ThaiPublica > เกาะกระแส > ธปท. กำหนดยุทธศาสตร์ตั้ง 5 โจทย์ รับความท้าทาย “ยากขึ้น กว้างขึ้น เร่งด่วนขึ้น”

ธปท. กำหนดยุทธศาสตร์ตั้ง 5 โจทย์ รับความท้าทาย “ยากขึ้น กว้างขึ้น เร่งด่วนขึ้น”

24 เมษายน 2021


ธปท. ได้หยิบยกนโยบายและมาตรการเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 ขึ้มมาเป็นงานสำคัญเร่งด่วนภายใต้แผนยุทธศาสตร์์ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ด้วยแนวคิด “ธนาคารกลางท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง (central bank in the transformative world)” ซึ่งการดำเนินงานของ ธปท. ในปี 2563 ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อทุุกภาคส่วนตลอดจนระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

วันที่ 22 เมษายน 2564 เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เผยแพร่ รายงานประจำปี 2563 ถึงการดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับโควิด 19 ซึ่งเป็นงานสำคัญเร่งด่วน และงานสำคัญอื่นๆ ตามพันธกิจด้วย

รับมือโควิด 19 งานสำคัญภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 3

รายงานระบุว่า ตลอดช่วงเวลาปี 2563 ธปท. ดำเนินมาตรการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุุรกิจอย่างเร่งด่วนต่อเนื่อง ทั้งแบบวงกว้างเป็นการทั่วไป และแบบตรงจุด ควบคู่กับการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบเชิงรุุก เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของประเทศ ตามพันธกิจหลักของธนาคารกลางท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือสูง จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งนับว่าภารกิจของ ธปท. ในปีที่ผ่านมา “ยากขึ้น กว้างขึ้น เร่งด่วนขึ้น” และเป็นความท้าทายต่อการดำเนินงานของ ธปท. ตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ธปท. (พ.ศ. 2563 – 2565) ในการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจการเงินให้สามารถปรับตัวและเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับการวางรากฐานเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กรของ ธปท.

เศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งไทยต้องเผชิญกับเหตุุการณ์ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 หรือโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวมากที่สุดในรอบ 22 ปี บางธุรกิจโดยเฉพาะภาคธุุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบหนัก มีแรงงานตกงานหรือเกิดการว่างงานแฝงเป็นจำนวนมาก ประชาชนและธุรกิจได้รับผลกระทบรุนแรงจากรายได้ที่ลดลง ระบบธนาคารพาณิชย์ เผชิญกับสภาพธุรกิจที่ท้าทาย ตลาดการเงินผันผวนสูงมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ

ปี 2563 เป็นปีแรกของการดำเนินงานตามแผนยุุทธศาสตร์ 3 ปี ธปท. ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2563 – 2565)ภายใต้หัวข้อ “ธนาคารกลางท่่ามกลางการเปลี่ยนแปลง” ซึ่ง ธปท.มองว่าในระยะ 3 – 5 ปี ข้างหน้า ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ผันผวนไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ (VUCA) ซึ่งจะทวีความเร็วและแรงกว่าช่วงที่ผ่านมา หรือเรียกได้ว่า VUCA+ เนื่องจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต รูปแบบธุรกิจ บริการทางการเงิน และระบบเศรษฐกิจ (disruptive technology) เป็นตัวเร่งสำคัญ

นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจสังคมไทยยังต้องเผชิญความท้าทายที่มีมาอย่างต่อเนื่องทั้งจากการสะสมปัญหาเชิงโครงสร้างและความเปราะบางของสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่มากขึ้น อาทิ หนี้ครัวเรือน และโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย แผนยทธศาสตร์ฉบับนี้จึงมุ่งกำหนดแนวทางการทำงานของ ธปท. ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยมีความทนทานและรับมือความเสี่ยงต่างๆ ได้ (resilience)และสนับสนุุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้เต็มศักยภาพ กระจายประโยชน์ได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน ประกอบด้วยแผนรองรับความท้าทาย 7 ด้าน และการปรับรากฐานสำคัญขององค์กร 3 ด้าน

ทั้งนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ได้ทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมแบบ VUCA+ อย่างชัดเจนมากขึ้น ปัจจัยสำคัญมาจากด้านสาธารณสุุขที่ส่งผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวัน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงยังคงสอดคล้องกับประเด็นความท้าทายและรากฐานสำคัญขององค์กรตามที่ได้วางไว้้ในแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างความทนทานให้กับระบบเศรษฐกิจการเงินไทยเพื่อรองรับความผันผวนและความไม่แน่นอนต่างๆ

ธปท. ได้หยิบยกนโยบายและมาตรการเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 ขึ้นมาเป็นงานสำคัญเร่งด่วนภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 3 ปี(พ.ศ. 2563 – 2565) ด้วยแนวคิด“ธนาคารกลางท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง (central bank in the transformative world)” ซึ่งการดำเนินงานของ ธปท. ในปี 2563 ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนตลอดจนระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

ในการจัดลำดับความสำคัญของงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ในปี 2563 ธปท.ให้ความสำคัญเร่งด่วนกับการเร่งปรับโครงสร้างหนี้รายย่อยและธุุรกิจในวงกว้าง การป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหากับระบบสถาบัน การเงิน การยกระดับการติดตาม (monitoring) และการป้องกัน (ringfencing)เพื่อรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน การจับชีพจรเศรษฐกิจให้ไวและผลักดัน นโยบายเชิงโครงสร้างที่สำคัญ การผสมผสานเครื่องมือนโยบายให้แก้ปัญหาได้ตรงจุด การรับมือความผันผวนในตลาดการเงิน การสื่อสารและเข้าถึง (engage)ผู้เกี่ยวข้องเชิงรุก รวมทั้งการบริหารจัดการองค์กรในภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง

นอกจากงานสำคัญเร่งด่วนแล้ว งานอื่นๆ ตามแผนยุุทธศาสตร์ยังคงดำเนินการต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมของระบบเศรษฐกิจการเงินไทยและ ธปท.สำหรับระยะข้างหน้า อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการเงินดิจิทัลที่สามารถเชื่อมโยงการทำธุรกรรมระหว่างผู้ให้บริการในระบบได้อย่างทั่วถึง เช่น การพัฒนาต่อยอดบริการพร้อมเพย์์เพื่อรองรับรููป แบบธุุรกรรมการชำระเงินดิจิทัลที่หลากหลายของภาคธุุรกิจและประชาชน การขยายโครงสร้างพื้นฐานการพิสูจน์และยืนยันตัวตนข้ามธนาคารผ่านแพลตฟอร์มกลาง (National Digital Identity: NDID) ซึ่งช่วยให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมดิจิทัลต่างๆ ได้สะดวกขึ้น อาทิ การเปิดบัญชีเงินฝากดิจิทัล และการอนุุญาตให้มีผู้ประกอบธุุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เพื่อส่เสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้ง่ายขึ้น โดยใช้ข้อมููลทางเลือก(alternative data) เป็นข้อมูลประกอบในการขอสินเชื่อ

ธปท. ได้เริ่มปรับระบบนิเวศของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) เพื่่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของตลาด ผ่่านการเปิดให้คนไทยฝากเงินตราต่างประเทศได้เสรี (Foreign Currency Deposit: FCD) และโอนเงินระหว่างบัญชี FCD ของคนไทยได้เสรี อีกทั้งได้ยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยต่อภัยคุุกคามทางไซเบอร์์ของสถาบันการเงินและผู้ให้บริการชำระเงินที่สำคัญ โดยให้ผู้ให้บริการประเมินความเสี่ยงและการกำกับตนเอง (self-regulated)เป็นประจำตามกรอบการประเมิน Cyber Resilience Assessment Framework (CRAF) ที่เป็นมาตรฐานสากล ขณะเดียวกัน ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการทำงานของ ธปท. อย่างกว้างขวางตาม digital transformation roadmap โดยนำระบบ automation มาใช้กับงานต่างๆ มากขึ้น รวมทั้งได้ปรับวิธีการทำงาน ให้ยืดหยุ่น สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปและมุ่ง ผลสัมฤทธิ์มากขึ้น อาทิ การปรับรููป แบบการตรวจสอบสถาบัน การเงินแบบ on-site มาเป็น off-site มากขึ้น

ปี 2563 ธปท.ได้ออกนโยบายและมาตรการที่ช่วยสนับสนุนให้คนไทยและธุรกิจไทยมีสภาพคล่องเพื่อให้ก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน และส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจไทยปรับตัวพร้อมรับโลกหลังโควิด 19

5 โจทย์สำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ

วิกฤติโควิด 19 ยังไม่มีท่าทีจะผ่านพ้นไปโดยง่าย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยค่อนข้างรุุนแรง อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะยาวนานและมีความไม่แน่นอนสูงกว่าที่หลายฝ่่ายคาดไว้ ธปท. จึงมีบทบาทสำคัญที่จะสนับสนุุนให้เศรษฐกิจไทยผ่านพ้นวิกฤตโควิด 19 ได้อย่างราบรื่นและสามารถเติบโตในบริบทของโลกใหม่ภายหลังวิกฤตินี้ โดยมีการกระจายประโยชน์อย่างทั่วถึง

“การทำงานในปี 2563 ธปท. ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุุกภาคส่วน แม้ในระยะข้างหน้าบริบทโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ยังมีความไม่แน่นอน ธปท. ตระหนักถึงความท้าทายเหล่านี้และมุ่งมั่นที่จะประสานงานกับทุกภาคส่วนในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ของ ธปท. (พ.ศ. 2563 – 2565) และตอบโจทย์ความท้าทายในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรมรวมทั้งรักษาความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อการทำหน้าที่ของ ธปท. เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี อย่างยั่งยืนของไทย” ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพฒิ ผู้ว่าการธปท. ระบุ

การแพร่ระบาดของโควิด 19 เกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ การเงิน และในระยะ 1 ถึง 2 ปีข้างหน้า เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการฟันฝ่าและพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยจากวิกฤติโควิด 19 ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้โดยเร็ว ภายใต้สถานการณ์ไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า และสังคม ธปท. จึงได้ปรับลำดับความสำคัญของแผนงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (พ.ศ.2563 – 2565)และต้องเร่งดำเนินการเพื่อตอบโจทย์ใหญ่ 5 ด้าน ที่เศรษฐกิจไทยและธปท.กำลังเผชิญ ได้แก่

โจทย์ที่ 1 แก้วิกฤตหนี้อย่างยั่งยืน เพื่อให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจผ่านพ้นวิกฤติโควิด 19 และฟื้นตัวได้ งานของ ธปท. ต้องนำไปสู่ การช่วยเหลือลูกหนี้และแก้ไขหนี้ได้มาก รวดเร็ว และตรงจุด ภาคครัวเรือนและธุรกิจมีสภาพคล่องหล่อเลี้ยงเพียงพอพ้นช่วงวิกฤติ ตลอดจนการมีข้อเสนอมาตรการกระตุ้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่นำไปสู่การปฏิบัติและลดผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพจากวิกฤตการณ์ที่จะคงอยู่อีกนาน(scar)

โจทย์ที่ 2 รักษาเสถียรภาพระบบการเงิน เพื่อให้ระบบการเงินไม่เกิดปัญหาและยังสนับสนุุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ธปท. ต้องดูแลให้สถาบันการเงินมีเงินสำรองและเงินกองทุุนเพียงพอรองรับผลกระทบจากวิกฤติ และยังทำหน้าที่ให้สินเชื่อได้ต่อเนื่อง มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และปฏิบัติได้จริง รวมทั้งมีกลไกรักษาเสถียรภาพระบบการเงินในจุดเปราะบาง

โจทย์ที่ 3 รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค เพื่อให้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้สถานการณ์โควิด 19 และระยะต่อไป ธปท. ต้องผลักดันให้เศรษฐกิจไทยรับมือกับสถานการณ์ค่าเงินได้ดีขึ้น ตลอดจนมีข้อเสนอและแนวทางที่ชัดเจนต่อรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

โจทย์ที่ 4 สร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชน เพื่อให้ธปท. เป็นหนึ่งในองค์กรที่ประชาชนเชื่อมั่นที่สุุด การออกนโยบายและมาตรการของธปท. ทุกเรื่องที่เกียวกับการแก้วิกฤตโควิด 19 ต้องมีประสิทธิผลและได้รับการยอมรับจากสาธารณชน สถาบันระหว่างประเทศมีความเห็นเชิงบวกต่อการทำหน้าที่ของ ธปท. และประชาชนมีการรับรุ้(perception) ที่ดีขึ้นต่อการสื่อสารของ ธปท. ทั้งนี้ในการสร้างความเชื่อมั่นต่อการดำเนินนโยบายต่างๆ ธปท. จะส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่เรียกว่า “คิดรอบ ตอบได้ ร่วมใจมุ่งมั่น” ซึ่งหมายถึง การร่วมกันคิดวิเคราะห์อย่างรอบด้าน โดยคำนึงถึงผู้เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการตัดสินใจทำนโยบายต่างๆ ผ่านการกลั่นกรองอย่างดี และสามารถอธิบายให้สาธารณชนเข้าใจถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างโปร่งใสและชัดเจน

โจทย์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อให้ ธปท. เป็นองค์กรที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และสร้างประโยชน์สูงสุุด (impact) ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ธปท. ต้องปรับตัวให้เป็นองค์กรกะทัดรัดที่มีโครงสร้าง รูปแบบ และกระบวนการทำงานที่ยืดหยุ่น และคล่องตัวสูง รวมทั้งเร่งพัฒนาผู้นำที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการขับเคลื่อนบทบาทของ ธปท. ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ทั้งนี้โจทย์ที่ 1 ถึง 3 เป็นโจทย์ที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุพันธกิจหลักของ ธปท. ในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน แต่ต้องเร่งให้เท่าทัน บริบทที่มีความท้าทายมากขึ้นภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ขณะที่โจทย์ที่ 4 และ 5 เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานภายใน ธปท.ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญ (enabler) ต่อการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ของนโยบายหรือมาตรการต่างๆ

ด้วยการมุ่งเป้าหมายการทำงานเพื่อตอบห้าโจทย์สำคัญเร่งด่วน ธปท. เชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบให้ธุรกิจและประชาชนได้ในวงกว้างควบคู่กับการวางรากฐานในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยสามารถฟันฝ่าวิกฤติโควิด 19 ได้อย่างยั่งยืน

ปี 63 รายรับดอกเบี้ยรวมกว่า 5 หมื่นล้าน

สำหรับผลการดำเนินงานงานประจำปี 2563 ของบัญชี ธปท. และบัญชีทุนสำรองเงินตรา เป็นดังนี้

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในปี 2563 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเศรษฐกิจไทยหดตัวต่ำสุดในรอบ 22 ปีคณะกรรมการนโยบายการจึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ เหลือร้อยละ 0.5 ต่อปีเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ

อย่างไรก็ดี ด้วยประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี ประกอบกับนักลงทุนมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้นภายหลังการเลือกตั้งทำให้เงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่(emerging markets)รวมทั้งไทยมากขึ้น และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็น หนึ่งในพันธกิจการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจด้านต่างประเทศ ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศทยอยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 286.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2563

ธปท. บริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ โดยมุ่งรักษามูลค่าในรูปเงินตราต่างประเทศเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจไทยมีเงินสำรองฯ เพียงพอและพร้อมใช้ จึงลงทุนในสินทรัพย์ ที่มีความมั่นคง กระจายความเสี่ยงทั้งในรูป ของสินทรัพย์ ์และสกุลเงินเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินโลก โดยได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม ในปี 2563 บัญชี ธปท. และบัญชีทุนสำรองเงินตรามีผลกำไรจากการดำเนินงานซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการตีราคาสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นเงินบาท

โดยรายละเอียดผลการดำเนินงานประจำปี 2563 ของบัญชี ธปท. และบัญชีทุนสำรองเงินตรา เป็นดังนี้

1. การดำเนินงานตามพันธกิจ

1.1 ด้านการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ –บัญชี ธปท.

ธปท. มีรายรับดอกเบี้ยสุทธิ 25.6 พันล้านบาท เป็นบวกต่อเนื่องเป็นปีที่3 (positive carry)เนื่องจากดอกเบี้ยรับจากการบริหารสินทรัพย์ต่างประเทศที่สูงกว่าดอกเบี้ยจ่ายจากการดำเนินนโยบายการเงิน โดยในปีนี้ มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมผ่่อนคลาย ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบของเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด 19

1.2 ด้านการพิมพ์และนำธนบัตรออกใช้ – บัญชีทุนสำรองเงินตรา

ทุนสำรองเงินตรามีรายรับดอกเบี้ยสุทธิ 26.7 พันล้านบาท จากการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศที่ใช้หนุนหลังธนบัตร ทั้งนี้ ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนการพิมพ์ธนบัตร

2. การปรับสัดส่วนการลงทุน และอื่นๆ

ธปท. ได้ซื้อขายสินทรัพย์เพื่อปรับการลงทุนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก รวมถึงเพื่อกระจายความเสี่ยงและเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีขึ้น ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในบัญชี ธปท. ส่วนใหญ่เกิดจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้สินทรัพย์ต่างประเทศที่ซื้อมาในอดีตมีต้นทุนในรูปของเงินบาทสูงกว่าราคาขายสินทรัพย์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ผลตอบแทนในสกุลเงินต่างประเทศของทั้งบัญชีธปท. และบัญชีทุนสำรองเงินตราเป็นบวกและสูงกว่าอัตราผลตอบแทนอ้างอิง

3. การตีราคาสินทรัพย์ต่างประเทศ (valuation)

เกิดจากการแปลงค่าเงินสำรองระหว่างประเทศให้อยู่ในสกุลเงินบาท เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าลงในปี 2563 เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักทุกสกุล ยกเว้นเงินดอลลาร์ สรอ. กอปรกับราคาสินทรัพย์ต่างประเทศ (ทั้งตราสารหนี้ตราสารทุน และทองคำ) ปรับราคาสูงขึ้น จึงส่งผลให้การตีราคาสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นสกุลบาทมีผลเป็นกำไร