ThaiPublica > คอลัมน์ > จุดจบการบริหารจัดการสมัยใหม่ จุดเริ่มต้นการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน

จุดจบการบริหารจัดการสมัยใหม่ จุดเริ่มต้นการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน

6 ตุลาคม 2022


สุวิทย์ เมษินทรีย์

เกิดการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ใน “วิทยาการจัดการ” เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ VUCA World ไล่ตั้งแต่ความคิดฐานราก โครงสร้างเชิงระบบ กระบวนทัศน์ ไปจนถึงโมเดลการดำเนินงาน เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะ จากการบริหารจัดการที่มุ่งสู่ “ความทันสมัย” สู่การบริหารจัดการที่มุ่งสู่ “ความยั่งยืน” ที่เน้นการพัฒนา “ปัญญา” ไม่ใช่แค่ “องค์ความรู้” เน้นการปรับ “mindset” มากกว่าแค่การยกระดับ “skill-set” เน้นการสร้าง “system well-being” มากกว่าแค่ “individual well-being” ซึ่งมิได้เกิดขึ้นจำกัดอยู่ในปริมณฑลทางธุรกิจ แต่ได้แผ่ขยายไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ ทั้งการบริหารจัดการภาครัฐ การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ฯลฯ

โลกใบใหม่ ไม่เหมือนเดิม

อารยธรรมมนุษย์มีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง จาก “สังคมเกษตร” สู่ “สังคมอุตสาหกรรม” จากนั้นเปลี่ยนมาสู่ “สังคมองค์ความรู้” และ “โลกหลังสังคมองค์ความรู้” (post knowledge based society) ในปัจจุบัน

สภาพแวดล้อมที่พวกเราอยู่ก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน จากเดิมเคยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี “อนาคตที่ค่อนข้างชัดเจน” สู่ “อนาคตที่เป็นไปได้ในหลากหลายทางเลือก” จากนั้นเปลี่ยนมาสู่ “อนาคตที่ค่อนข้างคลุมเครือ” และในปัจจุบันเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี “อนาคตที่ไร้ความชัดเจน” หรือ “VUCA World”

เรากำลังอยู่ในโลกใบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จาก “โลกที่คงรูป” สู่ “โลกที่เลื่อนไหล” จาก linear world สู่ non-linear world เรากำลังต้องบริหารจัดการธุรกิจ บริหารจัดการภาครัฐ แม้กระทั่งบริหารจัดการชุมชน ภายใต้ global complex system ไม่ใช่ local simple system อีกต่อไป

ใน VUCA World เรากำลังอยู่ใน “โลกที่ไม่พึงประสงค์” ซึ่งเต็มไปด้วยคลื่นวิกฤติเชิงซ้อนเป็นระลอกๆ ตั้งแต่วิกฤติโควิด-19 วิกฤติซัพพลายเชนโลก วิกฤติพลังงาน วิกฤติอาหาร วิกฤติโลกรวน วิกฤติเงินเฟ้อ ที่อาจตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ในการบริหารจัดการกับ VUCA World เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ “โครงสร้างเชิงระบบ” (systemic structure) ที่สามารถแสดงกลไกความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ อย่างเป็นระบบ และหยั่งรู้ถึง “ความคิดฐานราก”(mental model) ที่กำหนดโครงสร้าง กฎเกณฑ์ รูปแบบ ตัวขับเคลื่อน และผลลัพธ์ของปฏิสัมพันธ์ในเรื่องนั้นๆ รวมถึงการพัฒนา “ปัญญา” (wisdom) มิใช่แค่ “องค์ความรู้” (knowledge) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (wisdom for sustainable development) เมื่อเข้าใจโลกอย่างกระจ่างชัด จึงจะสามารถอยู่ร่วมกับโลกได้อย่างปกติสุข

ภายใต้ VUCA World ขีดความสามารถในการคาดการณ์ (anticipative capacity) นั้นไม่เพียงพอ จะต้องพัฒนา “ขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยน” (transformative capacity)

ที่สำคัญ transformative change ต้องเริ่มด้วย “การปรับเปลี่ยน mindset” มากกว่าการเน้นยกระดับ skillset ผ่าน reskilling, upskilling หรือการพัฒนา new skill เพียงอย่างเดียว

เราจะเปลี่ยนจากโลกที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นผลพวงจากการพัฒนาที่มุ่งสู่ความทันสมัย (modernism) บนความคิดฐานรากของ ego-centric mental model ที่นำไปสู่ความไม่สมดุลของระบบ จนเกิดเป็นวิกฤติต่างๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ไปสู่โลกที่พึงประสงค์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน (sustainism) บนความคิดรากฐานของ eco-centric mental model ที่ทำให้เกิดการปรับสมดุลของระบบและก่อเกิดเป็นความยั่งยืนเชิงพลวัตในที่สุดได้อย่างไร

ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดฐานราก จาก ego-centric mental model ที่เอาตัวเองและธุรกิจเป็นศูนย์กลาง แล้วจึงค่อยหันมามองเศรษฐกิจ สังคม และโลก ตามลำดับ ไปสู่ eco-centric mental model ที่เอาโลกเป็นศูนย์กลาง ตามมาด้วยสังคม เศรษฐกิจ และสุดท้ายค่อยหันมามองว่าเราจะทำธุรกิจบนระบบนิเวศที่เราอยู่ได้อย่างไร

ทุกอย่างมี 2 ด้านของเหรียญเสมอ ระบบทุนนิยมก็เช่นกัน อย่างน้อยระบบทุนนิยมได้เปลี่ยนคนทั่วไปจากคนที่ “ยากจนข้นแค้น” มาเป็นคนที่ “พอประทังชีวิต” แต่เนื่องจากระบบทุนนิยมเน้น ego-centric mental model ที่เอาความโลภของมนุษย์เป็นตัวตั้ง ด้วยความเชื่อที่ว่าความโลภก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเติบโตทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดความโลภ (greed to growth, growth to greed) จึงนำไปสู่ “ความไม่พอเพียง” (insufficient)ตลอดเวลา และสุดท้ายก็นำกลับไปสู่ความยากจนข้นแค้น วนเวียนกลายเป็นวงจรอุบาทว์ ซึ่งวงจรอุบาทว์นี้ถูกขับเคลื่อนด้วยความโลภของมนุษย์ การแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การง่วนอยู่กับตัวเองโดยไม่คิดเผื่อคนรุ่นต่อไป และความพยายามที่จะครอบงำและควบคุมธรรมชาติ

ego-centric mental model ส่งผลให้โลกกำลังตกอยู่ในความไม่สมดุลเชิงระบบ 7 ประการด้วยกัน คือ

1) ใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดมากเกินไป ใช้ศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของมนุษย์น้อยเกินไป

2) เห็นแก่ผู้คนปัจจุบันมากเกินไป คิดเผื่อคนรุ่นหลังน้อยเกินไป

3) เน้นหนักการบริโภคมากเกินไป เน้นหนักคุณภาพชีวิตน้อยเกินไป

4) ตอบสนองต่อความต้องการที่ล้นเกินของคนรวยมากเกินไป ตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานของคนจนน้อยเกินไป

5) ให้ค่ากับความชาญฉลาดในการดำเนินธุรกิจมากเกินไป ให้ค่ากับคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจน้อยเกินไป

6) เรียนรู้จากความสำเร็จมากเกินไป ถอดบทเรียนจากความผิดพลาดและความล้มเหลวน้อยเกินไป

7) ให้ความสำคัญกับปัญญาประดิษฐ์มากเกินไป ให้ความสำคัญกับปัญญามนุษย์น้อยเกินไป

จะเห็นได้ว่าปัญหาของโลกทั้งมวลล้วนเกิดจากความไม่สมดุลของระบบ (systemic imbalance) ดังนั้น เราต้องมาขบคิดว่า เราจะปรับสมดุลเชิงระบบ (systemic rebalance) ของโลกได้อย่างไร

ในบริบทของการบริหารจัดการ การปรับเปลี่ยนจาก ego-centric mental model ไปสู่ eco-centric mental model เริ่มจากการทบทวน “สมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ”

    – จาก nature as resource ที่มองว่าธรรมชาติเป็นทรัพยากร ไปเป็น nature as source ที่มองว่าเราหยิบยืมจากธรรมชาติ และต้องคืนกลับให้ธรรมชาติ
    – จากการที่มุ่งใช้ธรรมชาติเป็นเครื่องมือมาตอบโจทย์ตนเอง ไปเป็นการที่มุ่งพึ่งพาใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างยั่งยืน
    – จากการมุ่งสร้างอำนาจเหนือธรรมชาติควบคุมธรรมชาติ ไปเป็นการมุ่งเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ อยู่ร่วมกับธรรมชาติ
    – จากความพยายามจะตักตวงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วม ไปเป็นความตั้งใจที่จะปกป้องทรัพยากรร่วม

พร้อมๆ กับการเปลี่ยน “สมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์”

    – จากมนุษย์มีข้อบกพร่องและไม่น่าไว้วางใจ เป็นมนุษย์มีศักยภาพสามารถสร้างความเป็นไปได้ที่หลากหลาย
    – จากสัตว์เศรษฐกิจที่มีเหตุมีผลตามหลักเศรษฐศาสตร์ เป็นสัตว์สังคมที่ปรารถนาอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างปกติสุข
    – จากเรียกร้องปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง เป็นคุ้มครองปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม

การทบทวนสมมติฐานดังกล่าว นำมาสู่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เรากำลังเปลี่ยนจากโลกที่พัฒนาไปสู่ความทันสมัย ที่มีกระบวนทัศน์คือ การใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมธรรมชาติ (controlling nature) เชื่อในการแข่งขันโดยการพยายามจะควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น (controlling others) ไปสู่โลกที่พัฒนาไปสู่ความยั่งยืน ที่มีกระบวนทัศน์คือ การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติและผู้อื่นอย่างกลมกลืน (living in harmony with nature & others)

ภายใต้ ego-centric mental model เราถูกสอนให้เน้นการสร้างความอยู่ดีมีสุขของตัวเอง (individual well-being) ซึ่งนำมาสู่ความไม่สมดุลเชิงระบบ ดังนั้นเราจะต้องปรับเปลี่ยนจากที่เคยให้ความสำคัญกับความอยู่ดีมีสุขของตัวเองไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของระบบ (system well-being) ที่เน้นใน 2 มิติด้วยกันคือ ความอยู่ดีมีสุขร่วมกับผู้อื่น (collective well-being) และความอยู่ดีมีสุขร่วมกับธรรมชาติ (planetary well-being) ซึ่งจะนำมาสู่การปรับสมดุลเชิงระบบ ที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข

มิเพียงเท่านั้นเราถูกสอนให้เน้น maximizing individual benefit และ minimizing individual loss หรืออาจกล่าวง่ายๆ คือ “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น” โดยการผลักภาระปล่อยของเสียและมลพิษออกสู่สภาวะแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ยั่งยืน การที่จะอยู่อย่างถูกต้องและยั่งยืนได้นั้นจะต้องปรับเปลี่ยน mindset จาก “maximizing individual benefit และ minimizing individual loss”ไปสู่ “maximizing system benefit และ minimizing system loss” ซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จาก individual well-being ไปสู่ system well-being นั่นคือ

  • จาก short-term individual gain, long-term system loss ไปสู่ short-term individual loss, long-term system gain (โควิด-19 เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ผู้คนให้ความร่วมมือยอมฉีดวัคซีน ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง เพื่อให้สังคมโดยรวมอยู่รอดปลอดภัยจากการระบาด)
  • จาก local maximum, local minimumด้วยการ internalizing good เข้าหาตัวexternalizing bad ออกสู่ระบบ ไปสู่ global maximum, global minimum ด้วยการ internalizing ทั้ง good และ bad externality (การผลักดันขององค์กรธุรกิจเอกชนไปสู่ net zero economy เป็นตัวอย่างที่ดี)
  • ในบริบทของภาคธุรกิจจาก shareholder value creation ไปสู่ stakeholder value creation (ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การปรับเปลี่ยนแนวคิดจาก doing well then doing good เป็น doing well by doing good)
  • ภายใต้ greed to growth, growth to greed เราเชื่อว่าหากความมั่งคั่งมากขึ้น ความสุขก็จะมากขึ้นตาม สุดท้ายจึงทำให้เราวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทว์อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้น แต่การจะเปลี่ยนจาก ego-centric มาสู่ eco-centric mental model เราจะต้องรู้จักพอเพียงคือเมื่อเราพอประทังชีวิตและอยู่รอดแล้ว เราจะต้องพอเพียง พูดอีกนัยหนึ่งคือ เมื่อไม่พอต้องรู้จักเติม เมื่อพอต้องรู้จักหยุด และเมื่อเกินต้องรู้จักปัน ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนของระบบ และจะทำให้ความเป็นปกติสุขเกิดขึ้นตามมา

    อนาคตของวิทยาการการจัดการ

    ในปัจจุบันเรามักจะสอนว่า การจะได้มาซึ่งผลลัพธ์จะต้องมีกลยุทธ์ และต้องพัฒนาขีดความสามารถที่จะไปขับเคลื่อนกลยุทธ์เหล่านั้น ผ่านการใช้ data ประมวลออกมาเป็น information และพัฒนาเป็น knowledge รวมถึงเชื่อว่าเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง data science และ ICT ทำให้ธุรกิจมีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น แต่การที่จะไปตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ข้อต่อที่ขาดหาย (missing link) คือ “ปัญญา” (wisdom)

    เพราะฉะนั้นจึงถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องเน้นปัญญามากกว่าแค่องค์ความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อจะไปสู่โลกที่น่าอยู่กว่านี้ มีอนาคตที่สดใสกว่าเดิม ซึ่งต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนเชิงระบบ (systemic transformation) ที่เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนความเชื่อ จาก “the bigger, the better” ไปสู่ “the smarter, the better” จาก “the richer, the better” ไปสู่ “the more options, the better” และจาก “if you want to go fast, go alone” ไปสู่ “if you want to go far, go together”

    แนวคิดใหม่ในการบริหารจัดการธุรกิจ

    ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาเกิดวิวัฒน์ครั้งใหญ่ในปริมณฑลของการบริหารจัดการธุรกิจจาก shareholder-driven business model ซึ่งเน้น “doing well by creating shareholder value” พัฒนามาสู่ CSR business model ซึ่งเน้น “doing well then doing good” คือการที่ทำให้ธุรกิจตัวเองอยู่รอดก่อน แล้วจึงค่อยมาทำดีผ่าน corporate social responsibility (CSR) และล่าสุดมาสู่ stakeholder-driven business model ที่เน้น “doing well by doing good” คือการจะมีผลประกอบการที่ดีได้ ต้องเริ่มต้นจากการทำดีก่อน

    ในทำนองเดียวกันกระบวนทัศน์ในการทำธุรกิจก็ได้เปลี่ยนแปลงไป จาก make & sell ที่เน้น proposing a better product, economies of scale, mass production, goods for the few และ owning asset ภายใต้ shareholder driven business model ไปสู่ sense & respond ที่เน้น serving the customer better,economies of speed, mass customization,goods for almost everyone และ gaining access และกำลังค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปสู่ caring & sharing ที่เน้น creating a better world, economies of collaboration, common creating, goods for, with & by everyone และ unleashing people potential ภายใต้ stakeholder driven business model

    กระบวนทัศน์ดังกล่าว ได้นำมาสู่รูปธรรมของการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล อาทิ การเปลี่ยนจาก carbon-based platform ไปสู่ non-carbon-based platform นั่นคือจาก fossil fuels ไปสู่ renewal energy จาก centralized ไปสู่ decentralized operation อย่างเช่น ในประเทศสิงคโปร์ที่มีการขยับปรับเปลี่ยนจาก natural gas ไปสู่ solar energy ไปสู่ regional power grid และไปสู่ low carbon alternative ในที่สุด

    ควบคู่กันนั้นก็มีการปรับเปลี่ยนจากแนวคิด value chain ที่มองว่าทุกสิ่งที่ผลิตขึ้นมาใช้แล้วทิ้ง ไปสู่แนวคิด value circle ที่มองว่าทุกสิ่งที่ผลิตขึ้นมานั้นต้องถูกนำกลับมาหมุนเวียน ใช้ซ้ำ โดยเปลี่ยนจากที่มอง nature as resource ไปสู่ nature as source จากการเน้น technical efficiency ไปสู่การให้ความสำคัญกับ ecosystem efficiency และจากการปลดปล่อยnegative externalities ไปสู่การ internalize externalities

    ในทำนองเดียวกันเริ่มมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจาก degenerative linear economy ไปสู่ regenerative circular economy ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสิงคโปร์ที่มีการนำน้ำทะเลมาทำเป็นน้ำจืด เรียกว่า “NEWater” นำขี้เถ้าจากอุตสาหกรรมมาทำเป็นทราย เรียกว่า “NEWSand” และนำขยะพลาสติกมาผลิตน้ำมัน เรียกว่า “NEWoil”

    นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนการสร้างความได้เปรียบในการทำธุรกิจ จาก cost advantageไปสู่ loss advantage แทนที่จะง่วนอยู่กับการลดต้นทุนธุรกิจของตัวเอง ไปสู่การลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับธรรมชาติ สังคม และสาธารณะ โดยการ re-conceptualizing, reorganizing และ rebuilding modes of production and consumption จาก competitive modes ไปสู่ responsible modes of production and consumption มากขึ้น

    ณ ขณะนี้หลายองค์กรเริ่มมุ่งไปสู่ net zero economy ซึ่งจะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อ ความมุ่งมั่น และความคิดฐานรากของฝ่ายบริหาร ภายใต้ VUCA World ฝ่ายบริหารจำเป็นจะต้องเรียนรู้การสร้าง wisdom เพื่อพัฒนา mental model และปรับเปลี่ยนmindset แล้วจึงค่อยมาพูดถึง managerial tools & enabling technologies เนื่องจากเครื่องมือและเทคโนโลยีนั้น ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นแต่ยังไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนผู้บริหารให้เป็น responsible CEO ที่จะขับเคลื่อน responsible business ภายใต้ responsible mode of production and consumption ได้ในที่สุด

    ผู้บริหารต้องเรียนรู้ managerial tools ใหม่ๆ ในการรับมือกับ global complex system ใน vuca world เช่น complex adaptive system, parallel operating system, sense making capability, anti-fragile capability, dynamic incompleteness และ temporal ambidexterity ฯลฯ

    ควบคู่กับ managerial tools มี 6 enabling technologies ที่ผู้บริหารจะต้องทำความเข้าใจและประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนองค์กรและรังสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมทางธุรกิจ ประกอบด้วย artificial intelligence, distributed ledgers & blockchain, internet of things, autonomous machines, 5G networks และ virtual, augmented & mixed reality ซึ่งสิ่งสำคัญคือการผนึกกำลังกันระหว่างปัญญามนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์อย่างชาญฉลาด เพื่อดึงจุดแข็งของทั้ง 2 สิ่งนี้ผนวกเข้าด้วยกัน ภายใต้แนวคิด collaborative intelligence

    นอกจากนี้กระบวนทัศน์การพัฒนา science, technology and innovation ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเช่นกัน จากเดิมที่เป็น science for modernity, technology for competitiveness และเน้นการสร้าง exclusive innovation ภายใต้ ego-centric mental model ไปสู่ science for sustainability, technology for humanities และเน้นการสร้าง inclusive innovation ภายใต้ eco-centric mental model

    เมื่อโลกเปลี่ยน การบริหารจัดการต้องปรับ

    เมื่อ mental model เปลี่ยนจากการควบคุมธรรมชาติและแข่งขันกับผู้อื่น ไปสู่การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติและผู้อื่นแล้ว สิ่งที่พวกเราจะต้องปรับเปลี่ยนตามคือ mindset โดยการปรับเปลี่ยนจาก ego-centric mindset ไปสู่ eco-centric mindset และจาก fixed mindset ไปสู่ growth mindset

    การปรับเปลี่ยนจาก ego-centric mindset ไปสู่ eco-centric mindset ได้ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ ดังนี้

      – จากการขับเคลื่อนด้วยความโลภมนุษย์ ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยปัญญามนุษย์
      – จากการมีชีวิตแบบ economic life ไปสู่การมีชีวิตที่สมดุล (balanced life)
      – จากความมุ่งมั่นตักตวงและสั่งสมความมั่งคั่งไปสู่การเปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการสร้างและกระจายความมั่งคั่ง
      – จากการครอบครองความเป็นเจ้าของ ไปสู่การเกื้อกูลแบ่งปัน
      – จาก competitive mode ไปสู่ responsible mode of production & consumption

    พร้อมๆ กับการปรับเปลี่ยนจาก fixed mindset ไปสู่ growth mindset เพื่อผลักผู้คนให้ออกจาก fear zone ที่เต็มไปด้วยความตระหนกและเป็นกังวลกับโลกที่เผชิญอยู่ ไปสู่ learning zone ที่ผู้คนเริ่มตระหนัก เรียนรู้และปรับตัว และพัฒนาไปสู่ hope zone ที่ผู้คนเริ่มมั่นใจเดินหน้า มองวิกฤติเป็นโอกาส โดยจะต้องเปลี่ยนในสาระสำคัญ ดังนี้

    • จาก keep status quo ไปสู่ make change
    • จาก fear of mistake ไปสู่ fear of missing out
    • จาก failure as adversity ไปสู่ failure as adventure
    • จาก risk-averse ไปสู่ risk-embracing

    โลกอนาคตเป็นโลกที่เรากำหนดได้ หากเราสามารถสร้างโลกที่ยั่งยืนและสังคมที่เท่าเทียมได้ เราก็จะสามารถนำพาโลกไปสู่อนาคตที่สดใส หากเรายังคงมี fixed mindset ที่พยายามจะอยู่ในสถานะเดิมๆ กลัวความผิดพลาด มองแต่ว่าจะปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดตามสถานการณ์ได้อย่างไร เราจะไม่สามารถกำหนดอนาคตได้เอง

    การที่เราจะสามารถกำหนดอนาคตได้เองนั้น เราจะต้องมี growth mindset ที่จะต้องกล้าที่จะเปลี่ยนและไม่กลัวที่จะผิดพลาด

    ในโลกยุคใหม่ ประเด็นสำคัญที่สถาบันการศึกษาควรสอนคือ สอนให้เชื่อใน defined future มากกว่า default future สอนให้กล้าที่จะ change the rule of the game แทนที่จะ follow the rule the game และเน้น discovery-driven learning แทนที่จะแค่ goal-driven learning ผ่าน “4E learning process”ด้วยการจุดประกายให้กล้าที่จะสำรวจสืบค้น (exploring) กล้าที่จะทดลองปฏิบัติ (experimenting) จนสั่งสมเป็นประสบการณ์ (experiencing) และเกิดการแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน (exchanging) เพราะถ้าหากว่าเรายังคงมองความล้มเหลวเป็นเรื่องน่ากลัวและไม่กล้าที่จะเสี่ยง เราก็จะทำได้แค่ incremental change ไม่มีทางไปสู่ transformative change ได้

    5 ประเด็นสำคัญในการปรับเปลี่ยนหลักสูตรวิทยาการจัดการ

    เมื่อโลกเปลี่ยน วิทยาการจัดการต้องปรับ โดยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในวิทยาการจัดการใน 5 ประเด็นสำคัญด้วยกัน คือ

    1) Sustainable Orientation
    การปรับเปลี่ยนจาก modern development ไปสู่ sustainable development ทำให้การบริหารจัดการต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย จาก modern management ไปสู่ sustainable management

    2) Multidisciplinary Approach
    รากเดิมของวิทยาการจัดการมาจากเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐศาสตร์จุลภาค วิทยาการจัดการเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องอาศัยการบูรณาการข้ามศาสตร์ ทั้งเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ

    3) Multiple Realities
    จากการบริหารจัดการในโลก Actual world ไปสู่การบริหารจัดการใน virtual world ไปสู่โลกที่มีการทับซ้อนและเชื่อมต่อกันของ actual world และ virtual world กลายเป็นการบริหารจัดการใน dual world

    4) Multi-stakeholder Engagement
    จากการเน้น shareholders ไปสู่การครอบคลุม stakeholders กลุ่มต่างๆ ดังนั้นการดำเนินธุรกิจแบบ doing well then doing good ไม่ตอบโจทย์แล้ว จะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การดำเนินธุรกิจแบบ doing well by doing good

    5) System-Based Objectives & Key Results (OKR) และ Key Performance Indicators (KPI)
    ชุดของ OKR และ KPI ได้เปลี่ยนไปจากการเน้น profitability, market share, growth และ economies of scale/scope/speed ใน modern management ไปสู่ sustainable growth, shared prosperity, saved planet และ secured peace ใน sustainable management

    รวมถึงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการบริหารจัดการจาก functional-based ไปสู่ agenda-based curriculum มากขึ้น นั่นคือจากการเรียนการสอนที่เน้น data analytics, digital transformation, financial engineering, crisis management, talent & technology management ฯลฯ ในปัจจุบัน ไปสู่การเรียนการสอนที่เน้น wisdom for sustainable development, sufficiency economy philosophy, BCG economy model, SDGs in action, technology for humanity, inclusive innovation, common creating ฯลฯ เพื่อจะไปตอบโจทย์การดำรงชีวิตและการดำเนินธุรกิจในโลกแห่งอนาคตได้อย่างปกติสุข