การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน ส.ว.กรณีเข้ารับตำแหน่ง โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พบว่า ส.ว.ที่มีจำนวนทรัพย์สินมากที่สุด มีทรัพย์สินมากที่สุด 2,542,726,475 บาท ส่วน ส.ว.ที่มีทรัพย์สินน้อยที่สุด มีทรัพย์สินจำนวน 2,362,289 บาท
ส.ว.ที่มีทรัพย์สินน้อยที่สุด 3 อันดับแรก (ทั้งหมดเป็น ส.ว.จากการคัดเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ) ได้แก่
- นายไพโรจน์ พ่วงทอง ชาวนา
ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นปี 2555 มีทรัพย์สิน 2,362,289 บาท ประกอบด้วย เงินฝาก 441,535 บาท เงินฝากของคู่สมรส 754 บาท ที่ดิน 2 แปลงมูลค่า 1,700,000 บาท ขนาด 1 งาน 1 แปลง และ ขนาด 10 ไร่ 1 แปลง มีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 200,000 บาท
ส.ว.อดีตเกษตรกรดีเด่นรายนี้ ยังแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ด้วยว่า มียานพาหนะ 3 คัน เป็นรถจักรยานยนต์ทั้งหมด มูลค่า 20,000 บาท และมีหนี้สินจากการกู้เงินสหกรณ์การกษตร 440,000 บาท
ส่วนรายได้ตลอดทั้งปี ถ้าไม่นับเงินเดือนที่ได้จากการดำรงตำแหน่ง ส.ว. 794,500 บาท เขามีรายได้จากการทำเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว โดยนาปี สร้างรายได้ 189,000 บาท นาปรัง 94,500 บาท ในขณะที่ต้องจ่ายต้นทุนการผลิต 124,200 บาท
- นายนิอาแซ ซีอุเซ็ง
ข้าราชการบำนาญ กระทรวงมหาดไทยเป็นอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ และอดีตนายอำเภอบาเจาะ จ.นราธิวาส
มีทรัพย์สินรวม 2,700,812 บาท ประกอบด้วย เงินฝาก 1,140,812 บาท ที่ดิน 1 แปลง ไม่ระบุมูลค่า แต่เป็นที่ดินประเภท น.ส. 3 ก. ที่ ต.ละหาร อ.ยี่งอ ขนาด 9 ไร่ โดยระบุด้วยว่าที่ดินแปลงดังกล่าวแบ่งออกเป็น 9 ส่วน มูลค่า 450,000 บาท
โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 1 แห่ง เป็นที่อยู่อาศัย บนที่ดิน น.ส. 3 ก. และครอบครองรถยนต์ส่วนบุคคล 2 คันราคา 250,000 บาท และ 60,000 บาท
มีรายได้ต่อปีจากเงินบำนาญ 360,000 บาท และไม่มีหนี้สิน
- นายบุญมี สุระโคตร
ก่อนมาเป็น ส.ว.ทำหน้าที่ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
มีทรัพย์สินรวม 2,847,674 บาท ประกอบด้วย เงินฝาก 246,529 บาท ของคู่สมรส 87,145 บาท
เงินลงทุน 280,000 บาท ของคู่สมรส 224,000 บาท ที่ดิน 2,000,000 บาท พาหนะรถยนต์ส่วนบุคคล 400,000 บาท และทรัพย์สินอื่น ซึ่งเป็นทองรูปพรรณ 14 บาท
ทั้งปีมีรายได้ จากค่าเช่าที่ดิน 100,000 บาท ขายข้าว 25,000 บาท และได้รับเงินปันผลหุ้น 34,200 บาท ของคู่สมรสอีก 22,400 บาท มีหนี้สินเป็นเงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงิน 720,000 บาท
ส.ว.ที่มีทรัพย์สินมากสุด 3 อันดับแรก
ส.ว.ที่มีทรัพย์สินมากที่สุด 3 อันดับแรก (ทั้งหมดมาจากการเสนอชื่อของคณะกรรมการสรรหา ส.ว.) ได้แก่
- นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ เคยดำรงตำแหน่ง ส.ว.มาหลายสมัย คือ ปี 2549, 2551, และปี 2557 และเป็นพี่สาวของนาย “จุติ ไกรฤกษ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มีทรัพย์สินรวม 2,542,726,475 บาท แบ่งเป็นเงินสด 500,000 บาท ของคู่สมรส 500,000 บาท เงินฝาก 108,102,828 บาท ของคู่สมรส 12,497,803 บาท เงินลงทุน 1,448,802,482 บาท ของคู่สมรส 15,076,342 บาท เงินให้กู้ยืม 245,720,000 ของคู่สมรส 280,000,000 บาท
ที่ดิน 200,357,312 บาท ของคู่สมรส 65,766,820 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 62,232,511 บาท ของคู่สมรส 57,415,384 บาท ยานพาหนะ 4,000,000 บาท ของคู่สมรส 6,000,000 บาท และทรัพย์สินอื่น 35,755,000 บาท
รายได้ต่อปีมีรายได้รวม 35,837,900 บาท เป็นเงินเดือน ส.ว.1,362,720 บาท เบี้ยประชุมกรรมาธิการ ส.ว. 72,000 บาท เงินปันผล 28,403,180 บาท และมีหนี้สินจากบัตรเครดิตรวม 305,746 บาท
- นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นบุตรสาวของ “เทียม โชควัฒนา” ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์
มีทรัพย์สินรวม 2,020,771,034 บาท แบ่งเป็น เงินฝาก 14,900,913 บาท ของคู่สมรส 8,292,673 บาท เงินลงทุน 1,018,701,004 บาท ของคู่สมรส 82,992,880 บาท เงินให้กู้ยืม 337,640,000 บาท ของคู่สมรส 100,000,000 บาท ที่ดิน 258,494,117 บาท ของคู่สมรส 121,270,447 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างของคู่สมรส 8,000,000 บาท ยานพาหนะของคู่สมรส 1,800,000 บาท และทรัพย์สินอื่น 28,679,000 บาท
มีรายได้ต่อปีรวม 62,355,000 บาท แบ่งเป็นเงินเดือน ที่ปรึกษา 3,200,000 บาท เบี้ยประชุม 200,000 บาท ดอกเบี้ย 11,300,000 บาท ปันผล 47,655,000 บาท มีหนี้สิน 4,258,976 บาท
มีทรัพย์สินรวม 1,774,334,576 บาท แบ่งเป็น เงินฝาก 648,639,979 บาท ส่วนใหญ่ฝากที่ธนาคารในสปป.ลาว โดยมีบัญชีเงินฝากที่ BIC BANG LAO จำนวน 554,400,000 บาท เงินลงทุน 4,048,581 บาท เงินให้กู้ยืม 80,500,000 บาท ที่ดิน 324,260,000 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 167,000,000 บาท
ยานพาหนะ 125,900,000 บาท สิทธิและสัมปทาน 5,836,015 บาท ทรัพย์สินอื่น 481,150,000 บาท โดยเป็นพระเครื่องมูลค่า 126,000,000 บาท รายการแหวน 90,200,000 บาท และรายการนาฬิกา 82,350,000 บาท มีหนี้สิน 48,468,415 บาท จากการทำสินเชื่อกับธนาคาร และค่าผ่อนรถยนต์ซุเปอร์คาร์ 3 คัน
อดีตองค์กรอิสระ-ศาล
มีทรัพย์สิน 34,009,969 บาท เป็นเงินฝาก 9,267,688 บาท ของคู่สมรส 4,915,655 บาท เงินลงทุน 4,074,032 บาท คู่สมรส 2,470,713 บาท ที่ดิน 800,000 บาท ของคู่สมรส 5,530,000 บาท โรงเรียนและสิ่งปลูกสร้างของคู่สมรส 3,800,000 บาท ยานพาหนะ 400,000 บาท ของคู่สมรส 400,000 บาท สิทธิและสัมปทาน 335,880 บาท ของคู่สมรส 100,000 บาท ทรัพย์สินอื่น 948,000 บาท คู่สมรส 968,000 บาท โดยในจำนวนนี้มีพระเลี่ยมทองคำอีก 67 องค์ที่ประเมินค่าไม่ได้ และ ไม่มีหนี้สิน
รายได้ต่อปีรวม 3,521,150 บาท เงินเดือน 1,388,880 บาท เงินบำนาญ 811,288 บาท เงินปันผลสหกรณ์ 108,567 บาท ดอกเบี้ยเงินฝาก 107,869 บาท เงินปันผลกองทุนรวมหุ้นฯ 6,195 บาท เงินปันผลประกันชีวิต 15,000 บาท เงินค่าขายหน่วยลงทุนคืนให้กองทุน 880,000 บาท ผลประโชน์เฉพาะส่วนที่ขายคืน 35,557 บาท เงินรางวัลสลากออมสินพิเศษ 126,100 บาท เงินคืนภาษีเงินได้ 41,691 บาท
มีทรัพย์สินรวม 28,660,043 บาท เงินฝาก 754,629 บาท ของคู่สมรส 4,588,413 บาท เงินลงทุน 1,503,400 บาท คู่สมรส 100 บาท ที่ดิน 16,400,000 บาท คู่สมรส 598,500 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 3,000,000 บาท ยานพาหนะ 450,000 บาท ของคู่สมรส 1,365,000 บาท ไม่มีหนี้สิน
มีรายได้ต่อปีประมาณ 528,419 บาท เป็นเงินเดือน 521,940 บาท เงินปันผล 6,479 บาท
มีทรัพย์สินรวม 63,188,939 บาท เงินฝาก 12,246,513 บาท คู่สมรส 253,087 บาท เงินลงทุน 33,944,346 บาท หุ้นจากร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำนวน2 หุ้น มูลค่า 40 บาท ที่ดิน 2,918,952 บาท คู่สมรส 180,000 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 9,000,000 บาท ของคู่สมรส 4,000,000 บาท ยานพาหนะ 646,000 บาท ไม่มีหนี้สิน
รายได้ทั้งปีรวม 3,616,708 บาท เป็นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง 1,440,000 บาท เงินบำนาญ 696,708 บาท เงินบำเหน็จออกจากราชการ 80,000 บาท ดอกเบี้ยและเงินปันผล 700,000 บาท รายได้จากการซื้อขายหลักทรัพย์ 700,000 บาท
มีทรัพย์สิน 64,957,074 บาท เงินสด 480,000 บาท เงินฝาก 1,270,055 บาท เงินลงทุน 968,778 บาท ที่ดิน 39,670,000 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 11,500,000 บาท ยานพาหนะ 5,000,000 บาท สิทธิและสัมปทาน 5,838,240 บาท ทรัพย์สินอื่น 230,000 บาท มีหนี้สินเป็นเงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 2,202,625 บาท รายได้ต่อปี 575,462 บาท โดยมาจากเงินบำนาญทั้งหมด
กม.ใหม่ “คนหน้าเดิม” ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
การเปิดบัญชีทรัพย์สินสมาชิกวุฒิสภา กรณีเข้ารับตำแหน่ง โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา มี ส.ว.เพียง 137 คนเท่านั้นที่มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อ ป.ป.ช. จาก ส.ว.ทั้งหมด 250 คน
แต่การเปิดเผยบัญชีครั้งนี้ ป.ป.ช.เปิดเผยเพียง 128 คน เนื่องจากที่เหลือขอขยายระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สินออกไป
ส่วนอีก 113 คน ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ใหม่ เพราะเป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ซึ่งเพิ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2561 มาตรา 105 ที่บัญญัติ ว่า “ถ้าพ้นจากตําแหน่งและได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเดิมหรือตําแหน่งใหม่ภายในหนึ่งเดือน ผู้นั้นไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตําแหน่งและกรณีเข้าดํารงตําแหน่งใหม่ แต่ไม่ต้องห้ามที่ผู้น้ันจะยื่นเพื่อเป็นหลักฐาน”
ดังนั้น บุคคลที่เพิ่งพ้นตำแน่งเดิม ซึ่งเคยยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ไว้แล้ว และเข้ารับตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่อีกครั้งภายใน 1 เดือน จึงไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินในครั้งนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มารับตำแหน่ง ส.ว.ต่อ
เช่นเดียวกับ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รวมถึงรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดที่ผ่านมา ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินอีก แต่จะยื่นอีกครั้งหลังพ้นจากตำแหน่งโดยไม่ได้รับตำแหน่งใหม่ใดๆ อีกในระยะเวลา 1 เดือน