ThaiPublica > Native Ad > เส้นทาง “ESG100” ปีที่ 6 ของ ‘ซีพีเอฟ’ ตอกย้ำความยั่งยืน “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่”

เส้นทาง “ESG100” ปีที่ 6 ของ ‘ซีพีเอฟ’ ตอกย้ำความยั่งยืน “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่”

1 กันยายน 2022


นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ(ซ้าย)และ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธาน สถาบันไทยพัฒน์ (ขวา)

จากการดำเนินนโยบายพัฒนาความยั่งยืน ตามเป้าหมาย CPF 2030 Sustainability in Action มาอย่างต่อเนื่อง “สถาบันไทยพัฒน์” จัดให้ซีพีเอฟ เป็น 1 ในบริษัทที่เข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 Company จาก 851 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากมีการดำเนินงานโดดเด่นทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และยึดมั่นธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance : ESG) ที่สำคัญคือบริษัทได้รับรางวัลนี้เป็นปีที่ 6 นับตั้งแต่ปี 2558

การอยู่ในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นปีที่ 6 สะท้อนให้เห็นว่า บริษัทฯ มีการดำเนินงานด้าน ESG โดดเด่น เป็นแบบอย่างที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารที่นำ ESG ไปใช้ในทุกห่วงโซ่อุปทานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดของบริษัท

“ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณทางสถาบันไทยพัฒน์ที่ตระหนักถึงความมุ่งมั่นของบริษัท ซึ่งให้ความสำคัญในด้าน ESG ในการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอด” นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าว

นายประสิทธิ์กล่าวต่อถึงแนวทางความยั่งยืนของบริษัทว่า ซีพีเอฟให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG และเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน และเชื่อมั่นว่า ESG เป็นเรื่องที่สำคัญมากและเป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นอย่างยิ่ง สอดรับกับปรัชญา “3 ประโยชน์” ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ คือการทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ ประชาชนและองค์กร การที่บริษัทฯ ไปทำธุรกิจในประเทศใดก็ตาม ต้องไปสร้างสรรสิ่งที่ดี นำเทคโนโลยีที่ดี ผลิตสินค้าที่ดี เพื่อให้คนในสังคมได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย อร่อย มีคุณค่าโภชนาการ ควบคู่ดูแลสภาพแวดล้อมและสังคมให้ดี ส่งผลให้บริษัทได้ประโยชน์ด้วย

ด้วยปรัชญา “3 ประโยชน์” ของเครือซีพี เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทในเครืออย่าง CPF หรือ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทของไทยที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นธุรกิจที่ยั่งยืน

ซีพีเอฟได้วางกลยุทธ์ความยั่งยืนภายใต้แนวคิด “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่” โดยกำหนดเป้าหมายระยะสั้น กลาง และระยะยาวคือการใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับแต่ละหน่วยธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการสูญเสีย ควบคู่การทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม แนวคิดดังกล่าวสอดแทรกการดำเนินธุรกิจทั้งหมด และบริษัทตั้งเป้าหมายโดยมีรายละเอียด ดังนี้

อาหารมั่นคง

  • อาหารที่ยั่งยืน สนับสนุนกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืนผ่านการผลิตผลิตภัณฑ์สีเขียว
  • การตลาดอย่างรับผิดชอบ สนับสนุนอาหารเพื่อสุขภาพ
  • สวัสดิภาพสัตว์ ทำให้สัตว์มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
  • สังคมพึ่งตน

  • สิทธิมนุษยชน ยึดตามหลักสากล มุ่งเน้นไปที่พนักงาน บุคลากรในห่วงโซ่อุปทานและผู้บริโภค
  • การเรียนรู้ตลอดชีวิต ยกระดับวัฒนธรรมการทำงานและสร้างทักษะที่เหมาะสม
  • ผลลัพธ์เชิงบวกทางสังคม มีส่วนร่วมกับชุมชนและเกษตกรรายย่อย และพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
  • ดินน้ำป่าคงอยู่

  • การบริหารทรัพยากรที่เป็นเลิศ จำกัดผลกระทบจากภาวะโลกรวน
  • การจัดหาอย่างรับผิดชอบต่อโลก ส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • การสร้างคุณค่าปราศจากขยะ จัดกรผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • นายประสิทธิ์ ย้ำว่า ซีพีเอฟจะเดินหน้าสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการผลิตอาหารคุณภาพ ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ รองรับผู้บริโภคทั่วโลก มีการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า พร้อมกันนี้ยังได้ส่งเสริมเกษตรกร คู่ค้า และสังคมให้เติบโตไปด้วยกัน

    อย่างไรก็ตาม ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจมากถึง 40 ประเทศทั่วโลก ยอดขายรวมกว่า 5.1 แสนล้านบาทในปี 2564 แบ่งสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศ 63% ในประเทศ 31% และส่งออก 6% ส่วนรายได้ตามผลิตภัณฑ์แบ่งเป็นธุรกิจอาหารสัตว์ 25% ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์และแปรรูป 54% และธุรกิจอาหาร 21%

    ด้วยลักษณะการประกอบธุรกิจที่ครอบคลุมทั่วโลกทำให้บริษัทให้ความสำคัญกับเรื่อง ‘การตรวจสอบย้อนกลับ’ จากคู่ค้าและซัพพลายเออร์ต่างๆ ตั้งแต่ขั้นแรกคือเกษตรกร คู่ค้า โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม โรงงานผลิตอาหาร กระทั่งบรรจุภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ภายใต้ชื่อ ‘iTrace Blockchain’ และปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) และระบบฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm)

    นายประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันบริษัทอยู่ในระหว่างการค้นหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อมาเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านความยั่งยืนทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการจังหวะเวลาในการลงทุนเทคโนโลยีที่เหมาะสม

    ตัวอย่างการนำเทคโนโลยี-นวัตกรรมมาประยุกต์ใช้จนเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของซีพีเอฟ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เนื้อทดแทนจากพืช ‘zero meat’ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารซีพีเอฟ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ หรือผลิตภัณฑ์ไส้กรอกปลอดสารทาร์ ด้วยนวัตกรรมกรองควันคุณภาพดี โดยใช้ข้อมูลในการเรียงลำดับการใช้วัตถุดิบไปจนถึงระบบรมควัน

    ขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและชุมชน ที่ผ่านมาซีพีเอฟสนับสนุนชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรตามแนวคิด ‘เกษตรกรคือคู่ชีวิต’ เพราะบริษัทมีพันธสัญญากับเกษตรกรรายย่อย (contract farming) และได้สร้างมาตรฐานให้เกษตรกรทำฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย และกลุ่มเปราะบางเช่น เด็ก เยาวชนและผู้สูงอายุ

    นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังมีโครงการ CPF Restore the Ocean เป็นการสร้างความร่วมมือและลงมือทำ โดยสร้างความตระหนักสู่พนักงานในองค์กร เพื่อรักษาระบบนิเวศทางทะเล ด้วยการลดปริมาณขยะในทะเลและขยะชายฝั่ง และนำมาจัดการอย่างถูกวิธี ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมกับดักขยะทะเล กิจกรรมเก็บขยะชายหาด กิจกรรมเก็บขยะท่าเรือ (โครงการขยะคืนฝั่ง และกิจกรรมขยะดีมีค่า)

    ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของซีพีเอฟจนทำให้ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่ม ESG100 และแสดงให้เห็นว่า ESG เป็นหน้าที่ของทุกคนและทุกองค์กร และ ESG เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนให้ธุรกิจ สังคมและประเทศ