ThaiPublica > เกาะกระแส > กสศ.เปิดรายงานพิเศษ ความจริงและความเร่งด่วน สถานการณ์เด็กนอกระบบของไทย 1.02 ล้านคน

กสศ.เปิดรายงานพิเศษ ความจริงและความเร่งด่วน สถานการณ์เด็กนอกระบบของไทย 1.02 ล้านคน

1 มิถุนายน 2024


รายงานพิเศษความจริงและความเร่งด่วน ของสถานการณ์เด็กนอกระบบในประเทศไทย จัดทำขึ้นจากการประมวลงานวิจัย องค์ความรู้และข้อค้นพบในพื้นที่การทำงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับภาคีทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2562 – 2567 และเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันมาตรการขับเคลื่อนประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout)

โดยเมื่อวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ตามที่กสศ.เสนอ ใน 4 ประการ ดังนี้

    1. มาตรการค้นหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาผ่านการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การค้นพบเด็กและเยาวชน นอกระบบการศึกษา

    2. มาตรการติดตาม ช่วยเหลือ ส่งต่อ และดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ มีเป้าหมายเพ้อให้เกาความเหมาะสมในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนแต่ละราด่านการศึกษา สุขภาวะ พัฒนาการ สภาพความเป็นอยู่ และสภาพสังคม

    3. มาตรการจัดการศึกษาและเรียนรู้แบบยืดหยุ่น มีคุณภาพและเหมาะสมกับศักยภาพของเด็กและเยาวชนแต่ละราย มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาและพัฒนาเต็มศักยภาพของตนเอง

    4. มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษาหรือเรียนรู้ มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหรือการเรียนรู้ในลักษณะ Learn to Earn ให้เด็กและเยาวชนอายุ 15 – 18 ปี ได้พัฒนาทักษะการทำงานที่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน เหมาะสมตามศักยภาพและมีรายได้เสริมระหว่างการศึกษา

จากการทำ Data Cleansing เพื่อให้ประเทศไทยมีตัวเลขที่แท้จริงตั้งแต่ระดับประเทศ จังหวัด ท้องถิ่น ถึงระดับพื้นที่ที่เป็น จุดเริ่มต้น ของการติดตามช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาเป็นรายบุคคลอย่างเป็นทางการครั้งแรกของประเทศไทย โดยหลังจากที่นำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลในช่วงอายุ 3-18 ปี จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (เทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปิที่ 6) ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 12,200,105 คนไปวิเคราะห์กับข้อมูลรายบุคคลซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการรวบรวมจากหน่วยงานผู้จัดการศึกษาทุกสังกัด รวม 21 สังกัด ทั่วประเทศไทยจำนวน 11,174,591 คน พบว่ามีเด็กและเยาวชนในช่วงอายุ 3 – 18 ปี ที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 1,025,514 คน2 หรือร้อยละ 8.41 ของเด็กและเยาวชนอายุ 3-18 ปีทั้งหมด (12,200, 105 คน) ในจำนวนนี้อยู่ในช่วงวัยการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -มัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือช่วงอายุ 6 – 14 ปี) จำนวนทั้งสิ้น 394,039 คนคิดเป็นร้อยละ 38.42 ของเด็กและเยาวชนที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษา

หากจำแนกตามสภาพกลุ่มปัญหา จากตัวเลข 1,025,514 คนพบว่า มีเด็กและเยาวชนเลข 0 หรือ ไม่มีสถานะทางทะเบียนจำนวน 94,244 คน ส่วนใหญ่อยู่ในครัวเรือนที่มีการอพยพแรงงาน เช่น แคมป์ก่อสร้างและ ไร่สวนเกษตรกรรม หรือเกิดจากการตกสำรวจของรัฐเนื่องจากอาศัยในพื้นที่ห่างไกลแต่อยู่ในพรมแดนของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเด็กและเยาวชนพิการที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนรับสวัสดิการจากภาครัฐ ซึ่งที่ผ่านมา ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และยูนิเซฟ ประเทศไทย ปี 2565 ระบุว่า ประเทศไทยมีคนพิการที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน 57.4%

ความเร่งด่วนของปัญหา”วิกฤติเด็กนอกระบบ”ในประเทศไทย

หลังจากวิกฤติโควิด-19 สถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาและกลุ่มเสี่ยงที่จะหลุดของประเทศไทยปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกพื้นที่ สร้างความเสียหายแก่โอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในหลายมิติ ครอบครัวจำนวนหลายแสนครัวเรือนทั่วประเทศไทยยังคงมีโอกาสสูงที่จะยังติดอยู่ในกับดักความยากจน เนื่องจากลูกหลานของครอบครัวเหล่านี้ยังคงไม่สามารถสำเร็จการศึกษาที่สูงกว่ารุ่นพ่อแม่ต่อไปอีก 1 ชั่วคน ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยยังคงติดในกับดักประเทศรายได้ปานกลางต่อไปอีกหลายสิบปี และด้วยสถานการณ์ความท้าทายที่ประเทศไทยก้าวเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) และอัตราการเกิดใหม่ลดลงต่ำกว่าปีละ 500,000 คนแล้ว

ถ้าประเทศไทยสามารถยุติปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจนทำให้จำนวนเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษากลายเป็นศูนย์ได้ (Zero Dropout) จะส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 1.7 ของ GDP เนื่องมาจากรายได้ตลอดชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นของเด็ก และเยาวชนที่มีการศึกษาสูงขึ้น และยังสามารถป้องกันปัญหาสังคมอื่นๆ อันเป็นผลพวงมาจากความยากจนได้

เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและนำไปสู่การพัฒนานโยบาย/มาตรการแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กสศ.ได้พัฒนางานวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาข้อมูลของเด็กนอกระบบการศึกษาภายใต้ “โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา” ประกอบด้วยข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากองค์กรเครือข่ายทั้งสิ้น 67 องค์กร จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีจำนวนเด็กนอกระบบการศึกษาที่ให้ข้อมูลความต้องการ 35,003 คน ในจำนวนนี้เป็นเพศชาย21,220 คน เพศหญิง 13,498 คน ไม่ระบุ 285 คน

การวิเคราะห์จำนวนเด็กนอกระบบการศึกษาจำแนกตามสาเหตุของการออกนอกระบบการศึกษาพบว่า มีสาเหตุมาจากความยากจนมากที่สุด (ร้อยละ 46.70) รองลงมาคือ มีปัญหาครอบครัว (ร้อยละ 16.14) ออกกลางคัน/ถูกผลักออก (ร้อยละ 12.03) ไม่ได้รับสวัสดิการด้านการศึกษา (ร้อยละ 8.88) ปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 5.91)อยู่ในกระบวนการยุตุิธรรม (ร้อยละ 4.93) และได้รับความรุนแรง (ร้อยละ 3.63)

จากกรณีตัวอย่างของเด็กนอกระบบรายคน มีข้อค้นพบดังนี้

  • ปัจจัยการออกนอกระบบการศึกษา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเพียงเท่านั้น แต่รวมถึงปัญหาครอบครัวแตกแยก การใช้ความรุนแรง มีการย้ายถิ่นฐาน ทัศนคติของผู้ปคครองที่ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา ให้ทำงานหาเงิน ช่วยเหลือครอบครัวได้มากกว่า
  • ปัจจัยด้านพฤติกรรม และสุขภาวะของนักเรียน ขาดแรงจูงใจในการเรียน ขาดเรียนเป็นประจำ ผลการเรียนต่ำ ถูกบังคับและไม่ได้รับอิสรภาพในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆทำให้เกิดการต่อต้าน ไม่มีส่วนร่วมในการเรียน มีภาวะเสี่ยงที่เผชิญ ได้แก่ ยาเสพติดตั้งครรภ์ในวัยเรียน เด็กพิการหรือเจ็บป่วย มีข้อจำกัดทางร่างกายและข้อจำกัดทางการเรียนรู้
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ทั้งอิทธิพลของเพื่อนและชุมชน ถูกเพื่อนชักชวนไปในทางที่ผิด การตกเป็นเหยื่อของการถูกรังแกจากเพื่อน ถูกบูลลี่ ล้อเลียนจากเหตุผลต่างๆ เช่น เรื่องความยากจน ความพิการทางร่างกาย เด็กโตเกินกว่าที่กลับมาเรียนซ้ำชั้นเรียนกับรุ่นน้องและมักจะถูกล้อเลียน กดดันให้ออกจากระบบการศึกษาไปอีกการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการของรัฐด้านต่างๆ อิทธิพลจากสื่อสาธารณะ เหตุปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กออกกลางคันได้ในที่สุด
  • ปัจจัยด้านครูและสถานศึกษา พบว่า การที่เด็กมีทัศนคติไม่ดีต่อการเรียนโรงเรียนและครู มีส่วนสำคัญที่จะช่วยดึงเด็กไม่ให้หลุดออกไปจากการศึกษาทำให้เห็นประโยชน์ของการเรียน โดยมีสาเหตุ ดังนี้
      -การขาดการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง
      -หลักสูตรรายวิชาไม่ตอบโจทย์ชีวิต รวมถึงความหลากหลายของเด็ก มุ่งเน้นเรียนเพื่อแข่งขัน
      -ลักษณะของครูผู้สอน ทั้งการลงโทษ การใช้ความรุนแรงทั้งโดยวาจาและการกระทำ
      -ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น การบ้าน การส่งงาน
      -การไม่เข้าใจปัญหา ข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน เช่น การเรียนรู้ช้า อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
      -การขาดครูที่มีความรู้ ความเข้าใจเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางกายและจิตใจ

    เส้นทางชีวิตของเด็กและเยาวชนนอกระบบนั้น เต็มไปด้วยความเสี่ยง มีแนวโน้มว่าในจำนวนเด็กและเยาวชน 1.02 ล้านคน จำนวนมากกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษามีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่วงจรอันตราย 3 เรื่อง คือ 1) แรงงานรายได้ต่ำ เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ2) ค้าประเวณีโดยเฉพาะเด็กผู้หญิง และ 3) ยุวอาชญากรที่ตกอยู่ในวังวนยาเสพตืด และลักขโมย

    เมื่อวิเคราะห์จำนวนเด็กนอกระบบการศึกษาจำแนกตามระดับการศึกษาสูงสุดที่เคยได้รับพบว่า สวนใหญ่มีระดับการศึกษาสูงสุดที่เคยได้รับในระดับชััมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 24.25) ทั้งนี้มีเด็กนอกระบบที่ไม่เคยได้รับการศึกษาคิดเป็นร้อยละ 10.63 เด็กนอกระบบที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนและไม่มีเอกสารยืนยันตัวตนบุคคลส่วนใหญ่มีวิุฒิการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 30.73)

    ข้อมูล 1.02 ล้านชีวิต สะท้อนความจำเป็นในการแก้ปัญหาเชิงระบบ

    จากงานวิจัยสำรวจเชิงลึกและการทดลองโมเดลระดับพื้นที่่ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา กสศ.มีข้อเสนอการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศีกษาในเชิงระบบ และเป็นแนวทางที่จะสลายปมปัญหา ได้อย่างแท้จริง ดังนี้

    1.ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีคุณภาพ 1 ใน Game Changer ของการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา

    ความท้าทายของการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กนอกระบบการศึกษา มีโครงสร้างปัญหาและความต้องการที่ชับซ้อน อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ในสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่มีเจ้าภาพดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาอย่างชัดเจน แต่ละหน่วยงานจึงมีความพยายามในการสร้างฐานข้อมูลเฉพาะของตัวเองขึ้นมาเพื่อดำเนินงานตามภารกิจ

    มีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องพัฒนาระบบฐานข้อมูล สารสนเทศด้านเด็กนอกระบบการศึกษาที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจนเกิดเป็นเครือข่ายฐานข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเด็กนอกระบบการศึกษา การจำแนกกลุ่มปัญหา การค้นหาความต้องการของเด็ก นำไปสู่การสนับสนุนช่วยเหลือรายกรณีการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่เหมาะสม การติดตามเพื่อป้องกันการหลุดออกจากระบบซ้ำ รวมถึงการป้องกันการหลุดออกนอกระบบการศึกษาของเด็กในระบบการศึกษา (Prevention Model) ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลของเด็กในระบบการศึกษาที่มีความเสี่ยงต่อการออกจากระบบการศึกษามาใช้ในการทำนายและออกแบบการทำงานเชิงรุกด้วย

    ระบบฐานข้อมูลกลางจะช่วยให้การบริหารจัดการ การค้นหาและส่งต่อการช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการวิเคราะห์ฐานข้อมูลของแต่ละองค์กร เพื่อแบ่งบทบาทว่าแต่ละหน่วยงานควรเป็นเจ้าภาพหลักหรือเจ้าภาพร่วมในแต่ละส่วนงานอย่างไร เพื่อพัฒนาสู่การทำงานออกแบบนโยบายและกลไกการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กนอกระบบการศึกษา ได้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลาย และยังให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

    2.กลไกทำงานรูปแบบใหม่ในพื้นที่เพื่อการติดตาม ช่วยเหลือ ส่งต่อ และดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาเพราะวิกฤตปัญหาซับซ้อนหลายมิติ ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงต่อการออกนอกระบบการศึกษาที่เด็กต้องเผชิญในแต่ละบริบทสงผลให้ความต้องการในการได้รับความช่วยเหลือของเด็กแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป

    ท่ามกลางปัญหาและความต้องการที่ชับช้อน มากกว่าเรื่องการศึกษา จำเป็นต้องพัฒนากลไกใหม่เป็นตัวเชื่อมประสานการทำในพื้นที่ ทั้งนี้หน่วยงานรัฐมีกลไกที่สร้างขึ้นในการดำเนินงานระดับพื้นที่อยู่แล้วเช่น คณะกรรมการคุ้มครองเด็กระดับจังหวัด คณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด คณะกรรมการสหวิชาชีพระดับจังหวัด สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด ตลอดจนมีหน่วยงานที่ดูแลกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัว สกร.อำเภอ สกร.ตำบล รวมทั้งองค์กรเอกชนในพื้นที่ แต่อาจไม่ได้มีการทำงานร่วมกันในเชิงเสริมแรงกัน การพัฒนาให้มีกลไกเชื่อมประสานที่เสริมพลังกัน จะช่วยหนุนเสริมกระบวนการทำงานของหน่วยงานรัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนรายกรณีทั้งด้านการศึกษา สุขภาวะ พัฒนาการ สภาพความเป็นอยู่ และสภาพสังคม

    ตัวอย่างกลไกใหม่

  • ช่วยเหลือ ดูแล และส่งต่อเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาด้วยระบบการจัดการรายกรณี(Case Management System: CMS) และการบูรณาการของหน่วยงานในพื้นที่
  • จัดการศึกษาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการด้วยกลไกคณะกรรมการระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัด และศึกษาธิการจังหวัดเป็นรองประธาน และหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการเพื่อพัฒนานวัตกรรมการแก้ปัญหาตามบริบทพื้นที่

    3.ระบบการศึกษายืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิต

    ข้อค้นพบสำคัญอีกประการจากงานวิจัยสำรวจเด็กนอกระบบของกสศ. คือ กว่าร้อยละ 80 ของเด็กนอกระบบไม่มีเป้าหมายทั้งด้านการศึกษาและอาชีพชัดเจน

    เด็กนอกระบบการศึกษาที่ระบุข้อมูลเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพมีจำนวนทั้งสิ้น 29,452 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 84.14 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด ผลการวิเคราะห์จำนวนเด็กนอกระบบการศึกษาจำแนกตามเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ พบว่า

    กลุ่มเด็กที่ไม่มีเป้าหมายทั้งด้านการศึกษาแลการประกอบอาชีพชัดเจนมีจำนวนมากที่สุด (ร้อย 78.23)ในขณะที่กลุ่มที่ต้องการประกอบอาชีพและศึกษาต่อไปพร้อมกันส่วนใหญ่มีเป้าหมายด้านการศึกษาเรียนต่อในสายอาชีพ(ร้อยละ 52.93) ส่วนกลุ่มที่ต้องการประกอบอาชีพโดยไม่ศึกษาต่อจะมีเป้าหมายด้านการศึกษาไม่ชัดเจน (ร้อยละ40.95) และกลุ่มที่ต้องการฝึกทักษะชีวิต/พัฒนาตนเองส่วนใหญ่ยังไม่มีเป้าหมายด้านการศึกษาชัดเจนเช่นกัน(ร้อยละ 32.96)

    จากผลสำรวจนี้สะท้อนว่า มีเด็กประมาณร้อยละ 50 ที่มีความต้องการได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพและสนับสนุนการประกอบอาชีพโดดเด่นขึ้นมา แสดงถึงแรงจูงใจภายในของเด็ก ที่เห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพมากกว่ามุ่งเป้าหมายไปที่การได้รับการศึกษา

    รูปแบบการศึกษาของเด็กนอกระบบการศึกษาต้องกแบบให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของเด็กซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ คือ กลุ่มเด็กที่ต้องการกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา และกลุ่มเด็กที่ไม่มีความประสงค์จะเข้าสู่ระบบการศึกษาแต่มีความต้องการประกอบอาชีพ

    การส่งเสริมการศึกษาของเด็กกลุ่มนี้ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาสามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจากมีแรงจูงใจและความพร้อมแต่เด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการประกอบอาชีพโดยไม่ต้องการศึกษาต่อ จะยังขาดแรงจูงใจและความพร้อมในกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา จึงควรได้รับการศึกษาในรูปแบบของการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพซึ่งจะทำให้เด็กกลุ่มนี้ได้รับการศึกษา ไปพร้อมกับรายได้จากการประกอบอาชีพตามเป้าหมายของตัวเอง

    สำหรับกลุ่มไม่อยากเรียนไม่อยากทำอาชีพ ยังค้นหาตัวเองไม่เจอ การพาเข้าสู่โปรแกรมบ่มเพาะเพื่อค้นพบคุณค่าตัวเองและเชื่อมโยงให้เห็นว่าการศึกษาจะช่วยให้เขาบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้งานสำรวจวิจัยได้ วิเคราะห์ทักษะทางสังคมที่เด็กนอกระบบการศึกษาต้องการได้รับการสนับสนุนสูงที่สุดคือ ทักษะการสื่อสาร ร้อยละ 36.19 รองลงมาคือ การป้องกันยาเสพติด ร้อยละ 34.32 การจัดการอารมณ์ ร้อยละ 26.70 การประสานงาน (ร้อยละ 24.20) และสุขภาวะทางเพศ (ร้อยละ 11.90) ตามลำดับ

    4. ครูหรือผู้ดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา

    ต้องยอมรับว่าสถานการณ์เด็กนอกระบบ ซึ่งกำลังประสบกับวิกฤติชีวิตที่ชับซ้อนในวันนี้อยู่ในมืออันเสียสละของครูหัวใจอาสาที่ยังขาดการสนับสนุนที่เพียงพอและเหมาะสม

    ผลการวิเคราะห์จำนวนครูนอกระบบการศึกษาจำแนกตามตำแหน่งในปัจจุบันพบว่า เป็นครูอาสาสมัครมากที่สุดถึง 1 ใน 4 (ร้อยละ 26.29) รองลงมาคือ ครูประจำ (ร้อยละ 25.94) ผู้ดูแลเด็ก (16.86) และปราชญ์ชาวบ้าน/ผู้นำชุมชน (ร้อยละ 8.54) ทั้งนี้มีครูที่ระบุตำแหน่งอื่น ๆ (ร้อยละ 8.16) และไม่ระบุข้อมูลคิดเป็น ร้อยละ 14.20

    งานสำรวจวิจัยของกสศ.ได้วิเคราะห์ความต้องการการสนับสนุนการทำางานของครูนอกระบบการศึกษาจะจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านองคความรู้ 2) ด้านทักษะ/กระบวนการ 3) ด้านการบริหารจัดการ และ 4) ด้านทรัพยากร

    จากข้อเท็จจริงดังกล่าว กสศ.มีข้อเสนอการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาหรือครูนอกระบบการศึกษา ประกอบด้วย

    1)รองรับการมีตัวตนและความสามารถของครูนอกระบบการศึกษาเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสติการในการดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การพัฒนาทางความรู้และอาชีพ และค่าตอบแทน เนื่องจากการดำเนินงานของครูนอกระบบการศึกษาขององค์กรภาคประชาสังคม ส่วนใหญ่เป็นลักษณะงานแบบอาสาสมัครจึงไม่ได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่จำเป็น

    2)มีระบบและหลักสูตรการจัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับศักยภาพครูนอกระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาทักษะของตนเองให้จัดการกับงานที่เกิดขึ้นได้

    3)อัตราส่วนเด็กต่อครูนอกระบบการศึกษาที่เหมาะสม เด็กนอกระบบการศึกษาแต่ละคนมีความชับซ้อนในการดูแลและให้การสนับสนุนมากกว่าเต็กในระบบการศึกษา ดังนั้นจึงจำป็นต้องกำหนดเป็นข้อสังเกตถึงอัตราส่วนเด็กต่อครูนอกระบบการศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องแตกต่างจากอัตราส่วนของการศึกษาในระบบโรงเรียน อย่างไรก็ตามอัตราส่วนเด็กต่อครู สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้หนึ่งของความพร้อมในการให้ความดูแลและสนับสนุนเด็กนอกระบบการศึกษาได้

    4)การส่งเสริมให้มีอาสาสมัครการศึกษา (อสม.การศึกษา) เพื่อสนับสนุนการทำงานในระดับพื้นที่ ในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ถึงระดับหมู่บ้าน กลุ่มบ้าน ช่วยสำรวจเด็กที่เสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา เด็กนอกระบบการศึกษา เข้าถึงตัวเด็ก และให้การช่วยเหลือและสนับสนุนเด็กได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้อาสาสมัครผู้ที่มีจิตสาธารณะในพื้นที่ เช่น บัณฑิตรองาน ข้าราชการครูเกษียณ ครูอัตราจ้าง และรุ่นพี่ในชุมชน ควรสนับสนุนค่าเดินทาง ค่าอาหาร และคำตอบแทนให้ตามความเหมะสม เพื่อให้ อสม.การศึกษาสามารถทำหน้าที่ดังกล่าวและประสานงานไปยังเครือข่ายร่วมดำเนินงานในพื้นที่ ซึ่งเป็นกลไกระดับจังหวัดและระดับภาคเพื่อการช่วยเหลือเด็กเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา และเด็กนอกระบบการศึกษา

    5)ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ โดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคประชาสังคมที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา และสถาบันการศึกษาในพื้นที่