ThaiPublica > สู่อาเซียน > เพอร์ตามินา อินโดนีเซียผลิต “กรีนดีเซล” จากน้ำมันปาล์ม

เพอร์ตามินา อินโดนีเซียผลิต “กรีนดีเซล” จากน้ำมันปาล์ม

21 กรกฎาคม 2020


นิกกี้ วิดยาวตี ซีอีโอ เพอร์ตามินา(ซ้าย)และอากุส กุมิวาง คาร์ตาซาสมิตา รมต.อุตสาหกรรมเยี่ยมชมโรงกลั่นเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2563 ที่มาภาพ:https://www.thejakartapost.com/news/2020/07/20/pertamina-pilots-palm-oil-based-green-diesel-production.html

บริษัทเพอร์ตามินา รัฐวิสาหกิจใหญ่ของอินโดนีเซีย เริ่มการผลิตน้ำมันดีเซลจากปาล์มเป็นครั้งแรกในโครงการนำร่องที่โรงกลั่นในจังหวัดรีเยา

การทดลองผลิตในช่วงวันที่ 2-9 กรกฎาคมมีปริมาณ 1,000 บารเรลล์ต่อวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคนิคของโรงกลั่นที่รีเยาสามารถผลิตน้ำมันดีเซลจากปาล์มได้

“ขั้นตอนต่อไป บริษัทจะทำการศึกษาในเชิงเศรษฐกิจ” นิกกี้ วิดยาวตี ผู้บริหารของเพอร์ตามินากล่าว

อินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้สูงมากที่สุดในโลกกับโครงการไบโอดีเซลหรือเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้เพิ่มปริมาณไบโอดีเซลเป็น 30% (B30) ในปลายปีที่แล้วจาก 20% (B20) และกำลังวางแผนที่จะยกระดับไปสู่ไบโอดีเซล 100%

น้ำมันดีเซลชนิด green diesel นี้รู้จักกันในชื่อ D100 ซึ่งแตกต่างจากน้ำมันไบโอดีเซล B30(ไบโอดีเซลนี้ทำจากกรดไขมันเมทิลเอสเทอร์ หรือ FAME จากน้ำมันปาล์ม) ที่จำหน่ายในท้องตลาด เพราะสามารถเติมน้อยลงใช้กับรถยนต์ทั่วไปได้ จากค่าความบริสุทธ์ 100% เต็ม ในทางกลับกัน B30 เป็นน้ำมันที่ผสมน้ำมันปาล์ม 30% และอีก 70% เป็นน้ำมันฟอสซิลที่เกิดจากการทับถมของพืชและสัตว์ รถยนต์ทั่วไปไม่สามารถใช้น้ำมันดีเซลบริสุทธิ์

อินโดนีเซียพยายามที่จะเพิ่มความเข้มข้นของ FAME ในไบโอดีเซลแต่ได้เผชิญกับการต่อต้านจากผู้ใช้ และแม้ว่าไบโอดีเซลสามารถลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงและลดการปล่อยมลพิษได้ จากการผสม FAME ที่สูงขึ้น แต่ต้องมีจัดการและมีอุปกรณ์พิเศษเนื่องจากเชื้อเพลิงมีผลต่อตัวทำละลายที่สามารถกัดกร่อนเครื่องยนต์ ปะเก็นและสามารถแข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำ

ดังนั้นแทนที่จะใช้น้ำมันปาล์มดิบเพื่อผลิต FAME และผสมกับน้ำมันดีเซลธรรมดา กระบวนการของ D100 จึงกลั่น ฟอกขาวและดับกลิ่นน้ำมันปาล์ม ตรงเข้าสู่โรงกลั่นโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาให้แตกตัวและใช้ก๊าซไฮโดรเจน

น้ำมันดีเซล D100 อาจะเป็นน้ำมันไบโอดีเซลทางเลือกของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ แต่ไม่ว่าเป็น B30 หรือ D100 ก็ดีกว่าน้ำมันฟอสซิล

ก่อนหน้านี้ มีรายงานอินโดนีเซียเลื่อนแผนการผลิต D100 ในปี 2023 เลื่อนออกไปอีก 3 ปี เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19

การทดลองผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเป็นหนึ่งในแนวทางตามยุทธศาสตร์ที่จะลดการนำเข้าน้ำมัน ที่เป็นสาเหตุหลักของการขาดดุลการค้า และเป็นจุดเปราะบางทางเศรษฐกิจของประเทศ

อินโดนีเซียขาดดุลการค้าจากน้ำมันและก๊าซจำนวน 3.55 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ขณะที่ดุลการค้าในกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซนั้นเกินดุล 9.05 พันล้านดอลลาร์

น้ำมันปาล์มเป็นยุทธศาสตร์หลักของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก และรีเยาเป็นแหล่งผลิตน้ำมันปาล์มแหล่งหลัก

เจ้าหน้าที่ระดับสูงและผู้เล่นในตลาดน้ำมันปาล์มได้เชิญชวนให้เปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์ม เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนของอินโดนีเซียในการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศต่อข้อตกลงปารีสปี 2016

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในอินโดนีเซีย เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำลายป่า และเกิดไฟป่าที่อาจจะมีผลต่อการหักกลบการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ได้เครดิตจากการลดการใช้น้ำมัน

บริษัทเพอร์ตามิน่ายังได้ทดลองผลิตน้ำมันเบนซินชีวภาพด้วย ที่โรงกลั่นในเซ็นทรัลชวา แต่ประสบความสำเร็จน้อย

บูดิ ซานโตโซ ยาร์รีฟ ผู้บริหาร PT Kilang Pertamina Internasional บริษัทในเครือของเพอร์ตามินากล่าวว่า “กระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มให้เป็นนำ้มันเบนซิน ในโลกนี้ไม่มีใครทำมาก่อน แต่บริษัทเพอร์มินาเป็นรายแรก”