ThaiPublica > ThaiPublica Channel > ThaiPublica Podcast > ThaiPublicaPodcast ข่าวเจาะ EP 45 ถอดแก่นคิด “สาธิตธรรมศาสตร์” ปั้นเด็ก ปั้นอนาคตไทย

ThaiPublicaPodcast ข่าวเจาะ EP 45 ถอดแก่นคิด “สาธิตธรรมศาสตร์” ปั้นเด็ก ปั้นอนาคตไทย

1 เมษายน 2022


โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 ถือเป็นโรงเรียนสาธิตน้องใหม่มาก เพราะเพิ่งตั้งมาได้ 6 ปี เจอกับประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ล้างสมองเด็ก” เป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ด้านลบ ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน เพื่อเตรียมความพร้อมเด็กรับมือกับโลกยุคใหม่

บุญลาภ ภูสุวรรณ” บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้า เดินเข้ารั้ว โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อหาคำตอบจากการสัมภาษณ์ ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานบริหารโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า การเรียนการสอน ณ โรงเรียนแห่งนี้ เป็นกระบวนการล้างสมองเด็ก หรือแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่หลายฝ่ายกำลังเรียกร้องอยู่ในขณะนี้

ในตอนที่แล้ว ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานบริหารโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงโจทย์การตั้งโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ว่าต้องการสร้างคนในอนาคตที่มีทักษะในทุกมิติ มีอัตลักษณ์ในการเคารพความแตกต่างหลากหลาย และขับเคลื่อนด้วยการเจาะลึกถึง pain point ของระบบการศึกษาไทยที่ผ่านมา ทั้งเรื่องของสายสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครอง ให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน การสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สุดท้าย คือการปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับวิถีการเรียนของเด็กรุ่นใหม่ (learning style)

ข่าวเจาะตอนนี้ จะได้พบกับ อีกหนึ่งปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการปั้นอนาคตเด็กไทยตามโจทย์ที่ตั้งไว้ คือ “ครู” และ “เด็ก” โดยกระบวนการการบ่มเพาะ “ครู” รุ่นใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เป็นการลงทุนที่สำคัญ เพราะโรงเรียนมีหน้าที่ในการสร้างระบบนิเวศน์ให้พร้อม เพื่อดึงศักยภาพเด็กก้าวสู่อนาคต โลกแห่งอาชีพ ต่อไปจะเปลี่ยนไปหมด การทำให้เด็กรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง คือความหวังของอนาคตที่ยั่งยืน

อ่านบทสัมภาษณ์ ถอดแก่นคิด “โรงเรียนสาธิตธรรมศาสตร์” ปั้นเด็ก ปั้นอนาคตไทย ทั้งตอน 1 ตอน1 และ ตอน 2ฉบับเต็ม ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า

อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง

  • Youtube
  • Soundcloud
  • Apple Podcast
  • Google Podcast
  • Spotify