ThaiPublica > ประเด็นร้อน > Research Reports > Krungsri Research > วิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์ GDP รอบที่ 5 เหลือ 0.6%

วิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์ GDP รอบที่ 5 เหลือ 0.6%

31 สิงหาคม 2021


วิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ปี 2564 เหลือ 0.6% เพื่อสะท้อนผลกระทบที่มากขึ้นจากการระบาดครั้งล่าสุดและผลกระทบที่ต่อเนื่องไปด้านอุปทาน

  • แบบจำลองบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่อาจสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ อัตราการเสียชีวิตยังเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดความเข้มงวดของมาตรการล็อกดาวน์
  • การปรับลดประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจไทยครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 5 โดยการลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจล่าสุดดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม ซึ่งได้ปรับลดจาก 2% เป็น 1.2%
  • วิจัยกรุงศรีระบุว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 อาจสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ จากการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลตาในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

    จากแบบจำลองพบว่า กรณีฐานบ่งชี้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในแต่ละวันจะสูงสุดในช่วงกลางเดือนกันยายน

    อัตราการเสียชีวิตที่ลดลงจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลให้ทางการผ่อนคลายการล็อกดาวน์อย่างมากในช่วงปลายเดือนกันยายน แม้จะยังคงมีการใช้มาตรการควบคุมกิจกรรมทางสังคม (Non-Pharmaceutical Interventions NPIs) ตลอดทั้งปี

    วิจัยกรุงศรีคาดว่าจะมีการฉีดวัคซีนโดยเฉลี่ย 250,000 โดสต่อวัน โดยที่วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดลตา 50% การฉีดวัคซีนจำนวนมาก ประสิทธิภาพของวัคซีน และประสิทธิผลของมาตรการล็อกดาวน์ ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะบอกได้ว่าจะสามารถควบคุมการระบาดในประเทศได้เร็วเพียงใด ในกรณีเลวร้ายที่สุด จำนวนผู้ป่วยต่อวันจะยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี เนื่องจากทั้งมาตรการล็อกดาวน์และวัคซีนมีประสิทธิภาพต่ำ ในกรณีนี้ การล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดอาจจะยังบังคับใช้จนถึงเดือนพฤศจิกายน

    “เราปรับลดการเติบโตของ GDP ปี 2564 เป็น 0.6% จาก 1.2% เพื่อสะท้อนการระบาดที่เลวร้ายเกินคาด เป็นผลจากไวรัสและผลกระทบต่อการผลิต”

    ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม รัฐบาลได้ขยายมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดเป็น 29 จังหวัด จาก 13 จังหวัดที่ประกาศเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ทั้ง 29 จังหวัด จัดว่าเป็นพื้นที่วิกฤติ (พื้นที่สีแดงเข้ม) แม้รัฐบาลได้ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ว่าจะผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางด้านตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน แต่ทั้ง 29 จังหวัดนี้จะยังคงอยู่ภายใต้มาตรการควบคุม และเช้มงวดสูงสุด นอกจากนี้ การระบาดครั้งล่าสุดที่มาจากไวรัสเดลตาทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม

    มาตรการล็อกดาวน์ที่ยืดเยื้อ พื้นที่ควบคุมและเข้มงวดสูงสุดที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งผลกระทบด้านลบของแรงงาน จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับธุรกิจและครัวเรือน 77% ของธุรกิจอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม และ 65% ของการจ้างงาน (คนงาน 25 ล้านคน) อยู่ใน 9 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด (รวมถึงการก่อสร้าง อาหารและที่พัก ศิลปะและวัฒนธรรม บันเทิงและนันทนาการ การขนส่งและคลังสินค้า การค้าปลีก การค้าส่งและการซ่อมรถยนต์ การบริหารและบริการที่เกี่ยวข้อง กิจการทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และวิชาการ และสื่อและการสื่อสาร) หากไม่มีนโยบายสนับสนุน ธุรกิจราว 27.6% จะประสบปัญหากระแสเงินสด และพนักงาน 9.3 ล้านคนอาจถูกลดค่าจ้างหรือตกงาน

    ในมุมมองของวิจัยกรุงศรี ผลกระทบที่มากขึ้นในวงกว้างของการระบาดครั้งล่าสุดและผลกระทบด้านอุปทานจะฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลง 0.9 จุด ในแง่บวก คาดว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทในปีนี้ ซึ่งอาจเพิ่มการเติบโตของ GDPได้ 0.3 จุด

    ผลกระทบสุทธิโดยรวมยังถ่วง GDP ให้ลดลง 0.6 จุด ทำให้คาดการณ์การเติบโตทั้งปีในปี 2564 เหลือเพียง 0.6% จาก 1.2% ในการคาดการณ์ครั้งก่อน

    วิจัยกรุงศรียังได้ปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้า การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนในปี 2564 แต่ยังคงคาดการณ์การเติบโตของการส่งออก ขณะที่ GDP ไตรมาส 3 ปีนี้ อาจหดตัว จากไตรมาสก่อนหน้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสองที่ที่แล้ว

    แม้วันที่ 1 กรกฎาคมได้เปิดตัวโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์( Phuket Sandbox) แต่การระบาดที่เลวร้ายเกินคาดในไทย ทำให้หลายประเทศใหญ่ ออกคำแนะนำการเดินทางที่เข้มงวดสำหรับประเทศไทย จึงเป็นผลให้วิจัยกรุงศรีปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าในปี 2564 เป็น 150,000 คน (จาก 210,000) รวมทั้งยังปรับลดคาดการณ์การเติบโตของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในปีนี้ ตามภาวะธุรกิจที่อ่อนแอและการว่างงานที่สูงขึ้น เนื่องจากการสนับสนุนนโยบายมีจำกัด

    สำหรับการส่งออก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่องจากการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเต็มรูปแบบในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง จะช่วยหนุนอุปสงค์จากต่างประเทศ ข้อมูลการส่งออกล่าสุดดีกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยมีข้อจำกัด เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานซึ่งอาจทำให้การเติบโตของการผลิตในบางภาคส่วนลดลง ดังนั้น จึงคงอัตราการเติบ โตของการส่งออกในปีนี้ไว้ที่ 15% ตามข้อมูลของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ 13.5%)

    ภาคการส่งออกยังคงขยายตัวต่อแม้ในอัตราที่ชะลอตัวลง แต่ผลกระทบจากการระบาดครั้งล่าสุดจะยาวนานขึ้นและรุนแรงขึ้นสำหรับกลุ่มธุรกิจและครัวเรือนหลายกลุ่ม วิจัยกรุงศรีคาดว่า GDP ของไทยไตรมาสที่ 3 จะหดตัวเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ถือเป็นการเติบโตติดลบครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปีนี้ แม้มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมอย่างค่อยเป็นค่อยไปและอัตราการฉีดวัคซีนในไทยที่สูงขึ้นสามารถช่วยบรรเทาปัญหาภายในประเทศได้ในไตรมาส 4 ปีนี้ หลังจากนั้นเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวเพียงเล็กน้อยแต่จะไม่เท่าเทียมกัน

  • วิจัยกรุงศรีคาดคนไทยติดโควิด-19 กรณีเลวร้ายพุ่ง กว่า 20,000 ราย/วัน ส.ค.นี้
  • วิจัยกรุงศรีลดประมาณการ GDP อีกรอบโตแค่ 2% ระบาดระลอก 3 แรงกว่าคาด
  • วิจัยกรุงศรีประเมิน GDP ไตรมาส 3 ติดลบ โควิดลามภาคการผลิต ยอดติดเชื้อพีคกลางก.ย.