ThaiPublica > Native Ad > “Circular Meal…มื้อนี้เปลี่ยนโลก” ซีพีเอฟ ร่วมสร้างอาหารมั่นคงและการเข้าถึงอาหาร บริโภคอย่างรู้คุณค่า

“Circular Meal…มื้อนี้เปลี่ยนโลก” ซีพีเอฟ ร่วมสร้างอาหารมั่นคงและการเข้าถึงอาหาร บริโภคอย่างรู้คุณค่า

27 สิงหาคม 2021


“Circular Meal…มื้อนี้เปลี่ยนโลก” ซีพีเอฟ ร่วมสร้างอาหารมั่นคงและการเข้าถึงอาหาร บริโภคอย่างรู้คุณค่า

ในภาวะวิกฤติโควิด 19 ความต้องการสูงสุดของประชากรโลกในขณะนี้ นอกจากวัคซีนที่ทรงประสิทธิภาพในการควบคุมไวรัสร้ายแล้ว “อาหาร” เป็นปัจจัยสำคัญถัดมา เพื่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ เนื่องจากข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผลกระทบของโรคระบาดต่อ
กระบวนการผลิต การจัดหาวัตถุดิบ การขนส่งและการกระจายสินค้า จะมีผลต่อการเข้าถึงอาหารของคนทุกระดับ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนสู่การกินอย่างรู้คุณค่ามากขึ้น บริโภคแต่พอดี ไม่เหลือทิ้งเป็นขยะอาหารเช่นที่ผ่านมา

เพื่อร่วมดูแลสังคมและประเทศไทยให้ปลอดภัยไปด้วยกันในช่วงเวลาที่ยากลำบาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ริเริ่ม โครงการ “Circular Meal…มื้อนี้เปลี่ยนโลก” เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอและกระจายไปทุกพื้นที่ลดความเหลื่อมล้ำและความหิวโหยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ข้อที่ 12.3 มีเป้าหมายลดขยะอาหารทั่วโลกลง 50% ต่อหัวในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค ในปี 2573 เพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน กระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคมไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารได้ ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและการได้มาของอาหาร มีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารและสมดุลธรรมชาติจากการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ซีพีเอฟดำเนินการ ภายใต้นโยบาย Food Loss and Food Waste Policy ลดการสูญเสียอาหารในห่วงโซ่คุณค่าและลดปริมาณขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2573 ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ลูกค้า คู่ค้าธุรกิจ พนักงาน และเกษตรกร ตระหนักถึงความสำคัญของการลดการสูญเสียอาหาร อาหารส่วนเกิน และขยะอาหาร ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อร่วมกันสร้างห่วงโซ่การผลิตอาหารที่เข้มแข็ง และสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

สำหรับโครงการ Circular Meal ซีพีเอฟ ได้ร่วมมือกับมูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสทีแนนซ์ (ประเทศไทย) หรือ SOS และบริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ GEPP นำอาหารส่วนเกินคุณภาพดีทั้งวัตถุดิบและอาหารแช่แข็ง ไปส่งมอบให้กับชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อปรุงเป็นมื้ออาหารสำหรับสมาชิกในชุมชน ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย เติมพลังกายและกำลังใจต่อสู้จนกว่าจะผ่านวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้ ขณะเดียวกันยังมุ่งมั่นปลูกจิตสำนึกรักษ์โลกจากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ ทำให้แต่ละชุมชนมีผู้รอรับการักษา ผู้กักตัว คนว่างงาน และผู้ยากไร้เพิ่มมากขึ้น โครงการนี้ ได้
มอบอาหารกว่า 7,600 ชุด ให้กับมูลนิธิเด็ก ผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อยและผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิค 19 จำนวน 6 แห่ง มีสมาชิกกว่า 5,000 คน ประกอบด้วย ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ชุมชนคลองส้มป่อย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนมักกะสัน ศูนย์พัฒนา
เด็กเล็กชุมชนสวนรื่น ศูนย์สร้างโอกาสพระราม 8 และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เพื่อส่งต่อให้กับชุมชนดวงแข ตรอกสลักหิน รวมทั้งชุมชนกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้น้อยอีก 7 ชุมชน ผ่านการปรุงอาหารจากครัวรักษ์อาหาร ของ SOS เช่น ชุมชนบ้านครัวเหนือ ชุมชนคลอง
ส้มป่อย ครัววัดดวงแข ครัววัดโสม ครัววัดภาชี โดยมีเป้าหมายส่งมอบอาหารตลอดปี 2564 จำนวน 10,000 ชุด ให้กับผู้ด้อยโอกาสและขาดแคลนอาหารในเขตกรุงเทพฯ

นางชนัญธิดา วุฒิวารี หรือ ครูโบ ห้วหน้าครูอาสาจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนมักกะสัน หนึ่งในชุมชนที่มีผู้ติดเชื้อโควิดสูง กล่าวว่า อาหารที่ได้รับจาก ซีพีเอฟ เป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปพร้อมทาน มีรสชาติดี ทานง่าย ทางศูนย์ฯ จะปรุงจากครัวกลางและจัดสรรอาหารให้กับ
ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยจะจัดให้ผู้ป่วยติดเตียงและผู้กักตัวเป็นอันดับแรก มีอาหารช่วงกักตัวอยู่ในบ้าน

“สำหรับบางคนอาหารดีๆ คือเกินกำลังซื้อของเขา จึงเป็นโอกาสที่พวกเขาจะได้รับอาหารดีๆ จากซีพีเอฟ ที่สำคัญยังช่วยสอนให้พวกเขาช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยการเก็บและล้างถุงใส่อาหารคืนให้ เพื่อนำไปรีไซเคิลให้ถูกวิธีด้วย” ครูโบ กล่าว

นางเกสรา คลื่นแก้ว หรือ ป้าหนิง จากชุมชนคลองส้มป่อย เป็นชุมชนอิสลามใจกลางกรุงเทพฯ กล่าวว่า ตอนนี้สิ่งที่ต้องการมากที่สุดเพื่อให้คนในชุมชนอยู่รอด คือ อาหาร โดยเฉพาะวัตถุดิบ เนื้อไก่ ไข่ไก่ และผัก เพื่อปรุงอาหารและแจกจ่ายให้คนในชุมชน 850 คน ได้รับอาหารอย่างทั่วถึง เนื่องจากมีภารกิจสำคัญต้องดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 รอเข้ารับการรักษาและผู้กักตัวเอง ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก การส่งอาหารให้คนกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสนับสนุนการกักตัวโดยไม่ออกจากบ้าน

“ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ การได้รับอาหารบริจาคแม้เพียงมื้อเดียวก็ช่วยคนในชุมชนได้มาก ไก่ที่ได้รับจากซีพีเอฟ ปรุงง่าย รสชาติดี ทานสะดวก ถูกใจคนในชุมชน รสอร่อย ช่วยให้คนในชุมชนได้อิ่มและมีกำลังใจต่อสู้ต่อไป” ป้าหนิง กล่าว

นางสาวธนาภรณ์ อ้อยอิสรานุกุล ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ SOS เล่าว่า อาหารที่ได้รับจาก ซีพีเอฟ ส่วนใหญ่เป็นอาหารแช่แข็ง ซึ่งมูลนิธิฯ จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารตรวจสอบคุณภาพทุกครั้ง พร้อมแนะนำวิธีการเก็บรักษาและวิธีการปรุงอย่างถูกต้องและถูกหลักอนามัยให้
กับชุมชน เพื่อส่งมอบมื้ออาหารปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการให้กับคนในชุมชน ซึ่งอาหารที่ได้รับจาก ซีพีเอฟ ในแต่ละครั้ง มูลนิธิฯ จะวางแผนทันทีและจัดสรรวัตถุดิบอย่างเหมาะสมและเพียงพอกับจำนวนคนในชุมชน หรือปรุงเป็นอาหารกล่องผ่าน “ครัวรักษ์อาหาร” ของมูลนิธิฯ หรือครัวกลางของชุมชน และนำไปแจกจ่ายอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังเลือกชุมชนที่มีความเข้มแข็งสามารถช่วยทำความสะอาดและแยกบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไปจัดการต่อไม่ให้เกิดเป็นขยะหรือสร้างมลพิษกับสิ่งแวดล้อม ตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

“โควิด 19 ทำให้คนจนเฉียบพลัน อาหารที่มูลนิธิฯ เคยส่งมอบให้ชุมชนหนึ่งสำหรับ 50 คน ตอนนี้เพิ่มเป็น 200-300 คน ทำให้อาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยิ่งวิกฤตในปัจจุบันมีชุมชนติดต่อขอรับอาหารมากขึ้น อาหารที่ได้รับบริจาคเหล่านี้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าอาหาร
ของพวกเขาได้มาก โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ส่งเสริมอาหารให้กับผู้ขาดแคลน” นางสาวธนาภรณ์ กล่าว

โครงการ Circular Meal…มื้อนี้เปลี่ยนโลก ยังสนับสนุนอาหารในโครงการ Education for the Deaf (EDeaf) ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาความสามารถอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค ตลอดจนสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินให้เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคม สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของที่มาของอาหาร การจัดการกับบรรจุภัณฑ์ และการแยกขยะที่เกิดจากการบริโภค นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ โครงการฯ ยังให้ความสำคัญกับการรณรงค์ให้องค์กรพันธมิตรและผู้บริโภคเก็บและคัดแยกบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติกจากการมอบอาหารของโครงการฯ แล้วกว่า 3,000 ชิ้น ซึ่ง GEPP เป็นผู้รับผิดชอบนำไปส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สู่การบริหารจัดการตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน อาทิ การนำไปสร้างประโยชน์ใหม่ (Upcycling) เพื่อตัดวงจรขยะลงสู่หลุมฝังกลบ ตามเป้าหมายของโครงการฯ ที่มุ่งเน้นลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด