ThaiPublica > คอลัมน์ > รอมฎอน — ความสำคัญต่อโลกมุสลิมในศตวรรษที่ 21

รอมฎอน — ความสำคัญต่อโลกมุสลิมในศตวรรษที่ 21

2 เมษายน 2022


ดร. นพ.มโน เลาหวณิช ผู้อำนวยการสถาบันคานธี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต

ที่มาภาพ : https://www.pewresearch.org/wp-content/uploads/sites/7/2013/07/lede_globalsurveymuslims-II.jpg

ศาสนาอิสลามถือได้ว่าเป็นศาสนาที่มีจำนวนศาสนิกมากเป็นอันดันสองของโลก ซึ่งมีจำนวนถึง 1.8 พันล้านคน (ศาสนาคริสต์ 2.3 ล้านคน) อันที่จริงศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ และศาสนายูดาย นับถือพระผู้เป็นเจ้าพระองค์เดียวกันทั้งหมด ในศาสนายูดายไม่ยอมออกชื่อพระนามพระผู้เป็นเจ้า (ด้วยความเคารพอย่างสูง) ส่วนในศาสนาคริสต์ พระผู้เป็นเจ้าเป็น “พระบิดา” ส่วนพระเยซูนั้นเป็นพระบุตรคนเดียวของพระองค์ซึ่งถูกส่งมาเกิดเพื่อไถ่บาปของมนุษย์ ส่วนพระนบี มุฮัมมัด เป็นศาสดาพยากรณ์ (prophet) คนสุดท้ายที่พระอัลเลาะห์ส่งมาก่อนวันสิ้นโลก

แม้ว่านับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน (เอกเทวนิยม) และมีศาสนาสถานที่ซ้ำซ้อนกันหลายแห่งก็ตาม ลักษณะของ “ความเชื่อ” ของชาวมุสลิมนั้นแตกต่างจาก “ความเชื่อ” ในศาสนายูดายและศาสนาคริสต์อย่างมาก คือ ลักษณะของความเชื่อในศาสนายูดายและศาสนาคริสต์นั้นอยู่ในลักษณะของ “ความเชื่อว่ามีอยู่จริงและเป็นองค์แห่งความรักและความเมตตา” ส่วนในศาสนาอิสลามนั้น “ความเชื่อ” (faith) ได้พัฒนาส่ง “ความภักดี” (devotion) ซึ่งไม่มีมิติให้ตั้งคำถามใดๆ ต่อพระคัมภีร์และต่อพระผู้สร้างผู้สูงสุดเลย ทั้งความคิดและอารมณ์ทั้งหมดทุ่มเทให้พระองค์ท่านอย่างสุดจิตสุดใจ อีกทั้งคำสอนในศาสนาหลอมรวมเรื่องจริยธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองเป็นแท่งเดียวกันหมด ทำให้ชุมชนมุสลิมทั่วโลกมีการผนึกกำลังและสามัคคีกันยิ่งกว่าทุกศาสนา และมีเทศกาลสำคัญร่วมกันคือเทศกาลถือศีลอดในเดือน “รอมฎอน”

ต้นเดือนเมษายนนี้ชาวมุสลิมทั่วโลกถือศีลอดตลอดทั้งเดือน ความหมายของการถือ “ศีลอด” นั้นมีความหมายอย่างไรบ้าง สำหรับชาวมุสลิมทั้งในประเทศไทย เอเชีย ตะวันออกกลาง และในประเทศในยุโรปที่ในช่วงเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืนมาก ชาวมุสลิมในประเทศนั้นๆ ประพฤติตนเองอย่างไร และในขณะที่เกิดวิกฤติการณ์ความขัดแย้งในประเทศเยเมนและอัฟกานิสถาน เกิดอะไรขึ้นกับชาวมุสลิมประเทศนั้นๆ องค์การสหประชาชาติได้ดำเนินยุทธศาสตร์อะไรในช่วงเดือนอันศักดิ์สิทธิ์นี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและสันติภาพในดินแดนดังกล่าว

“รอมฎอน” (อาหรับ: رَمَضَان) เป็นเดือนที่เก้าในจำนวนทั้งหมดสิบสองเดือนของปฏิทินจันทรคติของศาสนาอิสลาม และเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกเปิดเผยต่อศาสดาพยากรณ์ของศาสนาอิสลามท่านนบีมุฮัมมัดก่อนที่ท่านจะออกประกาศศาสนา (หากเทียบกับในพุทธศาสนาก็คือช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขตลอด 7 สัปดาห์หลังจากที่ตรัสรู้แล้วนั่นเอง)

การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในห้าเสาหลักของศาสนาอิสลาม เดือนนี้ชาวมุสลิมถือศีลอดในช่วงเวลากลางวันตั้งแต่เช้าจรดค่ำโดยไม่ดื่มน้ำและอาหารล่วงหล่นผ่านลำคอลงไปเลย หากผู้นั้นเป็นมุสลิม ไม่ว่าหญิงหรือชาย ยกเว้นคนเสียจริต ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่กำลังเดินทาง คนชรา ผู้เยาว์ หญิงซึ่งกำลังตั้งครรภ์ หญิงผู้กำลังให้นมบุตร ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงที่กำลังมีประจำเดือน

ตามความเชื่อในศาสนาอิสลามคือ พระคัมภีร์อัลกุรอ่านถูกส่งลงมาจากสวรรค์ ในช่วงเดือนนี้โดยตรงต่อท่านนบีมุฮัมมัดเพื่อเป็นการเตรียมการเผยแพร่อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น ท่านนบีมุฮัมมัดจึงบอกผู้ติดตามของเขาว่าประตูสวรรค์จะเปิดตลอดทั้งเดือนและประตูนรก (จาฮันนัม) จะถูกปิดและถูกมองว่าเป็น “เทศกาลแห่งการละศีลอด” หรือวันอีดิลฟิฏร์

เนื่องจากต้องอดอาหารตลอดทั้งวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารให้อิ่มเสียก่อนรุ่งสาง ซึ่งเรียกอาหารมื้อนี้ว่า “ซูฮูร์” และเมื่อพระอาทิตย์ตกเดินแล้วมีงานเลี้ยงอาหารกลางคืนที่ละศีลอดเรียกว่า “ละศีลอด” แม้ว่าจะมีการออกฟัตวาที่ประกาศว่าชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีพระอาทิตย์เที่ยงคืนหรือคืนขั้วโลกควรปฏิบัติตามตารางเวลาของมักกะฮ์ เป็นเรื่องปกติที่จะปฏิบัติตามตารางเวลาของประเทศที่ใกล้ที่สุดซึ่งกลางคืนสามารถแยกจากกลางวันได้

วันแรกและวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอนถูกกำหนดโดยปฏิทินอิสลามตามจันทรคติให้เป็นวันที่สำคัญที่สุดของเดือน เพราะเชื่อกันว่า รางวัลทางจิตวิญญาณ (thawab) ของการถือศีลอดจะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอนนี้เท่านั้น ดังนั้น มุสลิมจึงละเว้นไม่เพียงแค่อาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเว้นขาดจากการเสพผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิด ความสัมพันธ์ทางเพศ และพฤติกรรมที่เป็นบาปอื่นๆ ด้วย

ดวงจันทร์เสี้ยวที่ถูกประดับอย่างสวยงามในช่วงรอมฎอนในประเทศจอร์แดน ที่มาภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/

ทุกคืนในเดือนศักดิ์สิทธิ์นี้มีการละหมาดเพิ่ม ซึ่งเรียกว่า ตะระวีฮ์ (Tarawih อาหรับ: تراويح) เป็นการละหมาดเพิ่มเติมทุกคืน ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่ละหมาดวันละ 5 ครั้ง ไม่มีการบังคับการอ่านพระคัมภีร์อัลกุรอาน แต่ชาวมุสลิมได้รับการเชิญชวนให้อ่านอัลกุรอานทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยสามสิบจูซ (ส่วน) ตลอดสามสิบวันของเดือนรอมฎอน ชาวมุสลิมบางคนรวมการสวดหนึ่งญุซเข้าไว้ในแต่ละช่วงละ 30 ตารอวีห์ ในระหว่างเดือนอันศักดิ์สิทธิ์นี้ (พระคัมภีร์อัลกุรอานมีทั้งหมด 114 บท การอ่านแต่ละคืนจึงเอาหลายบทมาผนวกกัน)

ความสัมพันธ์ระหว่างเดือนรอมฎอนกับอัตราการเกิดอาชญากรรมนั้นพบว่าอาชญากรรมส่วนใหญ่ลดลง เช่น บางเมืองในตุรกี (อิสตันบูลและคอนยา) และจังหวัดทางตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย

ผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2548 พบว่าการทำร้ายร่างกาย การโจรกรรม และอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ในช่วงเดือนรอมฎอนในซาอุดีอาระเบียลดลง แต่อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ลดลงเท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีรายงานอัตราการเกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอนในตุรกีและจาการ์ตา บางส่วนของแอลจีเรีย เยเมน และอียิปต์ มีการเสนอกลไกต่างๆ สำหรับผลกระทบของเดือนรอมฎอนต่ออาชญากรรม

อิหม่ามชาวอิหร่านให้เหตุผลว่าการถือศีลอดในช่วงรอมฎอนทำให้ผู้คนมีโอกาสน้อยที่จะก่ออาชญากรรมอันเนื่องมาจากเหตุผลทางจิตวิญญาณ โดยเหตุผลที่ว่าการถือศีลอดอาจทำให้ผู้คนเครียด ซึ่งจะทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะก่ออาชญากรรมมากขึ้น เขาวิพากษ์วิจารณ์ชาวมุสลิมที่ก่ออาชญากรรมขณะถือศีลอดในช่วงรอมฎอนว่าเป็น “ของปลอมและผิวเผิน” ตำรวจในซาอุดีอาระเบียระบุว่าอัตราการเกิดอาชญากรรมลดลงเนื่องมาจาก “อารมณ์ทางวิญญาณที่แพร่หลายในประเทศ”

ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ตำรวจกล่าวว่าการจราจรเนื่องจากผู้คนจำนวน 7 ล้านคนออกจากเมืองเพื่อเฉลิมฉลองวันอีดิลฟิฏร์ส่งผลให้อาชญากรรมบนท้องถนนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตำรวจเพิ่มกำลังพล 7,500 นาย ในช่วงรอมฎอน ผู้แสวงบุญหลายล้านคนเดินทางเข้าซาอุดีอาระเบียเพื่อเยี่ยมชมมักกะฮ์ ตามรายงานของเยเมนไทมส์ ผู้แสวงบุญดังกล่าวมักจะเป็นองค์กรการกุศล และเป็นผลให้ผู้ลักลอบขนเด็กที่มาจากเยเมนมาขอทานตามท้องถนนในซาอุดีอาระเบีย

ปัจจุบันนักมานุษยวิทยาพบว่า การถือศีลอดของชาวมุสลิมในประเทศที่ใกล้ขั้วโลกมีปัญหา เพราะทัศนะของอิสลามเกี่ยวกับการถือศีลอดขึ้นอยู่กับการเห็นดวงจันทร์เสี้ยว ระยะเวลาของรุ่งอรุณถึงพระอาทิตย์ตกจะแตกต่างกันไปตามส่วนต่างๆ ของโลก ตามประเพณีชาวมุสลิมส่วนใหญ่ถือศีลอดเป็นเวลาสิบเอ็ดถึงสิบหกชั่วโมงในเดือนรอมฎอน ส่วนในบริเวณใกล้ขั้วโลก ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างรุ่งสางถึงพระอาทิตย์ตกอาจเกินยี่สิบสองชั่วโมงในฤดูร้อน ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2014 ชาวมุสลิมในเมืองเรคยาวิก ไอซ์แลนด์ และเมืองทรอนด์เฮม ประเทศนอร์เวย์ อดอาหารเกือบยี่สิบสองชั่วโมง ในขณะที่ชาวมุสลิมในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย อดอาหารเพียงสิบเอ็ดชั่วโมงเท่านั้น ในพื้นที่ที่มีลักษณะกลางคืนหรือกลางวันต่อเนื่องกัน ชาวมุสลิมบางคนปฏิบัติตามตารางการถือศีลอดในเมืองที่ใกล้ที่สุดซึ่งมีพระอาทิตย์ขึ้นและตก ในขณะที่คนอื่นๆ ปฏิบัติตามเวลาของเมืองมักกะฮ์

สิ่งที่น่าสนใจในยุคอวกาศนี้ คือ เมื่อนักบินอวกาศมุสลิมผู้ซึ่งอยู่ระหว่างเดือนรอมฎอนในวงโคจรโลกจะทำอย่างไร คำตอบคือ นักบินอวกาศมุสลิมในอวกาศกำหนดเวลาปฏิบัติทางศาสนาตามเขตเวลาของตำแหน่งสุดท้ายบนโลก ตัวอย่างเช่น นี่หมายความว่านักบินอวกาศจากมาเลเซียที่ปล่อยจากศูนย์อวกาศเคนเนดีในฟลอริดาจะจัดศูนย์อย่างรวดเร็วตามพระอาทิตย์ขึ้นและตกในเวลาตะวันออกของฟลอริดา ซึ่งรวมถึงเวลาสำหรับละหมาดทุกวัน เช่นเดียวกับพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้นสำหรับเดือนรอมฎอน

ส่วนการจ้างงานช่วงรอมฎอน ชาวมุสลิมยังคงทำงานต่อไปในช่วงรอมฎอนเหมือนเดิมทุกประการ อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศอิสลาม เช่น โอมานและเลบานอน ชั่วโมงทำงานนั้นสั้นลง มักแนะนำให้ชาวมุสลิมที่ทำงานแจ้งนายจ้างของตนว่ากำลังถือศีลอดอยู่หรือไม่ เนื่องจากอาจถือได้ว่าการถือศีลอดจะส่งผลต่อการทำงาน ขอบเขตที่ผู้สังเกตการณ์เดือนรอมฎอนได้รับการคุ้มครองโดยที่พักทางศาสนานั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ นโยบายที่ทำให้พวกเขาเสียเปรียบเมื่อเทียบกับพนักงานคนอื่นๆ ได้รับการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องการเลือกปฏิบัติในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา บทความข่าวอาหรับรายงานว่าธุรกิจของซาอุดีอาระเบียไม่พอใจกับชั่วโมงการทำงานที่สั้นลงในช่วงเดือนรอมฎอน บางคนรายงานว่าผลผลิตลดลง 35–50% ธุรกิจซาอุดีอาระเบียเสนอให้รางวัลโบนัสเงินเดือนเพื่อจูงใจชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้น แม้ว่าผลผลิตจะลดลง พ่อค้าก็สามารถได้รับผลกำไรที่สูงขึ้นในเดือนรอมฎอนอันเนื่องมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น

ในช่วงสิ้นเดือนรอมฎอน พนักงานส่วนใหญ่จะได้รับโบนัสหนึ่งเดือนที่เรียกว่าตุนจันกันฮารีรายอ อาหารบางชนิดเป็นที่นิยมโดยเฉพาะในช่วงรอมฎอน เช่น เนื้อวัวหรือควายตัวใหญ่ในอาเจะห์และหอยทากในเขตชวาตอนกลาง พิธีละศีลอดจะมีการประกาศทุกเย็นโดยการตีกลองเบดัก (กลองยักษ์) ในมัสยิด

คำทักทายทั่วไปในช่วงรอมฎอนได้รับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ได้แก่ ชาวมุสลิมทักทายกันว่า “รอมฎอนมูบารัก” และ “รอมฎอนคารีม” ซึ่งหมายถึง (มี) “พรรอมฎอน” และ “รอมฎอนใจกว้าง” ตามลำดับในช่วงเดือนรอมฎอนในตะวันออกกลาง ชาวเมซาฮาราตีตีกลองเพื่อปลุกผู้คนให้ตื่นมารับประทานอาหารซูโฮร์ในเวลาใกล้รุ่ง ในทำนองเดียวกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการตีกลอง “กรีดเคนตอง” เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน

คนตีกลองเบดักในประเทศอินโดนีเซีย ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/

ในปีนี้ องค์การสหประชาชาติได้พยายามทุกวิถีทางที่จะใช้ช่วงเวลาเดือนแห่งความศักดิ์สิทธิ์นี้สร้างสันติภาพในดินแดนที่ชาวมุสลิมเป็นใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยความชัดแย้ง สงครามกลางเมือง ภัยก่อการร้าย ความอดอยาก ในจำนวนนี้พื้นที่ที่องค์การสหประชาขาติประกาศความสำเร็จอย่างชัดแจ้งคือการยุติความรุนแรงในประเทศเยเมน ซึ่งได้เกิดสงครามกลางเมือง ต่อสู้กันระหว่างฝ่ายรัฐบาลซึ่งหนุนหลังโดยซาอุดีอาระเบีย และกลุ่มแยกดินแดนฮูตีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ทั้งสองฝ่ายตกลงหยุดยิงเป็นเวลา 2 เดือนเริ่มจากวันแรกแห่งเทศกาลถือศีลอด จะมีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกของทั้งสองฝ่าย การซ่อมแซมท่าเรือที่ได้รับความเสียหายจากสงครามซึ่งยาวนานติดต่อกันมาถึง 7 ปีและกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 8 แล้ว ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ชาวเยเมนนับแสนเสียชีวิต เด็กเล็กจำนวนมากตายจากการขาดสารอาหาร เมื่อประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งใหม่ๆ ได้พยายามผลักดันให้เกิดการเจรจาหยุดยิงและใช้วิธีการปรองดอง ถึงขนาดถอดชื่อ “ฮูตี” ว่าไม่ใช่องค์การก่อการร้าย แต่เป็นผู้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ กระนั้นก็มิประสบความสำเร็จ มาประสบความสำเร็จในครั้งนี้สาเหตุสำคัญมาจากที่คู่กรณีทุกฝ่ายนับถือศาสนาอิสลามด้วยกันทั้งสิ้น

อีกดินแดนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จคือ “ปาเลสไตน์” เพราะชาวปาเลสไตน์นั้นใฝ่สันติ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาในครั้งก่อนๆ สาเหตุมาจากการถูกกลั่นแกล้ง โดยเฉพาะเมื่อพรรคการเมืองขวาจัดขึ้นมาเป็นใหญ่ เมื่อสิ้นสุดเดือนรอมฎอนปีที่แล้วนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าล้อมสุเหร่ากลางเมืองเยรูซาเลม ซึ่งชาวมุสลิมปาเลสไตน์กำลังทำพิธีละหมาดครั้งสุดท้าย เกิดการจับกุมและความรุนแรงขึ้นลุกลามจนกระทั่งชาวปาเลสไตน์ยิ่งจรวดเจ้าถล่มเมืองใหญ่ๆ ของอิสราเอล และอิสราเอลก็ตอบโต้ด้วยความรุนแรงเช่นกันชนิดที่เรียกว่า “ตาต่อตาฟันต่อฟัน” ยังผลให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไปนับร้อย เหตุการณ์ความรุนแรงทั้งหมดเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการเมืองแก่นายเบนจามิน เนทันยาฮู เพื่อให้ตนได้อยู่ในอำนาจต่อไปนั่นเอง แต่ภายใต้การบริหารของนายเบนเนต สถานการณ์ในปาเลสไตน์สงบลงมาก เดือนรอมฎอนในปีนี้น่าจะเป็นเดือนแห่งความสงบทั้งปาเลสไตน์และอิสราแอล

อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่องค์การสหประชาชาติไม่ประสบความสำเร็จใดๆ เลย ประชาชนยากจนข้นแค้นลงทุกวัน บางครอบครัวต้องยอมขาย “ไต” ตนเองเพื่อให้ได้เงินมาไม่กี่ร้อยเหรียญ เพราะครอบครัวไม่มีรายได้ หลายครอบครัวยอมขายลูกสาวเพื่อให้ได้เงินมาประทังชีวิต

อีกทั้งรัฐบาลตอลิบานยังคุกคามสิทธิสตรี ไม่ยอมเปิดโรงเรียนให้หญิงสาวเข้าไปเรียนดังที่เคยสัญญาไว้ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมหลายแสนคนต้องผิดหวังเมื่อเดินทางไปถึงประตูโรงเรียนแล้วพบประกาศ “ห้ามเข้า” เงื่อนไขในการให้ทุนช่วยเหลือทาง “มนุษยธรรม” นั้นชาติตะวันตกกำหนดให้รัฐบาลตาลีบันต้องยอมรับสิทธิสตรีเสียก่อน นักเรียนหญิงต้องมีที่เรียน แม้รัฐบาลจีนได้ออกมาของร้องให้สหรัฐอเมริกาคืนเงินที่อัฟกานิสถานฝากไว้เพื่ออัฟกานิสถานจะได้เอามาพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ นายโจ ไบเดน ปฏิเสธและบอกว่าจะให้คืนเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะนำไปชดเชยแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากภัยก่อนการร้าย 911 เมื่อ 21 ปีก่อน ซึ่งชาวอัฟกานิสถานยอมรับเงื่อนไขนี้ไม่ได้

เดือนอันศักดิ์สิทธิ์ในปีนี้เป็นเดือนที่ชาวมุสลิมจะอดอยากมากที่สุด เพราะภัยจากสงครามในยูเครน อันเนื่องมากจากยูเครนเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวสาลีราคาถูกที่สุดของโลก หากรวมกับรัสเซียมีประมาณการส่งออกข้าวสาลีกว่าหนึ่งในสามของโลก ยูเครนนั้นไม่อาจส่งข่าวสาลีออกตลาดโลกได้ในปีนี้ และรัสเซียถูกสังคมโลกคว่ำบาตร ประเทศในตะวันออกกลางทั้งหลายอันได้แก่ อียิปต์ เลบานอน ซีเรีย จอร์แดน หรือแม้กระทั่งอินโดนีเซีย เดือดร้อนกันแล้วจากการขาดอาหาร ขนมปังราคาแพงอย่างมาก ความมั่นคงทางอาหารโลกสูญเสียไปในเดือนนี้ และอีกนานกว่าจะกลับคืนมาเหมือนเดิม