ThaiPublica > Native Ad > การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ภารกิจที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ภารกิจที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

14 พฤศจิกายน 2023


ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤติต่าง ๆ ทั้งวิกฤตการณ์ทางการเงินหรือต้มยำกุ้ง วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทั่วโลก ที่คนไทยเรียกว่า วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤตการณ์ทางการเมือง รวมถึงมหาอุทกภัยครั้งร้ายแรง ซ้ำเติมด้วยวิกฤติทางการเมืองอีกครั้ง และวิกฤติโควิด 19 ทั้งหมดส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญต่าง ๆ ได้รับผลกระทบและหยุดชะงักไป แต่ท่ามกลางวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ก็มีภารกิจสำคัญที่มิอาจหยุดชะงักได้ ซึ่งก็คือการจัดหาพลังงาน เพราะพลังงานเป็นสิ่งจำเป็นในการส่งเสริม พัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม รวมทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ อีกทั้งในปัจจุบันทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 พลังงานจึงนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และพัฒนาประเทศให้เดินหน้าต่อไป

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ส่งเสริม สนับสนุน การแสวงหาแหล่งพลังงาน และกำกับดูแล สำรวจ และผลิตปิโตรเลียมภายในประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ และการสร้างความต่อเนื่องในการแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานของประเทศ

ที่ผ่านมาสิ่งที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ดำเนินการมีทั้งการเดินหน้าเปิดให้ยยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบ 23 ในปี 2564 และรอบ 24 ในปี 2565 โดยการยื่นขอสิทธิรอบ 23 เป็นพื้นที่บนบก บนพื้นที่ของจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนการยื่นขอสิทธิรอบ 24 เป็นพื้นที่ในทะเลอ่าวไทย ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจแล้ว และก็ยังมีแผนที่จะเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบ 25 โดยจะเป็นพื้นที่บนบก บริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ซึ่งการดำเนินการต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ถือเป็นไฮไลท์สำคัญของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในการสร้างความต่อเนื่องในการจัดหาปิโตรเลียม ทดแทนการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้ส่วนหนึ่ง ช่วยให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประเทศ และยังทำให้เกิดการจัดสรรรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมไปสู่ท้องถิ่นด้วย

นอกจากนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยังสามารถสร้างความต่อเนื่องในการผลิตปิโตรเลียม ของแหล่งผลิตปิโตรเลียมเดิมที่ใกล้สิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้เจรจาเรื่องต่ออายุสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมบนบก และในทะเล อาทิ แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชร และแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม จังหวัดอุดรธานีและขอนแก่น และแหล่งน้ำมันดิบแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข B8/32

หรือแม้แต่ในสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่ออัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติ ในกรณีของแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ (แปลง G1/61) ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้เป็นไปตามแผนในเดือนธันวาคมนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ก็ได้บริหารจัดการแก้ไขสถานการณ์ด้วยการเพิ่มกำลังผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆ เข้ามาทดแทนในส่วนที่ยังไม่สามารถผลิตเพิ่มได้ โดยจะมีก๊าซเพิ่มเติมจากแหล่งบงกช และแหล่งอาทิตย์

นอกจากนี้ จะมีการประสานงานไปทางแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา จากเมียนมา ขอความร่วมมือให้คงกำลังผลิตให้นานที่สุด รวมทั้งประสานงานไปยังมาเลเซีย เพื่อขอให้ก๊าซจากแหล่งพัฒนาพื้นที่ร่วม (Malaysia -Thailand Joint Development Area : MTJDA) มาใช้ในไทย ในกรณีที่มาเลเซียไม่มีความจำเป็นต้องใช้

ทั้งหมดนี้คือความมุ่งมั่นพยายามที่จะปฏิบัติตามภารกิจการสำรวจ จัดหา และผลิตปิโตรเลียมของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการแสวงหาแหล่งพลังงาน ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน