ThaiPublica > เกาะกระแส > หลักฐานจาก “ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา” หลังเปิดโปงการวิจัยเชื้อไวรัสในค้างคาว สู่ข้อโต้แย้งหลังกระบวนการสอบสวน

หลักฐานจาก “ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา” หลังเปิดโปงการวิจัยเชื้อไวรัสในค้างคาว สู่ข้อโต้แย้งหลังกระบวนการสอบสวน

18 พฤศจิกายน 2023


เปิดข้อโต้แย้งฝั่ง “ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมจุฑา” กรณีถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนหลังเขียนบทความ ‘จะยอมให้ประเทศไทยเป็นอู่ฮั่นสองหรือไม่?’ ผ่านหนังสือพิมพ์มติชน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2566

ในวันที่ 29 ตุลาคม 2566 หนังสือพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์บทความชื่อ ‘จะยอมให้ประเทศไทยเป็นอู่ฮั่นสองหรือไม่?’ ซึ่งมีชื่อของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้เขียนบทความดังกล่าว โดยสาระสำคัญของบทความคือ “การขอให้ยุติการวิจัย ไวรัสในค้างคาวไทย ที่หน่วยงานในประเทศไทยร่วมมือกับต่างประเทศ และขอให้ทำลายตัวอย่างเชื้อให้หมดสิ้น เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ไวรัส ซึ่งอาจนำไปสู่การแพร่ระบาดดังกรณีโควิด-19”

หลังจากบทความดังกล่าวเผยแพร่ต่อสาธารณะเพียง 1-2 วัน ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมจุฑา ในฐานะผู้เขียนและผู้เรียกร้อง กลับถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนจากคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 โดยผู้นำการสอบสวนคือ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการจุฬาลงกรณ์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนว่า การสอบสวนครั้งนี้ไม่ได้ระบุว่าจะสอบสวนประเด็นใดบ้าง ซึ่งผิดปกติของการสอบสวน

อย่างไรก็ตาม ศ.นพ.ธีระวัฒน์ มองว่า ศูนย์สุขภาพอุบัติใหม่ฯ ได้เคยเข้าร่วมโครงการรศึกษาเชื้อไวรัสจากค้างคาวและแนวโน้มแพร่พันธุ์สู่มนุษย์ ในปี 2554 และได้ยุติไปตั้งแต่ปี 2563 และได้ทำรายงานแจ้งไปทางคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.จุฬาฯ เมื่อปี 2564 พร้อมแจ้งไปยังเครือข่ายขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อการยุติการร่วมโครงการเป็นไปตามระเบียบ

ส่วนสาเหตุที่ต้องยุติโครงการ เนื่องจากการศึกษาเชื้อไวรัสที่ไม่ทราบชื่อมาถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อดูแนวโน้มว่าจะเกิดโรคได้หรือไม่ แต่เชื่อว่าไม่พบประโยชน์ในการคาดคะเนว่าเชื้อจะเข้ามนุษย์ได้หรือไม่ รวมถึงความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อในชุมชนทำให้ต้องทำลายตัวอย่างเชื้อ ตั้งแต่เดือน มี.ค. – เม.ย 2566 จนนำไปสู่การตั้งคณะกรรมการสอบสวนในเวลาต่อมา

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ตัดสินใจทำลายเชื้อในระหว่างทดลองคือช่วงเวลาของโควิด-19 ในปี 2565 เนื่องจากงานศึกษาในสหรัฐอเมริการะบุตรงกันว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่คาดว่ามีการตัดต่อพันธุกรรม และเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อไวรัสชนิดใหม่ซ้ำรอย จึงทำให้ตัดสินใจทำลายเชื้อที่ได้ทดลองในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า หลังจากที่ทำลายตัวอย่างจนหมด องค์กรที่ให้ทุนการศึกษาและวิจัยชื่อ Ecohealth Alliance ยังติดต่อตัวอย่างเชื้อ ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดต่อพันธุกรรม หากเป็นเช่นนั้นแล้วเกิดการระบาดในต่างประเทศ แล้วมีการสืบสวนมาว่าเชื้อนั้นมาจากประเทศไทย จะทำให้ประเทศเราตกเป็นผู้ต้องหาและต้องรับผิดชอบต่อการเกิดโรคระบาดครั้งใหม่

ภายหลังการสอบสวนเสร็จสิ้น ศ.นพ.ธีระวัฒน์ โพสต์เฟซบุ๊กถึงรายละเอียดที่เปิดโปงจากต่างประเทศ และรายงานจากคณะทำงานต่อสภาคอนเกรสสหรัฐ เปิดเผยต่อสาธารณะ โดยรายงานฉบับเต็ม 302 หน้า เดือนมกราคม 2023 ใจความของโพสต์ดังกล่าว ดังนี้

“โควิดตัวสมบูรณ์หลุดจากห้องปฏิบัติการในอู่ฮั่นจากการพัฒนาวัคซีนโดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐ และ EcoHealth alliance หลักฐาน ความเกี่ยวพัน สถานที่ เวลาการเกิด ระยะเวลาแรกที่เกิด ลักษณะสมบูรณ์แบบ ของตัวไวรัส ที่เข้ามนุษย์และติดต่อคนสู่คนได้ตั้งแต่ต้น ไม่พบหลักฐานในสัตว์ และอื่นๆ ความเชื่อมโยง องค์กร EcoHealth alliance ในสหรัฐ ความพยายามกลบเกลื่อน ป้ายสี นักวิทยาศาสตร์ ที่พยายามให้ข้อมูลต่าง ที่ไม่สนับสนุนการเกิดตามธรรมชาติทำให้ต้องยุติการเอาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่ามาตัดต่อพันธุกรรมทำให้ติดมนุษย์ได้ง่ายขึ้นและเกิดโรค”

สำหรับข้อมูลรายละเอียดการศึกษาเชื้อไวรัสจากค้างคาว ตลอดจนขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ รวมไปถึงหลักฐานบางส่วนที่คาดว่าเป็นต้นเหตุของเชื้อไวรัสโควิด-19 รายละเอียด ดังนี้

อันตรายร้ายแรงของการนำไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าและการตัดต่อพันธุกรรม ช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2020 จนถึงปัจจุบันมีการสอบสวนและพบว่าหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ มีการให้ทุนมหาศาล ผ่านทางองค์กรเอกชน EcoHealth alliance และมหาวิทยาลัย ในสหรัฐ จนกระทั่งถึงสถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่น และหน่วยงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย และพบเงื่อนงำเบาะแสความเป็นไปได้ที่การตัดต่อพันธุกรรมจากไวรัสค้างคาวเป็นต้นเหตุของโควิด โดยในระยะแรกมีการปกปิดข้อมูลมาตลอดและขณะนี้มีการสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในสภาคองเกรสของสหรัฐ

ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคใหม่ซึ่งเป็นศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าอบรมไวรัสสัตว์สู่คนได้ทำการค้นหาไวรัสในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2000 และตั้งแต่ปี 2011 ได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐและหน่วยงานของเพนตากอน

ศูนย์ได้ประกาศยุติการทำงานดังกล่าวดังกล่าวและแจ้งให้หน่วยงานสหรัฐ รวมกระทั่งถึงองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมดตั้งแต่ปี 2020 ทั้งนี้เนื่องจากประเมินอันตรายที่ร้ายแรงอันอาจจะเกิดขึ้น ตั้งแต่การลงพื้นที่จนกระทั่งถึงในห้องปฏิบัติการ และนำมาสู่การติดเชื้อในมนุษย์และแพร่ไปยังชุมชนจนเป็นโรคระบาดทั่วประเทศ ประกอบกับเงื่อนงำของการเกิดโควิด

อีกประการที่สำคัญก็คือในปี 2018 มีการประชุมจัดโดยองค์กร EcoHealth alliance และให้ศูนย์เป็นหน่วยงานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการรวบรวมไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าโดยเฉพาะไวรัสในตระกูลโควิด ไวรัสในตระกูลอีโบล่าและไวรัสในตระกูลไข้หวัดใหญ่และอื่นๆโดยให้มีการส่งตัวอย่างไปยังต่างประเทศและระบุว่าจะมีการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้เข้ามนุษย์และก่อโรคได้จากหลอดทดลองและสัตว์ทดลองที่ปรับแต่งพันธุกรรมเหมือนมนุษย์และเป็นที่มาที่ศูนย์ยุติความร่วมมืออย่างสิ้นเชิง

แต่ในขณะเดียวกันหน่วยงานของกาซาดและคณะแพทย์ศาสตร์ยังคงมิได้ตระหนักถึงอันตรายร้ายแรงเหล่านี้ แม้กระทั่งมีการตั้งบุคคลที่มีการเปิดเผยว่ามีส่วนในการร่วมมือตัดต่อพันธุกรรมและกำเนิดโควิดเป็นกรรมการใน school of global health ของคณะแพทย์ศาสตร์ รวมทั้งมีสถานที่ทำงานและห้องปฏิบัติการในการรวบรวมไวรัสจากค้างคาวอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันในปี 2023

จากการที่ศูนย์ยุติความร่วมมือ ทั้งหมดและทำลายตัวอย่างจากค้างคาวและสัตว์ป่าตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022 ในตัวอย่างย้อนหลังไป 11-12 ปี และในวันที่ 7 เมษายน 2022 ได้ทำลายตัวอย่างย้อนหลังไปจนกระทั่งถึงปี 2000 ทำให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สั่งตั้งกรรมการสอบสวน ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุทา โดยกล่าวหาว่า “ไม่ปฏิบัติงานด้วยความรัดกุมจึงทำให้เกิดความเสี่ยงด้านการบริหารงานและเกิดความเสียหายทั้งในระดับประเทศกับเครือข่ายงานเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่” โดยให้มีการสอบสวนในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2023

รายละเอียดลำดับเหตุการณ์และหลักฐานแสดงดังต่อไปนี้

(1)บทความในหนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ โดยนักข่าว สืบสวน (investigative journalist รางวัลพลิตเซอร์ )David Willman ในวันที่ 10 เมษายน 2023 เป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลายหน่วยงาน หลายประเทศรวมทั้งจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคโรคอุบัติใหม่ โดยมีการสัมภาษณ์บุคลากรทั้งศูนย์ทั้งหมดสามวัน ตั้งแต่ปลายปี 2022 และหลังจากนั้น มีการยืนยันข้อมูล เอกสารผ่านทางอีเมลตลอดและWhatsApp และทางศูนย์บรรยายถึงจุดยืนของศูนย์ที่ยุติความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศทั้งหมด และยุติการรวบรวมตัวอย่างจากสัตว์ป่าและค้างคาว และถือว่าการหาเชื้อในคนและสัตว์ที่มีอาการถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุตมากกว่า การหาไวรัสที่ไม่รู้จักที่จะมาคาดคะเนว่าจะเข้ามามนุษย์หรือไม่ รวมทั้งมีความเสี่ยงอันตรายสูงสุดในการนำเชื้อจากสัตว์เข้ามามนุษย์ ในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การลงพื้นที่เก็บตัวอย่างการขนส่งตัวอย่างและการปฏิบัติในห้องแลป รวมทั้งโอกาสที่จะได้รับไวรัสทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์ป้องกันตัวไม่ครบถ้วนและในประวัติที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ทั้งห้องปฏิบัติการของศูนย์และของหน่วยงานสัตว์ป่าถูกค้างคาวกัด

(2) ก่อนหน้าที่จะทำการตีพิมพ์ ทาง David ได้ทำการติดต่อผู้บริหารคณะแพทย์ศาสตร์แล้ว ถึงความเห็นในเรื่องการสืบเสาะหาไวรัสในสัตว์ป่าและค้างคาวโดยที่การศึกษาดังกล่าวถือเป็นการวิจัยที่มีความเสี่ยงสูงและทราบกันทั่วโลก

(3) ประเด็นที่สำคัญในการยุติการทำงานดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อมีการประชุมผ่านซูมกับประธานองค์กร EcoHealth alliance (Peter Daszak) ในวันที่ 6 มิถุนายน 2019 ทั้งนี้ องค์กร ต้องการเสนอรับทุนจาก NIH NIAID ของสหรัฐ ซึ่งในการประชุมมีแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ ร่วมประชุมอยู่ด้วย โดยต้องการให้ศูนย์รับผิดชอบจัดตั้ง EID Search (SE Asia research collaboration hub) เพื่อเป็นศูนย์กลางภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของ NIAID ที่เรียกว่า CREID (center for Research in EID) โดยมี Linfa wang ของสิงคโปร์และ Shengi Shi สถาบันไวรัสอู่ฮั่นร่วมอยู่ด้วย จากการติดต่อครั้งต่อมาในวันที่ 18 สิงหาคมและวันที่ 16 ตุลาคม 2020

(4) ผลของการประชุมในวันดังกล่าวทางศูนย์ยืนยันอย่างชัดเจนว่าตัวอย่างที่เก็บไว้อยู่แล้วนั้นต้องไม่ส่งออกนอกประเทศ ทั้งนี้ในเอกสารรายละเอียดของโครงการได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะมีการนำตัวอย่างจากแหล่งที่เก็บทั้งในประเทศไทย ลาวมาเลเซีย และซาราวัค ไปทำการพัฒนาทั้งในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง รวมทั้งการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้เข้าเซลล์มนุษย์และสัตว์ที่ปรับเปลี่ยนตัวรับไวรัสให้เป็นแบบมนุษย์ โดยมีเอกสารอ้างอิงว่ามีความสำเร็จในการควบรวมไวรัสในตระกูลโคโรนา chimera จนมีความสามารถเข้าเซลล์มนุษย์และสัตว์ทดลองจนก่อโรคได้ โดยทำที่สถาบันทั้งสหรัฐ ในสิงคโปร์และสถาบันไวรัสอู่ฮั่น

โครงการนี้เพ่งล็งไวรัสที่อยู่ในตระกูลโคโรนา Filovirus ตระกูลไข้เลือดออกอีโบลาและมาบวกค์ และ paramyxovirus ตลอดจนไวรัสนิปาห์ เฮนดร้า ที่จะทำการตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่เราไม่ร่วมมือด้วย

(5) ทางศูนย์ไม่รับข้อเสนอของทางสิงคโปร์ที่จะให้นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ไปทำปริญญาเอกต่อโดยนำไวรัสจากค้างคาวตระกูลโคโรนาไปด้วยเพื่อไปศึกษาตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้มนุษย์ได้ดีขึ้น

(6) โครงการนี้จากการประชุม ทาง Eco Health alliance ไม่ได้ให้ความสนใจในการหาโรคในมนุษย์ ทั้งนี้โดยจะทำเป็นโครงการนำร่องเล็กๆ ด้วยการทำแบบสอบถามและการตรวจน้ำเหลืองในมนุษย์ ในพื้นที่อย่างเดียว และทางศูนย์ไม่ได้รับการยืนยันว่าจะมีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากโครงการดังกล่าวในการประชุมวันที่ 19 สิงหาคม 2020

(7) ศูนย์ยุติโครงการหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวโดยสิ้นเชิง นอกจากนั้นในเดือนเมษายน 2022 ทางศูนย์ได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ และจาก Los Alamos ถึงท่าทีในการจะทำงานสัตว์ป่าหรือไม่ ซึ่งเราได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่าไม่ร่วมด้วยและถือว่าโรคในคนเป็นจุดสำคัญที่สุดซึ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์ได้และการได้รับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุดนั้นจะสามารถพิจารณาได้ว่ามีโรคอุบัติใหม่เข้ามาในมนุษย์หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการค้นหาแหล่งรังโรค ถือเป็นระดับต่อมาเพื่อให้รู้ถึงตัวนำโรค ประกอบกับคำอธิบายดังกล่าวนั้นเราได้แสดงว่า หลายสิบปี ที่เก็บรวบรวมไวรัสจากสัตว์ป่านั้นไม่ได้นำมาถึงการคาดคะเนหรือพยากรณ์ว่าไวรัสตัวไหนจะทำให้เกิดโรคระบาดทั้งๆที่โครงการที่ทำอย่างต่อเนื่องค้นพบไวรัสที่ไม่ทราบชื่อมากกว่า 1000 ชนิด

ทั้งศูนย์ได้ประกาศแจ้งชัดในจุดยืนต่อองค์กรระหว่างประเทศ ทั้ง CDC USAID GOARN และ US Thai CDC collaboration

ทั้งนี้ยังได้แสดงจุดยืนใน GOARN survey ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ปี 2021 (เป็น survey สำหรับ 2021 -2023) ถึง การที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดและปฏิบัติ (paradigm shif) ในโรคอุบัติใหม่ และวิธีการที่จะถนอมทุนทรัพย์เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยยุติการหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวซึ่งไม่คุ้มค่าและอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างสูง และการประชุมผ่านซูมขององค์การอนามัยโลกเจนีวาในวันที่ 8 ธันวาคม 2021

การประชุมร่วมขององค์การอนามัยโลกและองค์การอนามัยสัตว์โลก ที่กรุงปารีสเดือนธันวาคม 2022 ในเรื่องเกี่ยวกับไวรัสสัตว์สู่คนซึ่งนายแพทย์ธีระวัฒน์ได้รับเชิญให้ไปบรรยาย ยังได้แสดงจุดยืนของศูนย์ในเรื่องยุติการค้นหาไวรัส ที่ไม่ทราบชื่อ ในสัตว์ การประชุมของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ทางศูนย์ได้รับเชิญจากเลขาธิการสภาความมั่นคง ในเดือนมีนาคม 2023 ในเรื่องการรับมือโรคอุบัติใหม่ ทางศูนย์ได้บรรยายถึงเหตุผลที่ต้องยุติการค้นหาไวรัสที่ไม่ทราบชื่อจากสัตว์ป่าและค้างคาวด้วย

ทางศูนย์ได้รับเชิญให้ไปบรรยายการประชุมวันที่ 23 มีนาคม 2023 จัดโดยกรมควบคุมโรคและได้ย้ำถึงอันตรายที่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจากสัตว์ป่าโดยเฉพาะค้างคาวจากการเสาะหาไวรัสที่ไมรู้ชื่อ

(8) ในส่วนของตัวอย่างที่เก็บแต่ปี 2000 ถึง 2011 โดยได้รับทุนจากในประเทศผ่านทาง สกว และ สวทช และตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมาจาก องค์กรต่างประเทศ จนกระทั่งถึงที่ศูนย์ยุติโครงการทั้งหมดนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ทั้งสิ้น

ทั้งนี้องค์กรให้ทุนดังกล่าวทั้งในประเทศผ่านทางจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่างประเทศบริหารจัดการผ่านศูนย์วิทยบริการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการคือ “ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่และศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกทางด้านค้นคว้าอบรมโรคไวรัสสัตว์สู่คน”

ความรับผิดชอบโครงการทั้งหมดเป็นของศูนย์ โดยที่แม้ว่าการโอนเงินที่ได้จากต่างประเทศมายังศูนย์วิทยบริการ และศูนย์วิทยบริการ ผ่านทางบัญชีส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงานของโครงการนั้น ทางศูนย์วิทยบริการ ได้แจ้งว่าเป็นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานตามโครงงานดังกล่าว “ไม่ใช่โครงการของผู้ใดผู้หนึ่งหรือเป็นโครงการส่วนบุคคล”

(9) โครงการจัดตั้ง CREID ของ EcoHealth alliance และ NIAID peter Daszak ยังได้ประกาศในเว็บ ถึงหัวหน้าโครงการและผู้ร่วมโครงการซึ่งมีนายแพทย์ธีระวัฒน์ เป็นผู้ร่วมโครงการคนที่หนึ่งในฐานะของหัวหน้าศูนย์และผู้อำนวยการ ที่มาจากเว็บในเดือนธันวาคม 2022 โดยให้นายแพทย์ธีระวัฒน์ในฐานะหัวหน้าศูนย์เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ทั้งนี้ได้รับการสอบถามจากทางวอชิงตันโพสต์ว่ายังร่วมมืออยู่กับโครงการนี้อยู่อีกหรือ ซึ่งได้ตอบกลับไปแล้วว่า “เรายุติแล้ว” แต่ยังมีการใช้ชื่อในเวป

(10) จากการประกาศจุดยืนชัดเจน และยุติกิจกรรม นายแพทย์ธีระวัฒน์ ได้รับการติดต่อและสอบถาม ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2023 จาก Michael L Dickens, Hayden Huang, Eric D Lee และ Miguel Cortez Jr จาก หน่วยงานอิสระของรัฐบาลสหรัฐ U.S. government accountability office (GAO) ที่ไม่ขึ้นกับพรรคการเมืองใดๆ และทำหน้าที่ ในการตรวจสอบ การทำงานของหน่วยงานของสหรัฐในเรื่องการใช้งบประมาณรวมทั้งงบที่ให้ต่างประเทศในส่วนที่ถามนั้นเกี่ยวข้องกับกรศึกษาหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวในประเด็นว่าได้ประโยชน์หรือไม่ในการคาดคะเนว่าจะเกิดโรคอุบัติใหม่ ได้ประโยชน์หรือไม่ในการพัฒนาการเตรียมพร้อมและรับมือสำหรับโรคอุบัติใหม่ รวมถึงมีการการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีหรือไม่ มีความเสี่ยงหรือไม่ในการค้นหาไวรัสจากสัตว์ป่าดังกล่าวในการที่จะได้รับเชื้อเข้ามาในมนุษย์เข้ามาใน ห้องปฏิบัติการและกระจายออกสู่ชุมชน มีความพร้อมเพียงใดในการป้องกันทางชีวภาพในระดับบุคคลและห้องปฏิบัติการและการบริหารเมื่อเกิดมีบุคลากรเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น

(11) ทางศูนย์โดยนายแพทย์ธีระวัฒน์จากความเห็นของสมาชิกสมาชิกในศูนย์ทั้งหมด สามารถสรุปได้ว่าการค้นหาไวรัสใหม่นั้นไม่เกิดประโยชน์ในการคาดคะเนการเกิดโรคอุบัติใหม่และไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้รวมทั้งเปิดเผยความเสี่ยงสูงสุดในขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติ

นอกจากนั้นหน่วยงานของสหรัฐดังกล่าวได้ตั้งคำถามถึงว่ามีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสหรัฐที่ให้ทุนได้มาเยี่ยมและตรวจสอบความปลอดภัยหรือไม่รวมทั้งจากองค์กรและสถาบันของจุฬาฯ เองได้ให้คำตอบไปว่าเจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐจากกระทรวงกลาโหมและจาก EcoHealth alliance ไม่ได้เคร่งครัดในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งข้อปฏิบัติในองค์กร

ทั้งนี้เป็นไปได้ว่าทุกคนไม่ได้ตระหนักถึงโอกาสที่จะติดเชื้อจากไวรัสที่ไม่ทราบชื่อเหล่านี้ตามธรรมชาติจากการทำงานมาเป็น 10 ปีและยังไม่มีใครเสียชีวิต นอกจากนั้นข้อที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ปี 2558 ระบุแต่เชื้อที่ต้องแจ้งโดยที่ทราบชื่อและแบ่งตามระดับความรุนแรง แต่ในกรณีของเชื้อที่ไม่ทราบชื่อเหล่านี้ไม่ต้องจดแจ้ง แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่เกิดความเสียหายเกิดขึ้นนั่นก็คือการรั่วไหลจากห้องปฏิบัติการหรือจากห้องเก็บตัวอย่างและเกิดความเสียหายมีการติดเชื้อ ผู้รับผิดชอบซึ่งก็คือผู้รับผิดชอบโครงการหรือหัวหน้าศูนย์จะต้องได้รับโทษตามหมวดเก้าและหมวด 10 ของพระราชบัญญัติตามประกาศในราชกิจจานฺเบกษา โดยมีตั้งแต่ การจำคุกสองปีถึง 10 ปีและปรับ จากหลักแสนเป็น 1,000,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามลักษณะของความเสียหายที่เกิดขึ้น

(12) จากการที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ถึงระดับความร้ายแรงของเชื้อที่ไม่ทราบชื่อเหล่านี้จากสัตว์ป่าโดยเฉพาะจากค้างคาวนั้น รวมทั้งจากการที่มีการระบาดของโควิดตั้งแต่ปลายปี 2019 เป็นต้นมาและหลักฐานของการแพร่จากธรรมชาติยังไม่สามารถยืนยันได้ แต่พบหลักฐานแวดล้อมทางระบาดวิทยา ทางลักษณะพันธุกรรมของไวรัสที่มีความเหมือนกันเกือบ 100% ในจุดที่เกิดระบาดดังรายงานในวารสาร แลนเซ โดย Prof Jeffrey Sachs ประธาน Iancet commission และ รายงานจากคณะทำงานต่อสภาคอนเกรสสหรัฐ เปิดเผยต่อสาธารณะรายงานฉบับเต็ม 302 หน้า เดือนมกราคม 2023 โดย US senate รัฐสภาสหรัฐ เป็นฉบับเต็มของ interim report ที่ออกมาก่อนหน้าในเดือนตุลาคม 2022 ไม่ใช่เป็นเรื่องการเมือง แต่เป็นเรื่องเชื่อมโยงกันกับการวิจัยไวรัสจากค้างคาว การตัดต่อพันธุกรรมและในที่สุดเกิดเหตุระบาด ณ ที่นั้น

ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน 2019 โควิดตัวสมบูรณ์หลุดจากห้องปฏิบัติการในอู่ฮั่นจากการพัฒนาวัคซีนโดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐ และ EcoHealth alliance หลักฐาน ความเกี่ยวพัน สถานที่ เวลาการเกิด ระยะเวลาแรกที่เกิด ลักษณะสมบูรณ์แบบของตัวไวรัส ที่เข้ามนุษย์และติดต่อคนสู่คนได้ตั้งแต่ต้น ไม่พบหลักฐานในสัตว์ และอื่นๆ ความเชื่อมโยง องค์กร Eco Health alliance ในสหรัฐ ความพยายามกลบเกลื่อน ป้ายสี นักวิทยาศาสตร์ ที่พยายามให้ข้อมูลต่าง ที่ไม่สนับสนุนการเกิดตามธรรมชาติ

(13) มีการประมวลข้อมูลและหลักฐานจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการหาเชื้อไวรัสที่ไม่ทราบชื่อจากค้างคาวและสัตว์ป่า รวมทั้ง เบื้องหลังที่มาที่ไปของการให้ทุนและการรับทุน (scrutiny behind the scene) ของ USAID NIAID และมีข้อมูลบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อการแพร่ของเชื้อโรคอย่างไม่ตั้งใจทั้งในการปฏิบัติงานในบริเวณสำรวจและในสถานที่แลป

ทั้งหมดยังอ้างอิงถึงข้อมูลที่ GAO ได้สอบถามไปยังนายแพทย์ธีระวัฒน์ซึ่งเป็น Programme leacer และทุนที่ได้รับผ่านทาง USAID และ pentagon ศูนย์ยุติการศึกษาวิจัยและความร่วมมือจากองค์กรต่างประเทศและ NIH ประกาศยุติการให้ทุนหาไวรัสในสัตว์ป่า

(14) การทำลายตัวอย่างที่ได้จากค้างคาวและสัตว์ป่ทั้งหมด ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงและเป็น “หน้าที่ของหัวหน้าศูนย์ ที่รับผิดชอบต่อโครงการทั้งหมด” ที่ได้รับทุนมาทั้งในเรื่องประโยชน์ที่ควรจะได้รับและความเสี่ยงอันตรายอย่างสูงสุด จากหลักฐานต่างๆที่นำมาจากหลายหน่วยงานทั่วโลกและจากการปฏิบัติในพื้นที่ของศูนย์เองในเวลาที่ที่ผ่านมา

อนึ่ง การดำเนินงานของศูนย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าและค้างคาวได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2010 จนกระทั่งถึงการยุติโครงการโครงการสัตว์ป่าและมีร้ายงานปิดโครงการทุนจากต่างประเทศในปี 2020 แม้จนกระทั่งปี 2023 ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการปฏิบัติภารกิจภายในของศูนย์โดยมิได้มีการ์ร้องขอหรือต้องแจ้งกล่าวกับผู้บริหารหรือคณบดีหลายท่านที่ผ่านมาในช่วงเวลาดังกล่าว ถึงการปฏิบัติที่ต้องกระทำมาก่อน และถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ในฐานะผู้รับผิดชอบศูนย์และรับผิดชอบโครงการและชอบด้วยกฎระเบียบตามพระราชบัญญัติที่ประกาศในพระราชกฤษฎีกา ที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย เป็นใหญ่และอันตรายที่จะเกิดขึ้นกลายเป็นโรคระบาดและตาม ที่โลกประสบภัย ที่เกิดขึ้นจากโควิด ที่มีเบื้องหลังที่ยังมีการสอบสวนจากหน่วยงานอิสระของรัฐบาลสหรัฐเอง รวมทั้งถึงกำเนิดของโควิด จนกระทั่งถึงปัจจุบันและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการนำไวรัสไป ตัดต่อพันธุกรรมเพื่อเข้ามนุษย์ (gain of function) ตามรายละเอียดที่ได้ให้ไว้

ทั้งนี้ ศูนย์มีหลักฐาน บันทึกลายลักษณ์อักษรต่อผู้บริหาร ที่ขอให้มีการมอบตัวตัวอย่างให้กับหน่วยงานอื่น ทั้งนี้ได้แจ้งเหตุผลให้ทราบ ตั้งแต่ต้นว่าได้มีการทำลายด้วยมาตรการความปลอดภัย

รายละเอียดที่ส่งมอบต่อ หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ U.S. government accountability office (GAO) เป็น pof โดยได้ตอบคำถามทั้งหมดที่ได้สอบถามมา รวมทั้งการหาเชื้อในค้างคาวตั้งแต่ปี 2000 จนยุติการปฏิบัติทั้งหมด