ThaiPublica > ประเด็นร้อน > Research Reports > Krungsri Research > วิจัยกรุงศรีชี้เศรษฐกิจยังไม่แน่นอนสูง คาดผู้ป่วยใหม่รายวันลดต่ำกว่า 100 กลางส.ค.

วิจัยกรุงศรีชี้เศรษฐกิจยังไม่แน่นอนสูง คาดผู้ป่วยใหม่รายวันลดต่ำกว่า 100 กลางส.ค.

18 มิถุนายน 2021


วิจัยกรุงศรีเผยแพร่รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยและต่างประเทศประจำเดือนมิถุนายนใน Monthly Economic Bulletin โดยเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่วนเศรษฐกิจไทยแม้ความเสี่ยงด้านต่ำมีไม่มากนัก แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

วิจัยกรุงศรีระบุว่า ประเทศหลักๆของโลกกำลังทะยอยเปิดเศรษฐกิจ โดยในสหรัฐฯความต้องการขยายตัวมากนับตั้งแต่มีการเปิดเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มที่จะต่อเนื่องในหลายไตรมาสข้างหน้า แม้ประสบกับปัญหาการขาดแคลนอุปทานในช่วงนี้แต่จะคลี่คลายดีขึ้นในสิ้นปี จึงคาดว่าธนาคารกลางหรือเฟดจะเริ่มทดสอบการตอบสนองของตลาดและอาจจะประกาศการลดซื้อพันธบัตรในไตรมาส 4 ปีนี้

ด้านสหภาพยุโรปก้าวสู่ช่วงแห่งการสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการท่องเที่ยวและความต้องการ และมีโอกาสที่จะเกิดวิกฤติภาระหนี้น้อยมาก เนื่องสภาวะทางการเงินยังผ่อนคลายและยังมีนโยบายขนาดใหญ่สนับสนุน อีกทั้งธนาคารกลางยุโรประบุว่า เงินเฟ้อยังคงต่ำกว่าเป้าหมายและจะยังไม่ลดการซื้อพันธบัตรไจนถึงเดือนกันยายนเป็นอย่างน้อย

สำหรับจีน การส่งออกที่เพิ่มขึ้นและการบริโภคที่ดีขึ้นจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อเนื่อง แม้ม่ความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนสินค้าและเงินเฟ้อ แต่มีผลกระทบจำกัด นอกจากนี้จีนยังมีมาตรการป้องกันการเก็งกำไร และธนาคารกลางจีนจะยังใช้มาตรการการเงินแบบผ่อนคลาย เพราะยังการเติบโตของเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยง

ส่วนญี่ปุ่น การฟื้นตัวชะลอตัวลง เนื่องจากมีการชะลอการเปิดเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจมีสัญญษนที่ดีขึ้นในปลายไตรมาสสอง การส่งออกที่ขยายตัวและนโยบายที่สนับสนุนต่อเนื่องจะทำให้ญี่ปุ่นยังคงอยู่บนเส้นทางการฟื้นตัว

เศรษฐกิจไทยยังไม่แน่นอนสูง

วิจัยกรุงศรีประเมินว่าการระบาดระลอกสามจะควบคุมได้ในกลางเดือนสิงหาคม โดยจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ต่อวันจะลดต่ำกว่า 100 ราย

วิจัยกรุงศรีประเมินความเสี่ยงด้านต่ำจากการระบาดของโควิด-19 ลดลง แต่จำนวนผู้ป่วยรายวันยังคงอยู่ในระดับสูง

จากกรณีฐาน(หมายถึงไม่สามารถควบคุมการติดเชื้อในบางคลัสเตอร์ได้) จำนวนผู้ป่วยรายวันยังสูงในระดับ 2,000 รายต่อวันไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ อย่างไรก็ตามมีการเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วไปในกรุงเทพมหานครวันที่ 7 มิถุนายนซึ่งวิจัยกรุงศรีประเมินว่าจะสามารถฉีดได้วันละ 250,000-270,000 โดสในแต่ละวัน ซึ่งหมายความจะสามารถฉีดได้ถึง 55 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ และจะลดจำนวนผู้ป่วยรายวันทั่วประเทศลง

วิจัยกรุงศรีมองว่าความเสี่ยงด้านต่ำจากการระบาดของโควิด-19 หลังเดือนกรกฎาคมน้อยลง และคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยรายวันจะลดลงไปที่ระดับต่ำกว่า 100 รายในช่วงกลางเดือนสิงหาคม

อย่างไรก็ตามหากการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้าช้ากว่าที่คาดและไวรัสที่กลายพันธ์น่าวิตกมากขึ้น แนวโน้มก็จะเลวร้ายลง และอาจจะนำไปสู่การระบาดหลายจุด จำนวนผู้ป่วยรายวันก็จะยังคงสูงในระดับ 2,000 ต่อวันไปอย่างน้อยถึงสิ้นเดือนสิงหาคม

การฉีดวัคซีนที่ต่อเนื่องจะช่วยควบคุมการระบาดในประเทศและสร้างความเชื่อมั่น
การฉีดวัคซีนทั่วประเทศเริ่มขึ้นในวันที่ 7 มิถุนายน และ ณ วันที่ 13 มิถุนายนมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 6.2 ล้านโดส รัฐบาลมีแผนจะจัดซื้อวัคซีนไฟเซอร์และจอห์นสันแอนด์จอห์นสันอีก 25 ล้านโดส ซิโนแวกอีก 8 ล้านโดส โมเดอร์นา 10 ล้านโส และซิโนฟาร์ม 2 ล้านโดสเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายในสิ้นปี 2021 โดยรัฐบาลตั้งเป้าว่าจะได้รับวัคซีน 100 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้และตั้งเป้า 150 ล้านโดสในปีหน้า

จากประมาณการว่าจะฉีดวัคซีนได้วันละ 250,000-270,000 โดสต่อวัน จากเฉลี่ย 281,000 โดสต่อวันในช่วง 7-13 มิถุนายน คาดว่าจะสามารถฉีดได้ 55 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้(จากจำนวนประชากร 67 ล้านคน)

หากการฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วไปเป็นไปตามแผน ก็จะเพิ่มความเชื่อมั่นอย่างมากและลดความเสี่ยงด้านต่ำของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

สัญญานพ้นจากจุดต่ำสุด

กิจกรรมในประเทศซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักในไตรมาสสองเริ่มดีขึ้นในเดือนมิถุนายน จำนวนผู้ป่วยใหม่ในต้นเดือนมิถุนายนยังอยู่ในระดับสูงและพบการติดเชื้อหลายคลัสเตอร์ แต่กิจกรรมในบางภาคธุรกิจมีสัญญานที่ดีขึ้น โดยเห็นได้จากข้อมูล Google Mobility ในภาคค้าปลีกและสันทนาการ กับกลุ่มของกินของใช้และยา

แผนการเปิดภาคการท่องเที่ยว

โครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ เป็นก้าวเล็กๆของเศรษฐกิจ แต่เป็นก้าวกระโดดของไทย
ภาคการท่องเที่ยวยังคงซบเซาในครึ่งแรกของปีนี้ อัตรากรเข้าพักยังต่ำมาก รัฐบาลได้เลือก 10 จังหวัดเป็นพื้นที่นำร่องเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเริ่มจากโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ ในวันที่ 1 กรกฏาคม จากนั้นจะเปิดจังหวัดตามลำดับ หลังจากมีการฉีดวัคซีนเพียงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในแต่ละจังหวัดนำร่อง ซึ่งภาครัฐตั้งเป้าว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา 129,000 รายในไตรมาสสามปีนี้

วิจัยกรุงศรีมองว่า แม้โครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์เริ่มได้ตามแผน แต่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาสสามจะต่ำกว่าที่ภาครัฐคาดการณ์ราวครึ่งหนึ่ง เนื่องจาก (1) นักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในไทย (2) ตลาดท่องเที่ยวหลักของไทยทั้ง จีน อินเดีย และญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างช้าๆ (3) ยังมีข้อจำกัดการเดินทางออกนอกประเทศจากเมืองต้นทาง และ (4) ความไม่แน่นอนในการจัดหาและการแจกจ่ายวัคซีน

อย่างไรก็ตาม โครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์จะเป็นก้าวแรกของไทย และเป็นการดำเนินการที่สำคัญที่จะบ่งชี้ว่าการเปิดเต็มรูปแบบจะเป็นไปได้หรือไม่ ก่อนการระบาดของโควิด นักท่องเที่ยวต่างชาติใน 10 จังหวัดนำร่องนี้รวมกันมีสัดส่วนสูงถึง 95% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด

ปัจจัยขับเคลื่อนหลัก

การส่งออกขยายต่อเนื่อง การนำเข้าบ่งชี้ความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ
มูลค่าการส่งออกเดือนเมษายนสูงกว่ามูลค่าเฉลี่ยรอบ 5 ปี และการฟื้นตัวขยายวงกว้างในหลายกลุ่มสินค้ามากขึ้น การส่งออกของไทยยังฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้หยุดทำการในช่วงสงกรานต์ การส่งออกเดือนเมษายนมีมูลค่า 21.43 พันล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงระดับเฉลี่ยรายเดือนในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม (21.38 พันล้านดอลลาร์) และสูงกว่ามูลค่าเฉลี่ยของเดือนเมษายนในรอบ 5 ปีที่ 17.81 พันล้านดอลลาร์ ในบรรดาสินค้าส่งออก 20 รายการ (มีสัดส่วน 64.5% ของการส่งออกรวม) การส่งออกของสินค้า 14 รายการ (42.3% ของการส่งออกรวม) ขยายตัวสูงกว่าระดับก่อนโควิดระบาด นำโดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และผลไม้สด ผลไม้แช่แข็งและผลไม้แห้ง

การส่งออกสินค้าหลักขยายตัวดี การส่งออกไปสหรัฐฯ สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ซ เช่นเกียวกับการส่งออกไปจีนและญี่ปุ่นที่ขยายต่อเนื่อง แต่การส่งออกไปอาเซียน 5 ประเทศ ยังคงหดตัว เนื่องจากมีประเด็นเฉพาะของประเทศ ทั้งในสิงคโปรืและอินโดนีเซีย

วิจัยกรุงศรีคาดว่า การส่งออกในปีนี้จะเติบโต 9% จากการเปิดเศรษฐกิจ และความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนทั่วโลกที่หนุนให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแข็งแกร่ง

การส่งออกในหลายกลุ่มสินค้าดีขึ้นซึ่งจะสนับสนุนการผลิตและการลงทุนภาคเอกชนในประเทศในระยะต่อไป การผลิตในหลายภาคอุตสาหกรรมดีขึ้นเกินระดับก่อนการระบาดของโควิด แม้ความต้องการในประเทศยังคงซบเซา

แม้การระบาดระลอกสามและมาตรการควบคุมการระบาดสร้างผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศ ดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองในเดือนเมษายนและสูงกว่าระดับก่อนการระบาด โดยมีปัจจัยหนุนจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่สูงขึ้นและวัฏจักรของสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ การใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 64.8% แต่สูงกว่าระดับก่อนโควิด

ในครึ่งหลังของปี วิจัยกรุงศรีคาดว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การฉีดวัคซีนจำนวนมากในประเทศหลักๆ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ จะเป็นแรงหนุนการใช้จ่ายและการผลิตในประเทศ

การฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึง

การบริโภคลดลงแต่การลงทุนทรงตัวในระดับก่อนโควิด

ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนเมษายนลดลง 4.3% จากเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากการระบาดระลอกที่สามและการใช้มาตรการที่เข้มงวด จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่อยู่ในระดับสูงในเดือนพฤษภาคมและการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐ ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงมาที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

แต่ในครึ่งแรกของปีการบริโภคภาคเอกชนอาจจะฟื้นตัวกลับมากจาก (1) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีวงเงิน 140,000 ล้านบาทเพื่อเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค และ(2) การผ่อนคลายมาตรการควบคุมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่การฉีดวัคซีนมีความคืบหน้า

การลงทุนภาคเอกชนเดือนเมษายนลดลง 3.1% จากเดือนมีนาคม เพราะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ลดลง การระบาดระลอกสามฉุดให้ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจลดมาที่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน อย่างไรก็ตามการลงทุนดีขึ้นจากปลายปี 2020 และสูงกว่าระดับก่อนโควิด

การลงทุนเริ่มดีขึ้นด้วยแรงหนุนจากมูลค่าการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI)

มูลค่าการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนยังคงต่ำแต่ดีขึ้น ในไตรมาสแรกปีนี้ คณะกรรมการบีโอไอได้รับคำขอจำนวน 401 ราย ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวม 123.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 80% โดยที่ 74.8 พันล้านบาทหรือคิดเป็น 61% ของมูลค่าที่ยื่นขอทั้งหมดเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

อุตสาหกรรมที่มีการยื่นคำขอมากอันดับต้นๆคือ หมวดการแพทย์ หมวดสินค้าอิเล็กทริคและอิเล็กทรอนิคส์ การท่องเที่ยว กระบวนการแปรรูปอาหารและเกษตร รถยนต์และชิ้นส่วน และหมวดเคมีภัณฑ์และปิโตรเลียม

มูลค่าของการขอรับการส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้นสะท้อนว่าการลงทุนในประเทศจะเร่งตัวขึ้นในระยะต่อไป

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ยื่นขอบีโอไอแตะ 62 พันล้านบาทในไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้น 143% จากระยะเดียวกันของปีก่อนและใกล้เคียงมูลค่าเฉลี่ย 73 พันล้านบาทต่อไตรมาสในช่วง 5 ปี

ในไตรมาสแรกปีนี้ การยื่นขอรับการส่งเสริมส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ ( joint-venture ระหว่างบริษัทนอร์เวย์กับบริษัทเกาหลีใต้เพื่อผลิตถุงมือยาง) ในปี 2020 ญี่ปุ่นและจีนเป็นประเทศที่ยื่นของสองรายใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในผลิตภัณฑ์เกษตร อุตสาหกรรมเบา และผลิตภัณฑ์อิเล็กทริคและอิเล็กทรอนิคนส์ ซึ่งมูลค่าการลงทุนสูงกว่าระดับเฉลี่ยรอบ 5 ปี และทั้งสามอุตสาหกรรมนี้มีสัดส่วนกว่าครึ่งของการลทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน

ความเสี่ยงด้านต่ำมีไม่มากนัก

จากมาตรการทางการคลังเพิ่มเติม แต่วิจัยกรุงศรียังคงเป้าหมายการเติบโตของ GDP ปีนี้ไว้ที่ 2% เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนสูง
พรก.เงินกู้ฉบับใหม่วงเงิน 5 แสนล้านบาทของกระทรวงการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจจากการระบาดมีผลไปตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากลงในราชกิจจา

ในพรก.เงินกู้ฉบับแรกที่มีวงเงิน 1 ล้านล้านบาท หลังจากรัฐบาลอนุมัติไปแล้ว 160,000 ล้านบาท(ครม.มีมติวันที่ 2 มิ.ย.) เพื่อเยียวยาผลกระทบการระบาดระลอกสาม ยังมีเงินเหลือ 19,200 ล้านบาทดังนั้นจึงต้องกู้เงินเพิ่มเพื่อดำเนินมาตรการใหม่

ในเบื้องต้นกระทรวงการคลังประเมินว่าจะกู้เงิน 1 แสนล้านบาทภายใต้พรก.ใหม่ในปีนี้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดรอบสามคลี่คลาย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านต่ำให้กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งสถานการณ์การระบาด การจัดหาวัคซีน การฉีดวัคซีน วิจัยกรุงศรีจึงคงคาดการณ์การเติบโตของ GDP ปีนี้ไว้ที่ 2.0%

มาตรการในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนมีผลให้เงินเฟ้อชะลอตัวในเดือนพฤษภาคม และคาดว่าจะอ่อนตัวต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง
เงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคมอ่อนตัวลงโดยเพิ่มขึ้น 2.44% จากระบะเดียวกันของปีก่อนและต่ำกว่า 3.41% ในเดือนเมษายน จากมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน โดยเฉพาะการลดค่าน้ำคาไฟฟ้า เป็นครั้งสองของปี นอกจากราคาอาหารที่ยังไม่ได้ปรุงลดลง จากกำลังซื้อที่ลดลงและการชะลอการบริโภค หลังการระบาดไปทั่วประเทศและการหยุดดำเนินธุรกิจชั่วคราว

ในครึ่งหลังของปีเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอ่อนตัวลงเพราะผลของฐานที่ต่ำจะลดลง แต่จะไม่ติดลบหรือต่ำเท่ากับในต้นปี เพราะการฉีดวัคซีนในประเทศมีความคืบหน้าและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังมีผลสนับสนุนความต้องการในประเทศ ดังนั้นจึงคาดว่ามีเงินเฟ้อเล็กน้อยในครึ่งปีหลัง

ธปท.จะยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ย

โดยที่ยังต้องดำเนินนโยบายแบบเจาะจงเป้าหมาย แรงกดดันจากประเทศอื่นจะไม่มีผลให้ธปท.ปรับอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้
เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึง ทำให้ธปท.มุ่งเน้นการดำเนินนโยบายการเงินแบบเจาะจงเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือภาคที่ได้รับผลกระทบ

เมื่อเร็วๆนี้ ธปท.ได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือธุรกิจ SMEs และสนับสนุนการปรับดโครงสร้างหนี้ มองไปข้างหน้า หลายประเทศในเอเชีย รวมทั้งไทยจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในครึ่งหลังของปี 2021 แต่มีไม่กี่ประเทศ เช่น เกาหลีใต้ที่ส่งสัญญานขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า อย่างไรก็ตามแรงกดดันจากประเทศอื่นจะไม่มีผลต่อทิศทางนโยบายดอกเบี้ยของไทยในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจรอบนี้ เนื่องจากการฟื้นตัวยังแตกต่างกันกันมาก

โดยไทยจะใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าจะเห็นการฟื้นตัวในวงกว้าง เพราะพึ่งหาภาคการท่องเที่ยวและภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอย่างมาก ดังนั้นจึงคาดว่า ธปท.จะยังคงดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำมากในปีนี้และในปีหน้า