ThaiPublica > เกาะกระแส > Connect the Dots : รอยต่อคุณธรรม ความยั่งยืน เทคโนโลยี และมนุษยชาติ

Connect the Dots : รอยต่อคุณธรรม ความยั่งยืน เทคโนโลยี และมนุษยชาติ

15 พฤษภาคม 2024


หมายเหตุ: เนื้อหาเป็นบทสรุปการบรรยายพิเศษหัวข้อ “Connect the Dots: Morality I Sustainability I Technology I Humanity” หรือ “รอยเชื่อม คุณธรรม ความยั่งยืน เทคโนโลยี และมนุษยชาติ” โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธานกรรมการแพลตฟอร์ม Youth In Charge ในวันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาชุมชนผู้นำคุณธรรมวิถียั่งยืน รุ่นที่ 1 [Moral Leaders Community for Sustainable Development Forum 2024: MLC1] จัดโดย สถาบันวิทยาการคุณธรรม (Moral Academy) ภายใต้ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับหน่วยงานสนับสนุน และพันธมิตร ทั้งนี้ขอความกรุณาอ้างอิงถึงวิทยากรและแหล่งที่มาเมื่อมีการนำข้อความหรือเนื้อหาข้างต้นไปเผยแพร่ต่อให้เกิดความถูกต้องต่อไป

รอยต่อคุณธรรม ความยั่งยืน เทคโนโลยี และมนุษยชาติ Connects the Dots : Morality | Sustainability | Technology | Humanity

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธานกรรมการแพลตฟอร์ม Youth In Charge

Connect the Dots เพื่อให้เห็นภาพที่ใหญ่ขึ้น ชัดขึ้น เป็นโจทย์ที่ท้าทาย เดิมแค่ Connect 2 Dots อาทิ ระหว่างความยั่งยืน (Sustainability) กับ คุณธรรม (Morality) ก็ยากแล้ว ถ้าเป็นภาพใหญ่ มี 3- 4 Dots ที่น่าจะต่อกันเป็นหนึ่งเดียวด้วยการผนวกความยั่งยืนกับมนุษยชาติและเรื่องที่สำคัญที่พวกเราต้องเผชิญจากนี้ไปคือเรื่องของเทคโนโลยี โจทย์คือ “คุณธรรม” จะเป็นตัวเชื่อมโยงเทคโนโลยี มนุษยชาติ และความยั่งยืนเข้าด้วยกันอย่างไร

Homo sapiens (โฮโมเซเปียนส์) คือ มนุษย์ที่มีความฉลาด แต่จริงๆ โจทย์ของพวกเราวันนี้ การเป็นมนุษย์ที่ฉลาดรู้กับมนุษย์ที่ตื่นรู้นั้นแตกต่างกัน มนุษย์เกิดมาเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นตรงที่เรามีความใคร่รู้ ความอยากรู้อยากเห็น เราพัฒนาความอยากรู้อยากเห็นให้กลายเป็นองค์ความรู้ แต่จริงๆ มนุษย์มีพัฒนาการขั้นต่อไป คือการนำองค์ความรู้นั้นมาทำให้กระจ่างชัดขึ้นเพื่อพัฒนาสิ่งที่รู้นั้นให้กลายเป็นปัญญา เราไม่ได้ต้องการแค่องค์ความรู้ เราต้องการปัญญาแห่งการตื่นรู้ เพื่อไปสู่ SelfActualization คือการรู้ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร ความเป็นมนุษย์จึงมีส่วนผสมที่สำคัญระหว่าง Matter และ Meaningfulness (ดูรูปที่ 1)

Self-Actualization คือขั้นสุดท้ายในทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ประเด็นคือเรายังติดอยู่ตรงจุดนี้ ในเรื่องของอำนาจเกียรติยศ ชื่อเสียงเงินทองและศักดิ์ศรี บางคนยังอยู่ที่เรื่องความอยู่ให้รอดในการดำรงชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุที่พวกเราพร่องมิติทางจิตวิญญาณ พวกเราจึงมัวแต่แสวงหาชื่อเสียงและอำนาจ ทำให้ยิ่งห่างไกลจากความเป็นมนุษย์ที่แท้มากขึ้นทุกทีๆ

คำถามคือ ความรู้ และ ปัญญา ต่างกันอย่างไร ความรู้ มีไว้เพื่อสะสม ยิ่งสะสมมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสอยู่รอดมากขึ้นเท่านั้น เป็น Knowedge for Living แต่ ปัญญา มีไว้เพื่อการปล่อยวาง ยิ่งปล่อยวางเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสพานพบความยั่งยืนมากขึ้นเท่านั้น นั่นคือ Wisdom of Life ความรู้ ทำให้เราพ้นจาก Suffering (ความทุกข์ยาก) ไปสู่ Surviving (การอยู่รอด) ได้ แต่หัวใจสำคัญของความยั่งยืน คือ ปัญญา เพราะทำให้พวกเราก้าวข้ามจาก Surviving (การอยู่รอด) ไปสู่ Sustaining (ความยั่งยืน) (ดูรูปที่ 2)

สิ่งที่เป็นประเด็นท้าทายโลกทุกวันนี้มาจากการที่เราใช้แค่องค์ความรู้ ทั้งที่ศักยภาพมนุษย์สามารถพัฒนาไปสู่ปัญญาและหลุดพ้นจากกับดักความทุกข์ยากไปสู่ความยั่งยืนได้

ความเป็นผู้นำที่พวกเราชื่นชมในทุกวันนี้คือ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (Visionary Leader) แต่จริงๆ สิ่งที่โลกเราขาดคือ ผู้นำที่มีคุณธรรม (Moral Leader) หัวใจสำคัญจริงๆ คือ วงกลม 3 วง วงแรก คือ วิสัยทัศน์ (Vision) วงที่สองคือ การขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (Execution) แต่จริงๆ จิ๊กซอว์ที่หายไป คือ วงที่สามคุณธรรม (Morality) (ดูรูปที่ 3)

นี่คือผู้นำที่โลกเราต้องการ คือ ผู้นำที่ครบเครื่องที่อยู่ตรงกลางที่วงกลม 3 วงซ้อนกัน ระหว่าง Vision, Execution และ Morality

Morality เป็น Catalyst for Change เป็นตัวเร่งปรับทิศทางไปสู่สิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรจะเป็นผ่าน 5 กระบวนการสำคัญ ดังต่อไปนี้

กระบวนการ 1: เราสร้างองค์ความรู้มากมาย แต่ความรู้นั้นไม่สามารถแปลงเป็นปัญญาได้ ถ้าไม่มีคุณธรรม [สมการที่ 1]

กระบวนการ 2: มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างน้อยใน 3 คู่ คือ ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี เราเรียกหาความยั่งยืน ความยั่งยืนเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน (Symbiosis) ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เกิดเป็น Human-Nature Symbiosis ตัวเร่งที่สำคัญ คือ Morality [สมการที่ 2]

กระบวนการ 3: มนุษย์กับมนุษย์ ทุกวันนี้มีความชัดแย้งต่างๆมากมายทั้งในมิติของภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ เราเรียกหา Human-Human Symbiosis สิ่งนี้เป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่มี Morality [สมการที่ 3]

กระบวนการ 4: มนุษย์กับเทคโนโลยี หลายคนกลัว AI (Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์) กลัว Engineering Biology (วิศวกรรมชีวเวช) เราเป็นคนสร้างมัน แต่มันกำลังจะครอบงำเราหรือไม่ จะทำให้เกิดการเกื้อหนุนระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยี (Human-Technology Symbiosis) ได้ ตัวเร่งคือ Morality [สมการที่ 4]

กระบวนการ 5: เป็นการรวบยอดกระบวนการที่ 2-4 คือ Human-Technology Symbiosis, Human-Human Symbiosis, และ Human-Nature Symbiosis เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว สมการที่ 5 จึงเป็นกลไกสำคัญในการสืบสานอารยธรรมมนุษย์อย่างแท้จริง (ดูรูปที่ 4)

Morality ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็น Holistic Morality ที่ครอบคลุมใน 4 มิติ เป็น Morality ที่มองทั้ง Macro-Micro คือมองระดับมหภาคเชื่อมโยงจุลภาค และเป็น Moralty ที่มองทั้ง Globality-Locality คือมองระดับโลกเชื่อมโยงระดับพื้นที่

โดย Holistic Morality จะเป็นตัว Connect the Dots ระหว่าง Sustainability, Technology และ Humanity เข้าด้วยกัน ผ่าน 5 วาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • A Whole New World เรากำลังอยู่ในโลกที่ไม่ใช้ใบเดิม คำถามคือเราจะอยู่อย่างปกติสุขในโลกใหม่ใบนี้ได้อย่างไร
  • Theory of Oneness อนาคตของมนุษยชาติขึ้นอยู่กับการประสานสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ (Oneness) เพราะเมื่อเข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียว (Oneness) ก็จะเข้าใจความเป็นองค์รวมของสรรพสิ่ง (Wholeness)
  • สิ่งที่พวกเราเรียกหาภายใต้ A Whole New World คือ A Whole New World View มนุษย์มีความฉลาดเหนือสิ่งมีชีวิตอื่น เราสามารถมองความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสรรพสิ่งในจักรวาล ในโลกของเรา ในสังคมของเรา ในครอบครัวของเรา ผ่านสิ่งที่เรียกว่า โลกทัศน์ (Worldview)
  • เรามี Worldview อย่างไร Mental Model และ Mindset ซึ่งเป็นกลางน้ำและปลายน้ำ ก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้ง Worldview, Mental Model และ Mindset จะเป็นตัวกำหนด Relational Governance หรือรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับเทคโนโลยี และมนุษย์กับธรรมชาติ รูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของมนุษยชาติ
  • ประเด็นท้าทายคือพวกเราจะช่วยกัน Create a Better World & Brighter Future ผ่านชุดของ New Relational Governance อย่างไร
  • สุดท้ายเป็นการทบทวนความเป็นมนุษย์ของพวกเราในฐานะที่พวกเราเป็นโฮโมชาเปียนส์ วิวัฒนาการด้านพันธุศาสตร์ของมนุษย์ได้หยุดไปห้าหมื่นกว่าปีแล้ว จากนี้เป็นวิวัฒนาการทางสังคมเป็นหลัก คำถามคือ Neo-Homo sapiens หน้าตาเป็นอย่างไร
  • 1) A Whole New World

    เราอยู่ใน A Whole New World ที่ครอบคลุม 3 Spheres คือ 1. Bio-physical Sphere 2. Geopolitical Sphere 3. Socio-Technical Sphere (ดูรูปที่ 5)

    1. Bio-Physical Sphere เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกชีวภาพกับโลกกายภาพ ผลพวงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อประมาณ 250 ปีที่แล้ว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ได้สร้างผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยยะเมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมานี้เอง ภายใต้ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า The Great Acceleration พวกเราภูมิใจกับ Economies of Scale, Speed, Scope นำมาสู่ The Great Deterioration (การเสื่อมสภาพครั้งใหญ่) มนุษย์เปลี่ยนโลกพิภพจาก Holocene ที่สรรพสิ่งทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างเกื้อหนุนในธรรมชาติ กลายเป็น Anthropocene ไปสู่โลกที่มนุษย์มีอิทธิพลเหนือธรรมชาติ เราอาจภูมิใจ แต่เรากำลังทำลายทุกสิ่งด้วยน้ำมือของเราเอง (ดูรูปที่ 6)

    2. Geopolitical Sphere เราเห็นภาพการเผชิญหน้ากัน โลกมีความสงบสุขมาระยะหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสงครามเย็นภายใต้ Unipolar World แต่วันนี้เป็น Multipolar World ที่มีแนวโน้มเกิดความขัดแย้งมากขึ้น โลกกำลังเผชิญกับ Great Confrontation

    3. Socio-Technical Sphere เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์กำลังปรับเปลี่ยนมนุษย์ไปสู่ Digital Humanity และ Technological Humanity เกิด The Great Disruption พวกเรากำลังเผชิญกับความเสี่ยงเชิงระบบ ในวันนี้เราอาจกลายเป็นมนุษย์ที่ขึ้นกับเทคโนโลยี (Technology-Dependent Humans) แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร

    โลกใน 3 Spheres ก่อให้เกิด Moral Dilemma ในหลากหลายมิติ อาทิ Economic Dilemma ระหว่างการแข่งขันกับความร่วมมือ Environmental Dilemma ระหว่างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติส่วนกลางอย่างไม่ลืมหูลืมตากับการฟื้นฟูอนุรักษ์ Technological Dilemma ระหว่างคุณและโทษของเทคโนโลยี รวมถึง Social Dilemma ระหว่างความแปลกแยกกับความเป็นปีกแผ่น ของคนในสังคม เราจะตัดสินใจอย่างไรในท่ามกลาง Dilemmas เหล่านี้หากปราศจากซึ่ง Morality (ดูรูปที่ 7)

    2) Theory of Oneness

    โลกกำลังอยู่ท่ามกลางภาวะเสี่ยง คำถามง่ายๆ คือพวกเราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาใช่หรือไม่ ถ้าพวกเราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาแล้ว เราจะเปลี่ยนให้โลกดีขึ้นด้วยการเปลี่ยนมุมมอง โลกทัศน์และพฤติกรรมของพวกเรา ให้พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของ Solution (คำตอบ) ได้อย่างไร

    สิ่งที่ท้าทายมีแค่ 2 ประเด็น คือเราจะเปลี่ยนแปลงความคิดที่มีต่อโลกอย่างไร พร้อมๆ กับเราจะเปลี่ยนแปลงความคิดที่เราที่มีต่อตนเองอย่างไร เพราะว่าเมื่อเราปรับ โลกจะเปลี่ยน

    จึงอยากให้พวกเราถอดหัวโขนออก พวกเราไม่ได้แค่เป็นผู้บริหารที่มีตำแหน่งในองค์กร แต่พวกเราเป็นมนุษย์ปุถุชน ด้วยความเป็นมนุษย์เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของการสืบทอดอารยธรรมมนุษย์ไปสู่รุ่นต่อๆ ไปอย่างมั่นคงสถาพร

    ความยั่งยืนของอารยธรรมมนุษย์จะเกิดได้เมื่อเราสามารถเชื่อมโยงจักรวาลภายนอกตัวเรากับจักรวาลภายในตัวเราได้อย่างสนิท สามารถเชื่อมโยงส่วนที่เป็น Worldviw, Mental Model และ Mindset หรือที่เรียกรวมๆว่า กระบวนทัศน์ (Paradigm) และ มุมมอง (Perspective) กับส่วนที่เป็นหลักการ (Principle) และหลักปฏิบัติ (Practice) ได้อย่างลงตัว (ดูรูปที่ 8)

    อารยธรรมมนุษย์ จึงขับเคลื่อนผ่าน 4 กระบวนการ ดังนี้

      1.เราเข้าใจและเข้าถึงธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน
      2.เรามีความเข้าใจและเข้าถึงตัวเองมากน้อยเพียงใด
      3.มีความตระหนักรู้และตื่นรู้ทำให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย
      4.การหลอมรวมตนเองกับธรรมชาติ เพื่อให้อารยธรรมมนุษย์สืบสานต่อไป

    แท้จริงแล้วมนุษย์กับธรรมชาติเป็นสิ่งเดียวกัน สะท้อนผ่านหลายเรื่องที่เป็นนามธรรม แต่บางเรื่องก็เป็นรูปธรรม บางเรื่องก็เป็นปรากฏการณ์ของแก่นธรรมชาติ (Ultimate Nature) แต่บางเรื่องก็เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรากับธรรมชาติผ่านประสบการณ์มนุษย์ (Human Experience) (ดูรูปที่ 9)

    ในความเป็น “นามธรรม” ของ Uttimate Nature ความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอยู่ภายใต้ “กฎไตรลักษณ์ของธรรมชาติ” นั่นคือ

      -อนิจจตา (Impermanence) ของความไม่เที่ยง ที่อุบัติขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
      -ทุกขตา (Suffering) ของการทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ Subject to Change
      -อนัตตา (Non-Self) ของความไม่มีตัวตนที่แท้จริง

    มิเพียงเท่านั้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Ultimate Nature กับ Human Experience ได้ก่อเกิดเป็น “แก้ว 3 ดวงของความเป็นมนุษย์” (Trifecta of Transcendentals) นั่นคือ

      -ความจริง (Truth)
      -ความงาม (Beauty)
      -ความดี (Goodness)

    ในความเป็น “รูปธรรม” ของ Utimate Nature ความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ อยู่ภายใต้ความสมดุลระหว่างกฎข้อ 2 ของ Thermodynamics ที่ว่าด้วย Entropy (ความไร้ระเบียบ) ในโลกกายภาพกับ Negative Entropy (ความเป็นระเบียบ) ในโลกชีวภาพ ความสมดุลของ Entropy และ Negative Entropy จึงเป็นที่มาของความยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ “ความยั่งยืน” กับ “ความจีรัง” จึงเป็นคนละเรื่อง

    Ultimate Nature ที่เป็นรูปธรรมดังกล่าวสะท้อนผ่าน “ไตรลักษณ์ของความสอดคล้องกลมกลืน” (Trifecta of Coherence) ในประสบการณ์มนุษย์ นั่นคือ

      -การร่วมชายคา (Cohabitation)
      -การร่วมสังสรรค์ (Co-creation)
      -การร่วมวิวัฒน์ (Co-evolution)

    Trifecta of Coherence เป็นปฐมบทของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อเข้าใจแนวคิดดังกล่าวจึงจะสามารถ Make Sustainability Sustainable ได้

    ทั้ง 4 แนวคิดหลัก: Trilakana, Transcendentals, The Second Law of Thermodynamics และ Trifecta of Coherence สัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างแนบสนิท เป็น Standard Model ภายใต้ Theory of Oneness

    ความเข้าใจ Theory of Oneness อย่างลึกซึ้งจะเปิด Worldview ปรับ Mental Model และเปลี่ยน Mindset ของพวกเราอย่างสิ้นเชิง

    3) A Whole New Worldview

    ผลพวง ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์ภายใต้ Governance Structure และตัว Governance Structure เองก็ถูกกำหนดโดย Paradigm (กระบวนทัศน์) ที่สะท้อนผ่าน Worldview, Mental Model, Time Horizon และ Mindset (ดูรูปที่ 10)

    ภาพของโลกในอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่บนโลกทัศน์ที่ว่าทุกอย่างในจักรวาลเป็นเครื่องจักรกลทุกอย่างเป็นสิ่งที่แน่นอน (Deterministic) Machine Thinking เชื่อว่าจักรวาล โลก และชีวิต เป็นเครื่องจักรกล หากรู้กลไกของเครื่องจักรกลของจักรวาลของโลกและของมนุษย์ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงและควบคุมจักรวาลโลกและมนุษย์ได้ Machine Thinking ยังเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มนุษย์เป็นศูนย์กลางของโลก และตัวเราเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง การยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางทำให้เกิดความคิดของการแข่งขัน การเอาชนะ และการเข้าควบคุมสั่งการ (Conquer, Command and Control) ทำให้ในมิติของเวลา ทุกอย่างมองเป็นเรื่องใกล้ตัว มองสั้นไม่มองยาว มีแต่เรื่องเร่งด่วน เป็นเรื่องต้องได้เดี๋ยวนั้นเดี๋ยวนี้ รอคอยไม่เป็น ตีหัวเข้าบ้าน ชิงสุกก่อนห่าม ไม่รู้จัดอดเปรี้ยวไว้กินหวาน (ดูรูปที่ 11)

    Mental Model ดังกล่าวก่อเกิดทางสองแพร่งทางคุณธรรม (Moral Dilemma) มองว่าความโลภเป็นเรื่องที่ดี เพราะก่อให้เกิดการเติบโตตามมา วงจร Greed to Growth, Growth to Greed ทำให้ยึดผลประโยชน์ตนเองมากกว่าส่วนรวม เน้นคนรุ่นปัจจุบันมากกว่าคนรุ่นหลังในอนาคต ให้ความสำคัญกับมนุษย์มากกว่าธรรมชาติ ในระบบความคิดดังกล่าวใครยิ่งโลภยิ่งได้ จึงคิดแต่จะแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรส่วนกลางของโลก (Exploitation of the Commons) ในบริบทของ Game Theory เกิด Zero Sum Game คุณได้ผมเสีย คุณเสียผมได้ ปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวมีแนวโน้มจะแปรเปลี่ยนเป็น Negative Sum Game ในที่สุด (ดูรูปที่ 12 และ 13)

    ประเด็นปัญหาทุกวันนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงของ Negative Sum Garne ที่เกิดจากวงจร Greed to Growth, Growth to Greed มีบางประเต็นปัญหาที่เห็นเด่นชัดและก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว (Fast Fire) ในขณะที่บางประเด็นปัญหาจะค่อยๆ ก่อตัวขึ้น แต่ถ้าปล่อยไว้จะทำความเสียหายอย่างรุนแรงในภายหลัง (Slow Burn) การมองระยะสั้น การมีวิสัยทัศน์ที่คับแคบ การเร่งทำโน่นทำนี่ ทำให้คนส่วนใหญ่เน้นตอบโจทย์ประเด็นปัญหาแบบ Fast Fire มากกว่า Slow Burn อาทิ นโยบายประชานิยม ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ Short-term Gain, Long-tern Loss แทนที่จะอดเปรี้ยวไว้กินหวาน คือ Short-term Loss ที่ทุกคนอาจจะ Suffer บ้างในระยะสั้น แต่กลายเป็น Long term Gain ดังนั้นผลลัพธ์มาจากการตัดสินใจและเป็นการตัดสินใจบนความเชื่อและโลกทัศน์ที่พวกเรามี (ดูรูปที่ 14)

    มนุษย์สร้างนาฬิกามาวัดเวลา แต่กลับเอาเวลามากำกับบังคับตัวเราเอง กลายเป็นว่าพวกเราติดอยู่ในกับดักของเวลา นี่คือสิ่งที่ท่านดาไลลามะบอกว่าพวกเราป่วยด้วยเวลา (Time Sickness) พวกเราจึงเต็มไปด้วยTemporal Stress พวกเราไม่อดทนต่อการรอคอย นี่คือ “now” ต้องได้เดี๋ยวนั้นเดี๋ยวนี้ ซึ่งต่างจาก “NOW” ที่หมายถึงการอยู่กับปัจจุบันขณะ ทำนองเดียวกันพวกเรายึด “self” เอาตัวเองเป็นหลัก แต่ละเลย “SELF” ที่มองความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตัวเรากับจักรวาลเป็นหนึ่งเดียว เป็น SELF ไมใช่ self ที่จะก่อให้เกิด Self-Actualization ตรงนี้จึงเป็น Moral Dilemma ที่เกิดขึ้น

    การมีโลกทัศน์ที่ผิดเพี้ยนทำให้เราเผชิญกับ Negative Sum Game คำถามคือ ถ้าเราเชื่อว่า Morality คือ Catalyst เราจะเปลี่ยนให้เป็น Positive Sum Game ได้อย่างไร ถ้าเรามองอะไรที่สั้นๆ เราก็จะมอง Short- term Gain, Long-term Loss แต่ถ้าเรามองอะไรที่ทอดยาวขึ้น เราจะมี Degree of Freedom ที่มากขึ้น มีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่น้อยลงทำให้เราพลิกเกมเป็น Short-term Loss แต่ Long-term Gain ก็เป็นได้

    ผลพวงของ Mental Model แบบเดิมทำให้ Greed to Growth, Growth to Greed ทำงานอย่างรวดเร็ว เป็นที่มาของโศกนาฎกรรมร่วม (Tragedy of the Commons) แทนที่มนุษย์จะหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ไปสู่ความอยู่รอดและพัฒนาไปอีกขั้น จากความอยู่รอดไปสู่ความยั่งยืน กลับมาติดอยู่ในวงจรอุบาทว์ของความทุกข์ยาก-ความอยู่รอด แบบไม่มีสิ้นสุด (ดูรูปที่ 15)

    เราควรเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ มองว่าสรรพสิ่งในจักรวาลสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โลกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของจักรวาล มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกพิภพ พวกเราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ ทอดเวลาออกไปให้ยาวขึ้น มีความคิดที่ลุ่มลึกขึ้น มองภาพใหญ่ที่กว้างขึ้น ไปสู่แนวคิด Cohabitation (ร่วมชายคา) Cocreation (ร่วมรังสรรค์) และ Coevolution (ร่วมวิวัฒน์) ก็จะเปลี่ยนจาก Greed to Growth, Growth to Greed มาเป็น Good to Growth, Growth to Good แทน (ดูรูปที่ 16 และ 17)

    ในบริบททางธุรกิจเป็นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อจาก Doing Well then Doing Good เป็น Doing Well by Doing Good แทน

    4) The New Relational Governance & Our Human Future

    จากภาพใหญ่ที่ฉายออกไปมาดูในรายละเอียดจะพบว่า Humanity, Technology และ Sustainability ดูเหมือนต่างคนต่างอยู่ ไม่มีตัวยึดโยง สิ่งที่จะเป็นตัวเชื่อมต่อ Humanity, Technology และ Sustainability เข้าด้วยกันอย่างลงตัวก็คือ “Morality” (ดูรูปที่ 18)

    มี 7 ตราบาป ที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงให้โลกดีขึ้น ประกอบไปด้วย

      1.ไม่มีสันติภาพในโลกอย่างถาวร หากผู้คนยังไร้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
      2.ไม่มีระบบทุนนิยมที่ยั่งยืน หากไม่มีการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม
      3.ความร่ำรวยทางวัตถุจะไร้ประโยชน์ หากบกพร่องความร่ำรวยทางจิตใจ
      4.งานที่ทำจะไร้ผล หากขาดซึ่งนัยแห่งความหมาย
      5.มีผลประกอบการที่ดีก็ไร้ค่า หากไม่สามารถเป็นผู้ประกอบการที่ดีได้
      6.จะเพรียกหาเจตจำนงร่วมจากที่ใดหากไม่คิดเปิดพื้นที่ร่วมอย่างจริงใจ
      7.อย่าหวังการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง หากปราศจากการเปิดหู เปิดตาและเปิดใจ

    ตราบาปทั้ง 7 ประการ สามารถจัดการด้วย Morality ทั้งนี้เพราะ Morality เปลี่ยนโลกทัศน์ของพวกเราจาก Controlling Nature (การควบคุมธรรมชาติ) ไปสู่ Living in Harmony with Nature (การอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ) เปลี่ยนจาก Competing with Others ไปสู่ Living in Harmony with Others เปลี่ยนจาก Technology for Productivity & Competitiveness เป็น Technology for Sustainability & Humanity (ดูรูปที่ 19)

    หากพิจารณาทีละคู่ความสัมพันธ์ เริ่มจากมนุษย์กับเทคโนโลยี ประเด็นสำคัญคือ เรามีนโยบายชัดเจนหรือไม่ว่าเราจะให้ Technology กับ Talent อยู่ด้วยกันในลักษณะ Complement กัน หรือในลักษณะ Supplement กันมีทางเลือกทั้งนั้น ถึงวันหนึ่งต้องตัดสินใจ เพราะเป็น Moral Decision ที่มีมนุษยชาติเป็นเดิมพัน

    ภายใต้ Moral Decision หนึ่งใน Moral Solution ที่สำคัญคือ การทำให้เกิด Human-Technology Symbiosis ด้วยการสร้างสมดุล ความลงตัว ความพอดี ระหว่าง Talent กับ Technology ในทำนองเดียวกันในคู่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ทุกวันนี้เรามีสังคมอยู่ 2 แบบ คือ Me Society หรือ สังคมของพวกกู กับ We Society หรือ สังคมของพวกเรา พวกเราปรารถนาที่จะมี We Society ที่สะท้อนผ่านสังคมที่เป็นธรรม สังคมแห่งโอกาส สังคมที่สามารถ สังคมที่เกื้อกูลและแบ่งปัน ที่สำคัญ WE Society จะเป็นหลักประกันของการสร้างสันติภาพที่ถาวร และความมั่นคงร่วมกันอย่างแท้จริง

    We Society จึงเป็นแพลตฟอร์มของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เป็นหนึ่งในเสาหลักค้ำอารยธรรมมนุษย์อย่างแท้จริง

    ใน Anthropocene มีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี ยกตัวอย่าง Bad Anthropocene เช่น มลภาวะ การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง การแข่งขันแย่งชิงครอบครอง Good Anthropocene เช่น มาตรฐานความเป็นอยู่และการมีสุขภาวะที่ดีขึ้น ภายใต้ Anthropocene มนุษย์มีทางเลือก 1) พวกเราหลงระเริงทำตัวเองให้เป็น Laissez Faire Anthropocene หรือ 2) พวกเราจะทำตัวเองให้เป็น Mature Anthropocene เรากำลังพูดถึง Stakeholder ซึ่ง Stakeholder ที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดไม่ใช่ใครที่ไหนแต่คือ โลกพิภพ (Mother Earth) นั่นเอง

    ใน Critical Moment มี Miracle Moment เสมอ หากปราศจากซึ่งความรู้สึกรับผิดชอบและสามัญสำนึกต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ อย่าเพรียกหาความยั่งยืน อย่างไรก็ดี หากปราศจากซึ่งคุณธรรม สังคมจะขาดความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดีและจิตสำนึกต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์

    5) Creating A Better World & Brighter Future

    ในการสืบสานอารยธรรมมนุษย์ ต้องการความเจริญก้าวหน้าผ่านการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ต้องการความมั้คงปลอดภัยในชีวิตมนุษย์ ต้องการความเท่าเทียมระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พร้อมกับต้องการความยั่งยืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เราจึงต้องพิจารณาเป็นองค์รวม

      -ความเจริญก้าวหน้า X ความยั่งยืน จึงจะก่อเกิดการเติบโตที่ยั่งยืน (Sustainable Growth)
      -ความเจริญก้าวหน้า X ความเท่าเทียม จึงจะตอบโจทย์ความมั่งคั่งร่วมกัน (Shared Prosperity)
      -ความมั่นคง X ความเท่าเทียม จึงจะเป็นหลักประกันของการเกิดสันติภาพที่ถาวร (Secure Peace)
      -ความมั่นคง X ความยั่งยืน จึงจะปกป้องโลกพิภพ (Saved Planet) ของพวกเราได้อย่างมั่นใจ

    (ดูรูปที่ 20)

    Morality ในบริบทของการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผล ต้องอาศัยส่วนผสมของ Power, Progress และ Prosperity ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อยู่ที่ว่าเป็นอำนาจเพื่อตัวเองหรือเพื่อส่วนรวม ส่วนผสมที่ถูกต้องลงตัวของ Power, Progress และ Prosperity ก่อให้เกิด Inclusive Economy & Politics ที่ตรงข้ามกับ Extractive Economy & Politics ที่เห็นอยู่ดาษดื่นในประชาคมโลกปัจจุบัน (ดูรูปที่ 21)

    ในทางปฏิบัติ Inclusive Economy & Politics ต้องการ Moral & Ethical Infrastructure สนับสนุน ครอบคลุมถึง Socio- Eco และ Techno-Moral & Ethical Standards เพื่อนำไปสู่ Moral & Ethical Code of Conducts and Practices (ดูรูปที่ 22)

    6) Neo-Homo sapiens in the Making

    หลายคนพูดว่าเราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านอีกครั้ง จาก Digital Transformation เป็น AI Transformation โดยความเป็นจริงและความจำเป็นอย่างยิ่งยวด เราต้องการ Human Transformation ต่างหาก เรายังเป็นโฮโมเซเปียนส์ แต่เป็นโฮโมเซเปียนส์ที่สัมพันธ์อย่างแนบสนิทกับธรรมชาติ นั่นคือเราเป็น Homo gaia โลกพิภพนี้มีชีวิต มีพลวัต เราเป็นส่วนหนึ่งของโลก จะอยู่อย่างไรเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืน พร้อมๆ กันนั้น เราคือมนุษย์ที่ต้องอยู่กับเพื่อนมนุษย์ นั่นคือเราเป็น Homo philanthropiens มิเพียงเท่านั้น โลกจากนี้ไปมนุษย์เราจะต้องอยู่กับเทคโนโลยี เราจะสร้างและใช้ประโยชน์ รู้เท่าทันเทคโนโลยีที่เราพัฒนาขึ้นอย่างชาญฉลาดได้อย่างไร นั่นคือเราเป็น Homo technologus ด้วยในขณะเดียวกัน (ดูรูปที่ 23)

    ภายใต้ Human Transformation นั้น
    Neo-Homo sapiens = Homo gaia X Homo philanthropiens X Homo technologus

    พูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือพวกเรายังเป็นโฮโมเซเปียนส์ แต่เป็นโฮโมเซเบียนส์ที่ทรงปัญญา มีจิตสำนึก จิตวิญญาณที่สูง เราเป็นมนุษย์ที่เป็น SELF ไม่ใช่ self ที่อยู่กับ NOW ไม่ใช่ now ความสมดุล ความพอดี ความลงตัวระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับเทคโนโลยี คือสิ่งสำคัญ และแนวคิดที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังก็คือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    สิ่งสำคัญกว่า Skillset คือ Mindset เมื่อมี Mindset ที่ถูกต้อง แล้วจะรู้ว่าจะแสวงหา Skillset และ Toolset แบบไหน เพื่ออะไร แต่อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น Mindset เป็นปลายน้ำของ Worldview และ Mental Model ตัวที่กำกับทิศทางของการมี Worldview, Mental Model และ Mindset ที่ถูกต้องก็คือ Morality นั่นเอง

    สุดท้ายเราต้องการความเป็นมนุษย์ที่แท้ ใช้ปัญญา ใช้คุณธรรมนำทาง เพื่อกลับไปสู่อ้อมอกของธรรมชาติ การมีชีวิตที่แท้ เป็นชีวิตที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติจนแยกไม่ออก เป็นวิวัฒน์อีกครั้งของอารยธรรมมนุษย์ เป็น Human Metamorphosis เหมือนเราเป็นดักแด้กลายเป็นผีเสื้อ ถึงวันนี้เราอาจจะอึดอัด เราอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิมเพียงแต่เรายังจินตนาการไปไม่