ThaiPublica > Sustainability > Headline > สหรัฐจับมือออสเตรเลีย เปิดโครงการ “ชุมชนเข้มแข็งแห่งลุ่มน้ำโขง”

สหรัฐจับมือออสเตรเลีย เปิดโครงการ “ชุมชนเข้มแข็งแห่งลุ่มน้ำโขง”

27 พฤษภาคม 2023


คิกออฟ โครงการ “ชุมชนเข้มแข็งแห่งลุ่มน้ำโขง” ภายใต้ข้อตกลงร่วม สหรัฐ-ออสเตรเลีย (USAID and Australia Mekong Safeguards Programs) สร้างการมีส่วนร่วมกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เสริมด้านเศรษฐกิจ รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ การฟื้นตัวของชุมชนลุ่มน้ำโขง

เปิดโครงการ “ชุมชนเข้มแข็งแห่งลุ่มน้ำโขง” (Mekong Community Emppowerment for Northern Thailand)

ในวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2466 ที่ผ่านมา ดร.แองเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย สถานทูต ออสเตรเลีย ดร.สตีฟ โอลีฟ ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ภาคพื้นเอเชีย (USAID/RDMA) น.ส.ภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมกับนายวิรุฬ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ นายวิสตัน โชว มูลนิธิเอเชีย นายวีรวิทย์ เธียรชัยนันท์ องค์การกองทุนสัตว์โลกสากล นายพีรนันท์ โตวชิราภรณ์ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย นางสาวปิณิดา ลีลพนัง กำแพงทอง องค์กร Pact ตัวแทนจากออกซแฟม (Oxfam) กลุ่มเติมเต็มวิสาหกิจเพื่อสังคม และแม่โขงฟอร์เดอะฟิวเจอร์ นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ เปิดโครงการ “ชุมชนเข้มแข็งแห่งลุ่มน้ำโขง” (Mekong Community Empowerment for Northern Thailand) โดยทำพิธีเปิดโครงการ ณ โรงแรมทีคการ์เด้น และร่วมกิจกรรมชุมชนและพันธมิตรท้องถิ่นและชุมชน ณ บริเวณลานกิจกรรมชุมชนบ้านปากอิงใต้ ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยมีพันธมิตรและตัวแทนชุมชนท้องถิ่นเข้าร่วมกว่า 100 คน

ดร.สตีเว่น จี. โอลีฟ กล่าวเปิดงานในวันที่ 24 พฤษภาคม ว่า ในนามของ USAID และรัฐบาลสหรัฐฯ มีวิสัยทัศน์เพื่อสร้างภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่เสรี และเปิดกว้าง สนับสนุนความเจริญรุ่งเรือทางเศรษฐกิจ สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค โดยการทำงานร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นและองค์กรสนับสนุนชุมชน โดยได้ร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ของรัฐบาลสหรัฐ และพันธมิตรจากประเทศออสเตรเลีย

ดร.สตีฟ โอลีฟ ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ภาคพื้นเอเชีย (USAID/RDMA)

ประกอบด้วย โครงการแม่โขงเซฟการ์ด (USAID and Australid Mekong Safeguards Program) โครงการแม่โขง ฟอร์ เดอะฟิวเจอร์ (USAID Mekong for the Future) และโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SERVIR-Southeast Asia) โครงการแม่โขงคอนเน็คชัน (Mekong Connection) และโครงการหุ้นส่วนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (Sustainable Infrastructure Partnership)

โดยระหว่างการประชุมหารือระดับรัฐมนตรีระหว่างออสเตรเลียและสหรัฐ (Australia-United States Ministerial Consultations) ผู้นำสองประเทศได้เน้นย้ำถึงข้อตกลงร่วมกันในการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งกับประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจความร่วมมือเพื่อัดการกับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ และการจัดการภัยพิบัติ และการปรับฟื้นตัวของชุมชน

ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ภาคพื้นเอเชีย (USAID/RDMA) กล่าวว่า เพื่อให้เกิดเป็นผลในรูปธรรมในระดับท้องถิ่น ได้ดำเนินโครงการผ่าน “ชุมชนเข้มแข็งแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอค์กรภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น และประชาชน

นอกจากนี้มี “กระบวนการท้องถิ่นภิวัฒน์” ยุทธศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศของ USAID (USAID Climate Srategy) ได้ดำเนินการมา 1 ปี ในการส่งเสริมกิจกรรมแก้ไขวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมแผนฉุกเฉินเพื่อการปรับตัวและรับมือกับปัญหาการเปลี่ยแปลงสภาพภูมิอากาศตามนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือประชากร 500 ล้านคน และสนับสนุนการปรับตัวและการจัดการของชุมชนลุ่มน้ำโขงที่กำลังเผชิญผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่ที่กระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ที่ยังต้องพึ่งพาทรัพยากร การทำงานของ USAID จึงเน้นขับเคลื่อนและสนับสนุนท้องถิ่นชุมชนเป็นผู้นำ เป็นเจ้าของ และเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ออกแบบให้เหมาะสมกับบริบทที่เป็นเอกลักษ์ของชุมชน

จากซ้าย ดร.สตีฟ โอลีฟ ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ภาคพื้นเอเชีย (USAID/RDMA)
น.ส.ภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ดร.แองเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย สถานทูต ออสเตรเลีย

USAID ได้สนับสนุน สถาบันชุมชนแม่น้ำโขง ศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วต่อวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น และความหลากหลายทางชีวภาพ การสนับสนุนกลุ่มรักษ์เชียงของ และชุมชนท้องถิ่น “โครงการห้องสมุดดิจิทัลโฮงเฮียนแม่น้ำโขง (The Mekong School Digital Library) เป็นห้องสมุดออนไลน์ที่รวบรวมแหล่งข้อมูลความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง ให้คนสามารถเข้าถึงได้และนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างอิสระ

โครงการชุมชนเข้มแข็งแห่งลุ่มน้ำโขง ในการทำงานระหว่างภาคประชาสังคมท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และภาครัฐ รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นโครงการที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย ที่มีเป้าหมายเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและสนับสนุนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น

โดยในวันที่ 25 พฤษภาคม ดร.แองเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย สถานทูต ออสเตรเลีย พร้อมคณะได้ไปร่วมกิจกรรมชุมชนที่บริเวณลานชุมชนปากอิง บ้านปากอิงใต้ โดยมีการจัดแสดงของ คณะนักเรียน ร.ร.ห้วยซ้อวิทยาคม ชมตลาดแสดงสินค้าท้องถิ่นจากชุมชน เช่น ปลาร้าจากบ้านปากอิงใต้ เครื่องดื่มท้องถิ่นจากบ้านห้วยเอียน เสื้อผ้าทอมือจากบ้านหาดบ้าย ผลิตภัณฑ์จากไกบ้านหาดไคร้ ผลไม้ออร์แกนิคบ้านห้วยเม็ง เครื่องจักรสานจากบ้านปงของ และมีการสนทนากลุ่มกับชาวบ้าน โดยกลุ่มรักษ์เชียงของ หัวข้อ “ถอดบทเรียนการปกป้องสิ่งแวดล้อมและชุมชน และสถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง ห้วข้อ การส่งเสริมศักยภาพแม่ญิงที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง

ดร.แองเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย สถานทูต ออสเตรเลีย

USAID and Australia Mekong Safeguards Program

หรือ Mekong Safeguards เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และประเทศออสเตรเลีย

โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การยกระดับการพัฒนโคงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและการขนส่งอย่างยั่งยืนในเขตประเทศลุ่มน้ำโขง โดยการส่งเสริมการบังคับใช้และยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และภูมิภาค เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานดังกลำว ทางโครงการ ทำงานกับภาคส่วนต่ำงๆ เช่น รัฐบาล สถาบันการเงิน และชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม โดยการ

  • ปรับปรุงมาตรฐาน ESG ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาในระดับภูมิภาค ผ่านนโยบาย แนวทางและแบบอย่างที่ดี
  • ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิควิชาการ และเสริมสร้างศักยภาพของภาครัฐในการบังคับใช้มาตรฐาน ESG ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยการสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค
  • ศึกษาและพัฒนาเครื่องมือ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลการวางแผนระดับภูมิภาค มาตรฐาน งานวิจัยและแบบอย่างที่ดี ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  • ลุ่มแม่น้ำโขงเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพชื่งเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนราว 70 ล้านคน สถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น กำลังเพิ่มการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค ทั้งนี้ หากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นไม่มีมาตรการ ESG พื่อป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสั่งคมที่ได้มาตรฐาน โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

    โครงการฯ นี้ช่วยขับเคลื่อนวิสัยทัศน์อินโด-แปซิฟิกของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตลุ่มแม่น้ำโขงให้มีมาตรฐาน ESC ในระดับสากล เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค สร้างแนวทางการแก้ปัญหาในท้องถิ่น เพิ่มความโปร่งใสในการตัดสินใจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยกระดับบทบาทของภาคเอกชนในฐานะผู้ขับเคลื่อนการพัฒนา นอกจากนี้ยังส่งเสริมกรอบความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง-ออสเตรเลีย (Mckong-Australia Partnership) ซึ่งเป็นการริเริ่มที่สำคัญของรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อช่วยเหลือประเทศภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโซงในการฟื้นฟูจากสถานการณ์โควิด-19

    ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิควิชาการในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
    Mekong Safeguards ทำงานร่วมกับรัฐบาล และภาคส่วนต่ำง ๆ ในการปรับปรุงและบูรณาการมาตรฐาน ESG ในการครงสร้างพื้นฐานที่ได้มีการวางแผน หรือดำเนินการก่อสร้างอยู่ ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย โครมกับรัฐบาล ไทย และชุมชน เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสังคมที่จะมีต่อชุมชนจากการพัฒนาโครงการรถช่วงกรุงเทพฯ -นครราชสี่มา อันจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอเพื่อช่วยลดผลกระทบดังกล่าวต่อชุมชนและผู้ประกอบการโดยเฉพาะผลกระทบต่อผู้หญิงและกลุ่มเปราะบาง เพื่อทำให้มั่นใจว่าภูมิภาคนี้จะยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่ดึงดูดใจนักลงทุน และมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

    นโยบายและแนวทางการปฏิบัติเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
    Mekong Safeguards ทำงานร่วมกับองค์กรที่มีหน้าที่กำกับดูแล และสถาบันการเงิน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้กำหนดแนวทางและนโยบายที่นักลงทุนต้องมีการวางแผนและปฏิบัติตามมาตรฐาน ESG อย่างเคร่งครัด ที่ผ่านมาโครงการฯ ได้มีการศึกษาช่องโหว่สำคัญระหว่างนโยบยและกรอบการปฏิบัติทางด้านกฎหมายที่ควบคุมมาตรฐาน ESGปรับปรุง มาตรฐานและการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและสถาบันการเงิน ส่งเสริมองค์กรระดับภูมิภาค ให้มีการพัฒนามาตรฐาน ESG ระดับภูมิภาค และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

    การพัฒนาช่องทาง ข้อมูล เครื่องมือ และความรู้
    Mekong Safeguards ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาคส่วนต่าง ๆ ในภูมิภาค และเสริมสร้างความตระหนักและศักยภาพของผู้มีอำนาจตัดสินใจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในการวางแผนติดตาม และตรวจสอบผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาดังกล่าว โดยทำงานร่วมกับองค์กรต่าง 1 ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ในการรวบรวมข้อมูลโครงการโครงสร้างพื้นฐาน งานวิจัย และสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและผลการดำเนินงานต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การจัดทำ Mekong Infrastructure Tracker ซึ่งเป็นเว็บไซค์ที่มีการรวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีการดำเนินงานแล้ว กำลังก่อสร้าง หรือกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา และวางแผน ซึ่งภาคส่วนต่าง ๆ สามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและจัดการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบต่อ สิ่งแวดล้อมและชุมชนได้

    ความร่วมมือระดับภูมิภาคและมาตรฐานที่เข้มแข็ง
    Mekong Safeguards ยกระดับมาตรฐานการพัฒนาและการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในระดับท้องถิ่น ประเทศ และภูมิภาค ด้วยการร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาค อย่างเช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม้โขง (ACMECS) และเครื่อข่ายธนาคาร์เพื่อการพัฒนา เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) และธนาคารโลก (World Bank) เพื่อการพัฒนาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน