บนเส้นทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (เครือซีพี) ได้ทำให้บริษัทในเครือก้าวขึ้นสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนระดับโลก ทั้งการได้เป็นสมาชิก Dow Jones Sustainability Indices การเป็นสมาชิกความยั่งยืน FTSE4Good Emerging Index การได้รับการประเมินที่ดีจากสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ World Business Council on Sustainable Development (WBCSD) และการได้ CG 5 ดาวจากโครงการ CGR2560 ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย รวมถึงแนวคิด SEACOSYSTEM เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเชิงบูรณาการ ในฐานะที่เครือซีพี เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของระบบเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารที่เกี่ยวข้องกับทะเลไทย
ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้บริหารสำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล เครือซีพี บอกว่า SEACOSYSTEM เป็นหนึ่งในพันธกิจด้านความยั่งยืนของซีพี โดย SEACOSYSTEM ได้ตั้งสัตยาบันกับภาคประชาชนว่า จะแก้ไขปัญหาเรื่องทะเล
SEACOSYSTEM จึงมีเป้าหมายคือการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล แต่มีผู้ได้ประโยชน์คือ เกษตรกร ชาวประมงที่ได้ประโยชน์ จากการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเชิงบูรณาการสำคัญ 5 ด้าน
ดร.อธิปบอกว่า โครงการต่าง ๆ ที่เข้าไปทำกับชาวบ้านนั้น เกิดจากความต้องการของชาวบ้านเอง เป็นโครงการที่ตอบโจทย์ชาวบ้านได้ แต่เครือซีพีช่วยเสริมด้วยเทคโนโลยีและความรู้
ดร.อธิปบอกอีกว่า SEACOSYSTEM เป็นโครงการที่มีผู้ติดต่อขอขอดูงานจำนวนมาก และได้รับรางวัล ทั้งรางวัลพระราชทานและรางวัลในต่างประเทศ รวมทั้ง เป็นโครงการที่ไม่ได้ตอบโจทย์เฉพาะในประเทศไทย แต่ตอบโจทย์ในประเทศที่มีปู อย่างมาเลเซียที่เข้ามาดูงานที่จังหวัดปัตตานีและขอไปนำใช้
ดร.อธิปบอกย้ำว่า เครือซีพีจะผลักดัน SEACOSYSTEM อย่างต่อเนื่อง แม้เครือซีพีจะไม่ได้ทำธุรกิจประมง แต่ ซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทานของเครือ เกี่ยวข้องกับทะเล วัตถุดิบบางส่วนมาจากทะเล และใช้ทะเลในบางส่วน เพราะฉะนั้น ก็เป็นหน้าที่ของเครือซีพีในฐานะบริษัทไทยที่จะต้องฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล เพราะเป็นสมบัติของคนในชาติ ทะเลเป็นของทุกคน
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เครือซีพีผนึกกำลังทุกภาคส่วนพัฒนา ฟื้นฟู ทะเลไทยให้ยั่งยืน ตามพันธกิจ SEACOSYSTEM ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง