ThaiPublica > สู่อาเซียน > ASEAN Roundup ธนาคารโลกชี้เศรษฐกิจเมียนมาที่ “อ่อนแอขั้นวิกฤติ” แนวโน้มหมองม่น

ASEAN Roundup ธนาคารโลกชี้เศรษฐกิจเมียนมาที่ “อ่อนแอขั้นวิกฤติ” แนวโน้มหมองม่น

30 มกราคม 2022


ASEAN Roundup ประจำวันที่ 23-29 มกราคม 2565

  • ธนาคารโลกชี้เศรษฐกิจเมียนมาที่ “อ่อนแอขั้นวิกฤติ” แนวโน้มหมองม่น
  • มาเลเซีย-อินโดนีเซีย เปิดบริการชำระเงินข้ามแดนผ่าน QR Code
  • ธปท.-แบงก์ชาติมาเลเซีย เปิดบริการ QR Code ระยะที่ 2 ปูทางโอนผ่านพร้อมเพย์ข้ามประเทศ
  • กัมพูชาเริ่มเก็บภาษี VAT จากอี-คอมเมิร์ซ 1 เมษายนนี้
  • กัมพูชาเลื่อนใช้ภาษี Capital gains tax ไปถึงปี 2024
  • ธนาคารโลกชี้เศรษฐกิจเมียนมาที่ “อ่อนแอขั้นวิกฤติ” แนวโน้มหมองม่น

    บรรยากาศในกรุงย่างกุ้งที่ร้างผู้คนจากการประท้วงเงียบของประชาชน ที่มาภาพ:https://www.myanmar-now.org/en/news/myanmar-defies-junta-rule-with-nationwide-silent-strike

    ธนาคารโลกระบุว่า เศรษฐกิจเมียนมาที่ “อ่อนแอขั้นวิกฤติ” จะฟื้นตัวกลับมาโตเพียง 1% หลังจากหดตัวเกือบ 20% ในปีที่แล้วจากการระบาดของไวรัส-19 และรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว

    การเติบโตที่คาดการณ์ไว้ในปีจนถึงเดือนกันยายน 2565 สะท้อนให้เห็นถึง “สัญญาณของการมีเสถียรภาพ” ในบางภาคส่วน หลังจากการยึดอำนาจของมิน ออง หล่ายได้ราวหนึ่งปี ทำให้ประเทศตกอยู่ในความขัดแย้งและความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ ธนาคารโลกระบุในรายงานเศรษฐกิจเมียนมาล่าสุด

    แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะชดเชยความเสียหายที่ทำให้ธนาคารคาดการณ์ว่า อัตราความยากจนจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และประเมินว่าเศรษฐกิจมีขนาดเล็กลงกว่าเดิม 30% จากการระบาดของไวรัสและการรัฐประหาร

    เศรษฐกิจหดตัว 18% ในรอบปีนี้สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 ท่ามกลางการประท้วงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทั่วประเทศ การอพยพออกนอกพื้นที่จากการปราบปรามของกองทัพ สงครามกองโจรในเมืองและในชนบท การล็อกดาวน์จากโควิด-19 และการที่นักลงทุนต่างชาติจำนวนมากถอนตัว

    สถานการณ์และแนวโน้มของคนส่วนใหญ่ในเมียนมายังน่าวิตกอย่างยิ่ง” มาเรียม เชอร์แมน ผู้อำนวยการธนาคารประจำประเทศเมียนมา กัมพูชา และลาว กล่าว

    เชอร์แมนกล่าวว่า: “ความขัดแย้งที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น น่ากังวล เพราะนอกจากอย่างแรกด้านมนุษยธรรมแล้ว ยังมาจากนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้วย นอกจากนี้ ด้วยอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำและบริการด้านสาธารณสุขที่ไม่เพียงพอ เมียนมาจึงมีความเสี่ยงสูงต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน”

    สัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าเศรษฐกิจกำลังมีเสถียรภาพ คือการสัญจรของคนที่เพิ่มขึ้นและกลับไปที่ระดับของปี 2020 แม้การค้าปลีก นันทนาการ และการขนส่ง ยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดประมาณ 30%

    การสัญจรที่มากขึ้นจะช่วยสนับสนุนภาคบริการ แม้ความต้องการของผู้บริโภคโดยรวมยังคงอ่อนแอ เนื่องจากผลกระทบต่อรายได้และการจ้างงาน

    ในภาคการผลิต ผลผลิตและการจ้างงานยังดูมีเสถียรภาพ และการส่งออกฟื้นตัวในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา” รายงานระบุ

    ค่าเงินจั๊ตที่อ่อนค่าลง ต้นทุนของสิ่งของจำเป็น เช่น อาหารและเชื้อเพลิงก็พุ่งสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน บริษัทต่างๆ รายงาน “ยอดขายและผลกำไรลดลงอย่างมาก กระแสเงินสดขาดมือ และเข้าถึงบริการธนาคารและอินเทอร์เน็ตไม่ได้มาก”

    “แรงกดดันทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบอย่างมากต่อความเปราะบางและความมั่นคงด้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคนยากจน ซึ่งเงินออมได้หมดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น” รายงานระบุ

    ในการสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ ครึ่งหนึ่งของบริษัทบอกว่า การจัดหาวัตถุดิบและวัตถุดิบหยุดชะงัก เป็นผลจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ปัญหาด้านโลจิสติกส์ และเงินจั๊ตที่อ่อนค่าลง

    “เกษตรกรยังคงได้รับผลกระทบจากราคาปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น การเข้าไม่ถึงสินเชื่อ และข้อจำกัดด้านการขนส่งที่ยังมีอยู่” ธนาคารโลกกล่าว

    การรัฐประหารคาดว่าจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจในระยะยาว “ตัวชี้วัดส่วนใหญ่ชี้ว่าการลงทุนของภาคเอกชนลดลงอย่างเห็นได้ชัด และโครงการที่ดำเนินการได้ก่อนหน้านี้ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากอุปสงค์ยังคงอ่อนแอ ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มขึ้น และรายรับในสกุลเงินจั๊ตมีมูลค่าน้อยกว่าสกุลเงินต่างประเทศ” คิม เอ็ดเวิร์ดส์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลกกล่าว

    “นอกจากนี้ การศึกษาที่หายไปเป็นเวลาหลายเดือน พร้อมกับการว่างงานและการอพยพที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จะลดทุนมนุษย์ ทักษะ และความสามารถในการผลิตในระยะยาว”

    ด้านองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(International Labour Organization) ระุว่า ตลาดแรงงานของเมียนมายังคงเปราะบางหลังจากปีที่วุ่นวาย

    ชาวเมียนมามีการตกงานราว 1.6 ล้านตำแหน่งในปี 2564 จากการระบาดของโควิด-19 และการรัฐประหารของกองทัพ องค์การแรงงานระหว่างประเทศระบุ

    ชั่วโมงทำงานลดลงประมาณ 18% ในปี 2564 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเทียบเท่ากับเวลาที่จ้างโดยคนงานเต็มเวลา 3.1 ล้านคน

    ภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป การท่องเที่ยว และการบริการ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากผลพวงรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยสูญเสียงานระหว่าง 27-31% ของงานทั้งหมด

    เกษตรกรในชนบทได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจาก “สถานการณ์ความขัดแย้งด้วยกําลังอาวุธ ความรุนแรง และความไม่มั่นคง นำไปสู่การอพยพพลัดถิ่นและมีผลต่อความเป็นอยู่” ILO ระบุ

    ชั่วโมงทำงานที่หายไปและการจ้างงานส่งผลกระทบอย่างมากกับผู้หญิง ซึ่งชั่วโมงทำงานหายไปมีสัดส่วนสูงในธุรกิจเครื่องแต่งกายและการท่องเที่ยวและการบริการ

    ILO กล่าวว่า ในช่วงเกือบหนึ่งปีหลังจากการรัฐประหาร ตลาดแรงงานของเมียนมายังคง “เปราะบาง”

    “การยึดอำนาจของทหารและการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้คนงานหลายล้านคนในเมียนมาตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้าย” ตงหลิน หลี เจ้าหน้าที่ประสานงานของ ILO ประจำเมียนมา กล่าว

    “ตลาดแรงงานที่กำลังเฟื่องฟูกลับทิศ หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะนำไปสู่ความยากจนและความไม่มั่นคงที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ”

    เมียนมาร์ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงและความรุนแรงนับตั้งแต่นายพลอาวุโส มิน อ่อง หล่าย เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของออง ซาน ซูจีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

    ในเดือนตุลาคม กองทุนการเงินระหว่างประเทศประเมินว่าเศรษฐกิจเมียนมาร์หดตัว 17.9% ในปี 2564 หลังจากเติบโต 3.2% ในปี 2563

    มาเลเซีย-อินโดนีเซีย เปิดบริการชำระเงินข้ามแดนผ่าน QR Code

    ที่มาภาพ: https://www.bi.go.id/en/fungsi-utama/sistem-pembayaran/ritel/kanal-layanan/default.aspx

    ธนาคารกลางมาเลเซีย Bank Negara Malaysia (BNM) และธนาคารกลางอินโดนีเซีย(Bank Indonesia) ได้เปิดตัวบริการชำระเงินด้วย QR ข้ามพรมแดน ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ช่วยให้ชำระเงินระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียแบบเรียลไทม์ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

    ใน แถลงการณ์ร่วมธนาคารกลางระบุว่า ด้วยการเชื่อมโยงนี้ ผู้บริโภคในทั้งสองประเทศจะสามารถชำระเงินรายย่อยได้ โดยการสแกน QR ที่แสดงโดยผู้ค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ผ่านระบบ DuitNow ของมาเลเซีย หรือ QRIS ของ อินโดนีเซีย

    “วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของระยะนำร่องที่จะปูทาง สำหรับการเปิดตัวเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 ความเชื่อมโยงนี้จะขยายออกไปในอนาคตเพื่อรองรับการโอนเงินข้ามพรมแดนซึ่งผู้ใช้ในทั้งสองประเทศสามารถดำเนินการโอนเงินแบบเรียลไทม์ได้อย่างสะดวก”

    เจสสิก้า ชิว เฉิง เหลียน รองผู้ว่าการ BNM กล่าวว่า การเชื่อมโยงการชำระเงินด้วย QR ข้ามพรมแดนระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซียถือเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์อันยาวนานของความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ

    “ในสัปดาห์การเชื่อมโยงการชำระเงินด้วย QR ระหว่างมาเลเซียและไทยระยะที่ 2 ได้เปิดตัวเช่นกัน การพัฒนาดังกล่าวจะทำให้เราเข้าใกล้วิสัยทัศน์ในการสร้างเครือข่ายระบบการชำระเงินรายย่อยอาเซียนที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

    “รวมทั้งจะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลและการบูรณาการทางการเงินเพื่อประโยชน์ของบุคคลและธุรกิจ”ว

    โดนี โจโวโนรองผู้ว่าการธนาคาร Bank Indonesia กล่าวว่า ความคิดริเริ่มนี้เชื่อมโยงการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่านการเชื่อมต่อของ QR มาตรฐานระดับประเทศของทั้งสองประเทศ และยังแสดงถึงอีกก้าวของแผนงานระบบการชำระเงินของชาวอินโดนีเซียปี 2025

    “ธนาคารกลางอินโดนีเซียตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนและได้ดำเนินการตามความคิดริเริ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

    “การเชื่อมโยงจะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้ในด้านการชำระเงินระหว่างประเทศ และทำหน้าที่เป็นตัวหลักในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำธุรกรรม รองรับการค้าและการลงทุนแบบดิจิทัล และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคด้วยการส่งเสริมการใช้กรอบการชำระเงินสกุลท้องถิ่น Local Currency Settlement (LCS) ให้ครอบคลุมมากขึ้น”

    การใช้อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินท้องถิ่นโดยตรงจากธนาคารได้รับการแต่งตั้ง ภายใต้กรอบ LCS จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำธุรกรรม ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรม

    ธนาคารกลางกล่าวว่า การเชื่อมต่อการชำระเงินจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซียและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด

    การเดินทางระหว่างประเทศที่กำลังกลับมาดำเนินการ การท่องเที่ยวจะเป็นภาคส่วนสำคัญที่จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากบริการนี้

    ทั้งสองประเทศเป็นช่องทางการโอนเงินที่สำคัญสำหรับพลเมืองที่ทำงานในต่างประเทศ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการโอนเงินข้ามพรมแดนที่รวดเร็วกว่า ถูกกว่า และโปร่งใสกว่า

    ธปท.-แบงก์ชาติมาเลเซียเปิดบริการ QR Code ระยะ 2 โอนผ่านพร้อมเพย์ข้ามประเทศปีนี้


    น.ส.สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ร่วมกับธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia) จัดให้มีบริการชำระเงินข้ามประเทศระหว่างไทยกับมาเลเซียด้วยการใช้ QR Code มาตรฐานของแต่ละประเทศ โดยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 ได้เปิดให้บริการระยะแรกแก่ลูกค้าของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ที่อยู่ในประเทศไทย ให้สามารถสแกน DuitNow QR code ของประเทศมาเลเซีย เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการของร้านค้าที่ให้บริการโดยธนาคาร Public Bank ในประเทศมาเลเซียได้

    ในวันที่ 26 มกราคม เป็นการเปิดตัวบริการระยะที่ 2 ที่ลูกค้าในประเทศมาเลเซียจะสามารถชำระเงินให้กับร้านค้าในประเทศไทยได้ โดยลูกค้าของธนาคาร Public Bank สามารถสแกน Thai QR code เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการของร้านค้าไทยที่ให้บริการโดยธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ได้ ซึ่งคาดว่าจำนวนผู้ให้บริการจะเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป เพื่อรองรับการท่องเที่ยวภายหลังการคลี่คลายของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19

    นอกจากนี้ ในปี 2565 จะต่อยอดบริการระยะที่ 3 ซึ่งเป็นการให้บริการโอนเงินระหว่าง 2 ประเทศแบบทันที ผ่านระบบพร้อมเพย์ของไทยและระบบ Real-time Retail Payments Platform ของประเทศมาเลเซีย

    กัมพูชาเริ่มเก็บภาษี VAT จากอี-คอมเมิร์ซ 1 เมษายนนี้

    ที่มาภาพ:https://www.phnompenhpost.com/business/capital-gains-tax-pushed-till-2024
    รัฐบาลจะเริ่มบังคับใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับอีคอมเมิร์ซ (VAT) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน หลังจากการอัปเดตระบบเทคโนโลยีที่หลากหลายสำหรับผู้เสียภาษีกรมสรรพากร (GDT) จากการเปิดเผยของ นายเอง รัตนา จากส่วนงานผู้ชำระภาษีรายใหญ่ สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง ในงานสัมมนาออนไลน์เรื่อง “การใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มกับธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ” ที่จัดขึ้นวันที่ 18 มกราคม

    การบูรณาการความรู้ของผู้เสียภาษีเกี่ยวกับการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับกลยุทธ์การจัดเก็บรายได้ปี 2019-2023

    รัฐบาลได้วางนโยบายไว้ในยุทธ์ศาสตร์เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มอัตราภาษี โดยการเสริมสร้างกฎหมายหรือข้อบังคับด้านภาษีที่มีอยู่หรือปรับปรุงการจัดการการจัดเก็บรายได้ภาษี

    ภาระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับอีคอมเมิร์ซ ประกาศโดยกรมภาษีอากรตามคำสั่งหมายเลข 20522 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2564

    นายแอนโทนี กัลลิอาโน ซีอีโอ Cambodian Investment Management Co Ltd กลุ่มบริษัทให้บริการทางการเงิน กล่าวว่า ยอดค้าปลีกทั่วโลกกำลังเปลี่ยนจากร้านของชำแบบเดิมเป็นการซื้อของทางอีคอมเมิร์ซออนไลน์

    “การเติบโตมีทั้งแบบทวีคูณและปรากฎการณ์ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อมองย้อนกลับไปในปี 2558 ส่วนแบ่งอีคอมเมิร์ซของยอดค้าปลีกทั่วโลกทั้งหมดอยู่ที่ 7.4% ในปี 2564 ปัจจุบันอยู่ที่ 20% เพิ่มขึ้นเป็น 27 ล้านล้านดอลลาร์

    “เป็นการเหมาะสมที่ กรมสรรพากร ในการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้กับธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ และผมสนับสนุนให้มีการหาแหล่งรายได้จากภาษีใหม่ แทนที่จะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมจากฐานที่มีอยู่ เมื่อฐานรายได้จากภาษีกระจาย หวังว่าการตรวจสอบจะลดลง”

    ทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่จะเก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับซัพพลายเออร์ดิจิทัลจากต่างประเทศ ที่จะต้องรับผิดชอบในการจัดเก็บและนำส่งภาษีนี้ ซึ่งกัมพูชาก็ไม่ควรมีข้อยกเว้น

    นายกัลลิอาโนมีความเห็นว่า ธุรกิจใด ๆ ก็ตามที่ขายสินค้าในประเทศกัมพูชา และสินค้าหรือบริการดังกล่าวมีการบริโภคในราชอาณาจักร สินค้าหรือบริการนั้นควรถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะอยู่ในประเทศหรือไม่ก็ตาม

    มิฉะนั้น รายได้จากภาษีจะรั่วไหล และธุรกิจจดทะเบียนในท้องถิ่นที่นำเสนอสินค้าและบริการแบบเดียวกับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทในประเทศ ก็จะเสียเปรียบ ดังนั้นการแข่งขันต้องเท่าเทียมกัน

    “ความท้าทายคือ การลงทะเบียน การนำมาใช้ และการดำเนินการ ตลอดจนสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภาษีใหม่นี้แก่ซัพพลายเออร์ที่ไม่ใช่บริษัทในประเทศ และให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในท้องถิ่นเพื่อกำหนดภาษีและจัดเก็บ เชื่อว่าความล่าช้าอย่างน้อบางส่วน มาจากยังไม่พร้อมในขั้นตอนนี้” นายกัลลิอาโนกล่าว

    ธุรกิจเทคโนโลยีและดิจิทัลของกัมพูชามีรายได้ 470 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 จากรายงานเดือนพฤษภาคม ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB)

    เมื่อแยกเป็นรายภาค อีคอมเมิร์ซคิดเป็น 27.6% บริการอิเล็กทรอนิกส์ 7.8% สื่อดิจิทัล 10.2% เทคโนโลยีการโฆษณา 12.7% การขนส่ง 3.8% และการเดินทางออนไลน์ 37.9%

    ในแถลงการณ์วันที่ 1 ธันวาคม กระทรวงพาณิชย์ได้เตือนผู้ประกอบการ เจ้าของ แต่เพียงผู้เดียว นิติบุคคล และบริษัทในเครือของต่างประเทศที่ทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ ให้เริ่มยื่นขอใบประกอบธุรกิจและใบอนุญาตอีคอมเมิร์ซที่เกี่ยวข้องภายในหรือก่อนวันที่ 1 มีนาคม มิฉะนั้นจะถูกดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

    กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคชาวกัมพูชา ได้ขยายกำหนดเวลาก่อนหน้านี้ เพราะจำนวนธุรกิจที่ยื่นเอกสารต่อกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมเพื่อขอใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องและใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มสูงมาก

    ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 รัฐบาลได้เปิดตัวยุทธ์ศาสตร์อีคอมเมิร์ซ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บรรลุและผลักดันการเติบโตทางการแข่งขันในด้านการค้าและเศรษฐกิจ และช่วยในการก้าวสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงภายในปี 2573 และประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2593

    ในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้ 2.243 พันล้านดอลลาร์หรือ 114.13% ของเป้าหมายทั้งปี น

    กัมพูชาเลื่อนใช้ภาษี Capital gains tax ไปถึงปี 2024

    กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังได้ยื่นขอให้นายกรัฐมนตรีฮุน เซน พิจารณาเลื่อน การจัดเก็บภาษีกำไรจากการลงทุน( capital gains tax)ออกไปอีก 2 ปีเป็นวันที่ 1 มกราคม 2567 เพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจภายใต้ความปกติใหม่ โฆษกกระทรวงฯ มาส โซกเสนสัน กล่าวเมื่อวันที่ 26 มกราคม

    รัฐบาลได้มีมติฉบับที่ 122 ลงวันที่ 16 ธันวาคม เกี่ยวกับการดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์และโครงการต่างๆ เพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2564-2566 ในช่วงที่โควิด-19ยังระบาดภายใต้ความปกติใหม่

    ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อบรรเทาภาระการเงินของภาคเอกชน และสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตโควิด-19

    แม้สถานการณ์โควิดจะคลี่คลายไปบ้างแล้ว แต่บางภาคส่วนยังไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจตามปกติได้ และต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่ออำนวยความสะดวกในการฟื้นตัวของภาคส่วนเหล่านั้น รัฐบาลจะยังคงเตรียมมาตรการที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นที่จัดทำโดยกรมสรรพากร เพื่อแบ่งเบาภาระการเงินของรัฐวิสาหกิจและปรับปรุงคุณภาพการบริการ

    “กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังจึงได้ยื่นคำร้องต่อนายกรัฐมนตรีให้เลื่อนการจัดเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนออกไปอีก 2 ปี เป็นวันที่ 1 มกราคม 2567 จาก วันที่ 19 มกราคม 2565 ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือเลขที่ 257 MEF GDT ”

    Chrek Soknim ประธานสมาคมผู้ประเมินราคาและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์แห่งกัมพูชา (CVEA) ชื่นชมการดำเนินการของกระทรวง โดยกล่าวว่าจะช่วยฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    “เราพอใจกับการเสนอให้เลื่อนเวลาออกไปสองปีในการจัดเก็บภาษีกำไรจากการลงทุน ภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างได้รับผลกระทบจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19” “โควิด-19 ยังทำให้กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ซบเซา หรือไม่ขยับเลย”

    เราจะร่วมกับรัฐบาลเพื่อส่งเสริมให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากการขาย มีการจ่ายภาษีเพื่อสนับสนุนงบประมาณของประเทศ แต่ตอนนี้ภาคธุรกิจนี้ยังไม่ฟื้นตัวเลย”

    นายแอนโทนี กัลลิอาโน ประธานหอการค้าอเมริกันในกัมพูชา กล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงที่การเก็บภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์จะเลื่อนอีกครั้งตามที่ระบุไว้ใน “กรอบยุทธศาสตร์และแผนการฟื้นฟูและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ในการอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 ในรูปแบบ New Normal ประจำปี 2564-2566” ไว้ว่า “ทบทวนความเป็นไปได้ในการเลื่อนเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนไปเป็นปี 2566 เพื่อกระตุ้นการลงทุน”

    “ดังนั้น จึงคาดว่า การเก็บภาษีกำไรจากการขายจะถูกเลื่อนออกไปอย่างน้อยก็จนถึงปี 2566 เนื่องจากคาดว่าโควิดจะยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ”

    ภาษีกำไรจากการขายจะถูกเรียกเก็บจากกำไรของผู้เสียภาษีจากการขาย การโอน หรือการจัดตั้งสิทธิในทรัพย์สิน หรือการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการครอบครอง ตามประกาศหมายเลข 346 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีออน พรมมนีโรทเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563

    บุคคลธรรมดาจะต้องจ่ายภาษีกำไรจากการขายในอัตรา 20% จากกำไรที่คำนวณได้จากการขายสินทรัพย์บางประเภท รวมถึงที่ดิน อาคาร หุ้น พันธบัตร ใบอนุญาต สิทธิบัตร และสกุลเงิน

    Ken Sambath รองผู้อำนวยการ กรมสรรพากร กล่าวในการสัมมนาเมื่อต้นปีที่แล้วว่า รัฐบาลตัดสินใจที่จะยกเว้นภาษีจากกำไรจากการขายที่เกิดจากการขายหรือโอนที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ยังคงอยู่ในการผลิตและเจ้าของหรือผู้ดำเนินการอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกันกับพื้นที่การเกษตร

    การยกเว้นยังขยายไปถึงการขายและการโอนอสังหาริมทรัพย์ระหว่างญาติตามที่กำหนดไว้ในระเบียบภาษีอากรแสตมป์ ระหว่างพี่น้อง พ่อแม่และลูก พ่อแม่สะใภ้และลูกสะใภ้และปู่ย่าตายายและหลานเขย กฎหมาย (แต่ไม่ใช่ระหว่างสะใภ้หรือเขย) เช่นเดียวกับทรัพย์สินที่ขายหรือโอนเพื่อ “สาธารณประโยชน์” ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน