ThaiPublica > Native Ad > กลุ่ม ปตท. – พันธมิตร ตั้ง “โรงพยาบาลสนาม ICU 120 เตียง” ใหญ่ที่สุดของประเทศ ช่วยลดการเสียชีวิต-เข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียม

กลุ่ม ปตท. – พันธมิตร ตั้ง “โรงพยาบาลสนาม ICU 120 เตียง” ใหญ่ที่สุดของประเทศ ช่วยลดการเสียชีวิต-เข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียม

13 กันยายน 2021


โรงพยาบาลสนาม ICU สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับสีแดง ในโครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท. และพันธมิตร ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 4 ไร่ ด้านหน้าโรงพยาบาลปิยะเวท เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

กลุ่ม ปตท. – พันธมิตร ตั้ง “โรงพยาบาลสนาม ICU 120 เตียง” ใหญ่ที่สุดของประเทศ ช่วยลดการเสียชีวิต-เข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียม

โลกต่อสู้กับการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 มาเกือบ 2 ปี ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกกว่า 200 ล้านคน ผู้เสียชีวิตเกือบ 5 ล้านคน ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ขณะนี้เราอยู่ในการระบาดระลอกที่4 สงครามโควิด-19 ครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับทุกคน และเชื่อว่าทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อให้สถานการณ์การแพร่ระบาดระบาดของเชื้อร้ายโควิด-19 ชะลอลงและควบคุมให้ได้ในเร็ววัน

เครือข่ายจิตอาสา ภาคเอกชน ต่างร่วมแสดงพลังบวกมากมายในทุกรูปแบบ บางส่วนได้ประสานกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้พวกเราประชาชนคนไทยก้าวข้ามวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน เพราะสงครามครั้งนี้ไม่สามารถสู้ตามลำพังได้ จำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อย่างทั่วถึง

พลังความร่วมแรงร่วมใจของภาคเอกชน ประชาชน ทำให้มีโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ แยกผู้ติดเชื้อในแต่ละระดับอาการ เพื่อให้เข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียม และด้วยสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่ม ปตท.โดย “โครงการลมหายใจเดียวกัน” เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผนึกพลังกับภาครัฐและเอกชน ในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มุ่ง “ตรวจเร็ว แยกเร็ว รักษาเร็ว” เพื่อให้ประชาชนผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้ จึงได้จัดตั้งหน่วยคัดกรองโควิด-19 เปิดคัดกรองเฉลี่ยวันละ 1,000 – 1,200 คน เมื่อพบว่าติดเชื้อจะคัดแยกและให้ยารักษาทันที

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่ากลุ่ม ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนในการร่วมแก้ปัญหาโควิด-19 ซึ่งเป็นวิกฤติใหญ่ของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) สร้างความอุ่นใจแก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย วางระบบ Home Isolation และโรงพยาบาลสนาม (Hospitel) สีเขียว 1,000 เตียง สีเหลือง 300 เตียง และจัดตั้ง “โรงพยาบาลสนาม ICU” 120 เตียง ถือเป็น ICU สนามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่มีความสำคัญยิ่งในการช่วยลดการเสียชีวิตของประชาชน ด้วยความร่วมมือของพันธมิตรทุกภาคส่วน ผนวกกับความร่วมมือด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของกลุ่ม ปตท. ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยและสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“โรงพยาบาลสนาม ICU สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับสีแดง ในโครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท. ตั้งอยู่บนพื้นที่ 4 ไร่ ด้านหน้าโรงพยาบาลปิยะเวท เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ”

โรงพยาบาลสนาม ICU กลุ่มปตท.และพันธมิตร 120 เตียง

นายอรรถพลกล่าวต่อว่าทั้งนี้ในระยะเวลาเพียง 1 เดือน (9 สิงหาคม – 8 กันยายน 2564) หน่วยคัดกรองโควิด-19 และโรงพยาบาลสนามครบวงจร กลุ่ม ปตท. ให้บริการคัดกรองแก่ประชาชนไปแล้วกว่า 23,000 ราย ให้การรักษาผู้ติดเชื้อกว่า 2,600 ราย ในทุกระดับอาการ ขณะนี้มีผู้หายป่วยจากการรักษาในโครงการฯ แล้วจำนวนกว่า 1,100 ราย คิดเป็นร้อยละ 42 ซึ่งการให้บริการทั้งหมดนี้จะเปิดให้บริการไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในประเทศจะผ่านพ้นไป

สำหรับโรงพยาบาลสนามกลุ่ม ปตท. สามารถรองรับผู้ป่วยโควิดที่มีอาการวิกฤต (ICU) ระดับสีแดงมีความพร้อมระดับสูงสุดได้ จำนวน 120 เตียง โดยจัดให้มีพื้นที่รองรับผู้ป่วยโควิดที่ต้องฟอกไตโดยเฉพาะ จำนวน 24 เตียง หากคนไข้ไม่สามารถฟอกไตได้ จะทำให้คนไข้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก นอกจากนี้ยังมีเครื่องช่วยหายใจ ระบบออกซิเจนส่งตรงถึงทุกเตียง ซึ่งแต่ละเตียงจะแยกห้องกัน เป็นลักษณะห้องความดันลบ (Negative pressure room) เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมมาตรฐานระดับห้องไอซียูในโรงพยาบาล ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิทัล (central monitor) ทำให้สามารถสังเกตอาการของผู้ป่วยได้ตลอดเวลา และมีระบบการกู้ชีพอัตโนมัติ มีเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ สามารถส่งภาพไปยังรังสีแพทย์ทางไกลได้ทันที ถือเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบเข้มข้น (Intensive care) และมีรถพยาบาลฉุกเฉิน ที่เตรียมพร้อมรับส่งคนไข้ อีกทั้งมีแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอ มีเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. และ “Hybrid Treatment for PM2.5 and Airborne Pathogens” ของสถาบันนวัตกรรม ปตท. มาติดตั้ง เพื่อฟอกและกำจัดเชื้อโรคในอากาศบริเวณโดยรอบอีกด้วย


กลุ่ม ปตท. ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และช่วยบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนคนไทยจนกว่าสถานการณ์โควิด-19 จะผ่านพ้นไป โดยตั้งแต่มกราคม 2563 ถึงปัจจุบัน กลุ่ม ปตท. ได้จัดสรรงบประมาณกว่า 1,700 ล้านบาท เพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์ความรุนแรงในหลายด้าน จนนำมาสู่การจัดตั้ง “โครงการลมหายใจเดียวกัน” ขึ้นในปี 2564 เพื่อแบ่งเบาภาระของภาครัฐ และร่วมดูแลประชาชน โดยเฉพาะการมอบเครื่องช่วยหายใจ ออกซิเจนเหลว อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ จนนำมาสู่การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามดังที่กล่าวมาข้างต้น กลุ่มปตท.จึงขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์และคนไทยก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน