- ซีรีส์ “เป็นหนี้ต้องมีวันจบ” นำเสนอแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งประสบการณ์ตรงของลูกหนี้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จและไม่สำเร็จ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีภาระหนี้มีช่องทาง วิธีการแก้หนี้ มองเห็นทางออก มีความหวัง เพื่อเป็นพลังให้ต่อสู้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ซีรีส์นี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ภาคประชาชนครบวงจร
ในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะหลังเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการออกมาตรการหลายมาตรการ ไปพร้อมกับการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการแยกแยะและวิเคราะห์ข้อมูลหนี้ครัวเรือน เพื่อให้การแก้ไขเป็นไปอย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืน
จิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ปัญหาหนี้ พบว่าคนไทยเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้เยอะ เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้เสีย
เป็นหนี้เร็ว หมายความว่า เป็นหนี้ตั้งแต่อายุน้อย คนรุ่น Gen Z คือวัยเริ่มทำงาน อายุ 25-29 ปี กลุ่มนี้มีประมาณ 4.8 ล้านคน และเกือบ 58% ของคนกลุ่มนี้เริ่มกู้ เป็นหนี้ตั้งแต่อายุน้อย และใน 58% นี้ได้กลายเป็นหนี้เสียแล้ว 1 ใน 4 อีกด้วย
เป็นหนี้เยอะ คือ บางคนมีบัตรหลายใบรูดเพื่อใช้จ่าย ใช้จ่ายเสร็จก็กู้ซํ้า กู้บัตรนี้ไปจ่ายบัตรนั้น หมุนเวียนไป แล้วมีหลายบัญชี ปรากฏว่า คนเหล่านี้กู้ถึง 10-25 เท่าของรายได้ ถ้าเป็นประเทศอื่นจะราว ๆ 5-12 เท่า
เป็นหนี้นาน โดยพบว่าอายุมากกว่า 60 ปีแล้วยังเป็นหนี้อยู่เฉลี่ยรายละประมาณ 4 แสนกว่าบาท พออายุมาก เกษียณอายุแล้ว รายได้ไม่เหมือนเดิม ความสามารถในการชำระหนี้ก็ย่อหย่อนลงไป
สุดท้าย เป็นหนี้เสีย ช่วงเกิดโรคระบาดโควิด เกิดหนี้เสียจำนวนมาก จากข้อมูลเครดิตบูโร พบว่าเงินกู้ 82 ล้านบัญชี เป็นหนี้เสีย 10 ล้านบัญชี ในจำนวนนี้มี 4.5 ล้านบัญชีที่เป็นหนี้เสียช่วงเกิดโควิด โดย 4.5 ล้านบัญชีเป็นหนี้ที่อยู่ในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 70%
จิตเกษม กล่าวว่า ถ้าไม่ทำอะไรเลยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ระดับ 84% ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) สิ่งเหล่านี้ต้องช่วยกันทำ และต้องใช้เวลา
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ เป็นหนี้ต้องมีวันจบ (2) คนไทยเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้เยอะ เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้เสีย ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า
อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง