ThaiPublica > Native Ad > บทความร่วมมือ > วิเคราะห์เปรียบเทียบ พ.ร.บ.แร่ 2560 มีอะไรใหม่?

วิเคราะห์เปรียบเทียบ พ.ร.บ.แร่ 2560 มีอะไรใหม่?

30 พฤศจิกายน 2018


สืบเนื่องมาจากพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ที่ประกาศใช้มาเป็นเวลานาน ทำให้การบริหารจัดการแร่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน การกำกับดูแลไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างของเหมืองแต่ละขนาด ขั้นตอนการขออนุญาตมีมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดความล่าช้า การจัดสรรผลประโยชน์จากทรัพยากรแร่กลับคืนสู่ท้องถิ่น ชุมชน การดูแลผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง ยังมีน้อยเกินไป การจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่อยู่ในระดับต่ำไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศเป็นไปอย่างมีระบบ และมีความคล่องตัว ทั้งในเรื่องการกำหนดนโยบาย การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการแร่ การกำกับดูแล และการจัดเก็บรายได้ของรัฐ ให้มีความโปร่งใส เป็นธรรม สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และรักษาสิ่งแวดล้อม

กระทรวงอุตสาหกรรมโดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบกฎหมายและกำกับดูแลการประกอบกิจการเกี่ยวกับแร่ ได้มีการเสนอต่อรัฐบาลให้มีการปรับปรุงแก้ไข กฎหมายว่าด้วยแร่ ประกอบด้วย พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 และ พ.ร.บ.พิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509 โดยนำหลักการของกฎหมายทั้งสองฉบับมาไว้ในฉบับเดียวกัน

สำหรับ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 มีรายละเอียดที่แตกต่างจากกฎหมายฉบับเก่าอย่างไร อ่านรายละเอียดด้านล่าง