ThaiPublica > คอลัมน์ > The science of ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง: conflict of interests

The science of ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง: conflict of interests

16 พฤศจิกายน 2017


ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
www.powdthavee.co.uk

คุณผู้อ่านเคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมคนเราถึงสามารถมองทะลุถึงพฤติกรรมที่มี “ผลประโยชน์ทับซ้อน” หรือ conflict of interests ของคนอื่นได้อย่างง่ายๆ

— อย่างเช่นเวลาที่เราเห็นคนอื่นโกง เราสามารถเเยกเเยะออกได้ทันทีว่าการกระทำอย่างนั้นมันโกงคนอื่นเขานะ

— เเต่พอเราเปลี่ยนมามองตัวเองเเทนเรากลับมองพฤติกรรมที่มี conflict of interests ของตัวเราเองไม่เห็นเหมือนๆกับเวลาที่เรามองการกระทำของคนอื่นๆ

สาเหตุที่คนเรามีพฤติกรรมที่เป็น double standard หรือการมี “สองมาตราฐาน” ก็คือ

1) เมื่อใดก็ตามที่เราต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่มี conflict of interests ความคิดแรกๆที่เข้ามาในหัวของเราเลยก็คือ ความต้องการในการที่จะได้รับผลประโยชน์จากสถานการณ์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน ยศถาบรรดาศักดิ์ ก็ตาม (the “want” self) ตามมาติดๆก็คือความคิดที่ว่า เเต่เราไม่ควรจะได้ผลประโยชน์จากการกระทำในครั้งนี้ เพราะถ้าทำไปเเล้วมันผิดจรรยาบรรณบ้าง ผิดศีลธรรมบ้าง หรือแม้แต่ผิดกฎหมายบ้าง (the “should” self)

2. เเละเพราะการเกิดความขัดเเย้งระหว่างสองความคิดที่ตรงกันข้ามนี้เอง (what I want vs. what I should do) — ซึ่งเราเรียกเหตุการณ์สู้รบกันระหว่างสองความคิดที่ขัดเเย้งกันเองในหัวของเราตัวนี้ว่า cognitive dissonance — ความไม่สบายใจกับการตัดสินใจของตัวเราเองก็จะเกิดขึ้น

3. เเละด้วยความต้องการของเราในการที่จะลดความไม่สบายใจตัวนี้ให้หายไป สมองของเราก็จะเริ่มมองหาเหตุผลมา support ในความอยากที่จะได้ (the “want” self) เพื่อที่จะทำให้เราสบายใจจากการทำในสิ่งที่เราไม่ควรทำเพียงเพื่อผลประโยชน์ที่เราจะรับมา ยกตัวอย่างเช่นการบอกกับตัวเองว่า “ถ้าเราไม่ได้ไปปล้นคนรวยมา คนจนๆที่เราเอาเงินที่ปล้นมาไปซื้อของกินให้เขาก็คงจะต้องอยู่อย่างทุกข์ยากเหมือนเดิม พูดง่ายๆก็คือเราเป็นสเหมือนโรบินฮู้ดดีๆนั่นเอง” หรือ “ที่เรายอมทำผิดกฎหมายอย่างนี้ก็เพื่อคนส่วนรวมทั้งนั้น” เป็นต้น

4. เเละความสามารถในการหาเหตุผลต่างๆนาๆของคนเราเพื่อมาใช้ในการอธิบายให้ตัวเราเองรู้สึกดีขึ้นจากการกระทำที่มี conflict of interests นี่เองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ค่อยรู้สึกตัวเองว่าตัวเองกำลังทำอะไรผิดอยู่ในขณะที่เรากำลังทำผิดอยู่

5. เเต่ด้วยสาเหตุที่ตัวเราไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์จากพฤติกรรมที่มี conflict of interests ของผู้อื่น เราจึงไม่มีสาเหตุที่จะต้องไปหาเหตุผลเพื่อมารับรองการกระทำที่ผิดศีลธรรมนั้นๆ ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราสามารถมองทะลุถึงการกระทำที่ไม่ดีของคนอื่นได้อย่างง่ายๆ (เพราะถ้าเรามีส่วนได้ส่วนเสียด้วยล่ะก็ ตัวเราเองก็จะมี conflict of interests จากการกระทำของคนอื่นเช่นเดียวกัน เเละก็คงจะทำให้เราสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการกระทำนั้นๆของคนอื่นว่าเป็นการกระทำที่โอเค หรือ justifiable ซึ่งก็จะส่งผลให้เราสามารถมองข้ามพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรมเเละจรรยาบรรณของคนอื่นได้ง่ายๆเหมือนๆกันกับที่เราสามารถมองข้ามการกระทำที่มี conflict of interests ของตัวเราเองได้ง่ายๆ)

สรุปก็คือ แล้วแต่สถานการณ์ที่เราเอาตัวเองเข้าไปอยู่ คนเราส่วนใหญ่ล้วนเเล้วเเต่มีความสามารถในการมีพฤติกรรมที่เป็นสองมาตราฐานด้วยกันได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะด่วนตัดสินใจลงโทษคนอื่นที่ทำไม่ดี เราควรจะลองถามตัวเองดูก่อนว่า ถ้าเป็นเราที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆจริงๆ เราอาจจะทำเหมือนๆกันกับคนที่ทำผิดคนนี้หรือเปล่า ก่อนที่จะทำการตัดสินใจว่าโทษที่เขาควรที่จะได้รับจากการทำผิดครั้งนี้คืออะไร