ThaiPublica > Sustainability > Headline > ไทยยูเนี่ยนโชว์ความคืบหน้า 5 ปี การจัดหาทูน่าอย่างยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนโชว์ความคืบหน้า 5 ปี การจัดหาทูน่าอย่างยั่งยืน

25 สิงหาคม 2021


บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยรายงานความคืบหน้าในการจัดหาทูน่าอย่างยั่งยืนประจำปี 2563 โดยกว่า 87 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ทูน่าภายใต้แบรนด์ของบริษัทได้จัดหามาจากการทำประมงที่ถูกต้องตามสำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสินค้าประมง หรือ Marine Stewardship Council (MSC) และโครงการพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานหรือ Fishery Improvement Projects (FIPs) มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 75 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นการทำงานที่มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ บริษัทยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะจัดหาทูน่าได้อย่างยั่งยืน 100 เปอร์เซ็นต์

โดยรายงานความคืบหน้าในการจัดหาทูน่าอย่างยั่งยืนฉบับนี้ที่เปิดเผยข้อมูลในปีที่ผ่านมานี้ นับเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานด้านความยั่งยืนตามกลยุทธ์ SeaChange® ของไทยยูเนี่ยน

ตั้งแต่ปี 2559 ที่ไทยยูเนี่ยนได้ประกาศเจตนารมณ์ในการจัดหาปลาทูน่าอย่างยั่งยืน ซึ่งตลอดระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมาได้มีการทำงานด้านต่างๆ และมีความคืบหน้าอย่างมากในด้านความยั่งยืนและความโปร่งใสในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ดังต่อไปนี้

  • เริ่มดำเนินโครงการพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน (FIP) ทั้งสิ้น 9 โครงการ โดยทุกโครงการได้รับการประเมินอย่างอิสระจากองค์กร Sustainable Fishery Partnership (SFP) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ให้ความสำคัญในการทำการประมงอย่างยั่งยืน และมีการเปิดเผยรายงานความคืบหน้าต่อสาธารณะ
  • รณรงค์ให้มีการปรับปรุงมาตรการในการทำประมงเพื่อใช้ในระดับภูมิภาคและมหาสมุทร
  • ติดตั้งระบบตรวจสอบอิเล็กทรอนิกส์ในเรือประมงเพื่อเพิ่มความโปร่งใส รวมถึงเพิ่มจำนวนเรือประมงที่ติดตั้งระบบดังกล่าว
  • พัฒนาโครงการลดการใช้อุปกรณ์การทำประมงประเภทซั้ง (FAD) ในประเทศเซเชลล์
  • เข้าร่วมโครงการ Ocean Disclosure Project และเปิดเผยข้อมูลการจัดหาปลาทูน่าทั่วโลกของบริษัทอย่างโปร่งใส
  • มีการตรวจสอบเรื่องสิทธิมนุษยชนบนเรือประมงในมหาสมุทรแอตแลนติก แปซิฟิก และอินเดีย โดยมีองค์กรอิสระเป็นผู้ให้การรับรอง
  • เข้าร่วมในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เพื่อร่วมกันพูดคุยถึงประเด็นความท้าทายต่างๆ ที่มีในอุตสาหกรรม เช่น กลุ่ม Seafood Business for Ocean Stewardship กลุ่ม Global Ghost Gear Initiative และ UN Global Compact เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ปฏิบัติตามมาตรการของมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล หรือ International Seafood Sustainability Foundation (ISSF) โดย 100 เปอร์เซ็นต์ และผู้บริหารของไทยยูเนี่ยน เควิน บิกซ์เล่อร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการมูลนิธิฯ

ในรายงานฉบับนี้ ไทยยูเนี่ยนได้ตั้งเป้าหมายในการจัดหาทูน่าอย่างยั่งยืนไปจนถึงปี 2568 ดังนี้ “ภายในปี 2568 ปลาทูน่าที่ไทยยูเนี่ยนจัดหาจะมาจากการประมงที่ยั่งยืน เพื่อที่จะป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม และการใช้แรงงานทาสสมัยใหม่” เป้าหมายนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการทำงานด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเล

เป้าหมายในการจัดหาปลาทูน่าได้อย่างยั่งยืนนี้ยังรวมถึงความร่วมมือกับองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติระดับโลก The Nature Conservancy ในการนำระบบตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานมาใช้ให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2568 รวมถึงติดตั้งระบบติดตามอิเล็กทรอนิกส์บนเรือประมงของคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานทูน่าของบริษัททั่วโลก ไทยยูเนี่ยนจะเดินหน้าต่อยอดการทำงานด้านความยั่งยืนที่ดำเนินการในช่วงปีห้าปีที่ผ่านมา ด้วยการสนับสนุนคู่ค้าที่ร่วมทำงานในโครงการพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือ FIPs ให้ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสินค้าประมง หรือ Marine Stewardship Council (MSC) ซึ่งการทำงานอย่างต่อเนื่องคือหัวใจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี 2568 ทำงานใต้กรอบนโยบายของบริษัทที่ประกาศในปี 2563 ว่าด้วยเรื่องการจัดหาปลาทูน่าอย่างมีความรับผิดชอบ กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนมุ่งเน้นไปที่ความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และการทำงานร่วมกับองค์กรด้านความโปร่งใสของอุตสาหกรรมอาหารทะเล Global Dialogue on Seafood Traceability (GDST) อย่างใกล้ชิด

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ผมภูมิใจที่บริษัทใกล้ที่จะบรรลุเป้าหมายในการจัดหาปลาทูน่าอย่างยั่งยืน 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าภายใต้แบรนด์ของบริษัท และเรายังตระหนักดีว่ามีอีกหลายสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเราจึงตั้งเป้าหมายที่ต้องบรรลุภายในปี 2568 ขึ้น โดยยึดหลักความโปร่งใสในการรตรวจสอบย้อนกลับได้เป็นหัวใจในการทำงาน และเดินหน้าทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ตลอดจนแรงงานทาสสมัยใหม่ในห่วงโซ่อุปทานของเรา ไทยยูเนี่ยนยังคงพัฒนามาตรการต่างๆ ต่อไปในปี 2564 นี้และจะเผยแพร่รายงานความคืบหน้าต่อไป”

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน สามารถอ่านได้ ที่นี่

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่ง ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมาเป็นเวลากว่า 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลระดับโลก โดยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่าในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 126,275 ล้านบาท (4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 44,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและมีความยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอด จนส่งผลให้ไทยยูเนียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่มาตั้งแต่ปี 2557 และในปี 2562 ไทยยูเนี่ยนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI เป็นปีที่หกติดต่อกัน โดยได้รับเลือกเป็นบริษัทอันดับ 1 ของกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน และได้รับอีกหลากหลายรางวัลสำหรับการเป็นผู้นำในการทำงานด้านความยั่งยืน

Thai Union surpasses its 2020 sustainable tuna commitment, new progress report shows

BANGKOK – August 20, 2021 – Some 87 percent of Thai Union Group PCL’s branded tuna was sourced from MSC certified fisheries and Fishery Improvement Projects (FIPs) in 2020, surpassing its target of 75 percent and putting it on track to hit its goal of 100 percent.
This is according to the Company’s just published progress report updating the achievements made against its Tuna Commitment for 2020, which is part of its pledge to transparency through its global sustainability strategy, SeaChange®

During the past five years of the Tuna Commitment between 2016 -2020, Thai Union made significant progress towards greater seafood traceability and sustainability, including:

  • Developing and implementing nine tuna FIPs, with the progress of each rated and verified independently by the Sustainable Fisheries Partnership and made publicly available
  • Advocating for improved fisheries management measures to be adopted at regional/ocean levels
  • Installing electronic monitoring systems on longline vessels to increase transparency and number of vessels with coverage
  • The further development of the FAD Watch project in the Seychelles
  • Joining the Ocean Disclosure Project, providing full transparency of our global seafood sourcing
  • Conducting third party audits of human rights and social standards on fishing vessels in the Atlantic, Pacific and Indian Oceans
  • Participating in several multi-stakeholder groups to address industry challenges, such as the Seafood Business for Ocean Stewardship, the Global Ghost Gear Initiative and the UN Global Compactfor the Sustainable Development Goals
  • 100 percent compliant with the International Seafood Sustainability Foundation conservation measures, of which Thai Union’s Kevin Bixler has been appointed Chair of its Board of Directors

As part of the progress report, Thai Union has also introduced its Tuna Commitment up to 2025, which includes a commitment that “by 2025, the tuna Thai Union sources will be from vessels and suppliers that demonstrate Operational Best Practice to prevent illegal, unreported and unregulated (IUU) fishing and modern slavery.” The updated commitment reflects the needs of customers and stakeholders and supports the evolving dialogue on seafood sustainability.

A key element of the 2025 commitment is a partnership with The Nature Conservancy to work towards implementing 100 percent ‘on-the-water’ monitoring of Thai Union’s tuna supply chain by 2025, which will include the deployment of electronic monitoring on vessels in the Company’s international tuna supply chains.

Thai Union’s work will continue to build on the work achieved in the Tuna Commitment between 2016-2020 by further supporting suppliers who are engaged in FIPs and support the FIPs to transition into Marine Stewardship Council assessment. Supporting continuous improvement remains at the heart of the Tuna Commitment 2025, which is also underpinned by Thai Union’s Policy for the Responsible Sourcing of Tuna published in 2020. Traceability remains the backbone of Thai Union’s sustainability strategy, while progressing to achieve the interoperability work of the Global Dialogue on Seafood Traceability (GDST)is a priority.

“I’m incredibly proud of the progress that Thai Union has made towards our goal of ensuring 100% of our branded tuna is from sustainable fisheries,” said Thiraphong Chansiri, President and CEO of Thai Union. “But we know we have a lot more work to do, which is why we have set new goals for 2025. Traceability remains critical to achieving these goals, and we will continue to work with our customers and stakeholders to ensure these are met, reflecting our commitment to prevent modern slavery and IUU fishing in our supply chains.”

Thai Union will continue to develop measurable milestones in 2021 and will publish its annual results against these milestones up to 2025.

You can read the full Tuna Commitment – 2021 Progress Report here.