ThaiPublica > คอลัมน์ > การใช้นโยบายเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในการช่วยชีวิตคน

การใช้นโยบายเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในการช่วยชีวิตคน

23 กรกฎาคม 2015


ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
www.powdthavee.co.uk

คุณผู้อ่านทราบไหมครับว่ามีผู้ป่วยที่อวัยวะล้มเหลวเเละรอการปลูกถ่ายอวัยวะในประเทศไทยของเราเป็นพันๆคนต่อปีที่ต้องมาเสียชีวิตลงเพราะคลังสำรองอวัยวะของประเทศเรามีไม่พอกับความต้องการ

เเล้วคุณผู้อ่านทราบไหมครับว่าจากข้อมูลของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยจนถึงสิ้นปีพ.ศ. 2555 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รออวัยวะบริจาคจากผู้ป่วยภาวะสมองตายอยู่ถึง 3,516 ราย เเต่มีผู้บริจาคอวัยวะ(ที่สมองตายไปเเล้ว)เพียงเเค่ 136 รายเท่านั้นเอง (คิดเป็น 3.8% ของคนป่วยทั้งหมด) ทั้งๆที่เเค่คนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนมีมากกว่าหนึ่งหมื่นคนต่อปี

พอมาถึงจุดนี้อาจมีคุณผู้อ่านหลายท่านกำลังสงสัยว่าทำไมอัตตาของการยินยอมที่จะบริจาคอวัยวะ หรือ consent to donate organs ของคนไทยจึงต่ำมากซึ่งก็ทำให้ประเทศของเราเกิดวิกฤตการขาดเเคลนอวัยวะในปัจจุบันนี้

จากการสำรวจของเเพทย์สาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนยอมลงชื่อเพื่อบริจาคอวัยวะก็คือคนไทยมักมีความเชื่อที่ว่าถ้าหากบริจาคอวัยวะไปในชาตินี้ชาติหน้าจะเกิดมามีอวัยวะที่ไม่ครบ (ซึ่งในความเป็นจริงเเล้ว ถ้ากฎเเห่งกรรมมีจริง – ซึ่งอาจต้องยังทำการพิสูจน์กันอีกต่อไปก่อนที่จะสรุปได้ว่าจริงหรือไม่จริง – การบริจาคอวัยวะให้กับคนที่ต้องการจริงๆหลังจากที่เราเสียชีวิตไปเเล้วนั้นน่าจะเป็นการสร้างบุญมากกว่านะครับ) สาเหตุหลักอีกสาเหตุหนึ่งก็คือการประชาสัมพันธ์ของ donar centre (อย่างเช่นโรงพยาบาลเป็นต้น) ไม่ได้กว้างขวางเเละดีเท่าที่ควรจะเป็น

ที่มาภาพ : http://lifelineofohio.org/wp-content/themes/lifeline_of_ohio/_/img/yes_badge.png
ที่มาภาพ : http://lifelineofohio.org/wp-content/themes/lifeline_of_ohio/_/img/yes_badge.png

ปัญหาที่ว่าอะไรเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเพิ่มจำนวนคนที่จะยอมบริจาคอวัยวะเป็นปัญหาที่สำคัญมากในวงการเเพทย์บ้านเรา เเต่มาถึงปัจจุบันผมก็เชื่อว่าเรายังไม่มีนโยบายอันไหนเลยที่จะมีประสิทธิภาพในการที่เพิ่มจำนวนคนที่จะยอมบริจาคอวัยวะพอที่ supply ของอวัยวะจะเท่ากับ demand ของอวัยวะ

มาวันนี้ผมเลยอยากจะขออนุญาตใช้พื้นที่ของไทยพับลิก้าในการเขียนเล่าให้กับคุณผู้อ่านว่าจริงๆเเล้วมันมีนะครับ การเปลี่ยนนโยบาย (หรือ policy change) ที่จะสามารถทำให้เปอร์เซ็นต์ของคนทั้งประเทศที่ยินยอมจะบริจาคอวัยวะเพิ่มขึ้นจากเกือบศูนย์เปอร์เซ็นต์เป็นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ได้ในพริบตา

Opt-in versus Opt-out

ถ้าคุณผู้อ่านมองรูปภาพข้างล่างคุณผู้อ่านก็จะเห็นว่ามีประเทศในยุโรปที่เราสามารถเเยกออกมาได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มเเรกประกอบไปด้วยประเทศที่มีอัตตาของคนที่ยินยอมที่จะบริจาคอวัยวะของคนทั้งประเทศค่อนข้างตำ่ (เดนมาร์ก 4.25% ฮอลเเลนด์ 27.5% สหราชอาณาจักร 17.17% เยอรมันนี 12%) กลุ่มที่สองประกอบไปด้วยประเทศที่มมีอัตตาของการบริจาคอวัยวะเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของคนทั้งประเทศด้วยกัน (ออซเตรีย 99.98% เบลเยี่ยม 98% ฝรั่งเศส ฮังการี โปเเลนด์ โปรตุเกส สวีเดน) ซึ่งถ้ามองโดยผิวเผินเเล้วเราอาจจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอะไรที่ทำให้อัตตาของ consent to donate organs เเตกต่างกันระหว่างประเทศของทั้งสองกลุ่มได้มากขนาดนี้ (ยกตัวอย่างเช่นเดนมาร์กเเละสวีเดนซึ่งปกติเป็นสองประเทศสเเกนดิเนเวียที่คล้ายกันมากในหลายๆเรื่อง)

จากการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Science ของอีริค จอร์นสัน (Eric Johnson) เเละเเดเนียล โกวสไตน์ (Daniel Goldstein) จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia) พบว่าประเทศในกลุ่มเเรกนั้นเป็นประเทศที่มีกฎหมายที่มี default option เป็น nobody donates เเต่ถ้าคุณอยากจะบริจาคคุณต้อง opt-in หรือเลือกที่จะบริจาคอวัยวะด้วยตัวเอง (ซึ่งประเทศไทยเราก็เหมือนกับประเทศในกลุ่มนี้นะครับ)

ส่วนประเทศในกลุ่มที่สองนั้นเป็นประเทศที่มีกฎหมายที่มี default option เป็น everybody donates เเต่ถ้าคุณไม่อยากที่จะบริจาคคุณต้อง opt-out หรือเลือกที่จะไม่บริจาคอวัยวะด้วยตัวเอง

พูดง่ายๆก็คือไม่ว่าคุณจะอยู่ประเทศไหนส่วนใหญ่เเล้วคุณก็มักเลือกที่จะไม่ opt-in หรือ opt-out จาก default option เลย ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าคนเรามีนิสัยที่จะเลือก default option ถ้า default option ไม่ได้เป็นตัวเลือกที่เราเกลียดจริงๆหรือ option ตัวอื่นไม่ได้ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด

พูดในเชิงของการยินยอมที่จะบริจาคหรือไม่บริจาคอวัยวะ คนในประเทศกลุ่มเเรกส่วนใหญ่(รวมทั้งคนในประเทศไทยเราด้วย)ก็อาจจะคิดว่าทำไมเราต้องบริจาคอวัยวะด้วยในเมื่อการไม่บริจาคก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตของเราเเย่ลง(ยกเว้นเราต้องมาเป็นคนป่วยเสียเอง) ส่วนคนในประเทศกลุ่มที่สองก็อาจจะคิดว่าจะไม่บริจาค (opt-out) หรือบริจาค (default) ก็ไม่เเตกต่าง เพราะฉะนั้นทำไมเราต้องเลือกที่จะไม่บริจาคโดยการ opt-out ด้วย นักจิตวิทยาเรียก bias ตัวนี้ว่า Status Quo Bias ซึ่งก็คืออารมณ์ที่ว่าคนเรามักใช้สภาวะที่เป็นอยู่เป็น reference point เเล้วการที่เปลี่ยนจากจุด reference point มักจะมองว่าเป็นการเสียมากกว่าการได้)

อัตตาของคนที่ยินยอมบริจาคอวัยวะในเเต่ละประเทศของยุโรป ที่มาภาพ : Johnson and Goldstein (2003)
อัตตาของคนที่ยินยอมบริจาคอวัยวะในเเต่ละประเทศของยุโรป ที่มาภาพ : Johnson and Goldstein (2003)

The Power of the Default Option

งานวิจัยชิ้นนี้จีงสอนให้เรารู้ถึงพลังของ default option ในการวางเเผนนโยบายสาธารณะต่างๆนาที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเป็นหลัก โดยเฉพาะนโยบายที่สามารถช่วยชีวิตคนเป็นพันๆคนต่อปีอย่างนโยบายที่เกี่ยบกับการบริจาคอวัยวะเป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม
สกานต์ บุนนาค (2013) วิกฤติการขาดเเคลนอวัยวะของประเทศไทย (Solving the Organ Shortage Crisis in Thailand), Vajira Medical Journal, 57(3), 179-184
Johnson, E. J., & Goldstein, D. G. (2003). Do defaults save lives?. Science, 302, 1338-1339.