เจาะงบฯลอยกระทงปี’67 ทั่วประเทศ 9,713 โครงการ วงเงินรวม 434 ล้านบาท 99.84% จ้างแบบเฉพาะเจาะจง – ททท.ใช้เงินมากสุด 9.9 ล้านบาท – น้อยสุด 9,000 บาท ส่วนใหญ่จ้างทำอีเวนต์ – เช่าอุปกรณ์ – ท็อป 5 จังหวัด ใช้งบฯมากสุด ได้แก่ สุโขทัย นนทบุรี กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และนครราชสีมา
ในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) ภาครัฐ-หน่วยงานรัฐ ใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาล ‘ลอยกระทง’ ทั้งสิ้น 434,729,909.28 บาท กับทั้งหมด 9,713 โครงการ โดยแบ่งเป็น วิธีการเฉพาะเจาะจง 9,697 โครงการ คิดเป็น 99.84% วิธีการคัดเลือก 5 โครงการ คิดเป็น 0.05% และวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) 11 โครงการ คิดเป็น 0.11%
สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า สืบค้นข้อมูลการใช้งบประมาณโดยใช้คีย์เวิร์ด ‘ลอยกระทง’ พบว่า รูปแบบการใช้งบประมาณส่วนใหญ่หมดไปกับการจัด ‘กิจกรรม’ และอีเวนต์ตามพื้นที่ต่างๆ มีค่าจ้างตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนถึงเกือบสิบล้านบาท
5 โครงการ งบลอยกระทงสูงสุด
โครงการที่ใช้งบประมาณสูงสุด 5 ลำดับแรก ดังนี้
- 9,960,000 บาท – จ้างจัดกิจกรรม สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง ปี 2566 แบบคืนวัสดุพร้อมรื้อถอน โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) – วิธีการคัดเลือก
- 7,985,000 บาท – จ้างจัดกิจกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในตลาดชุมชนเทศกาลลอยกระทงและเทศกาลปีใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก โดยกรมการค้าภายใน – วิธีการคัดเลือก
- 7,400,000 บาท – จ้างเหมาตกแต่งไฟประดับถนนท่าแพ ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ประเพณียี่เป็ง เชียงใหม่ โดยเทศบาลนครเชียงใหม่ – วิธีการเฉพาะเจาะจง
- 4,882,300 บาท – จ้างประชาสัมพันธ์การจัดงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2566 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย – วิธีการ E-Bidding
- 4,840,000 บาท จ้างโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ งานลอยกระทงจังหวัดสมุทรปราการ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ – วิธีการ E-Bidding
ต่ำสุด 9,000 บาท – ท้องถิ่นจ้างเช่าอุปกรณ์มากสุด
ส่วนโครงการที่ใช้เม็ดเงินต่ำสุดอยู่ที่ 9,000 บาท จำนวน 107 โครงการ และเมื่อแบ่งเป็นช่วงการใช้งบประมาณ รายละเอียด ดังนี้
- 9,000 – 9,999 บาท จำนวน 321 โครงการ
- 10,000 – 29,999 บาท จำนวน 5,499 โครงการ
- 30,000 – 49,999 บาท จำนวน 2,050 โครงการ
- 50,000 – 69,999 บาท จำนวน 753 โครงการ
- 70,000 – 89,999 บาท จำนวน 338 โครงการ
- 90,000 – 99,999 บาท จำนวน 160 โครงการ
- 100,000 – 999,999 บาท จำนวน 576 โครงการ
- 1,000,000 – 2,999,999 บาท จำนวน 9 โครงการ
- 3,000,000 – 4,999,999 บาท จำนวน 4 โครงการ
- 5,000,000 – 6,999,999 บาท จำนวน 0 โครงการ
- มากกว่า 7,000,000 บาท จำนวน 3 โครงการ
‘เทศบาล-อบต.’ทะลุ 9,000 โครงการ
อย่างไรก็ตาม แพทเทิร์นการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินโครงการ ไม่ว่าจะเป็น อบต. อบจ. หรือเทศบาล ซึ่งมักจะใช้กับสำหรับการเช่าอุปกรณ์ต่างๆ นานา เช่น ไฟส่องสว่าง เครื่องปั่นไฟ เครื่องเสียง รถกระจายเสียง สายสะพายและโบว์นางงาม ถ้วยรางวัล เต๊นท์ผ้าใบ เก้าอี้ โต๊ะ พลุ ดอกไม้ไฟ เครื่องเล่นบ้านลม ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายไวนิล ฯลฯ ซึ่งมักจะอยู่ในช่วงงบประมาณตั้งแต่ 9,000 บาท ไปจนถึงเกือบ 1,000,000 บาท
‘เทศบาล’ มีการใช้งบทั้งหมด 4,620 โครงการ โดยเทศบาลมักจะดำเนินโครงการมากกว่า 1 โครงการ และมากสุด 15 โครงการต่อปีงบประมาณ ถัดมาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั้งหมด 4,484 โครงการ และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั้งหมด 134 โครงการ
ขณะที่การใช้งบจากหน่วยงานส่วนกลาง พบว่า ‘สำนักงานปลัด’ เป็นหน่วยงานที่ดำเนินโครงการมากที่สุด ตัวอย่าง เช่น
- สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 โครงการ งบประมาณรวม 7,530,300 บาท
- สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 23 โครงการ งบประมาณรวม 2,782,500 บาท
- สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬฬา จำนวน 5 โครงการ งบประมาณรวม 249,998 บาท
- สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 11 โครงการ งบประมาณรวม 134,634 บาท
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 1 โครงการ งบประมาณรวม 9,960,000 บาท, กรมการค้าภายใน 1 โครงการ – 7,985,000 บาท, กรุงเทพมหานคร จำนวน 8 โครงการ งบประมาณรวม 5,082,890 บาท, กรมการปกครอง 41 โครงการ – 3,394,575 บาท
จังหวัดไหนใช้งบฯลอยกระทงมากสุด
เมื่อจำแนกการใช้งบประมาณตามจังหวัด พบข้อมูล ดังนี้
- สุโขทัย 22,324,892 บาท – 143 โครงการ
- นนทบุรี 20,495,177.42 บาท – 122 โครงการ
- กรุงเทพมหานคร 19,287,892 บาท – 31 โครงการ
- เชียงใหม่ 17,691,605 บาท – 180 โครงการ
- นครราชสีมา 16,476,591.52 บาท – 457 โครงการ
- ชลบุรี 14,754,130.92 บาท – 242 โครงการ
- ระยอง 14,146,296.13 บาท – 189 โครงการ
- ปทุมธานี 13,281,468.51 บาท – 172 โครงการ
- ขอนแก่น 12,561,268 บาท – 323 โครงการ
- สมุทรปราการ 12,252,476.54 บาท – 123 โครงการ
- สุราษฎร์ธานี 11,588,872.99 บาท – 227 โครงการ
- ตาก 11,420,680.85 บาท – 197 โครงการ
- นครศรีธรรมราช 10,459,674.82 บาท – 290 โครงการ
- สงขลา 8,522,027.16 บาท – 201 โครงการ
- ฉะเชิงเทรา 8,273,251.19 บาท – 196 โครงการ
- พระนครศรีอยุธยา 8,169,672.05 บาท – 177 โครงการ
- สระบุรี 8,041,612.70 บาท – 227 โครงการ
- บุรีรัมย์ 7,651,765.89 บาท – 210 โครงการ
- สุพรรณบุรี 7,086,125 บาท – 98 โครงการ
- ลพบุรี 6,859,091.76 บาท – 177 โครงการ
- อุบลราชธานี 6,062,807 บาท – 240 โครงการ
- ราชบุรี 5,931,426.91 บาท – 163 โครงการ
- อุดรธานี 5,863,157 บาท – 225 โครงการ
- ศรีสะเกษ 5,837,462 บาท – 219 โครงการ
- กาฬสินธุ์ 5,686,441.80 บาท – 226 โครงการ
- ลำปาง 5,678,782.68 บาท – 158 โครงการ
- ชัยภูมิ 5,629,605.18 บาท – 226 โครงการ
- สุรินทร์ 5,541,128.81 บาท – 199 โครงการ
- หนองคาย 5,408,860 บาท – 138 โครงการ
- เชียงราย 5,289,909,90 บาท – 153 โครงการ
- นครปฐม 5,129,002.46 บาท – 126 โครงการ
- ภูเก็ต 4,832,924.90 บาท – 69 โครงการ
- กาญจนบุรี 4,762,410 บาท – 159 โครงการ
- สกลนคร 4,755,017 บาท – 143 โครงการ
- จันทบุรี 4,650,890.50 บาท – 100 โครงการ
- มหาสารคาม 4,646,460.40 บาท – 187 โครงการ
- ตรัง 4,395,863 บาท – 151 โครงการ
- ร้อยเอ็ด 4,334,142 บาท – 197 โครงการ
- แพร่ 4,236,628 บาท – 95 โครงการ
- ชุมพร 4,199,914.43 บาท – 140 โครงการ
- ปราจีนบุรี 4,086,287.20 บาท – 112 โครงการ
- พิษณุโลก 3,993,491 บาท – 111 โครงการ
- เพชรบูรณ์ 3,856,853.93 บาท – 141 โครงการ
- นครสวรรค์ 3,831,818.47 บาท – 103 โครงการ
- สระแก้ว 3,504,723 บาท – 108 โครงการ
- อุตรดิตถ์ 3,484,600 บาท – 92 โครงการ
- ประจวบคีรีขันธ์ 3,437,832.50 บาท – 84 โครงการ
- พะเยา 3,150,453 บาท – 77 โครงการ
- เลย 3,112,456 บาท – 99 โครงการ
- กำแพงเพชร 3,023,271 บาท – 108 โครงการ
- พิจิตร 2,851,502.50 บาท – 100 โครงการ
- นครพนม 2,811,834.14 บาท – 90 โครงการ
- กระบี่ 2,655,876 บาท – 81 โครงการ
- พัทลุง 2,467,020.80 บาท – 71 โครงการ
- ลำพูน 2,345,453.55 บาท – 64 โครงการ
- อุทัยธานี 2,311,315 บาท – 63 โครงการ
- เพชรบุรี 2,282,024 บาท – 76 โครงการ
- พังงา 2,227,172.40 บาท – 69 โครงการ
- สิงห์บุรี 2,083,881 บาท – 58 โครงการ
- สมุทรสาคร 1,968,422 บาท – 44 โครงการ
- มุกดาหาร 1,866,490 บาท – 50 โครงการ
- อำนาจเจริญ 1,840,868 บาท – 64 โครงการ
- สตูล 1,645,937 บาท – 32 โครงการ
- ยโสธร 1,589,909 บาท – 77 โครงการ
- บึงกาฬ 1,550,703 บาท – 50 โครงการ
- นครนายก 1,346,284.50 บาท – 45 โครงการ
- แม่ฮ่องสอน 1,322,400 บาท – 38 โครงการ
- หนองบัวลำภู 1,315,084 บาท – 39 โครงการ
- นราธิวาส 1,281,494 บาท – 46 โครงการ
- ตราด 1,180,548,30 บาท – 28 โครงการ
- ระนอง 1,162,005.87 บาท – 21 โครงการ
- น่าน 1,105,760 บาท – 36 โครงการ
- สมุทรสงคราม 1,039,305 บาท – 35 โครงการ
- ชัยนาท 816,215 บาท – 25 โครงการ
- ปัตตานี 726,461 บาท – 30 โครงการ
- ยะลา 645,411 บาท – 20 โครงการ
- อ่างทอง 591,950 บาท – 30 โครงการ