ThaiPublica > Native Ad > 80 ปี “ไทยประกันชีวิต” ชูหลัก ESG
สร้างการเติบโตเคียงข้างคนไทย
สู่การเป็น ‘บริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน’

80 ปี “ไทยประกันชีวิต” ชูหลัก ESG
สร้างการเติบโตเคียงข้างคนไทย
สู่การเป็น ‘บริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน’

2 มีนาคม 2022


“ไทยประกันชีวิต” แบรนด์ประกันชีวิตแห่งแรกของคนไทยที่มุ่งมั่นดูแลชีวิตคนไทยมาตลอด 80 ปี ในปีนี้ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (“ไทยประกันชีวิต”) มาพร้อมการเปลี่ยนแปลงสู่ทศวรรษที่ 8 ด้วยวิสัยทัศน์ “มุ่งสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน” สอดคล้องกับภาพลักษณ์ความเป็น “คู่คิด เพื่อทุกชีวิต รู้รอบ รอบรู้ คนดี มุ่งมั่นทำดี และมองไกลและทุ่มเท”

ความสำเร็จที่ผ่านมาของไทยประกันชีวิต คือ การออกแบบและนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ตอบโจทย์ลูกค้า และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ตลอดจนการเป็นแบรนด์ที่สร้างแรงบันดาลใจจนผู้บริโภคให้การยอมรับ

ในด้านธุรกิจ สำหรับรอบระยะเวลา 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 ไทยประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับรวมกว่า 60,529 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิกว่า 8,199 ล้านบาท สะท้อนความสำเร็จและการเติบโตของไทยประกันชีวิต จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตหลัก 6 กลุ่ม ได้แก่

    (1) ประกันชีวิตประเภทสามัญ (Basic Ordinary Life Insurance)
    (2) ประกันชีวิตประเภทควบการลงทุน (Investment-linked) แบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (Universal Life) และแบบยูนิต ลิงค์ (Unit-linked)
    (3) ประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance)
    (4) ประกันชีวิตประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance)
    (5) ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)
    (6) สัญญาเพิ่มเติม (Riders) เช่น สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ สัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยประกันชีวิตยังมีรายได้จากการลงทุนและอื่นๆ

ไทยประกันชีวิตกำลังก้าวสู่การเป็น Life Solutions Provider เพื่อเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลในทุกช่วงชีวิต (Life Stage) ทุกจังหวะชีวิต
(Life Event) และทุกการใช้ชีวิต (Lifestyle) ภายใต้แนวคิดการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ตัวแทนประกันชีวิตดูแลให้คำปรึกษาลูกค้า

ที่สำคัญเพื่อตอกย้ำศักยภาพการเปลี่ยนผ่านองค์กรรองรับวิสัยทัศน์การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน ด้วยการเตรียมพร้อม
เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) โดยเงินจากการระดมทุนครั้งนี้ ไทยประกันชีวิตวางแผนจะนำไปใช้ในการลงทุน ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อให้เข้าถึงคนไทยได้มากขึ้น ยกระดับประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า ตลอดจนเสริมความแข็งแกร่งของช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านพันธมิตร โดยไทยประกันชีวิตมีตัวแทนประกันชีวิตมากกว่า 60,000 ราย รวมถึง
ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านพันธมิตรอื่นๆ ของไทยประกันชีวิต ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารและองค์กรของรัฐ บริษัทลีสซิ่งและเช่าซื้อ และบริษัทสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค รวมไปถึงการขายผลิตภัณฑ์ทางโทรศัพท์ และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เสริม
ความแข็งแกร่งของเงินทุน และสำรองเป็นเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ

ปัจจุบันส่วนแบ่งทางการตลาดของไทยประกันชีวิตติด 1 ใน 3 บริษัทประกันชีวิตชั้นนำในประเทศไทย ด้วยรายได้เบี้ยประกันภัยรับรวม
คิดเป็น 13.7% ของอุตสาหกรรมประกันชีวิต สำหรับรอบระยะเวลา 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564

ภายใต้ความเชื่อมั่นเรื่อง “คุณค่าของคน” ไทยประกันชีวิตจึงยึดมั่นในหลักมนุษยนิยมที่ว่า บุคลากรเป็นทรัพย์สิน (Asset) และเป็นทุน (Capital) ที่สำคัญที่สุด ประกอบกับกุญแจสำคัญคือการให้ความสำคัญกับคุณค่าแห่งความรัก คุณค่าแห่งชีวิต เมื่อนำมาเชื่อมโยง
กับหลักความเป็นไทย ผสมผสานเข้ากับแก่นของ ‘การประกันชีวิต’ จนได้เป็นแบรนด์บริษัทประกันชีวิตที่อยู่ในใจผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน โดยอ้างอิงข้อมูลจากผลสำรวจคุณภาพของแบรนด์ (Brand Health Check) ซึ่งไทยประกันชีวิตได้มอบหมายให้ Nielsen
เป็นผู้ดำเนินการจัดทำในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่า ไทยประกันชีวิตได้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 2 ของอุตสาหกรรมประกันชีวิต
และได้รับดัชนีชี้วัดคุณค่าของแบรนด์ (Brand Equity Index) ซึ่งแสดงถึงภาพลักษณ์ที่ผู้บริโภคชื่นชอบและเต็มใจจ่ายเงินให้
เพราะการเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคยอมรับนั้นไม่ใช่เพียงแค่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดีเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญควบคู่กัน
คือการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล
(Environment- social -Governance : ESG) ซึ่งเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของไทยประกันชีวิต

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

จาก ESG สู่ความเชื่อ “ถ้าสังคมอยู่ได้ บริษัทก็อยู่ได้”

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “แนวทางการดำเนิน
งานตามหลัก ESG ของธุรกิจประกันชีวิตมีความแตกต่างจากธุรกิจทั่วไปในเรื่องลำดับความสำคัญ กล่าวคือ ธุรกิจประกันชีวิตจะมุ่งเน้นไปที่หลักการบริหารงานด้วยหลักธรรมมาภิบาล (Governance) ตามมาด้วยการให้ความสำคัญกับการดูแลสังคม-ชุมชน (Social) และสิ่งแวดล้อม (Environment) หากเรียงลำดับความสำคัญ คือ (Governance – Social – Environment)
โดยไทยประกันชีวิตตระหนักถึงความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งรวมถึงการควบคุมให้
การดำเนินธุรกิจเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดำเนินธุรกิจด้วยความสุจริต โปร่งใส และตรวจสอบได้ ตลอดจนสนับสนุนให้บุคลากรของไทยประกันชีวิต ทุกคนมีจิตสำนึก และยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม อันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานของไทยประกันชีวิต ให้ถูกต้อง เหมาะสมและยั่งยืน ควบคู่กับการดูแลสังคมและชุมชนผ่านกิจกรรมต่างๆ มากมาย รวมถึงการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนไทย
และถึงแม้ไทยประกันชีวิตจะไม่ได้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่ไทยประกันชีวิตยังคงให้ความสำคัญกับการลดการสร้างผล
กระทบที่จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และการประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับ ‘คุณภาพชีวิต’ และความเป็นอยู่
ของคนในสังคม ขณะเดียวกันก็ใช้การประกันชีวิตเข้ามาเติมเต็มความสุขในชีวิตของลูกค้า”

ด้วยความเชื่อที่ว่า “ถ้าสังคมอยู่ได้ บริษัทก็อยู่ได้” ล้อกับแนวคิดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ตามแนวทางของ UN Global Compact

ตัวแทนฯ ในโครงการคาราวานไทยประกันชีวิต ลงพื้นที่ให้ความรู้ด้านการวางแผนชีวิตและการเงินแก่คนในชุมชน

แผนการพัฒนาความยั่งยืนของไทยประกันชีวิต อิงกับเป้าหมาย SDGs ซึ่งประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่

1. ยุทธศาสตร์ ‘การยึดมั่นคำสัญญา’ (Promise) มุ่งมั่นสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำในระดับสากลที่เป็นคำตอบของการ
ประกันชีวิต และสร้างความมั่นคงทางการเงินให้ทุกชีวิต เป็นคู่คิดที่อยู่เคียงข้างลูกค้าและสังคมด้วยการบริหารจัดการองค์กรอย่างมืออาชีพบนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance)

2. ยุทธศาสตร์ ‘การคุ้มครองป้องกัน’ (Protect) มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจ และเพิ่มคุณค่าให้กับทุกช่วงเวลาของชีวิต ผ่านการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการให้บริการแก่ลูกค้าทั้งในปัจจุบัน
และอนาคต

3. ยุทธศาสตร์ ‘การสร้างความรุ่งเรืองเฟื่องฟู’ (Prosper) มุ่งเน้นการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ไปพร้อมกับการสนับสนุนบุคลากรให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ชุมชนและสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

โดยยุทธศาสตร์เหล่านี้นับเป็นกรอบกว้างๆ เพื่อกำหนดทิศทางให้องค์กรดำเนินงานตามแนวทาง SDGs โดยมีกรอบแนวทางการปฏิบัติตาม ESG หรือ GSE ในแบบของไทยประกันชีวิตซึ่งแบ่งออกเป็น

ธรรมาภิบาล

ด้านการบริหารองค์กร (Corporate Governance) ไทยประกันชีวิตได้จัดทำจรรยาบรรณทางธุรกิจ (Code of Conduct) และการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) เพื่อสร้างความเข้าใจ สื่อสาร และเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เพื่อเป็นรูปธรรมสำหรับการประพฤติทั้งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนร่วมกันยึดถือและปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจอย่างเคร่งครัดจนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและคุณค่าของไทยประกันชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล การให้ข้อมูลอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมกับลูกค้า รวมทั้งมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง

จากนโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความมั่นคงและการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลควบคู่กับการดูแลเคียงข้างสังคมไทย ทำให้ไทยประกันชีวิตได้รับรางวัล “บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น อันดับที่ 1” ประจำปี 2562 – 2563 จากการคัดเลือกของ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) โดยพิจารณาจากการบริหารงานอย่างมืออาชีพ มีศักยภาพในการดำเนินงาน มีฐานะการเงินมั่นคง รวมถึงมีธรรมาภิบาลเป็นเลิศ

วิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการไทยประกันชีวิตเสริมโอกาส สุขยั่งยืน

สังคมและชุมชน

ด้านสังคมและชุมชน ไทยประกันชีวิตดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน และยกระดับสู่การสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชน หรือ Creating Shared Value : CSV ด้วยการริเริ่มโครงการไทยประกันชีวิตเสริมโอกาส สุขยั่งยืน ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนอันถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากที่เป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศไทย โดยมุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่างๆ อย่างครบวงจร อาทิ การตลาดและการขาย การเงินและบัญชี การสร้างแบรนด์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ในลักษณะสอนให้ทำนำไปใช้ได้จริง
และเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และพัฒนาสู่การเป็นเครือข่ายสังคมที่เข้มแข็ง

นอกจากนี้ ไทยประกันชีวิตได้ถ่ายทอดองค์ ‘ความรู้ด้านประกันภัย’ รวมถึง ‘ข้อมูลผลิตภัณฑ์‘ ให้กับชุมชนและสังคม เป็นการให้ข้อมูล
ที่โปร่งใสและเป็นธรรมกับลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการรับผิดชอบต่อสังคม’ และเป็นส่วนสำคัญที่สุดในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน

ไทยประกันชีวิตยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนและสังคม โดยเข้าไปมีส่วนช่วยสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น และเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ไทยประกันชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ มอบถุงยังชีพช่วยน้ำท่วม

นอกจากนี้ ไทยประกันชีวิตยังมียุทธศาสตร์ความรับผิดชอบต่อสังคม 3 ด้าน ได้แก่

  • ยุทธศาสตร์การให้ (Giving Strategies) – ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความผูกพัน และสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกันผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการ ‘ให้’
  • ยุทธศาสตร์การดูแล (Caring Strategies) – ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความห่วงใยและความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างสังคมให้แข็งแรง
    เริ่มจากการดูแลบุคลากรภายในองค์กร โดยการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนและสวัสดิการที่เป็นธรรม ตลอดรวมถึงการพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้เอาประกันภัย
  • ยุทธศาสตร์การเติมเต็มคุณค่าแห่งชีวิต (Fulfilling Strategies) – การส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและผู้อื่น อีกทั้งปลูกฝังความเป็น ‘ผู้ให้’ และมีจิตอาสาที่จะช่วยเหลือสังคมให้อยู่ดีมีสุขมากขึ้น

ขณะที่ภายในองค์กรเอง ไทยประกันชีวิตได้เปิดโอกาสให้บุคลากรแสดงความสามารถและจัดให้มีการเรียนรู้ อบรมและพัฒนา ทั้งยังยึดมั่นการปฏิบัติต่อบุคลากรด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ รักษาสวัสดิภาพและสุขอนามัยของบุคลากร มีกระบวนการจ้างงาน และเงื่อนไขการจ้างงานเป็นธรรม รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทน และการพิจารณาผลงานภายใต้กระบวนการประเมินผลการทำงานที่เป็นธรรม

ไทยประกันชีวิต มอบขวด PET แก่ “โครงการ แยกขวด ช่วยหมอ”

สิ่งแวดล้อม

ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เน้นไปเรื่อง ‘ทรัพยากร’ ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรน้ำ พลังงาน ตลอดจนการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับประเด็นสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน ผ่านการส่งเสริมภายในองค์กรทั้งการสร้างจิตสำนึก การมีส่วนร่วม รณรงค์ และประชาสัมพันธ์ภายใต้แนวคิด 3R ได้แก่ Reduce Reuse และ Recycle อาทิ แคมเปญ TLI ECO LIFE ที่ให้ความรู้แก่บุคลากรของไทยประกันชีวิตเพื่อให้เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างกระบวนการที่ทำให้ลูกค้าไม่ต้องเดินทางมากขึ้น ลดการใช้พลังงาน ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้กระดาษและพลาสติก ส่งเสริมการรีไซเคิล และสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟเป็นแบบ LED และการปรับเปลี่ยนระบบปรับอากาศเป็นแบบประหยัดพลังงาน เป็นต้น

ทั้งหมดนี้คือกลยุทธ์สู่ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมประกันชีวิตของประเทศไทย และเป็นการมุ่งสู่บริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน
ตามคำมั่นสัญญาว่าไทยประกันชีวิตจะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของไทยประกันชีวิต และร่วมสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืน

หมายเหตุ: การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ในประเทศไทยเท่านั้น และไม่ถือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ ห้ามมิให้มีการทำซ้ำ ส่งต่อ หรือเผยแพร่เอกสารฉบับนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต