ThaiPublica > ประเด็นร้อน > BCG in Action > “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” ทางรอดยุค “Global Permacrises” – ร่วมสร้างระบบนิเวศที่เอื้อให้เกิดการปรับเปลี่ยน

“โมเดลเศรษฐกิจ BCG” ทางรอดยุค “Global Permacrises” – ร่วมสร้างระบบนิเวศที่เอื้อให้เกิดการปรับเปลี่ยน

27 พฤษภาคม 2023


ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

หลังจากที่ประเทศไทยในฐานะผู้ผลักดันโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’Meeting : AELM) ปี 2022 ประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าภาพ ได้ร่วมกับสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ มีฉันทามติขับเคลื่อน Bangkok Goals on BCG Model หรือเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-circular-Green Economy : BCG) เพื่อให้การขับเคลื่อนปฏิญญากรุงเทพฯครั้งนี้ของประเทศไทยบรรลุเป้าหมายสัญญาประชาคมโลกอย่างที่แท้จริง เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมียุทธศาสตร์

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มองว่า BCG เป็น โมเดลเศรษฐกิจใหม่ไม่ได้ตอบโจทย์ประเทศไทยเท่านั้น เป็นการตอบโจทย์โลกในเวลาเดียวกันด้วย ได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย win-win ร่วมกันทุกประเทศ

โลกที่ไม่ใช่ใบเดิม

โลก ณ วันนี้ ไม่ใช่โลกใบเดิมอีกต่อไป ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับ Global Permacrises เป็นภาวะที่ต้องเผชิญกับความไม่ยั่งยืน (Unsustainability) ความไร้เสถียร (Instability) และความไม่ปลอดภัย (Insecurity) อยู่ตลอดเวลา เรากำลังเผชิญ Multi-Dimensional Disruptions หรือภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบเฉียบพลันในหลากหลายมิติ ทั้งเทคโนโลยี (Technological Disruption) ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Disruption) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม (Environmental Disruption) ใน Geopolitical Disruption เราเห็นเปลี่ยนแปลงจาก “โลกขั้วเดียว” (Unipolar World)ไปสู่ “โลกหลายขั้ว” (Multi-polar World) ที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงจาก “โลกาภิวัตน์” (Globalization) ไปสู่ “การทวนกระแสโลกาภิวัตน์” (Deglobalization) ใน Technological Disruption เราเห็นการเปลี่ยนแปลงใน 3 Domains คือ Bio Domain, Physical Domain และ Digital Domain ในEnvironmental Disruption เรากำลังเผชิญกับ Ecological Crisis ไปพร้อมกับ Climate Crisis

5 ประเด็นท้าทายของภาคธุรกิจ

ท่ามกลาง Global Permacrises ภาคธุรกิจกำลังเผชิญกับชุดของโอกาส ภัยคุกคาม ความท้าทายและขีดความสามารถที่ต้องพัฒนาขึ้นมาชุดใหม่ ดังนั้นภาคธุรกิจจะอยู่อย่างเดิมไม่ได้อีกต่อจะต้องปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นแบบ “Laissez-Faire Business” เป็นการทำธุรกิจที่มุ่งแสวงหากำไรโดยอยากจะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ ไปสู่ “Sustainable Business” เป็นการดำเนินธุรกิจที่มุ่งตอบโจทย์ความยั่งยืน จึงนำมาสู่ 5 ประเด็นท้าทายต่อภาคธุรกิจ ดังนี้

    1. คุณจะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง หรือจะถูกบังคับให้เปลี่ยน
    2. คุณจะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเปลี่ยนแปลงเชิงระบบครั้งใหญ่ครอบคลุม Business,Operating, Investment Collaborative และ Profit Model
    3. หากคุณต้องการจะเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการพัฒนาระบบนิเวศ ที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่และใครจะเป็นเจ้าภาพในงานนี้
    4. หากคุณต้องการจะเปลี่ยนแปลง คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งห่วงโซ่อุปทานหรือไม่
    5. หากธุรกิจรายย่อย หรือ SMEs ต้องการจะเปลี่ยนแปลง ใครจะเข้ามาให้ความช่วยเหลือเพราะถ้าหากธุรกิจเหล่านี้ไม่สามารถปรับเปลี่ยน จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ประเทศไทยและประชาคมโลกอย่างไร

หากเราไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นท่ามกลาง Global Permacrises ก็คือ “Predictable Surprises” เป็นเซอร์ไพร้ส์ที่เราคาดอยู่แล้วว่าจะเกิด แต่กลับปล่อยให้เกิดขึ้นจนเกิดเป็นวิกฤติโดยที่ไม่ทำอะไรเลย ดังนั้นหากเราไม่ต้องการ Predictable
Surprises ก็จำเป็นจะต้องตอบทั้ง 5 คำถามดังกล่าวให้ได้

ระบบนิเวศที่เอื้อให้เกิดการปรับเปลี่ยน

ในปัจจุบันภาคธุรกิจไม่สามารถแยกออกจากโลกได้ ดังนั้นจะต้องมอง Ecosystem ในเชิงระบบและต้องมีภาพใหญ่ที่สามารถเชื่อมโยงทั้งใน Global, National และ Corporate Level เข้าด้วยกันให้ได้โดยใน Global Level คือ SDGs ทั้ง 17 ข้อ ที่ในปัจจุบันเหลือเวลาเพียงแค่ 7 ปี แต่ยังคงมีเพียงแค่บริษัทรายใหญ่ที่พยายามจะตอบโจทย์ SDGs และทำได้เพียงแค่บางข้อเท่านั้น ใน National Level คือ BCG ซึ่งเป็น National Agenda ที่สามารถตอบโจทย์ Global Agenda โดยการเชื่อมโยงกับ SDGs แต่อย่างไรก็ตาม BCG ยังขาดยุทธศาสตร์และกลไกขับเคลื่อนที่ชัดเจนและมีพลัง ส่วนใน Corporate Level คือ ESG ซึ่งในปัจจุบันยังคงขาดความเชื่อมโยงกับ 2 ระดับก่อนหน้า และยังขาด Critical Mass ที่จะทำให้เกิด Sustainable Movement อย่างแท้จริง

ทั้ง SDGs, BCG และ ESG นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในปัจจุบันยังคงทำแบบต่างคนต่างทำไม่เคยถูกนำมาเชื่อมเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ การที่จะเชื่อมโยงทั้ง 3 ข้อต่อนี้เข้าด้วยกันผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งในระดับ Global อาทิ องค์การสหประชาชาติ ในระดับ National อาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และในระดับ Corporate อาทิ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้อง

    1. มีภาพใหญ่เดียวกัน มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
    2. มีทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ รู้ว่าจะเดินไปสู่จุดไหน
    3. รู้ว่าแต่ละระดับจะยึดโยงและเชื่อมโยงซึ่งกันและกันได้อย่างไร
    4. รู้ว่าองค์กรภาคเอกชน ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีข้อจำกัดอะไรต้องการตัวช่วย หรือสภาพแวดล้อมแบบใด ที่จะปรับเปลี่ยนจาก Laissez Faire Business ไปสู่ Sustainable Business ได้

การจะปรับเปลี่ยนไปสู่ Sustainable Business นั้น องค์กรเอกชนไม่สามารถทำคนเดียวได้ แต่ต้องเป็นการขับเคลื่อนเชิงระบบ ซึ่งหากไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ การปรับเปลี่ยนเชิงระบบก็จะไม่เกิดขึ้น

หัวใจสำคัญของ Sustainable Business แต่เดิมมาภาคธุรกิจมีความเชื่อที่ว่า Doing Well Then Doing Good คือต้องมีผลประกอบการดีก่อนแล้วจึงค่อยทำความดี ต้องทำให้ตนเองรวยก่อน แล้วจึงค่อยไปช่วยเหลือผู้อื่น เป็นความเชื่อที่นำมาสู่ CSR ซึ่งในปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป จะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์มาเป็น Doing Well By Doing Good คือต้องทำดีก่อน แล้วผลประกอบการจะดีตามมาเอง ซึ่งจะนำมาสู่ความยั่งยืน โดยการจะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จาก Doing Well Then Doing Good มาเป็น Doing Well By Doing Good จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงใน 3 เรื่องสำคัญ ดังนี้

1. เปลี่ยนจาก Shareholder Value Creation มาเป็น Stakeholder Value Creation อาทิ ชุมชน แรงงาน พนักงานในบริษัท สังคม ตลอดจนประชาคมโลกโดยรวม
2. เปลี่ยนจากการมองแค่ Financial Return มาเป็นมอง Economic & Social Return
3. เปลี่ยนจากการมองแค่ Risk & Return มาเป็นมอง Risk, Return & Responsibility ไปพร้อมๆกัน

จะเห็นได้ว่า Sustainable Business ไม่ใช่สิ่งใหม่ เพียงแค่เป็นการต่อยอดจากสิ่งเดิม ยังคงต้องการ Growth และยังต้องตอบโจทย์ Profit เพียงแต่เป็น Sustainable Growth เพื่อไปสู่ Sustainable Profit รวมถึงยังคงต้องการก้าวไปข้างหน้า แต่เป็นการก้าวหน้าไปด้วยกันกับ Stakeholders โดยบริษัทจะต้องเปลี่ยน Mindset จากที่มองว่าการจะไปสู่ Sustainable Business เป็นค่าใช้จ่าย มามองว่าคือการลงทุน ที่จะนำมาสู่ผลตอบแทนในอนาคต

“เพราะเมื่อใดก็ตามที่บริษัททำได้ถึงมาตรฐานของโลก อาทิ Dow Jones Sustainability Index (DJSI) เมื่อนั้นบริษัทก็จะถูกการันตีว่าน่าลงทุนโดยที่ไม่สนใจว่าเป็นธุรกิจประเภทใด”

ซีรี่ย์ BCG in Action สนับสนุนโดย