เม็ดเงิน 10,000 บาท จำนวน 13 โครงการ, 11,500 บาท จำนวน 1 โครงการ, 12,000 บาท จำนวน 2 โครงการ, 14,000 บาท จำนวน 6 โครงการ, 15,000 บาท จำนวน 49 โครงการ

‘คมนาคม’ จัดงบฯจ้างมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษามากสุด 527 ล้าน

จากข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการที่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาและจ้างศึกษาในปี 2566 พบว่า ผู้ว่าจ้างอย่าง “หน่วยงานของรัฐ” สามารถแบ่งกว้างๆ ได้ 6 กลุ่ม โดยสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า รวบรวมข้อมูลและเรียงลำดับตามประเภทจากการใช้งบประมาณรวมสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้

(1) หน่วยงานระดับกระทรวง กรม สำนัก และหน่วยงานในสังกัด

  • กระทรวงคมนาคม (คค.) 58 โครงการ – 527,537,415 บาท
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) 26 โครงการ – 235,560,418 บาท
  • กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) 37 โครงการ – 139,015,690 บาท
  • กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) 29 โครงการ – 83,194,400 บาท
  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) 19 โครงการ – 69,435,263.20 บาท
  • กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) 10 โครงการ – 57,270,000 บาท
  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) – 53,053,838 บาท 
  • สำนักนายกรัฐมนตรี 61 โครงการ – 51,519,228 บาท
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) 15 โครงการ – 49,177,754 บาท
  • กระทรวงพลังงาน (พน.) 11 โครงการ – 48,315,225 บาท
  • กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) 30 โครงการ – 40,673,260 บาท
  • กระทรวงมหาดไทย (มท.) 11 โครงการ – 38,813,000 บาท (ไม่รวมการปกครองส่วนท้องถิ่น)
  • กระทรวงการคลัง (กค.) 10 โครงการ – 35,137,139.80 บาท
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กก.) 10 โครงการ – 27,717,680 บาท
  • กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) 21 โครงการ – 20,767,800 บาท
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 11 โครงการ – 15,102,900 บาท
  • กระทรวงแรงงาน (รง.) 2 โครงการ – 10,960,000 บาท
  • กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 11 โครงการ – 8,446,310 บาท 

(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ และสำนักงานจังหวัด

  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 46 โครงการ – 117,992,372 บาท
  • เทศบาลนคร 16 โครงการ – 92,264,700 บาท
  • กรุงเทพมหานคร (กทม.) 14 โครงการ – 69,239,148 บาท
  • สำนักงานจังหวัด 67 โครงการ – 38,473,452 บาท
  • เทศบาลเมือง 30 โครงการ – 28,224,700 บาท
  • เทศบาลตำบล 92 โครงการ – 14,612,590 บาท
  • องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 303 โครงการ – 9,677,940 บาท
  • เมืองพัทยา 2 โครงการ – 5,230,000 บาท

(3) รัฐวิสาหกิจ

  • การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) 4 โครงการ – 77,790,394.64 บาท
  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 10 โครงการ – 68,989,526 บาท
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 12 โครงการ – 59,077,268.80 บาท
  • บมจ. ท่าอากาศยานไทย 10 โครงการ – 48,729,654 บาท
  • การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 11 โครงการ – 37,154,088 บาท
  • การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 5 โครงการ – 34,325,895 บาท
  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 12 โครงการ – 21,734,270 บาท
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) 11 โครงการ – 18,830,927.78 บาท
  • การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) 8 โครงการ – 15,571,990 บาท
  • ธนาคารออมสิน 4 โครงการ – 12,863,720 บาท
  • การยางแห่งประเทศไทย 9 โครงการ – 10,567,205.60 บาท
  • องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) 3 โครงการ – 10,450,000 บาท
  • การยาสูบแห่งประเทศไทย 1 โครงการ – 9,400,000 บาท
  • การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 2 โครงการ – 8,763,320 บาท
  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 5 โครงการ – 7,036,000 บาท
  • การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 2 โครงการ – 5,180,000 บาท
  • องค์การเภสัชกรรม 1 โครงการ – 1,490,000 บาท
  • บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 3 โครงการ – 1,280,000 บาท
  • การประปานครหลวง (กปน.) 1 โครงการ – 499,500 บาท
  • องค์การสวนพฤกษศาสตร์ 1 โครงการ – 100,000 บาท

(4) องค์การมหาชน

  • สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) 11 โครงการ – 26,497,540 บาท
  • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 14 โครงการ – 20,099,000 บาท
  • สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 4 โครงการ – 12,637,000 บาท
  • สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) 10 โครงการ – 11,902,400 บาท
  • สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) 3 โครงการ – 7,924,990 บาท
  • องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 7 โครงการ – 5,651,000 บาท
  • สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) 3 โครงการ – 4,140,000 บาท
  • สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) 3 โครงการ – 4,068,900 บาท
  • สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) 5 โครงการ – 3,148,880 บาท
  • สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) 2 โครงการ – 2,967,000 บาท
  • ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) 4 โครงการ – 2,525,000 บาท
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) 1 โครงการ – 2,000,000 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) 2 โครงการ – 1,500,000 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ 1 โครงการ – 993,600 บาท
  • สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) 1 โครงการ – 900,000 บาท
  • สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 1 โครงการ – 850,000 บาท
  • สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 1 โครงการ – 415,000 บาท

(5) หน่วยงานรัฐอื่นๆ

  • สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 23 โครงการ – 102,245,412 บาท
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) 6 โครงการ – 61,056,300 บาท
  • สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) 6 โครงการ – 52,820,000 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) 5 โครงการ – 40,358,497 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) 8 โครงการ – 37,106,380 บาท
  • สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 2 โครงการ – 22,179,800 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) 5 โครงการ – 16,854,600 บาท 
  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) 8 โครงการ – 14,537,661 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) 4 โครงการ – 12,913,486 บาท
  • องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) 3 โครงการ – 8,770,000 บาท
  • กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ 1 โครงการ – 7,342,077.6 บาท
  • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) 2 โครงการ – 5,186,000 บาท
  • ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) 5 โครงการ – 5,006,695 บาท
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 1 โครงการ – 4,980,000 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ 1 โครงการ – 4,850,000 บาท
  • กองทัพไทย 1 โครงการ – 4,075,000 บาท
  • สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) 1 โครงการ – 3,770,000 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) 2 โครงการ – 3,539,600 บาท
  • สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) 2 โครงการ – 2,510,000 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) 1 โครงการ – 1,619,998.2 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สก.พอ.) – 1,450,000 บาท
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 5 โครงการ – 1,386,990 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 1 โครงการ – 360,000 บาท

(6) หน่วยงานอิสระ

  • ศาลรัฐธรรมนูญ 3 โครงการ – 4,635,000 บาท
  • สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) 2 โครงการ – 3,725,000 บาท
  • สำนักงานอัยการสูงสุด 1 โครงการ – 3,400,000 บาท
  • สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 3 โครงการ – 2,533,428 บาท

‘สำรวจความพึงพอใจ’ โครงการยอดฮิตของ อปท.

กว่า 80% ของโครงการทั้งหมดใช้วิธีเฉพาะเจาะจง กล่าวคือ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดว่ามหาวิทยาลัยใดมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข และให้เข้ามายื่นข้อเสนอหรือเจรจาต่อรองราคากัน ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และองค์ความรู้เฉพาะ กระทั่งบริบทเชิงพื้นที่ที่หน่วยงานรัฐจะเลือกให้โครงการกับมหาวิทยาลัยสักแห่ง

แต่หลายโครงการที่มีการจ้างวิธีเฉพาะเจาะจงมักจะมีรูปแบบ (pattern) หรือรายละเอียดโครงการไม่ต่างกันมากนัก ตัวอย่างเช่น โครงการที่มีคำว่า ที่ปรึกษาด้านการสำรวจความพึงพอใจ… หรือ ที่ปรึกษาการสำรวจความเป็นไปได้ของ… หรือ ที่ปรึกษาการประเมินผล… หรือ ที่ปรึกษาผลกระทบ…

เมื่อค้นหาคำที่เป็นคีย์เวิร์ดของโครงการที่ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง 1,016 โครงการ จากโครงการทั้งหมด 1,265 โครงการ พบรายละเอียดและรูปแบบโครงการที่คล้ายคลึงกันผ่านคำยอดฮิต ดังนี้

โครงการที่เกี่ยวกับ การสำรวจ ‘ความพึงพอใจ’ จำนวน 370 โครงการ โดยรูปแบบคือจ้างให้สถานศึกษาสำรวจความพึงพอใจต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานตนเอง โดยคำที่มาคู่กันคือ ‘ประเมิน’ เพราะบางหน่วยงานเขียนโครงการด้วยคำว่าประเมินผลความพึงพอใจ หรือ ประเมินความพึงพอใจ

ที่สำคัญ 350 โครงการในหมวดนี้ถูกจ้างโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้งบประมาณตั้งแต่ 9,000-90,000 บาท ตัวอย่างเช่น

  • จ้างที่ปรึกษาสำรวจและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบประมาณ 10,000 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จ้างที่ปรึกษาดำเนินการสำรวจและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลตานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณ 26,960 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จ้างที่ปรึกษาวิจัย เพื่อประเมินความพึงพอใจของประชาชน ต่อผลการดำเนินงานเทศบาลเมืองสตูล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง 36,000 บาท
  • จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวิจัย สำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณ 90,000 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

กลุ่มรัฐวิสาหกิจก็จ้างที่ปรึกษาโครงการความพึงพอใจฯ เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น

  • จ้างที่ปรึกษาโครงการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการประปาส่วนภูมิภาค ปีงบประมาณ 2566 งบประมาณ 4,000,000 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • จ้างที่ปรึกษางานจ้างที่ปรึกษาเพื่อสำรวจความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความภักดีของลูกค้าของการรถไฟฯ ปีงบประมาณ 2566 งบประมาณ 3,440,000 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยบูรพา
  • จ้างที่ปรึกษาเพื่อสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน ลูกจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปี 2566 (Employee Satisfaction and Engagement Survey) งบประมาณ 1,196,136 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ส่วนคำว่า ‘ประเมิน’ หรือ ‘ประเมินผล’ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการสำรวจความพึงพอใจ มีทั้งการประเมินผลโครงการ แผนงาน และการประเมินผลภายในองค์กร ตัวอย่างเช่น

  • จ้างที่ปรึกษาที่ปรึกษาดำเนินงานประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 – 2570 เทศบาลนครนครราชสีมา งบประมาณ 150,000 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จ้างที่ปรึกษาประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการ แม่เมาะเฟสติวัล โดย กฟผ. แม่เมาะ จำนวน 1 งาน เลขที่ หทฟม-ห.(จ)165/2565 งบประมาณ 310,420 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จ้างที่ปรึกษาโครงการประเมินผลประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร ททท. ประจำปี 2566 งบประมาณ 500,000 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • จ้างที่ปรึกษาที่ปรึกษาเพื่อการสำรวจสภาพแวดล้อมพื้นที่จุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของพื้นที่เป้าหมายและการทดสอบและประเมินผลการใช้งานระบบตามกิจกรรมโครงการ Smart Safety Zone 5G เพื่อการสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน งบประมาณ 1,980,000 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • จ้างที่ปรึกษาโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาสอบทาน ติดตามและประเมินผลโครงการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง งบประมาณ 18,179,800 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

นอกจากตัวอย่างข้างต้น ยังมีโครงการที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ และองค์ความรู้เฉพาะ ซึ่งไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ เช่น

  • จ้างที่ปรึกษาโครงการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ และเทคโนโลยีดิจิทัลติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง งบประมาณ 142,000,000 บาท รับงานโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • จ้างที่ปรึกษาโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร (Bangkok-Infrastructure Asset Management System B-AMS) งบประมาณ 15,000,000 บาท รับงานโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จ้างที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรม และควบคุมงานจ้างพัฒนาอาคารสำนักงาน กฟภ. ที่ได้รับรองมาตรฐาน Green Office ให้เป็นอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) ระยะที่ 1 งบประมาณ 4,000,000 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • จ้างที่ปรึกษาโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาจัดทำหลักเกณฑ์กลางในการประเมินสถานการณ์และจัดลำดับความสำคัญและระดับความรุนแรงของปัญหาความมั่นคงในระดับพื้นที่ (กตป.) งบประมาณ 1,200,000 บาท รับงานโดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จ้างที่ปรึกษาเรื่องศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางปกครองร่วมกับบทลงโทษตามกฎหมายกรณีเมาแล้วขับ งบประมาณ 500,000 บาท รับงานโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

จากการสำรวจการจัดซื้อจัดจ้างสถาบันอุดมศึกษา 85 แห่ง เป็นที่ปรึกษาโครงการต่างๆของหน่วยงานรัฐ ปีเดียว 1,256 โครงการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,887 ล้านบาท จึงมีคนในแวดวงวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ตั้งข้อสังเกตว่า จำนวนบุคลากรครูผู้สอน และเวลาที่จะต้องทุ่มเทให้กับการเรียนการสอน แทบจะกระดิกตัวไปไหนไม่ได้อยู่แล้ว การรับจ้างเป็นที่ปรึกษาหน่วยงานของรัฐกว่า 100 โครงการต่อปี จะกระทบกับภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย และคุณภาพการเรียนการสอนหรือไม่ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรต่างๆของภาครัฐ เป็นประเด็นที่กำลังถูกจับตามอง

อ่านต่อตอนต่อไป…เบื้องลึกการรับงานของมหาวิทยาลัยทำกันแบบไหน/อย่างไร