ThaiPublica > Native Ad > ฟื้นป่าต้นน้ำ “เขาพระยาเดินธง” ต้นแบบความร่วมมือ 3 ประสาน ซีพีเอฟ – กรมป่าไม้ – ชุมชน

ฟื้นป่าต้นน้ำ “เขาพระยาเดินธง” ต้นแบบความร่วมมือ 3 ประสาน ซีพีเอฟ – กรมป่าไม้ – ชุมชน

13 กรกฎาคม 2023


“จากภูผา สู่ป่าชายเลน สร้างความมั่นคงทางอาหาร” แนวคิดในการสร้างการมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งบริษัทผลิตอาหารชั้นนำระดับโลกอย่าง “บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ” นำมาใช้เป็นแนวทางควบคู่กับความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยได้ปลูกฝังความตระหนักสู่พนักงาน”ลงมือทำ” เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษาสมดุลระบบนิเวศ ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน รวมไปถึงการปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย ร่วมมือกันบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)ซึ่งจนถึงปัจจุบัน กิจการของซีพีเอฟทั้งในประเทศไทยและกิจการต่างประเทศ (กิจการต่างประเทศ จากข้อมูล 8 ประเทศ ประกอบด้วย รัสเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว อินเดีย กัมพูชา และตุรเคีย) มีส่วนร่วมปลูกต้นไม้และฟื้นฟูป่าไปแล้วรวมมากกว่า 5.4 ล้านต้น

ในประเทศไทย ซีพีเอฟร่วมอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูป่ารวมมากกว่า 2.8 ล้านต้น โดยได้ดำเนิน “โครงการ ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” ตำบลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ “โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน พื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 จังหวัด คือ ระยอง สมุทรสาคร ชุมพร สงขลา และพังงา และอยู่ระหว่างดำเนินโครงการในระยะที่สอง (ปี 2562-2566) สานต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ในพื้นที่ระยอง สมุทรสาคร และตราด รวมทั้งโครงการรักษ์นิเวศ ปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการของซีพีเอฟทั่วไทยที่ดำเนินการไปแล้วรวม 2.5 แสนต้น ซึ่งทุกๆโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ด้วยการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ชุมชน และจิตอาสาซีพีเอฟ

หนึ่งในโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ คือ โครงการ “ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” ซึ่งเป็นความร่วมมือในลักษณะ 3 ประสาน ระหว่างซีพีเอฟ กรมป่าไม้ และชุมชน ดำเนินโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญในการทำเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการอุปโภคของประชาชน ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี สระบุรี เพชรบูรณ์ และพระนครศรีอยุธยา

ความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง และการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ตลอด 8 ปีของการดำเนินโครงการ ฯ นับจากปี 2559 เป็นต้นมา จนถึงวันนี้ “โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไปแล้ว 7,000 ไร่ คิดเป็นจำนวนต้นไม้ที่ปลูก 1,394,200 ต้น พลิกฟื้นผืนป่าที่เต็มไปด้วยหิน วัชพืช หนามสนิม กลับสู่ป่าที่เขียวชะอุ่มและอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นแบบของการฟื้นฟูป่า ที่มีการนำการฟื้นฟูป่า 4 รูปแบบมาใช้ ได้แก่ การปลูกป่าแบบพิถีพิถัน การปลูกเสริมป่า การส่งเสริมการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ และปล่อยตามธรรมชาติ ทำให้ผืนป่าฟื้นได้เร็วกว่าการปล่อยให้ป่าฟื้นตัวเองตามธรรมชาติ เปลี่ยนสภาพจากพื้นที่เขาหัวโล้น พื้นที่ป่าแหว่ง ให้เป็นพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเรียนรู้การฟื้นฟูป่า หรือห้องเรียนธรรมชาติ แหล่งรวมพันธุ์ไม้ ทั้งกล้าไม้ประจำถิ่น อาทิ สะเดา ปีบ พฤกษ์ สาธร มะกอกป่า สำโรง มะค่าโมง คงคาเดือด ขันทองพยาบาท และกล้าไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ประดู่ป่า พะยูง มะค่าโมง มะค่าแต้ แดง สัก กระพี้จั่น กล้าไม้เบิกนำ ได้แก่ สะแกนา มะขามป้อม ขี้เหล็ก หว้า ถ่อน เป็นต้น

ผืนป่าแห่งนี้ ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมาจิ้งจอก อีเห็น นกชนิดต่าง ๆ มากกว่า 100 ชนิด เช่น นกปากห่าง นกยางเปีย นกยางควาย นกเป็ดแดง นกกวัก นกกระแตแต้แว้ด ไก่ป่า แมวดาว สัตว์นักล่าขนาดเล็กที่มีความคล่องแคล่วว่องไว ปรับตัวเก่ง ซึ่งบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และยังเป็นแหล่งอาหารของชุมชน เห็นได้จากเห็ดโคนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นเห็ดที่มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด จะขึ้นในพื้นที่เหมาะสม เช่น ต้องเป็นดินที่มีปลวกหรือจอมปลวก อุณหภูมิเหมาะสม ความชื้นต้องเพียงพอ ทั้งหมดนี้ คือ ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ จากการฟื้นฟูป่า และปัจจุบัน ซีพีเอฟและกรมป่าไม้ ยังได้สานต่อความร่วมมือขยายพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเพิ่มอีก 5,000 ไร่

ล่าสุด “โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” ได้รับเลือกจากคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา มอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติการปลูกต้นไม้เพื่อแผ่นดินตามรอยพ่อ ซึ่งเป็นการพิจารณาโดยคณะทำงานโครงการสมัชชาปลูกต้นไม้ ฯ เพื่อสนับสนุนการสร้างพลังความร่วมมือทุกภาคส่วนในสังคม มีส่วนร่วมปลูกต้นไม้เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี เสริมสร้างเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ซีพีเอฟต่อยอดจากการฟื้นฟูป่าสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน สนับสนุนชุมชนทำ “โครงการปลูกผักปลอดสารวิถีธรรมชาติ” และ “โครงการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาน้ำจืด” เป็นโครงการที่สามารถวัดผลได้ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

โครงการปลูกผักปลอดสารวิถีธรรมชาติ มีสมาชิก 24 คน ครอบคลุมพื้นที่ 8 หมู่บ้าน 2 ตำบล มีทั้งที่ปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน ปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือนและแบ่งจำหน่าย ปลูกผักเพื่อจำหน่าย และปลูกเพื่อบริโภคและเก็บเมล็ดพันธุ์ ชนิดและประเภทของผักที่ปลูก รวม 97 ชนิด เช่น มะเขือเปราะ มะเขือยาว กระเจี๊ยบ พริกขี้หนู ผักไชยา พริกสด ดอกแค ตะไคร้ มะเขือพวง ถั่วพู ผักตลาดและผลไม้ มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านจากสมาชิก รวม 47 ชนิด เข้าสู่ธนาคารเมล็ดพันธุ์ตามวิถีภูมิปัญญาชุมชน เพื่อแบ่งปันให้เพื่อนสมาชิกและเกษตรกรรายใหม่นำไปปลูกขยายพันธุ์แล้วเก็บเมล็ดพันธุ์ส่งคืนธนาคารฯ ทำให้ชุมชนยืนได้ด้วยตัวเอง เช่น ในช่วงวิกฤติโควิด ชุมชนมีอาหารที่ปลอดภัยไว้บริโภคและลดภารค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสามาชิกยังสามารถนำผลผลิตบางส่วนไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ดอกกระเจี๊ยบและอัญชันตากแห้ง ขนมกล้วย น้ำสมุนไพร เสริมรายได้ และที่นี่ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงานสร้างความมั่นคงทางอาหารตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยภูมิปัญญาชุมชนและอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นถิ่นให้กับเกษตรกรและผู้สนใจในจังหวัดลพบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง

โครงการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาน้ำจืด เป็นการสนับสนุนชุมชนในพื้นที่รอบเขาพระยาเดินธง เพาะพันธุ์และอนุบาลปลาน้ำจืด อาทิ ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลานิล และนำไปปล่อยลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ บริเวณพื้นที่ห้วยงิ้ว ต.โคกสลุง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ รักษาสมดุลระบบนิเวศ ปัจจุบันมีสมาชิกในโครงการ 14 ราย ที่ได้รับการสนับสนุนการอบรมให้ความรู้ รวมถึงจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการผสมเทียมปลา และการดูแลอนุบาลลูกปลาให้มีความแข็งแรง (ขนาดเฉลี่ยประมาณ 5-6 เซ็นติเมตร) เพื่อให้มีอัตราการรอดสูง ก่อนนำมาปล่อยลงเขื่อนฯ นอกจากนี้ซีพีเอฟได้ จัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายประชาสังคมในพื้นที่ปล่อยปลาลงเขื่อนฯ โดยตั้งแต่ปี 2563-2566 มีจำนวนลูกปลาน้ำจืดที่ปล่อยเข้าสู่ระบบนิเวศทางธรรมชาติมากกว่า 1 ล้านตัว

ในปี 2564 ซีพีเอฟ ได้จัดทำประเมินผลเพื่อวัดกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม (IMPACT VALUATION) ที่เกิดขึ้น จากการดำเนินโครงการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาน้ำจืด และได้รับการรับรองข้อมูลโดยบริษัท LRQA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ทวนสอบด้านความยั่งยืนชั้นนำระดับโลก พบว่าโครงการปลูกผักปลอดสารวิถีธรรมชาติ ชุมชนมีผักปลอดสารไว้บริโภคในครัวเรือน และมีเหลือไว้แบ่งขาย ลดรายจ่ายในการซื้อผัก มีสุขภาพที่ดีขึ้นจากผลค่าสารพิษการตรวจเลือด มีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมและเผยแพร่องค์ความรู้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดมูลค่าที่แท้จริงจากโครงการฯ ด้านเเศรษฐกิจ และสังคม รวม 91,000 บาท ขณะที่โครงการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาน้ำจืด มีจำนวนประชากรปลาบริเวณหน้าท่าจากการสุ่มนับโดยหน่วยงานประมงที่เพิ่มขึ้น เกิดเป็นแหล่งอาหารที่มั่นคงของชุมชน ทำให้ชุมชนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เกิดมูลค่าที่แท้จริงจากโครงการฯ ด้านเเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวม 1.69 ล้านบาท