ASEAN Roundup EP29 อนาคตการลงทุนในเมียนมาภายใต้สภาวะฉุกเฉิน 1 ปี
การประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินในเมียนมา วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ทำให้นานาประเทศโดยเฉพาะสมาชิกประเทศอาเซียน กังวลต่อสถานการณ์การเมือง ที่จะส่งผลต่อเนื่องถึงภาคการค้า การลงทุนและเศรษฐกิจ
ข้อมูลจากธนาคารโลกพบว่า มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในพม่าขยายตัวขึ้นถึง 33% มีมูลค่า 5,500 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2562/2563 โดยสิงคโปร์และฮ่องกงลงทุนมากที่สุด
ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอง อนาคตการลงทุนในเมียนภายใต้สภาวะฉุกเฉิน 1 ปี ว่า ต้องประเมินผลกระทบออกเป็นระยะสั้น กลาง และ ยาว และคาดว่านักลงทุนจะใช้แนวทาง Wait and See เพื่อรอดูกติกาการลงทุนที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายผู้บริหารประเทศ เพราะเมียนมายังมีทรัพยากรธรรมชาติและมีโอกาสทางธุรกิจอีกมาก และที่สำคัญโอกาสที่เมียนมาจะกลับไปเหมือนเดิมก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2015 ยาก เนื่องจากเมียนมาเดินหน้าการปฏิรูปในหลายด้าน
ในระยะสั้นอาจจะมีแรงงานเมียนมาเข้าไทยมากขึ้นผ่านชายแดนที่ติดต่อกันซึ่งมีความยาวกว่า 2,400 กิโลเมตร เพื่อหางานทำ เพราะเศรษฐกิจเมียนมาที่ตกต่ำอยู่แล้วจากการระบาดของโควิดถูกซ้ำเติมจากสถานการณ์ฉุกเฉิน
นอกจากนี้ชี้ให้เห็นว่า การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของโลกตะวันตกต่อเมียนมา อาจจะสร้างโอกาสให้นักลงทุนในประเทศอาเซียนได้ โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นการลงทุนจาก จีน ญี่ปุ่น และ อินเดีย ที่เชื่อว่ายังคงเดินหน้าต่อไปได้
ดำเนินรายการโดย อเทตยา ศิลปเจริญ
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง