ThaiPublica > เกาะกระแส > SCB EIC เจาะนโยบาย Digital Wallet หนี้สาธารณะชนเพดานเร็วขึ้น 2 ปี แจกทุกคนไม่คุ้มเม็ดเงิน

SCB EIC เจาะนโยบาย Digital Wallet หนี้สาธารณะชนเพดานเร็วขึ้น 2 ปี แจกทุกคนไม่คุ้มเม็ดเงิน

13 กันยายน 2023


นายวิชาญ กุลาตี นักเศรษฐศาสตร์ SCB EIC

วันที่ 13 กันยายน 2566 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ได้จัดบรรยายสรุปในหัวข้อ ในหัวข้อ มุมมองเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาส 3 ปี 2566 โดย นายวิชาญ กุลาตี นักเศรษฐศาสตร์ นำเสนอผลการวิเคราะห์นโยบายรัฐบาลชุดใหม่

นายวิชาญ กล่าวว่า ภาครัฐได้มีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเตรียมรับการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของอัตราเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมในปีงบประมาณ 2566 ยังเร่งสูงกว่าหลายปีที่ผ่านมา โดยหน่วยงานที่ใช้งบลงทุนในระดับสูง ได้แก่ กรมทางหลวง ซึ่งมีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม ณ สิ้นเดือนสิงหาคมถึง 88% กรมทางหลวงชนบท 82% กรมชลประทาน 77% แต่การเบิกจ่ายได้ชะลอตัวลงหลังจากมีการยุบสภา หน่วยงานภาครัฐจึงมีการใช้จ่ายไม่เต็มที่

นอกจากนี้ยังคาดว่า การประกาศใช้กรอบวงเงินงบประมาณปี 2567 จะล่าช้าราว 6 เดือน จะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบลงทุนมีแนวโน้มชะลอลงตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2566 โดยคาดว่าจะมีการเบิกเงินงบประมาณราวเดือนเมษายนหรือพฤษภาคมปีหน้า และคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปี 2567 ซึ่งเป็นช่วงโค้งสุดท้ายก่อนจบปีงบประมาณ 2567

ความล่าช้าของการประกาศ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2567 จะยังเป็นปัจจัยท้าทายให้มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐในปี 2024 มีแนวโน้มขยายตัวได้เล็กน้อย 1.7% จากปีก่อนหน้า โดยมูลค่าการก่อสร้างภาครัฐ ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะหดตัว แต่จะขยายตัวในครึ่งแรกของปีหน้า อย่างไรก็ตามหน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการเตรียมนำเสนอโครงการ Mega project เพื่อให้ ครม. ชุดใหม่อนุมัติ เช่น รถไฟทางคู่ เฟส 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย มอเตอร์เวย์สาย 9 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง ที่คาดว่าจะเปิดประมูลในปี 2567

การวิเคราะห์ได้แบ่งนโยบายของรัฐบาลออกเป็น นโยบายระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว โดยนโยบายระยะสั้นได้แก่ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ/พยุงค่าครองชีพ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว และนโยบายส่งเสริมการเกษตร

ในด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ/พยุงค่าครองชีพ นโยบายที่สำคัญได้แก่ Digital Wallet, ค่าแรงขั้นต่า/เงินเดือน ป.ตรี, การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ส่วนด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว มีนโยบายสำคัญคือ VISA Free นักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ,Fast track VISA สำหรับ MICE

“ในภาพรวมเราคาดว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่จะส่งผลบวกต่อธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับการบริโภคของเอกชน การท่องเที่ยว และภาคเกษตร ขณะที่ธุรกิจที่มีแรงงานขั้นพื้นฐานสัดส่วนสูงจะได้รับผลกระทบด้านต้นทุนและธุรกิจด้านพลังงานอาจได้รับผลกระทบเชิงรายได้”

ส่วนนโยบายในระยะกลาง คือ นโยบายส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งครอบคลุม การปรับโครงสร้างการใช้พลังงานของไทย การลงทุนระบบคมนาคม การผลักดัน EEC ระเบียงเศรษฐกิจ 4 ภาค ขณะที่นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม จะมีเรื่องการสานต่อ Carbon Neutrality ความเป็นกลางทางคาร์บอน ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน

ในภาพรวมนโยบายส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมจะส่งผลบวกต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จากความต้องการที่สนับสนุน ระบบคมนาคม และEEC ขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับโครงสร้างพลังงานและกระแส ESG จำเป็นต้องปรับตัว

  • นโยบาย “รัฐบาลเศรษฐา” แถลงสภาฯ ชู 5 ประเด็นเร่งด่วน
  • นายวิชาญกล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลมีค่อนข้างมาก แต่ได้ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากชุดนโยบายระยะสั้นของรัฐบาลใหม่ ใน 4 เรื่อง คือ กระเป๋าเงินดิจิทัล การบริหารจัดการราคาพลังงาน การผลักดันรายได้จากการท่องเที่ยว และค่าจ้างขั้นต่ำ

    1) นโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล : รัฐแจกเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลให้คนไทยอายุ 16 ปีขึ้นไปคนละ 10,000 บาทในเดือน ก.พ. 2024 ระยะเวลาใช้จ่าย 6 เดือน กาหนดให้ใช้จ่ายภายในรัศมีใกล้ที่อยู่อาศัย แต่ไม่สามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์หรือแลกเป็นเงินสดได้(วงเงิน 560,000 ล้านบาท)และมีประชาชนไทย 56 ล้านคนได้ประโยชน์ ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นการบริโภคได้เศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้น 2-3%
    2) นโยบายการบริหารจัดการราคาพลังงาน:ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนปรับโครงสร้างการใช้พลังงาน ผู้อยู่อาศัยในไทยทุกคนจะได้ประโยชน์ คาดว่านโยบายจะช่วยลดค่าครองชีพ ลดต้นทุนพลังงาน และเงินเฟ้อลด 0.2% ในปีนี้
    3) นโยบายผลักดันรายได้จากการท่องเที่ยว:ฟรีวีซ่าให้กลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย ปรับปรุงขั้นตอนการขอวีซ่า จัดทา Fast Track VISA สาหรับผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (MICE) ร่วมมือภาคธุรกิจจัดงานแสดงสินค้า/เทศกาลระดับโลก พัฒนาสนามบินทั่วประเทศ ปราบปรามการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว และยกระดับ Passport ไทย ซึ่งทำให้คาดว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้น 3.7% ในไตรมาส 4 และเพิ่มรายได้ท่องเที่ยว ส่งผลให้GDP เพิ่ม 0.1%
    4) นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ:ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่าเป็น 600 บาท/วัน ภายในปี2027 ซึ่งแรงงานพึ่งพาค่าจ้างขั้นต่ำ 7.7 ล้านคน และแรงงานรายได้ใกล้เคียงค่าจ้างขั้นต่ำจะได้ประโยชน์ แต่ก็คาดว่าจะทำให้เงินเฟ้อรวมเพิ่มขึ้น 1.5%

    นายวิชาญกล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลออกมาค่อนข้างเยอะ และแต่ละนโยบายก็ใช้เงินค่อนข้างมาก ประกอบกับยังมีรายจ่ายสังคมสูงวัยและ Climate change ความเสี่ยงทางการคลังในระยะยาวจึงมีสูง ระดับหนี้สาธารณะซึ่งยังไม่ได้รวมถึง นโยบาย Digital Wallet ก็ยังปรับสูงขึ้นเรื่อยๆ และชนเพดาน 70% ในปี 2574

    สำหรับผลต่อภาระทางการคลังจากนโยบาย Digital Wallet ซึ่งต้องใช้เงินถึง 560,000 ล้านบาทนั้น นายวิชาญกล่าวว่า ก่อนที่จะประเมินผลกระทบก็มี 2 คำถามที่เกี่ยวข้อง

    ข้อแรก จะเอาเงินมาจากไหน ซึ่งช่วงที่นโยบายจะออกมาน่าจะเป็นเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมปีหน้าเป็นช่วงที่พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีออกมาไม่ทัน ดังนั้นก็ต้องมีการกู้เงินจากแหล่งอื่นมาใช้ก่อน ซึ่งได้แก่หน่วยงานภาครัฐ เช่น รัฐวิสาหกิจ

    ความเป็นไปได้คือยืมเงินมาใช้ก่อน เมื่อพ.ร.บ. งบประมาณประจำปีออก ก็ใช้เงินคืนทันที หรืออีกกรณีหนึ่งคือ เมื่อพ.ร.บ. งบประมาณประจำปี ยังไม่ใช้คืน แต่ทะยอยใช้คืนในเวลา 10 ปี

  • “ศิริกัญญา” ชำแหละ ‘นโยบายเศรษฐา’ ว่างเปล่า-ไร้เป้าหมาย จี้ถามเงินดิจิทัล 5.6 แสนล้าน ใช้แหล่งเงินจากไหน?
  • ข้อสอง นโยบาย Digital Wallet มีต้นทุน เงินที่รัฐใส่ลงไปสัดส่วนผลกระทบอาจจะไม่เท่ากัน จากผลการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีที่รัฐบาลใช้เงินงบประมาณปกติ สมมติเป็นเงิน 560,000 ล้านบาท ผลกระทบต่อเศรษฐกิจก็จะเป็นทั้งหมด 560,000 ล้านบาท ในขณะที่เอาเงินแจกประชาชนโดยตรง ผลกระทบอาจจะเหลือไม่ถึงครึ่งหนึ่ง

    นอกจากนี้หากเอาเงินไปลงทุนแทนโอนเงิน ผลศึกษาตัวทวีทางการคลังอาจจะสูงถึง 1.39 เท่า ในด้านการศึกษาวิจัย หรือ 1.36 เท่าในด้านดิจิทัล อีกทั้งหากเป็นการโอนเงินให้กับผู้มีรายได้น้อย ก็จะได้ผลดีกว่าโอนให้ประชาชนทั่วไป

    “เพราะฉะนั้นนโยบายที่โอนเงิน 10,000 บาทให้ทุกคนอาจจะเป็นนโยบายที่ไม่คุ้มกับเม็ดเงิน เพราะภาครัฐสามารถนำเงินไปทำอย่างอื่นได้”

    ผลของนโยบาย Digital Wallet จะทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้นไปที่ 72.5% ของ GDP ในปี 2575 หรือชนเพดาน 70% เร็วขึ้น 2 ปี หากเลือกทะยอยคืน ช่วงแรกหนี้จะลดลงเล็กน้อยแต่สุดท้ายจะสูงขึ้นจากภาระดอกเบี้ยด้วย

    SCB EIC มีข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ข้อ ได้แก่
    1)Regulatory guillotine ปฏิรูปกฎเกณฑ์ กฎหมาย ปรับปรุงกฎระเบียบที่ซ้ำซ้อน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจง่ายขึ้น ธุรกิจ SME สามารถเติบโตขึ้นเป็นธุรกิจขนาดใหย่ ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจในอนาคต

    2)ส่งเสริมการแข่งขัน ผลักดันเพิ่มประสิทธิผลจริงของ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า

    3)ผลักดันไทยเข้าร่วม OECD และ เขตการค้าเสรีอื่นๆ เพื่อให้ไทยมีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานของโลกมากขึ้น

    4)ปรับโครงสร้างภาษี ประเทศไทยมีความเสี่ยงทางด้านการคลังสูงมากที่จะชนเพดาน 70% ในปี 2573 จำเป็นที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างภาษี เพื่อให้การคลังมีความยั่งยืน