ThaiPublica > คอลัมน์ > ความสำคัญของการเป็น “คนเก็บตัว” (introvert) ในสังคมของเรา

ความสำคัญของการเป็น “คนเก็บตัว” (introvert) ในสังคมของเรา

26 กุมภาพันธ์ 2016


ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
www.powdthavee.co.uk

ถ้าคุณผู้อ่านรู้จักกับผมเป็นการส่วนตัว คุณผู้อ่านก็คงจะรู้ว่าผมเป็นคนที่ชอบพบปะกับเพื่อนฝูงของผมมาก เเละเป็นคนที่ชอบเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ ของผมในเรื่องหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องที่มีหัวข้อเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเเละเศรษฐศาสตร์ความสุข ผมเป็นคนที่พูดเก่งเเละชอบ public speaking เป็นชีวิตจิตใจ จะเรียกผมว่าผมมีลักษณะเป็นคนที่ชอบเปิดเผย หรือ extrovert ก็ว่าได้

เเละถ้าคุณผู้อ่านรู้จักกับผมเป็นการส่วนตัว คุณผู้อ่านก็คงจะรู้จักภรรยาของผมเช่นเดียวกัน ภรรยาของผมเป็นคนที่ยิ้มเก่ง เธอเป็นคนที่มีอัธยาศัยดีเเละมีเเต่คนรอบข้างชอบ เเต่ในทางตรงกันข้ามกับผม ภรรยาของผมเป็นคนที่มีความเป็นส่วนตัวสูงกว่าผมเยอะมาก ถ้าเลือกได้ เธอก็จะเลือกไม่ออกไปพบปะสังสรรค์กับคนอื่นๆ มากนัก โดยเฉพาะกับคนที่เธอไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว (ความสุขของเธอมักจะมาจากการใช้เวลาอยู่คนเดียวกับสุนัขของเธอมากกว่า) ส่วนใหญ่เเล้วภรรยาของผมจะเป็นคนที่เงียบมากเวลาเราออกไปพบปะกับคนอื่นข้างนอกบ้าน เธอมีเพื่อนน้อยกว่าผมเยอะ (เเต่คนที่เธอสนิทด้วย เธอก็จะสนิทจริงๆ เเละติดต่อกันเเบบไม่เว้นวัน) เธอจะเป็นคนที่จะคิดก่อนพูดเเละคิดก่อนทำทุกครั้งเเละใช้เวลาในการคิดก่อนพูดเเละทำนานมาก เธอขยาด public speaking เป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งไม่เหมือนกับผม พูดง่ายๆ ก็คือภรรยาผมมีลักษณะที่คนไทยส่วนใหญ่มักเรียกกันว่าเป็นคนที่ “ชอบเก็บตัว” หรือ introvert นั่นเอง

เเละถ้าผมทำการสมมติว่าเราทั้งสองคนไปสมัครงานที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ตาม เเละสมมติอีกว่าเราทั้งสองมีความสามารถที่ดูได้จากภายนอกเท่ากันทุกอย่าง อย่างเช่น การมีการศึกษาเท่ากัน จบมาจากที่เดียวกัน อายุเท่ากัน หรือเเม้เเต่เพศเดียวกันก็ตาม (อันนี้ต้องทำการสมมติด้วย เพราะว่าในสังคมของเราปัจจุบัน ผู้หญิงที่มีความสามารถเทียบเท่ากันกับผู้ชายยังเสียเปรียบในเรื่องการงานเมึ่อเทียบกันกับผู้ชายอยู่) ผมเชื่อว่าโอกาสที่ผมจะได้งานเพราะว่าผมเป็น extrovert นั้นก็คงจะสูงกว่าโอกาสที่ภรรยาของผมจะได้งานเพราะว่าเธอเป็น introvert มาก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า บุคคลากรที่มีหน้าที่สรรหาพนักงานใหม่ของบริษัทเกือบทุกบริษัทมีความเชื่อว่า “คนที่ให้สัมภาษณ์เก่ง มีความรักการเเสดงออก คนที่ชอบ voice opinions เเละคนที่ชอบทำงานเป็นกลุ่มกับคนเยอะๆ เท่านั้นที่จะสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้”

ที่มาภาพ : https://apiscommunicationscience.files.wordpress.com/2015/09/extrovert-or-introvert.png
ที่มาภาพ : https://apiscommunicationscience.files.wordpress.com/2015/09/extrovert-or-introvert.png

เเต่คุณผู้อ่านทราบไหมครับว่า ถ้าเราเอาประสิทธิภาพของงาน คุณภาพของงาน เเละการมีความละเอียด หรือ attention to detail ของการทำงาน ซึ่งล้วนเเต่เป็นคุณภาพของพนักงานที่บริษัททุกบริษัทในโลกนี้ให้คุณค่ามากมาเป็นตัวชี้วัดระหว่างตัวผมเเละภรรยาของผมเเล้วล่ะก็ ภรรยาของผมซึ่งเป็น introvert นั้นก็จะชนะผมที่เป็น extrovert อย่างเเบบขาดลอย

ทำไมคำเเปลภาษาไทยของคำว่า introvert ถึงมีความหมายไปทางด้านลบเกือบอย่างเดียว

คุณผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจจะเคยฟัง TED talk ของซูซาน เคน (Susan Cain) เจ้าของหนังสือชื่อดัง Quiet: The Power of Introverts in a World that Can’t Stop Talking มาก่อน (ถ้าคุณผู้อ่านยังไม่เคย ผมขอเเนะนำให้ลองฟังดูได้จากที่นี่นะครับ)

ใน TED talk ของเธอนั้น ซูซาน ซึ่งตัวเธอเองก็เป็น introvert คนหนึ่ง ได้บอกกับเราว่า ประมาณหนึ่งในสามถึงสองคนในโลกของเรานี้เป็นคนที่มีลักษณะนิสัยเป็นคน introvert ซึ่งมากกว่าจำนวนที่คนส่วนใหญ่คิดกัน เเละถีงเเม้ว่างานวิจัยหลายๆ ชิ้นจะพิสูจน์ให้คนทั่วไปเห็นว่าคนที่เป็น introvert ส่วนใหญ่จะมีความคิดสร้างสรรค์ (creativity) มากกว่าคนที่เป็น extrovert (ทั้งนี้ก็เพราะคนที่เป็น introvert นั้นจะใช้เวลาอยู่ในหัวของตัวเองคนเดียวมากกว่าคนที่เป็น extrovert ทั่วไป) เเละจะเป็นคนที่รอบคอบเเละระวังในสิ่งที่ตัวเองคิด (เเละในสิ่งที่คนอื่นๆ คิด) ก่อนที่จะพูดออกมามากกว่าคนที่เป็น extrovert ก็ตามสังคมของเราก็ยังให้ความสำคัญกับคนที่มีลักษณะเป็นคน extrovert มากกว่าอยู่ดี

เราจะเห็นตัวอย่างตัวนี้ได้ดีที่สุดจากการสอนเด็กในโรงเรียนของเราในปัจจุบัน ถ้าคุณผู้อ่านมีลูก (หรือเคยเป็นเด็กมาก่อน) คุณผู้อ่านก็น่าจะทราบดีว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ทั่วไปจะมีการสอนให้เด็กนักเรียนทุกคนกล้าที่จะเเสดงออกโดยการบังคับให้เด็กทุกคนออกมาพูดหน้าชั้นบ้าง ให้เเสดงความคิดเห็นในห้องต่อหน้าทุกคนบ้าง หรือไม่ก็บังคับให้เด็กทำงานกลุ่มกันบ้าง

เเต่ถ้าเราทำความเข้าใจคุณสมบัติของการเป็น introvert เเละ extrovert ให้มากกว่านี้เเล้วล่ะก็ เราก็จะรู้ว่าคนที่เป็น extrovert นั้นจะรู้สึกถึงการมีชีวิต (“comes alive!”) จากการได้รับตัวกระตุ้นจากสังคม (ซึ่งตัวผมที่เป็น extrovert จะรู้สึกถึงการมีชีวิตทุกครั้งที่ผมได้มีโอกาสพูดเกี่ยวกับเรื่องงานวิจัยของผมต่อหน้าคนเยอะๆ) ซึ่งในทางกลับกัน คนที่เป็น introvert นั้นจะรู้สึกถึงการมีชีวิตก็ต่อเมื่อพวกเขาได้อยู่ในสภาวะเเวดล้อมที่เงียบสงบ เเละภายในความสงบนั่นเอง พวกเขาก็จะสามารถทำอะไรต่อมิอะไรได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

เเละในเมื่อความสามารถทางขั้นตอนการคิดเเละการทำงานของ introvert เเละ extrovert จะขึ้นตรงกับสภาวะเเวดล้อมที่พวกเขาอยู่ถึงขนาดนี้ ทำไมสถาบันที่สำคัญในชีวิตของเรา ซึ่งรวมทั้งโรงเรียนเเละสถานที่ทำงาน ถึงถูกออกเเบบเพื่อคนที่เป็น extrovert เกือบอย่างเดียว ทำไมเราถึงไม่ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของการเป็น introvert ให้มากกว่านี้

อีกอย่างหนึ่ง คุณผู้อ่านเคยสงสัยไหมครับว่าทำไมคำเเปลที่เป็นภาษาไทยของคำว่า introvert ถึงมีเเต่คำที่มีความหมายไปทางด้านลบเกือบอย่างเดียว (ถ้าลองค้นหาคำเเปลของคำว่า introvert ในกูเกิล เราก็จะพบกับคำว่า “คนเก็บตัว” “คนที่มีนิสัยไม่สุงสิงกับใคร” เเละที่เเย่ไปกว่านั้น “คนที่ชอบคิดเเต่เรื่องของตัวเอง” เป็นต้น) ผมคงจะไม่ต้องเอ่ยว่าคำเเปลเหล่านี้นั้นล้วนเเล้วเเต่เป็นคำที่สร้างตราบาปให้กับคนที่เป็น introvert ทั้งนั้น

ผมว่ามันถึงเวลาเเล้วนะครับ ที่สังคมเเละสถาบันที่สำคัญในชีวิตของเราควรจะให้ความสำคัญกับการเป็น introvert ของคนให้มากกว่านี้ เพราะเชื่อผมเถอะนะครับว่า คนที่เป็น introvert นั้นส่วนใหญ่จะมีคุณภาพหลายๆ อย่างของการเป็นคนที่สังคมต้องการไม่มากกว่าก็พอๆ กันกับคนที่เป็น extrovert ในสังคมของเรา

เเบบทดสอบ

สำหรับคุณผู้อ่านที่อยากทำการทดสอบว่าตัวเองมีลักษณะเป็น introvert หรือ extrovert ขนาดไหน สามารถทำเเบบทดสอบ (ภาษาอังกฤษ) ของซูซาน เคน ได้ ณ ที่นี้นะครับ: http://www.quietrev.com/the-introvert-test/