ThaiPublica > ประเด็นร้อน > COVID-19 พลิกโลก > กรมควบคุมโรคแจ้งผู้ว่าทุกจังหวัดเตรียมพร้อม ปูพรมฉีดวัคซีนทั่วประเทศ 7 มิ.ย.นี้

กรมควบคุมโรคแจ้งผู้ว่าทุกจังหวัดเตรียมพร้อม ปูพรมฉีดวัคซีนทั่วประเทศ 7 มิ.ย.นี้

20 พฤษภาคม 2021


เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2548 ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุด แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ถึงแนวทางให้บริการวัคซีนโควิด 19 แบบปูพรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระบาด พร้อมแผนคาดประมาณการจัดสรรวัคซีน AstraZeneca เดือนมิถุนายน – กันยายน 2564

โดยมีใจความว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้ทุกคนในประเทศไทยได้รับวัคชีนเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ตามความสมัครใจครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากร โดยกำหนดให้มีช่องทางการลงทะเบียนและการเข้ารับวัคซีน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) จองผ่าน “หมอพร้อม” (Line OAและ Application) 2) นัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรือ อสม. หรือ ผ่านองค์กร และ 3) ลงทะเบียน ณ จุดฉีด (On-site Registration) ตามมติคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 และคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้กำหนดให้การบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของแต่ละพื้นที่ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร นั้น

กรมควบคุมโรค ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการการให้วัคซีนภายใต้กลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร และให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดจึงขอให้จังหวัดดำเนินการ ดังนี้

1.เตรียมความพร้อมจุดให้บริการวัคซีนทั้งในและนอกโรงพยาบาล เช่น ศูนย์การค้าสนามกีฬา ศูนย์ประชุม โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยยึดหลักการป้องกันการแพร่เชื้อในจุดให้บริการมีการสังเกตอาการหลังได้รับวัคซีน 30 นาที เตรียมอุปกรณ์กู้ชีพ และรถพยาบาลพร้อมส่งโรงพยาบาลได้เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน
2. กำหนดช่องทางการลงทะเบียนและการเข้ารับวัคซีน 3 ช่องทาง ดังนี้

  • จองผ่าน “หมอพร้อม” (Line OA และ Application)
  • นัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรือ อสม. หรือ ผ่านองค์กร
  • ลงทะเบียน ณ จุดฉีด (On-site Registration)
  • ทั้งนี้ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร สามารถพิจารณาปรับสัดส่วนได้ตามความเหมาะสม

    3. จัดระบบการให้บริการฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ เช่น กลุ่มคณะทูตานุทูต และองค์กรระหว่างประเทศ กลุ่มชาวไทยที่จะขอรับวัคซีนก่อนไปศึกษาต่อ/ทำงานในต่างประเทศ

    4. จัดการประชาสัมพันธ์เรื่องช่องทางการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 และการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายจำเพาะ ให้ทราบโดยทั่วกัน

    ทั้งนี้ ให้สามารถดำเนินการฉีดวัคซีนตามแนวทางให้บริการวัคซีนโควิด 19 แบบปูพรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระบาด พร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564

    ประมาณการการจัดสรรวัคซีนมิ.ย.-ก.ย.

    พร้อมกันนี้ยังได้ส่งแผนคาดประมาณการจัดสรรวัคซีน AstraZeneca เดือนมิถุนายน – กันยายน 2564 ณ วันที่ 17 พฤษภาคม มาด้วย โดยในแผนระบุว่า ประชากรทะเบียนราษฎร์และแฝงทั่วประเทศมีจำนวน 72,081,042 คน และจากนโยบายให้ทุกคนในประเทศไทยได้รับวัคชีนเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ตามความสมัครใจครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากรนั้นจะต้องประชากรที่ได้วัคซีนจำนวน 50,456,732 คน

    ทั้งนี้ประมาณการว่าประชากรที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนมีนาคม-พฤษภาคมมี 2,040,641 คน จำนวนประชากรที่รอการจัดสรรวัคซีน 47,122,483 คน

    คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติฯประมาณการการจัดสรรวัคซีน AstraZeneca ทั่วประเทศเข็มที่ 1 มิถุนายน-กันยายน 2564 ไว้ดังนี้ คือในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมจะได้รับการจัดสรรวัคซีน AstraZeneca โดยเดือนมิถุนายน จัดสรรวัคซีน 6,333,000 คน กรกฎาคม 9,627,000 คน สิงหาคม 9,860,000 แต่ในเดือนกันยายนจะจัดสรรวัคซีน AstraZeneca, Johnson&Johnson และPfizer รวมกัน 21,283,000 คน

    อย่างไรก็ตามแผนการจัดสรรวัคซีนดังกล่าว อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 และจำนวนวัคซีนที่จัดหาได้

    แนวทางฉีดวัคซีนทั่วประเทศ

    สำหรับแนวทางให้บริการวัคซีนโควิด 19 แบบปูพรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระบาด ที่จะเริ่มพร้อมกัน 7 มิถุนายน 2564 มีดังนี้
    1.เตรียมความพร้อมจุดให้บริการวัคซีนทั้งในและนอกโรงพยาบาล เช่น ศูนย์การค้า สนามกีฬา ศูนย์ประชุม โรงงานอุตสาหกรรม ฯล ฯ โดยยึดหลักการป้องกันการแพร่เชื้อในจุดให้บริการ มีการสังเกตอาการ หลังได้รับวัคซีน ๓0 นาที เตรียมอุปกรณ์กู้ชีพและรถพยาบาลพร้อมส่งโรงพยาบาลได้เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน

    2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้ารับบริการ ดังนี้

  • บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ที่ยังไม่รับวัคซีน
  • เจ้าหน้าที่อื่นด่านหน้า และกลุ่มอาชีพเสี่ยงติดเชื้อ รวมทั้งผู้มีอาชีพ/กิจการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน เช่น สาธารณูปโภค อาหาร ยา ฯลฯ
  • ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ประชาชนทั่วไป
  • 3. กำหนดช่องทางการลงทะเบียนและการเข้ารับวัคซีน 3 ช่องทาง ดังนี้

  • จองผ่าน “หมอพร้อม” (Line OA และ Application)
  • นัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรือ อสม. หรือ ผ่านองค์กร
  • ลงทะเบียน ณ จุดฉีด (On-site Registration)
  • ทั้งนี้ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร สามารถพิจารณาปรับสัดส่วนได้ตามความเหมาะสม

    4. ช่องทาง “หมอพร้อม” ปัจจุบันเปิดให้จองสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม จะเริ่มขยายการเปิดจองสำหรับการฉีดวัคซีนสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งช่องทาง “หมอพร้อม ” นี้มีแผนจะขยายเพื่อรองรับการจองรับวัคซีนของชาวต่างชาติในระยะถัดไป

    5. ช่องทาง “นัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)หรือ ผ่านองค์กร”
    1)การนัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรือ อสม. ประชาชนสามารถติดต่อโดยตรงกับสถานพยาบาล หรือ อสม. เพื่อทำการนัดหมายฉีดวัคซีน
    2)การนัดหมายผ่านองค์กร องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ที่มีความประสงค์ จะขอรับวัคซีนให้กับบุคลากรสามารถแจ้งความประสงค์ไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด (แจ้งหนังสือไปยังนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด) และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร (แจ้งหนังสือไปยังผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร) ดังนี้

  • กรณีองค์กรสามารถประสานหาสถานพยาบาล (ภาครัฐหรือเอกชน)เพื่อฉีดวัคซีนให้บุคลากรได้เอง ไม่ว่าจะในหรือนอกสถานพยาบาล เช่น การฉีดวัคซีนให้ในสถานประกอบการสามารถติดต่อขอรับวัคซีนได้จากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด (แจ้งหนังสือมายังนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด)และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร (แจ้งหนังสือมายังผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร)
  • กรณีองค์กรไม่สามารถประสานหาสถานพยาบาลเพื่อฉีดวัคซีนให้บุคลากรได้เอง ให้ติดต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด (แจ้งหนังสือไปยังนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด) และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร (แจ้งหนังสือไปยังผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร) เพื่อนัดหมายขอเข้ารับวัคซีนแบบกลุ่ม ณ สถานพยาบาลที่คณะกรรมการฯ กำหนด
  • กรณีองค์กรขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรอยู่ในหลายจังหวัด หรือองค์กระหว่างประเทศ/หน่วยงานต่างชาติที่ติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศ สามารถแจ้งหนังสือมายังอธิบดีกรมควบคุมโรค เพื่อขอรับวัคซีนไปฉีดให้บุคลากรในสังกัด โดยหาสถานพยาบาลรองรับการฉีดเอง
  • กรณีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม การจัดสรรวัคซีนเพื่อฉีดให้กับกลุ่มผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมนั้น กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคม เป็นหน่วยงานที่รับการจัดสรรวัคซีนเพื่อมาบริหารจัดการและจัดแผนการฉีดวัคซีนได้โดยตรง และรวบรวมข้อมูล จากสถานประกอบการ เพื่อกำหนดสถานที่ให้บริการฉีดวัคซีนทั้งในสถานพยาบาลตามสิทธิ และเชิงรุกนอกสถานพยาบาล เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและให้ผู้ประกันตนได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็ว ทั้งนี้ให้สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมส่วนกลาง รวมทั้งหน่วยงานระดับจังหวัดสังกัดกระทรวงแรงงาน ประสานการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน
  • 6.ช่องทาง “ลงทะเบียน ณ จุดฉีด (On-site Registration)” สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำการนัดหมายล่วงหน้า ให้คณะกรรมกาโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครกำหนดสถานพยาบาลในเขตรับผิดชอบที่จะให้บริการแบบลงทะเบียน ณ จุดฉีด (On-site Registration) ได้เองตามบริบทพื้นที่ ให้สามารถเปิดบริการได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ในกรณีที่จุดบริการใดมีความพร้อมสามารถเปิดให้บริการนำร่องก่อนได้

    7. จัดระบบการให้บริการฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ ดังนี้
    1)กลุ่มคณะทูตานุทูตและองค์กรระหว่างประเทศ สามารถเข้ารับวัคซีนได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

  • กรณีองค์กรระหว่างประเทศ/หน่วยงานต่างชาติที่ติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีสถานพยาบาสสำหรับฉีดวัคซีนของตนเองแล้ว สามารถแจ้งหนังสือมายังอธิบดีกรมควบคุมโรค เพื่อขอรับวัคซีนไปฉีดให้บุคลากรในสังกัดได้
  • กรณีประสงค์จะรับวัคซีนเป็นรายบุคคล สามารถนัดหมายโดยตรงเพื่อเข้ารับบริการกับโรงพยาบาลที่มีความพร้อมให้บริการซาวต่างชาติ เช่น โรงพยาบาลบางรัก โรงพยาบาลวิมุตโรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา หรือติดต่อสถานพยาบาลที่จังหวัด/กรุงเทพมหานครจัดไว้เพื่อบริการชาวต่างชาติ
  • 2)กลุ่มชาวไทยที่จะขอรับวัคซีนก่อนไปศึกษาต่อ/ทำงานในต่างประเทศ สามารถเข้ารับวัคซีนได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
    ประเภทผ่านองค์กร เช่น หน่วยงานผู้ให้ทุนการศึกษา สถานประกอบการ

  • กรณีองค์กรสามารถประสานหาสถานพยาบาล (ภาครัฐหรือเอกชน) เพื่อฉีดวัคซีนได้เอง สามารถติดต่อขอรับวัคนได้จากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด (แจ้งหนังสือไปยังนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด) และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร (แจ้งหนังสือไปยังผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร)
  • กรณีองค์กรไม่สามารถประสานหาสถานพยาบาลเพื่อฉีดวัดซีนได้เอง ให้ติดต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด (แจ้งหนังสือมายังนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด)และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร (แจ้งหนังสือมายังผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร) เพื่อนัดหมายขอเข้ารับวัคซีนแบบกลุ่ม ณ สถานพยาบาลที่คณะกรรมการฯ กำหนด
  • กรณีประสงค์จะรับวัคซีนเป็นรายบุคคล สามารถลงทะเบียนและการเข้ารับวัคซีนได้นอกจาก 3 ช่องทาง หมอพร้อม นัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรือ อสม.ลงทะเบียน ณ จุดฉีด (On-site Registration) แล้ว ในเขตกรุงเทพมหานคร ยังสามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลบางรักอีกแห่งหนึ่ง โดยแสดงหลักฐานารศึกษาต่อหรือการทำงานในต่างประเทศ (หากมีสถานพยาบาลเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบได้ที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร)

    8.ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร มีการประชาสัมพันธ์เรื่องช่องทาง การรับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 และการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายจำเพาะ ให้ทราบโดยทั่วกัน