หลังจากที่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ เข้ามานั่งตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกว่า 4 เดือน นโยบายปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้นได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม มียอดสะสมไปแล้วมากกว่า 150,000 ต้น โดยตัวเลขนี้ผู้ว่ากทม.ตอกย้ำว่า “เกินเป้าหมาย”
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสำเร็จของนโยบายนี้มาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเอกชนเข้ามาช่วยเติมเต็มให้นโยบายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นคือ CPF บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนกล้าไม้และการกระจายกล้าไม้ให้กับประชาชนปลูกได้มากขึ้น
แนวทางเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างความยั่งยืนของซีพีเอฟ เพราะหากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ บริษัทได้ส่งเสริมกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการปลูกป่า เนื่องจากซีพีเอฟมองว่าทรัพยากรป่าไม้เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางอาหารและพื้นที่ใกล้เคียง
ซีพีเอฟ สร้างแนวทางความยั่งยืนทั้งในรูปแบบพื้นที่สีเขียว พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติ รวมถึงสนับสนุนชุมชนและการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น
ต่อมาซีพีเอฟขยับหมุดหมายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากป่านอกเมืองมาสู่ในเมือง โดยร่วมกับกทม.ผ่านโครงการ “กล้าจากป่า พนาในเมือง(กทม.)” และเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 ตุลาคม 2565 ณ สวนลุมพินี โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกทม.และซีพีเอฟ ร่วมกันปลูกต้นไม้และแจกกล้าไม้ให้ประชาชนในวันดังกล่าวด้วย
โดยซีพีเอฟจ้างงานชุมชนรอบเขาพระยาเดินธงเพาะกล้าและดูแลจนกล้าไม้แข็งแรง เพื่อเป็นการกระจายอาชีพและสร้างรายได้สู่ชุมชน และนำมากล้าไม้พันธุ์ต่างๆ มาแจกประชาชน ไม่ว่าจะเป็น พะยูง กฤษณา ยางนา มะขาม และไม้ฟอกอากาศหรือไม้มงคล อาทิ ออมชมพู เงินไหลมา พลูแอปเปิ้ล บับเบิ้ลมาร์ค, มอนเตอร่า อคูมินาต้า
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องรับผิดชอบของซีพีเอฟ สอดคล้องกับหลักปรัชญาสามประโยชน์ของเครือที่ว่า ‘ไม่ว่าจะเข้าไปทำธุรกิจที่ไหนก็ตาม เราต้องมีส่วนร่วมเป็นสมาชิกที่ดี ต้องทำให้สังคมและประเทศดีขึ้น’
“ขอขอบคุณกทม.ที่ให้โอกาสซีพีเอฟเข้าร่วมทำกิจรรมดีๆ และร่วมกันดำเนินโครงการกล้าจากป่า พนาในเมือง(กทม.) สนับสนุนการปลูกต้นไม้ ตามนโยบายที่ผู้ว่ากทม.มีเป้าหมายจะปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเข้ามาดูแลสิ่งแวดล้อม ถ้าเราทำกทม.ให้เป็นเมืองสีเขียวได้ ก็จะเป็นการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเราและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยด้วย” นายประสิทธิ์ กล่าว
‘โครงการกล้าจากป่า พนาในเมือง(กทม.)’ ยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) ข้อ13 สร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ข้อ 15 ส่งเสริมการดำเนินการด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และเพิ่มการปลูกป่าและฟื้นฟูป่า
ขณะที่นายชัชชาติ กล่าวว่า “ต้นไม้ที่เราเห็นอยู่ในวันนี้ คือต้นไม้ที่คนในอดีตปลูกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ดังนั้นเป็นหน้าที่เราที่จะส่งต่อเมืองที่มีคุณภาพ ให้แก่ลูกหลานเรา อย่างน้อยเด็กปลูกต้นไม้คนละต้นให้โตไปด้วยกัน”
นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ซีพีเอฟเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้าง ‘ความยั่งยืน’ จากเรื่องใกล้ตัว เช่น การปลูกป่าในโรงงาน ปลูกป่าชายเลนใกล้โรงงาน และให้ข้าราชการมีส่วนร่วมด้วย จากนั้นก็ต่อยอดโครงการมาสู่ในเมืองและนำ know how การปลูกต้นไม้มาช่วยเติมเต็มให้คน กทม.ได้รับประโยชน์จากพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นจากต้นไม้
“ลำพังกทม.ไม่มีแหล่งเพาะกล้าไม้พอ แต่ซีพีเอฟมีแหล่งเพาะกล้าไม้ที่ดี เป็นกล้าที่แข็งแรง เป็นพันธุ์ไม้ที่โตได้ดี เป็นตัวช่วยให้เรากกระจายกล้าไม้ ถ้าทุกคนช่วยกันปลูก จากการที่มีคนมาช่วยกระจายกล้าไม้ ไม่ใช่แค่ปลูก สิ่งสำคัญคือการดูแล ซีพีเอฟมีโครงการต่อเนื่อง สำเร็จเป็นหมื่นไร่ เราต้องไปเรียนรู้จากซีพีเอฟ สิ่งสำคัญของเมืองคือต้องร่วมมือกัน” นายชัชชาติ
การพัฒนาอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมี ‘แนวร่วม’ ที่เดินไปด้วยกัน ดังนั้นนโยบายปลูกต้นไม้ของกทม.จึงไม่ใช่ความสำเร็จของกทม.เท่านั้น หากสิ่งสำคัญคือความร่วมมือของภาครัฐ เอกชนและประชาชน ที่ช่วยสร้างเมืองที่ดีและมีคุณภาพส่งต่อให้ลูกหลานในอนาคต
na