
ในวันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2567 เวลา 14.00 – 15.15 น. กระทรวงการคลัง กำหนดงานแถลงข่าวเสนอขายหน่วยลงทุนประเภท ก. ของ“กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง” ตามที่มีนโยบายให้มีการระดมทุนของกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง เพื่อเป็นกลไกเสริมสร้างการออมและการลงทุนให้กับประชาชนในประเทศและส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศ
กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน คือ 1) ทำให้การบริหารจัดการหลักทรัพย์ที่รัฐถือครองอยู่เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นเครืองมือให้กระทรวงการคลังรักษาความเป็นเจ้าของทรัพย์สินและความมั่นคงของประเทศได้ 2) ลดภาระของรัฐในการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อนำไปลงทุนในกิจการที่มีความจำเป็นและต้องการการส่งเสริมจากภาครัฐ 3) เพิ่มทางเลือกของประชาชนผู้ออมเงินในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ 4) ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ
ในเอกสารข่าวกระทรวงการคลังในวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อพัฒนาการลงทุนแบบบูรณาการของกระทรวงการคลัง ระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ ให้กระทรวงการคลังจัด ตั้ง “กองทุนรวมวายุภักษ์” เพื่อลงทุนแบบยืดหยุ่น (Mutual Fund Flexible Port) ตามที่ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ได้แก่ ธปท. กลด. ซึ่งจะจัดตั้งตามกฎเกณฑ์และระเบียบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อระคมทุนจากตลาคทุนและตลาดเงินเพิ่มเติม เนื่องจากสภาพดล่องของตลาดทุนมีค่อนข้างสูง และอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มต่ำลง อันจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุนสำหรับประชาชน นักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนสถาบัน และเป็นกองทุนประเภทไม่รับชื้อคืนก่อนสิ้นอายุโครงการ (Closed end Fund) อายุโครงการ 10 ปี ซึ่งอาจขยายอายุโครงการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
กองทุนรวมดังกล่าวจะมีวงเงินเบื้องต้น 100,000 ล้านบาท โดยจะจำหน่ายหน่วยลงทุนให้กับนักลงทุนประเภทสถาบันและประชาชนทั่วไป และจำหน่ายให้กระทรวงการคลังในฐานะเจ้าของกองทุนด้วย และแบ่งกองทุนวายุภักษ์ออกเป็น 2 กองทุน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การลงทุนเป้าหมายการระดมทุน และการกำหนดนโยบายปันผล เป็นดังนี้
กองทุนรวมวายุภักษ์ 1 จะลงทุนในหลักทรัพย์ของสภาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่กระทรวงการคลังถืออยู่ ซึ่งประเภทของหลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้แก่ หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร ใบสำคัญแสดงสิทธิ ตราสารอนุพันธ์อื่น ส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน กำหนดเงินปันผลที่แน่นอนไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีของธนาคารพาณิชย์บวกส่วนเพิ่มไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 สำหรับการรับซื้อหุ้นคืนจากกองทุนรวม กระทรวงการคลังมีสัญญารับซื้อหุ้นคืนที่แน่นอนในราคาที่ขายบวกด้วยดอกเบี้ยและค่าบริหารจัดการ เท่ากับเป็นการประกันเงินต้นของกองทุนรวม
สำหรับเป้าหมายของ กองทุนรวมวายุภักษ์ 1 คือ นักลงทุนรายย่อยและประชาชนทั่วไป ขณะที่สิทธิการโอนเปลี่ยนมือ เนื่องจากจะมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สามารถซื้อขายในตลาดรองได้
ด้านกองทุนรวมวายุภักษ์ 2 ลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่จะแปรสภาพหุ้นเพิ่มทุนตามสิทธิ หรือสิทธิเรียกร้องที่กระทรสงการคลังอาจมีในอนาคต ประเภทของหลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้แก่ หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร ใบสำคัญแสดงสิทธิ ตราสารอนุพันธ์อื่น ส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน กำหนดเงินปันผลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยหนังสือชี้ชวนโดยไม่มีการรับประกันขั้นต่ำทั้งเงินต้นและผลตอบแทน สำหรับการรับซื้อหุ้นคืนจากกองทุนรวม กระทรวงการคลังมีสิทธิรับซื้อหุ้นก่อนผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นในราคาที่จะตกลงกันโดยอิงราคาตลาด
สำหรับเป้าหมายของ กองทุนรวมวายุภักษ์ 2 คือ นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนทั่วไปที่ต้องลงทุนขั้นต่ำตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น นักลงทุนสถาบัน หรือ นักลงทุนรายใหญ่ไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป นักลงทุนรายย่อยหรือบุคคลธรรมดาไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท เป็นต้น และสิทธิการโอนเปลี่ยนมือ เนื่องจากจะมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สามารถซื้อขายในตลาดรองได้
รูปแบบกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง
ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2546 กระทรวงการคลังได้ทำ หนังสือด่วนมากถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อรายงาน สรปุรูปแบบโครงสร้างกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง และแผนงานการจัดตั้ง กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง โดยระบุว่า คณะกรรมการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ที่กระทรวงการคลังแต่งตั้ง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ได้ดำเนินการตามนัยมติดณะรัฐมนตรีทั้งสองครั้ง และได้ กำหนดรูปแบบโครงสร้างของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง โดยได้ดำเนินการขอจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และได้ดัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินผู้จัดการกองทุน ตัวแทนสนับสนุนการจำหน่าย ผู้ดูแลผลประโยชน์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางกฎหมาย และที่ปรึกษางานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยพร้อมที่จะเปิดดำเนินการขายในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 ตามกำหนดการที่ได้เสนอไว้ต่อคณะรัฐมนตรี หลักเกณฑ์สำคัญ ของกองทุนรวมเป็นไปตามกรอบนโยบาย หลักการ และเงื่อนไขที่ได้รับอนมัติจากณะรัฐมนตรี แต่มีสาระสำคัญและหลักบางประการที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับประกาศ ก.ล.ต.กรอบแนวปฏิบัติทางบัญชี และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องบางประการ ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพิ่มเติม
โดยสรุปรูปแบบโครงสร้างของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ตามที่เอกสารประกอบหนังสือเสนอครม.วันที่ 10 ตุลาคม 2546 ก็คือ เป็นกองทุนรวมประเภทกองทุนปิด อายุโครงการ 10 ปี แต่หน่วยลงทุนสามารถซื้อขายได้ใน ตลาดรอง โดยขายผ่านตัวแทนการขายและรับซื้อหน่วยลงทุน (Market Maker) ในระยะแรกและ/หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังจากเสร็จสิ้นการจำหน่ายไปแล้วระยะหนึ่ง และเป็นกองทุนรวมผสมแบบยึดหยุ่น ซึ่งสามารถลงทุนได้ทั้งในตราสารหนี้ และตราสารทุน โดยวงเงินรวมเบื้องต้น 100,000 ล้านบาท
สำหรับประเภทผู้ถือหน่วยลงทุน กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้แก่ นักลงทุนทั่วไป ซึ่งจะถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง และ ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ได้แก่ กระทรวงการคลัง ซึ่งจะถือหน่วยลงทุนไม่เกิน 1 ใน 3 ของหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง
ส่วนนโยบายการลงทุน กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จะทำการลงทุนในหลักทรัพย์ของสถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งรัฐวิสาหกิจที่จะแปรสภาพ หุ้นตามสิทธิเรียกร้องของรัฐที่มอบให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลงทุนไปก่อน หุ้นเพิ่มทุนตามสิทธิ หรือสิทธิเรียกร้องอื่นใดที่กระทรวงการคลังอาจมีในอนาคต โดยให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง กันสำรองเงินลงทุนบางส่วนเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มเติมตามสิทธิในอนาคตอันเกิดจากหลักทรัพย์ที่กองทุนเป็นเจ้าของ และเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่จะแปรสภาพในอนาคต สำหรับวงเงินที่จะกันสำรองจะต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินรวมของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่ได้นำเงินไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้กองทุนสามารถลงทุนในตราสารทางการเงินของรัฐอาทิ ตั๋วเงิน พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นบุริมสิทธิ หรือตราสารทางการเงินอื่นๆ ของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินอื่นที่เหมาะสม รวมทั้งการเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน
นอกจากนี้ยังมีการคุ้มครองเงินลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. โดยผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. จะได้รับเงินลงทุนคืนเมื่อครบอายุโครงการ ในจำนวนไม่ต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน และได้รับการคุ้มครองอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำอย่างน้อยร้อยละ3 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. อาจมีความเสี่ยงในเรื่องการได้รับความคุ้มครองเงินลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำ หากไม่ได้ถือครองหน่วยลงทุนตั้งแต่การเสนอขายครั้งแรกไปจนครบ 10 ปี ตามอายุโครงการ โดยการคุ้มครองเงินลงทุนและผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. สามารถกระทำได้ดังนี้
-
(1) ซื้อหลักทรัพย์จากกระทรวงการคลังในราคาที่จะทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับการคุ้มครองเงินลงทุนและผลตอบแทนชั้นต่ำตามที่กำหนดไว้
(2) กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีสิทธิขายกองทรัพย์สินให้แก่กระทรวงการคลัง (Put Option)ในปีที่ 10 โดยจะสามารถใช้สิทธิได้ เฉพาะกรณีที่ ณ วันเริ่มใช้สิทธิ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ต่ำกว่ามูลค่าเงินลงทุนเริ่มต้นของผู้ถือหน่วยลงทุนประเภทก. หรืออัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีตลอดอายุโครงการของผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก.ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี ทั้งนี้ กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จะขายกองทรัพย์สินให้แก่กระทรวงการคลังในราคาที่ทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับการคุ้มครองเงินลงทุนและอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ เท่ากับ ร้อยละ 3 ต่อปี
(3) กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับเงินคืนจากการเลิกกองทุนก่อน
ส่วนการรักษาสิทธิของกระทรวงการคลัง
-
(1) กระทรวงการคลังมีสิทธิที่จะซื้อกองทรัพย์สินจากกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง (Call Option)โดยจะใช้สิทธิในการซื้อกองทรัพย์สินได้เฉพาะกรณีที่ ณ วันเริ่มไร้สิทธิ มูลค่ากองทรัพย์สินสูงกว่าหรือเท่ากับราคาใช้สิทธิชื่อ ในราคาที่ทำให้อัตราผลตอบแทนของนักลงทุนทั่วไปอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ได้รับการแบ่งผลตอบแทนส่วนเกินในสัดส่วนที่สูงกว่า ทั้งนี้ การตัดสินใจใช้สิทธิดังกล่าวขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกระทรวงการคลัง
(2) ในกรณีที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีความประสงค์ที่จะขายหลักทรัพย์โดๆ ที่ซื้อจากกระทรวงการคลัง รวมทั้งหลักทรัพย์ที่ได้มาตามสิทธิอันเกิดจากหลักทรัพย์ดังกล่าวกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ต้องเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังก่อน(First Right of Offer)
ทางด้านการแบ่งปันผลประโยชน์กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จะบริหารจัดการเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ซึ่งได้แก่ นักลงทุนทั่วไป ได้รับเงินปันผลจนครบตามอัตราผลตอบแทนชั้นต่ำ เท่ากับ ร้อยละ 3 ต่อปี หลังจากนั้น ถ้ามีผลตอบแทนเหลือ จะทำการสำรองเงินเงินเพื่อจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำในอนาคตให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. จนมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าผลตอบแทนขั้นต่ำสำสำหรับจำนวนปีที่เหลืออยู่จนถึงสิ้นสุดอายุโครงการ
นอกจากนี้ หากมีผลตอบแทนเหลือจากการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก.จนครบตามอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ และสำรองเงินเพื่อจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ครบแล้ว กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีนโยบายที่จะแบ่ง
ผลประโยชน์ส่วนเกินระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก.และประเภท ข.(กระทรวงการคลัง) ดังต่อไปนี้

สำหรับการจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง กระทรวงการคลังได้ลงนามในสัญญาแต่งตั้งให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด(มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ในรูปผู้จัดการร่วม (Co-Manager) วันที่ 7 พฤศจิกายน 2546 โดยให้ได้รับค่าธรรมเนียมการจัดการในอัตราที่เท่าๆ กัน โดยมีอายุสัญญา 2 ปี โดยมีการประเมินผลและหากเป็นที่พอใจ ก็อาจต่อสัญญาได้เป็นปีต่อปี แต่หากมีการขยายขนาดของกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง ก็อาจพิจารณาแต่งตั้งเพิ่มเติม หรือกำหนดส่วนแบ่งใหม่ตามความเหมาะสม
นอกจากนี้จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน (ivestment Commitee) ของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ที่ทางการเป็นผู้แต่งตั้ง รวมทั้งการจัดตั้งสำนักงานกองทุนรวมวายุภักษ์ เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง แต่เป็นองค์กรเอกเทศ และมีคณะกรรมการกำกับสำนักงาน
โดยคิดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานจากกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ตามวงเงินและวิธีการที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน
ระดมทุนได้ 1 แสนล้านบาทเต็มวงเงิน
วันที่ 19 ธันวาคม 2546 กระทรวงการคลังได้ส่งหนังสือ รายงานผลการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่งต่อคณะรัฐมนตรี โดยระบุว่า จากการที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอ็ฟซี จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้แจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ประชาชนที่สนใจทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2546 หลังได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ด. เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 นั้น ปรากฏว่าได้มีประชาชนให้ความสนใจขอรับหนังสือชี้ชวนเป็นจำนวนมาก ทำให้หนังสือชี้ชวนที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอแจกจ่ายในบางสาขาของธนาคาร
พาณิชย์
สำหรับผลการจำหน่ายหน่วยลงทุน ตามที่ได้เปิดให้ผู้สนใจลงทุนจองซื้อหน่วยลงทุนได้ ระหว่างวันที่ 11 – 24 พฤศจิกายน 2546 ผ่านธนาคารพาณิชย์ไทย 5 แห่ง เป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุน ได้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) นั้น เพียงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 ได้มีผู้จองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เต็มจำนวน 70,000 ล้านบาท

หลังจากที่ใด้มีผู้จองซื้อหน่วยลงทุนครบเต็มจำนวน 70,000 ล้านบาทแล้ว สำนักงานคณะกรรมการ กลด. ก็ได้รับรองการจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการเป็นกองทุนรวมตามพระระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 และในวันเดียวกันนี้กระทรวงการคลังได้ลงนามในสัญญาขายกองทรัพย์สินของกระทรวงการคลังให้แก่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง โดยกอง
ทรัพย์สินดังกล่าวประกอบด้วย

ราคาซื้อขายกองทรัพย์สินดังกล่าวได้ใช้ราคา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2546 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการจัดตั้งกองทุนรวมวายภักษ์ มีมติอนุมัติรายชื่อหลักทรัพย์ที่เสนอขาย เป็นราคาในการกำหนดราคาซื้อขาย โดยกองทรัพย์สินมีมูลค่าตามราคาตลาดรวมเท่ากับ 85,000 ล้านบาท และกระทรวงการคลังได้ตกลงขายกองทรัพย์สินดังกล่าวให้กับกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ในราคาเท่ากับ 70,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนลดประมาณร้อยละ 17.65 ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้กองทุนรวมวายภักษ์ หนึ่ง มีผลตอบแทนในรูปเงินปันผลเพียงพอที่จะจำยอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนประเภทนักลงทุนทั่วไป ซึ่ง ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2546อันเป็นวันที่กองทุนได้ซื้อกองทรัพย์สินจากกระทรวงการคลัง กองทุนมีกำไรจากการลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจำนวนประมาณ 25,000 ล้านบาท และได้ตั้งสำรองเงินปันผลขั้นต่ำตลอดอายุกองทุน 10 ปี เป็นจำนวน 21,000 ล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กระทรวงการคลังและกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่งยังได้ร่วมกันลงนามในสัญญาให้สิทธิในการขายกองทรัพย์สิน (Put Option) และสัญญาให้สิทธิในการซื้อกองทรัพย์สิน (Call Opion) ซึ่งเมื่อครบกำหนดอายุโครงการในปีที่ 10 แล้ว หากเงื่อนไขการใช้สิทธิดังกล่าวอย่างใด
อย่างหนึ่งเกิดขึ้น กระทรวงการคลังจะดำเนินการซื้อกองทรัพย์สินตามราคาใช้สิทธิ ซึ่งใช้ราคาขายกองทรัพย์สินเริ่มแรกเป็นฐานในการคำนวณตามสูตรที่กำหนด ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักการคุ้มครองเงินลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 กระทรวงการคลังได้นำเงินที่ได้จากการขายกองทรัพย์สินให้แก่กองทุนรวมวายภักษ์ หนึ่ง จำนวน 30,000 ล้านบาท เข้าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนดังกล่าว ดามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ทำให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีวงเงินกองทุนครบจำนวน 100,000 ล้านบาท
กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้ประกาศมูลค่าสินทรัพย์สุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนครั้งแรกประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2546 ว่ามีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเท่ากับ 124,073,163,090.23 บาท คิดเป็นมูลค่าต่อหน่วยลงทุนเท่ากับ 12.4073 บาทต่อหน่วย โดยหากคำนวณดามสิทธิและเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน มูลค่าหน่วยลงทุนของนักลงทุนทั่วไป (ประเภท ก.) จะเท่ากับ 10.6250 บาทต่อหน่วย และมูลค่าต่อหน่วยลงทุนของกระทรวงการคลัง(ประเภท ข.) จะเท่ากับ 16.5659 บาทต่อหน่วย
คณะกรรมการการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการคลัง 3 คน และผู้แทนจากบริษัทจัดการแห่งละ 1 คน ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล งวดที่ 1 ในปลายเดือนมกราคม 2547 ในอัตรา 0.30 บาท (30 สดางค์) ต่อหน่วย
ต่อมาคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้อนุมัติรับกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 7,000 ล้านหน่วย มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10 บาท รวม 70,000 ล้านบาท เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน และเริ่มซื้อขายในหมวดหน่วยลงทุนได้ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป โดยใช้ชื่อย่อว่า “VAYU1”
ปี 2556 แปรสภาพขยายระยะเวลา
วันที่ 15 สิงหาคม 2556 กระทรวงการคลังโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการได้เสนอครม.ให้แปรสภาพกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง โดยให้ขยายระยะเวลาสิ้นสุดของกองทุนในเดือนพฤศจิกายน 2556 ออกไป หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 ให้มีการเตรียมการด้านการเงินเพื่อลงทุนในระบบบริหารจัดการน้ำและการลงทุนเพื่อสร้างอนาคตประเทศเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับหลักการทางด้านวินัยด้านการเงินการคลัง ความเชื่อมั่นต่อสถาบันการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งเห็นชอบในหลักการให้ขยายการดำเนินการของกองทุนฯ เพื่อเพิ่มความสามารถของรัฐวิสาหกิจในการระดมทุนเพื่อการลงทุน และลดภาระหนี้สาธารณะของรัฐวิสาหกิจ
หนังสือกระทรวงการคลังระบุว่า กองทุนฯ มีส่วนในการสนับสนุนการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐและการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนมาโดยตลอด โดยผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 กองทุนฯ มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนฯ ไม่รวมมูลค่า Put/Call Options เท่ากับ 380,354 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากเมื่อจัดตั้งกองทุนฯ เฉลี่ยร้อยละ 14.96 ต่อปี ส่วนมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนฯ เมื่อรวมมูลค่า Put/Call Options เท่ากับ 187,014 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากเมื่อจัดตั้งกองทุนฯ เฉลี่ยร้อยละ 6.75 ต่อปี อัตราเงินปันผลจ่าย (ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนฯ จนถึงสิ้นปี 2555) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.82 ต่อปี และอัตราเงินปันผลจ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.82 ต่อปี
ส่วนบทบาทของกองทุนฯ ในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐและพัฒนาตลาดทุน ได้แก่ สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงการคลังในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) โดยได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ บกท. ตามสิทธิของกองทุนฯ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเพิ่มทุนในส่วนของกระทรวงการคลัง โดยได้ซื้อหุ้น บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อให้กระทรวงการคลังนำเงินจำนวนดังกล่าวมาใช้ในการซื้อหุ้น บกท. ตามสิทธิเพิ่มทุนของกระทรวงการคลังทำให้สามารถลดภาระในการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินการดังกล่าวของภาครัฐ
และมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด(มหาชน) หรือทีพีไอ (ปัจจุบันคือบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงินหลังจากการลอยตัวค่าเงินบาท โดยกระทรวงการคลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอซึ่งกองทุนฯ ได้เข้าร่วมเป็นผู้ลงทุนหลักในบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
ภายหลังจากการแปรสภาพ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ ในการลงทุนและบริหารการการลงทุนของกองทุนฯ ในลักษณะการลงทุนเชิงรุก (Active Portfolio Management) ได้มากขึ้น ดังนี้
-
1) บริหารจัดการหลักทรัพย์ที่รัฐถือครองอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนในระยะยาวและมั่นคง
2) ลงทุนในกิจการที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศในเชิงเศรษฐกิจและจำเป็นต้องการการส่งเสริมจากภาครัฐ เพื่อลดภาระของรัฐในการจัดสรรเงินงบประมาณ
3) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศ และเพิ่มทางเลือกในการออมและการลงทุนให้แก่ประชาชน
สำหรับลักษณะของกองทุนหลังแปรสภาพ มีดังนี้

หลังการแปรสภาพ เมื่อกองทุนฯ พิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็น และเหมาะสมที่จะระดมทุนจากนักลงทุนทั่วไป นักลงทุนเป้าหมายจะประกอบไปด้วยนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบัน ซึ่งรวมถึงนักลงทุนภาครัฐด้วย ขณะที่กระทรวงการคลังทำหน้าที่กำหนดกรอบการลงทุนของกองทุนฯ ภายหลังการแปรสภาพโดยคำนึงถึงการลงทุนและบริหารการลงทุนในลักษณะการลงทุนเชิงรุก (Active Portfolio Management) เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ภายหลังการแปรสภาพ และกฎเกณฑ์และระเบียบของ ก.ล.ต.
คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบวันที่ 27 สิงหาคม 2556 ให้แปรสภาพกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เพื่อเพิ่มความสามารถของรัฐวิสาหกิจในการระดมทุนเพื่อการลงทุน และลดภาระหนี้สาธารณะของรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีส่วนในการสนับสนุนการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐ และพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนมาโดยตลอด นอกจากนี้ กระทรวงการคลังมีความจำเป็นในการพัฒนาเครื่องมือในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐ เพื่อลดปัญหาพิจารณาและข้อจำกัดในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐของกระทรวงการคลัง และกองทุนฯ ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะการลงทุนเชิงรับ
ทั้งนี้การแปรสภาพกองทุนฯให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนกองทุนฯครบกำหนดอายุโครงการ 10 ปี ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 โดยมอบหมายให้ กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาดำเนินการแปรสภาพกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง และประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง แปรสภาพเป็นกองทุนเปิด วันที่ 1 ธันวาคม 2556 โดยกระทรวงการคลังทําการจองซื้อหน่วยลงทุน ประเภท ข. ที่ออกใหม่ โดยชําระค่าหน่วยลงทุนประเภท ข. ด้วยกองทรัพย์สินที่กระทรวงการคลังได้รับภายหลังจากการใช้สิทธิและชําระราคาใช้สิทธิซื้อกองทรัพย์สินจากกองทุนรวมตามสัญญาให้สิทธิในการซื้อกองทรัพย์สิน(“Call Option”) ทั้งนี้บริษัทจัดการกําหนดให้วันที่ 2 ธันวาคม 2556 เป็นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนประเภท ข. ที่ออกใหม่ และดําเนินการเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนประเภท ข. และจัดสรรให้กระทรวงการคลัง ในวันที่ 3 ธันวาคม 2556 โดยจํานวนหน่วยลงทุนประเภท ข. ที่ออกใหม่ที่กระทรวงการคลังได้รับเท่ากับมูลค่ากองทรัพย์สินที่ใช้ชําระราคาค่าหน่วยลงทุนประเภท ข. คํานวณโดยใช้ราคาปิด ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 บวกผลประโยชน์ของ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2556หารด้วยมูลค่าหน่วยลงทุนประเภท ข. ตามราคาหน่วยลงทุนตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2556 และหน่วยลงทุนประเภท ข. ที่กระทรวงการคลังถืออยู่เดิมก่อนการแปรสภาพกองทุน โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของหน่วยลงทุนตั้งต้นภายหลังการแปรสภาพ ตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของหน่วยลงทุนประเภท ข. ที่กระทรวงการคลังถืออยู่ทั้งหมด ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งเป็นวันครบอายุโครงการก่อนการแปรสภาพกองทุนรวม
กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ยังใช้ชื่อว่า กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง และชื่อย่อ VAYU1 ในการซื้อขายหลังแปรสภาพ มีลักษณะเป็นกองทุนรวมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐ จํานวนเงินทุนของโครงการ 500,000 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย 10.00 บาท จํานวนหน่วยลงทุน 50,000 ล้านหน่วย ราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขายครั้งแรก 10.00 บาท มีนโยบายการลงทุนแบบผสม โดยลงทุนทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ แต่ไม่กําหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนและการลงทุนตราสารหนี้ ส่วนกลยุทธ์การบริหารกองทุน (Management Style) มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (active management) และมีลักษณะการจ่ายผลตอบแทนของกองทุน แบบไม่ซับซ้อน
กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในลักษณะการลงทุนเชิงรุก (Active Portfolio Management) โดยแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
-
(1) หลักทรัพย์สภาพคล่อง อาทิตราสารภาครัฐ ตราสารหนี้ระยะสั้น ตราสารการเงิน หรือตราสารที่เทียบเท่าเงินฝาก ที่เสนอขายทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนเงินฝาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดําเนินงาน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
(2) หลักทรัพย์เชิงรุก อาทิหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้แก่ ตราสารทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET50 และ SET100) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รวมถึง การลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้จะบริหารในลักษณะเชิงรุกเพื่อมุ่งสร้างผลตอบแทนที่ดีและมั่นคงตามกรอบการลงทุนของคณะกรรมการกํากับการดําเนินงานกองทุนรวมวายุภักษ์เพื่อให้กองทุนรวมได้รับผลตอบแทนที่ดีและมั่นคงในระยะยาว แบ่งเป็น
(3) หลักทรัพย์อื่น อาทิหลักทรัพย์ของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Unlisted Securities) ตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non – Investment Grade) และ/หรือตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities) โดยจะมีสัดส่วนการลงทุนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือจํานวนสูงสุด
ตามที่หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด
ล่าสุด ข้อมูลจาก Settrade ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2567 กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ภายใต้การจัดการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)กรุงไทย ลงทุนในหุ้น 88.64% พันธบัตรรัฐบาล 7.88% เงินฝากธนาคารP/Nและ B/E 2.35% ที่เหลือเป็นหุ้นกู้ หน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิ


สำหรับสินทรัพย์ที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด(มหาชน), ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต, ธนาคารกรุงไทยและ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
มูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันที่ 09 สิงหาคม 2567 อยู่ที่ 44.4315 บาท