ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เริ่มแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมาตั้งแต่ปี 2560 ผ่านโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ที่ให้คำแนะนำปรึกษาทั่วราชอาณาจักร กับลูกหนี้รายย่อย ทั้งหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล ที่กลายเป็นหนี้เสีย หรือไม่ได้ชำระหนี้เกิน 120 วัน ขณะเดียวกัน ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย แต่มีปัญหาผ่อนจ่ายไม่ไหว รายได้ลดลง ธปท. ก็ได้เปิดโครงการ หมอหนี้เพื่อประชาชน ในการให้คำปรึกษา และเสนอทางเลือกในการเจรจากับเจ้าหนี้ เป็นทางออกอีกทางในการแก้ปัญหาหนี้ที่ประสบอยู่
ฉัตรบดินทร์ สร้อยแก้ว ผู้ตรวจสอบอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้มีประสบการณ์ในโครงการ หมอหนี้เพื่อประชาชน เล่าว่า โครงการหมอหนี้จะดูหนี้ทั้งหมด ทั้งหนี้ในระบบ หรือหนี้นอกระบบด้วย การแก้หนี้ต้องดูในภาพรวมทั้งหมด การเลือกดูตัวใดตัวหนึ่งอาจจะกระทบในภาพรวมได้
โดยต้องให้ได้ข้อมูลลูกหนี้ครบถ้วน การได้ข้อมูลเพียงบางส่วน จะแก้ไขหนี้ไมได้ ลูกหนี้บางรายมีทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ แต่ให้ข้อมูลแค่หนี้ในระบบ ตรงนี้ทำให้แก้ไขได้ยาก หนี้นอกระบบถ้าจำนวนไม่มาก ก็มีช่องทางช่วย อาจจะขอคุยกับเจ้าหนี้ จ่ายดอกเบี้ยมาเยอะแล้ว ต่อไปจ่ายแต่เงินต้นได้มั้ย เจรจากันได้ หรือบางทีมีสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ไมโครไฟแนนซ์ ที่ภาครัฐออกมา ก็กู้ตรงนี้มาโปะหนี้นอกระบบได้
ฉัตรบดินทร์ ฝากไว้สำหรับคนที่เป็นหนี้และมีปัญหาว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหลายช่องทางในการให้ความช่วยเหลือ โดยการเสิร์ชใน google คำว่า หมอหนี้เพื่อประชาชน หรือจะเข้า เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย https://www.bot.or.th/ แล้วคลิกที่หมวดร้องเรียน แล้วคลิกหมอหนี้เพื่อประชาชน
นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่น ๆ เช่น คลินิกแก้หนี้ในกรณีที่เป็นหนี้เสีย ไม่ได้ชำระเกิน 120 วัน ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคลล สามารถเข้าโครงการนี้ได้ ปรึกษาในเว็บไซต์คลินิกแก้หนี้ได้ แล้วก็มีทางด่วนแก้หนี้ เป็นช่องทางที่เชื่อมให้ลูกหนี้ได้คุยกับเจ้าหนี้ได้โดยตรง
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อเป็นหนี้ต้องมีวันจบ (13) กู้ในระบบ-นอกระบบ ถ้าบอกครบ(หมอหนี้)ช่วยจบหนี้ได ได้ที่เว็บไซต์ไทบพับลิก้า
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง