ThaiPublica > คอลัมน์ > เหตุการณ์ “suffer alone” เเละสุขภาพจิตของผู้ชาย

เหตุการณ์ “suffer alone” เเละสุขภาพจิตของผู้ชาย

31 มกราคม 2018


ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
www.powdthavee.co.uk

ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงจะไม่เเปลกใจเลยที่อัตราของการฆ่าตัวตายที่สำเร็จผล – นั่นก็คือ suicide ไม่ใช่ attempted suicide – ของผู้ชายไทยนั้น (มากกว่า 15 คน ต่อ 100,000 คน) สูงกว่าอัตราของการฆ่าตัวตายที่สำเร็จผลของผู้หญิง (น้อยกว่า 5 คน ต่อ 100,000 คน: source: WHO, 2015) เยอะมาก (เเละไม่ใช่เเค่ผู้ชายไทยเท่านั้นนะครับ ถ้าเราดูตามสถิติโลกเเล้ว อัตราของการฆ่าตัวตายของผู้ชายนั้นสูงกว่าอัตราของการฆ่าตัวตายประมาณเกือบสองเท่าตัวด้วยกัน)

เเต่หลายๆคนอาจจะไม่ทราบดีว่าทำไม

สาเหตุใหญ่ๆสาเหตุหนึ่งมาจาก expectations หรือความคาดหวัง ที่เรามีกับตัวเอง (ถ้าเราเป็นผู้ชาย) เเละที่สังคมมีกับเพศชาย

พวกเราส่วนใหญ่ถูกเลี้ยงมาตั้งเเต่เด็กว่าผู้ชายต้องอดทน ต้องไม่ร้องไห้ ต้องเป็นเพศที่เเข็งเเรง ถ้าผู้ชายคนไหนร้องไห้ เรามักจะคิดว่าผู้ชายคนนั้นอ่อนเเอ เป็นคน sensitive ไม่ใช่ชายชาติทหารที่เเท้จริง

ปัญหาที่ตามมาก็คือผู้ชายส่วนใหญ่ที่เผชิญปัญหาชีวิต ปัญหาที่ทำให้จิตตก มักจะ “suffer in silence” คือไม่ยอมบอกใครว่าตัวเองกำลังจิตตกอยู่ ไม่ยอมขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกลัวว่าคนรอบข้างจะต่อว่า จะเเซวว่า “เฮ้ย มึงเป็นผู้ชายหรือเปล่าวะ” “เเค่นี้ต้องร้องไห้ด้วยเหรอ” ซึ่งส่งผลทำให้ผู้ชายส่วนใหญ่ต้องเก็บเเละซ่อนปัญหาสุขภาพจิตที่มี เพราะว่ากลัว

อีกสาเหตุหนึ่งก็คือผู้ชายที่มีปัญหาสุขภาพจิตมักจะถูกคนรอบข้างมองข้ามปัญหาที่เขามีไปได้ง่ายๆด้วยสาเหตุที่มาจากความคาดหวังจากสังคมเเละจากคนรอบข้างว่าเขาเป็นผู้ชาย เขาน่าจะโอเค “ก็ไม่เห็นเขามีปัญหาอะไรนี่ อีกอย่างเขาเป็นผู้ชายด้วย เขาสามารถหาทางออกของเขาเองได้”

(ยกตัวอย่างง่ายๆจากประสบการณ์ของตัวผมเอง คนรอบข้างที่รู้จักผมในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านความสุขคนหนึ่งมักจะ take it for granted หรือเห็นเป็นของตายว่าผมคงต้องมีความสุขตลอดเวลาเเน่ๆ หมดห่วง เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องเช็คก็ได้ว่าชีวิตยังโอเคไหม ผมจึงกลายเป็นคนที่ฟังปัญหาของคนอื่นมากกว่าจะเล่าปัญหาของตัวผมเองให้คนรอบข้างฟัง ทั้งๆที่จริงถึงเเม้ว่าผมจะพยายามใช้ชีวิตให้มีความสุขทั้งระยะสั้นเเละระยะยาวก็ตาม มันก็ยังมีช่วงชีวิตหลายๆช่วงที่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้จิตตก – อย่างเช่นตอนที่คุณยายผมเสียเเละผมเป็นคนเดียวที่ “suffer alone” หรือทุกข์อยู่เพียงคนเดียวอยู่ประเทศอังกฤษ (มีภรรยาผมที่เห็นสภาพเเละเป็นที่พักใจของผมคนเดียว) เเละเพราะงานสอนทำให้กลับไปงานศพของคุณยายไม่ได้ – เเละต้องการคนที่เข้าใจเเละดูเเลเหมือนกัน เเต่หาได้ยากหน่อยเพราะการขอความเข้าช่วยเหลือจากคนที่คิดว่าเราไม่ต้องการความช่วยเหลือนั้นเป็นอะไรที่ทำได้ยากอยู่เหมือนกัน)

เพราะฉะนั้นเราทุกคนควรจะเริ่มมองเเละให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของผู้ชายกันใหม่นะครับ เราควรจะหยุดได้เเล้วกับความคาดหวังที่เกินความเป็นจริงว่าผู้ชายต้องอดทนอย่างเดียว เพราะไม่ว่าใครก็สามารถเผชิญปัญหาชีวิตที่ทำให้จิตตกได้เหมือนกันทุกคน เเละเราก็ควรเปิดให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย ได้มีโอกาสปรึกษากับจิตแพทย์ทุกครั้งที่เรารู้สึกเเย่กับชีวิตเเละกับตัวของเราเอง

พอกันทีกับการ suffer in silence ของผู้ชาย เราควรช่วยกันด้วยการยอมรับว่าผู้ชายเองก็ต้องการความช่วยเหลือทางด้านจิตใจเเล้วมา ‘suffer together’ แทน ‘suffer in silence’ กันดีกว่านะครับ 🙂

อ่านเพิ่มเติม

Möller-Leimkühler, A.M., 2003. The gender gap in suicide and premature death or: why are men so vulnerable?. European archives of psychiatry and clinical neuroscience, 253(1), pp.1-8.