ThaiPublica > ประเด็นร้อน > Research Reports > Krungsri Research > วิจัยกรุงศรี ชี้ เศรษฐกิจไทยพ้นจุดวิกฤติ ส่งออกโต คนพร้อมใช้จ่ายหลังโควิด

วิจัยกรุงศรี ชี้ เศรษฐกิจไทยพ้นจุดวิกฤติ ส่งออกโต คนพร้อมใช้จ่ายหลังโควิด

17 มีนาคม 2021


วิจัยกรุงศรีเผยแพร่รายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือนมีนาคม ใน Monthly Economic Bulletinโดยระบุภาพรวม เศรษฐกิจโลกเริ่มมีความหวังต่อการฟื้นตัวแต่กังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ส่วนเศรษฐกิจไทยพ้นวิกฤติแล้ว

โดยภาพรวม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้น แต่อัตราการหมุนของเงินยังต่ำ ช่วยลดความกังวลต่อเงินเฟ้อ

สหรัฐฯวัคซีนหนุนการบริโภค

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่และความคืบหน้าอย่างมากในการฉีดวัคซีนจะหนุนการบริโภค
ภาคครัวเรือนสหรัฐฯเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ผ่านความเห็นชอบสภาคองเกรสและมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนภุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 91.3 จาก 88.9 ในเดือมกราคม ขณะที่การฉีดวัคซีนมีความคืบหน้า อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์เพิ่มขึ้นกลับไปที่ระดับสูงสุดของเดือนมิถุนายนปีก่อน เพราะผู้บริโภคหวังว่าความต้องการในภาคบริการจะกลับมา รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 10% จากเดือนมกราคม เนื่องจากคาดว่าเงินเยียวยาจะส่งผลให้การใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 2.4% จึงทำให้คาดว่าการบริโภคซึ่งมีสัดส่วน 70% ในระบบเศรษฐกิจจะเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

มองไปที่ตลาดแรงงาน ภาคบริการปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก จากการจ้างงานในภาคบริการและสันทนาการเพิ่มขึ้น 355,000 ตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านดอลลาร์จะหนุนให้ GDP กลับไปที่ระดับเดิมก่อนการระบาดโควิดภายในกลางปีนี้และการมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายจะให้ผลทางบวกไปจนถึงสิ้นปี 2022

นอกจากนี้ประธานาธิบดีโจ ไบเดนคาดหวังว่าสหรัฐฯจะปลอดโควิดภายในวันที่ 4 กรกฎาคมหากประชาชนได้รับการฉีดวัคซีน จึงคาดว่าทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการฉีดวัคซีนที่มีความคืบหน้ากว่าประเทศอื่นๆ จะสร้างความเชื่อมั่นและเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในเวลาที่เหลือของปี

ด้านการผลิตยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่อาจจะถูกจำกัดบ้างจาก 1) พายุหิมะที่กระทบการผลิตน้ำมัน (2) การชะงักของอุปทานจากการปิดโรงงานชั่วคราวและการชะลอการใช้จ่ายที่ยังเพิ่มขึ้น (3) การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์เพราะความต้องการไมโครชิปสำหรับแอปพบิเคชั่นหน้าจอคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำหรับการทำงานที่บ้านเพิมสูงขึ้น และเช่นเดียวกับการผลิตน้ำมันก็กลับมา

อย่างไรก็ตามคาดว่า อุปสรรคเหล่านี้เป็นปัจจัยชั่วคราว และซับพลายทั่วโลกค่อยค่อยเพิ่มขึ้นเมื่อการผลิตโลกกลับมา และน้ำมันกลับมาผลิตอีกครั้งเมื่อพ้นหน้าหนาว

เฟดไม่ได้กังวลต่อการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร เป็นการส่งสัญญานว่าไ่ม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายในสิ้นปีนี้

แนวโน้มเศรษฐกิจที่สดใสและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ 5 ปีเพิ่มขึ้นมาที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ที่ 2.35% แต่เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมและจากฐานที่ต่ำไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจโฮเวอร์ฮีท นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริงยังต่ำและอ่อนตัวลงตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม อีกทั้งการฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังไม่กลับมาเต็มที่ ดังนั้นจึงคาดว่าเฟดจะยังคงขนาดการซื้อสินทรัพย์ไว้เท่าเดิม และคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับปัจจุบันไปจนถึงสิ้นปี 2023

ยุโรปไตรมาสแรกหดตัว

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเจออุปสรรคการขาดแคลนสินค้า มาตรการจำกัดการสัญจรและฉีดวัคซีนคืบหน้าช้า

เศรษฐกิจยุโรปดีขึ้นเล็กน้อยนับตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ แต่ยังมีอุปสรรคหลายด้านที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจกลับไปถดถอยในไตรมาสแรกของปีนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)รวมปรับตัวดีขึ้นในประเทศหลักๆ แต่ภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ดังนั้นวิจัยกรุงศรีจึงคาดว่า เศรษฐกิจยุโรปไตรมาสแรกจะหดตัวและยังมีส่วนต่างระหว่างกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจริง ณ ปัจจุบัน กับ ประสิทธิภาพที่สามารถผลิตได้จริง หรือ output gap ไปจนถึงปี 2024 ตามหลังสหรัฐฯถึง 1 ปี

ธนาคารกลางสหภาพยุโรป(European Central Bank:ECB)จะเพิ่มการซื้อพันธบัตรในไตรมาสสอง เพื่อเสริมภาวะการเงิน

การปรับตัวขึ้นชั่วคราวของเงินเฟ้อและผลกระทบที่ส่งผ่านจากตลาดการเงินสหรัฐฯ ได้ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยูโรโซนปรับตัวขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีน้อยกว่าการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และยังต่ำกว่าระดับต่ำสุด

วิจัยกรุงศรีคาดว่า ECB จะเร่งซื้อพันธบัตรรายสัปดาห์จาก 15 พันล้านยูโรเป็น 20 พันล้านยูโรในไตรมาสหน้า และคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายตลอดทั้งปี อีกทั้งการซื้อพันธบัตรในระดับนี้จะทำให้การซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการซื้อสินทรัพย์( Pandemic Emergency Purchase Programme)เต็มวงเงิน 1.85 ล้านล้านยูโร ที่วางไว้ภายในเดือนเมษายน 2022

จีน นโยบายการเงินการคลังยังจำเป็น

ยังต้องใช้มาตรการกระตุ้นแม้ผลกระทบจากการระบาดรอบล่าสุดจำกัด

ต้นปี 2021 เศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่และมาตรการจำกัดการสัญจรในช่วงตรุษจีน แม้การส่งออกช่วง 2 เดือนแรกของปีขยายตัว กิจการทางเศรษฐกิจที่อ่อนตัวตอกย้ำให็เห็นว่า นโยบายการเงินการคลังยังมีความจำเป็นในการสนับสนุนเศรษฐกิจในวงกว้าง

แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้น แต่คาดว่าธนาคารกลาง(PBOC)จะยังคงไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจจริง

ความกังวลของตลาดว่าธนาคารกลางจีนจะปรับนโยบายการเงินให้ตึงขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงฟองสบู่ ได้ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ แต่ข้อมูลบ่งชี้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะไม่ร้อนแรงเเหมือนปี 2016 ประกอบกับธนาคารกลางมีมาตรการที่เจาะจงเพื่อจำกัดความเสี่ยงภาวะฟองสบู่ อีกทั้งการระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง และไม่มีแรงกดดันเงินเฟ้อ วิจัยกรุงศรีจึงงคาดว่า ธนาคารกลางจีนจะคงอัตราดอกเบี้ยตลอดทั้งปี 2021 เพื่อให้การบริโภคและการลงทุนขยายตัวต่อเนื่อง

ด้านนโยบายเศรษฐกิจยังคงมุ่งไปที่การสนับนุนการฟื้นตัวแม้มีจุดยืนที่รอบคอบมากขึ้น

เป้าหมายทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2564 ที่กำหนดโดยสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) บ่งบอกถึงจุดยืนนโยบายที่รอบคอบมากขึ้นหลังจากเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัว อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักของ NPC บ่งชี้ว่านโยบายยังคงมุ่งไปที่การกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวต่อไปดังที่เห็นได้จาก (1) การปล่อยให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้สูงกว่าระดับ 2020 (2) ตั้งการขาดดุลการคลังปี 2021 ที่มากกว่าระดับก่อนเกิดโควิด และ (3) วางแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายนอกงบประมาณโดยการเพิ่มโควตาสำหรับการออกพันธบัตรพิเศษให้สูงกว่าระดับที่ออกจริงในปี 2020 และใหญ่กว่าเป้าหมายก่อนการระบาดมาก

ญี่ปุ่น คลายล็อกดาวน์กระตุ้นใช้จ่าย

แรงส่งทางบวกในการส่งออกและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของญี่ปุ่นดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การติดเชื้อในประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งทำให้รัฐบาลยกเลิกภาวะฉุกเฉินใน 6 จังหวัดจาก 10 จังหวัดและในจังหวัดที่เหลือรวมถึงโตเกียวภายในวันที่ 21 มีนาคม การส่งออกที่ยังขยายตัวจะยังคงสนับสนุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนในเดือนมกราคม การผลิตที่ปรับตัวดีขึ้นยังส่งผลให้ตลาดแรงงานฟื้นตัว ซึ่งจะกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ

มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และความคืบหน้าในโครงการฉีดวัคซีนซึ่งสามารถฟื้นฟูกิจกรรมการบริการและความต้องการภายในประเทศ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ)อาจปรับเปลี่ยนนโยบายในปีนี้ แต่ญี่ปุ่นยังคงต้องการนโยบายผ่อนคลายอย่างมากเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวต่อไป
จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในปีนี้ รวมถึงการขยายขอบเขตการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนพันธบัตรและการลดปริมาณการซื้อของกองทุน ETF

วิจัยกรุงศรีมองว่าจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายแทนที่จะเข้มงวดขึ้นด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ (1) อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% BOJ คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะสูงถึง + 0.5% ในปี 2021 และ + 0.7% ในปี 2022 และ (2) ผู้ว่าการ BOJ คุโรดะกล่าวว่า “ขณะนี้ BOJ จะไม่บรรลุเป้าหมายก่อนปี 2024” ซึ่งมีนัยะว่าธนาคารกลางจะยังใช้ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างมากไปอีกหลายปีเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

เศรษฐกิจไทยค่อยๆพ้นวิกฤติ

  • ข้อมูลล่าสุดชี้ให้เห็นถึงสัญญาณเริ่มต้นของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากการฟื้นตัวสะดุดด้วยการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19
    การส่งออกจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นถึงแรงส่งเชิงบวก การฟื้นตัวของอุปสงค์จากภายนอกจะช่วยลดผลกระทบของโควิด-19 ต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เมื่อแยกออกเป็นรายภาค การส่งออกและอัตราการใช้กำลังการผลิตในหลายกลุ่มฟื้นตัวสูงกว่าระดับก่อนการระบาด การท่องเที่ยวในประเทศจะฟื้นตัวตามมาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบในเดือนมกราคมหลังจากที่เกิดการระบาดรอบสองในประเทศ กิจกรรมการท่องเที่ยวขาเข้าอาจมีการปรับตัวดีขึ้นมากในไตรมาส 4 ด้วยการผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทางและข้อกำหนดในการกักกันตัว การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณฟื้นตัวหลังจากชะลอตัวจากการระบาดรอบสองเมื่อต้นปีนี้

  • เงินออมส่วนเกินบ่งชี้ว่าการใช้จ่ายในประเทศจะเพิ่มขึ้นหลังการระบาดสิ้นสุดลง
    เงินออมส่วนเกินที่มีจำนวนมาก จากการเพิ่มขึ้นตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้วเป็น 926 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2563 ซึ่งคิดเป็นเกือบ 6% ของ GDP สะท้อนว่าจะมีการใช้จ่ายอย่างมากหลังจากการระบาดนสุดลง เงินออมส่วนเกินของบุคคลทั่วไปที่เพิ่มขึ้นเป็น 647 พันล้านบาท (หรือ 4% ของ GDP) และเงินออมธุรกิจที่เพิ่มขึ้นเป็น 167 พันล้านบาท (1% ของ GDP) จะสนับสนุนการเติบโตของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไป

  • อัตราการหมุนของเงินที่อยู่ในระดับต่ำบ่งชี้ว่า จะยังคงมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และสัญญานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก
    แม้มีความกังวลเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นและเงินเฟ้อท่ามกลางปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีสัญญานที่นโยบายการเงินจะเป็นแบบตึงตัวเพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และอัตราการหมุนของเงินยังอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับระดับต่ำสุด วิจัยกรุงศรีคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตลอดทั้งปี ขณะเดียวกัน กนง.คงไม่ลดอัตราดอกเบี้ยเพราะมีสัญญานเศรษฐกิจฟื้นตัวท่ามกลางการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

    ภาคการส่งออกจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ข้อมูลล่าสุดแสดงการขยายตัวต่อเนื่อง
    การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ในอัตรา 0.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน(YoY) ในเดือนมกราคม (เทียบกับ + 4.7% ในเดือนธันวาคม) หากไม่รวมทองคำการส่งออกขยายตัว 6.3% YoY (เทียบกับ + 5.0%) ซึ่งสะท้อนถึงการขยายที่ต่อเนื่อง การส่งสินค้าส่งออกที่สำคัญเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่ฟื้นตัวจากประเทศคู่ค้า เมื่อแยกออกตามจุดหมายปลายทาง การส่งออกไปยังสหรัฐฯขยายตัวเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันและการส่งออกไปยังตลาดหลักอื่นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่นและจีนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

    สำหรับปัจจัยสนับสนุนการส่งออก ได้แก่ ความกังวลต่อการแพร่ระบาดได้ผ่อนคลายลงและโครงการฉีดวัคซีนกำลังมีความคืบหน้า ซึ่งจะทำให้คนส่วนใหญ่ของโลกออกจากการล็อกดาวน์ในอนาคตอันใกล้นี้ และจะช่วยส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกดีขึ้น การค้าทั่วโลกกำลังได้รับแรงส่งจากการฟื้นตัวตามวัฏจักร ข้อมูล PMI ภาคการผลิตของเดือนกุมภาพันธ์ของประเทศหลักยังคงอยู่ในช่วงการขยายตัว (มากกว่า 50 จุด) เศรษฐกิจไทยจะได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่กว้างขึ้น และการรวมตัวเป็นภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะผลักดันผู้ส่งออกในระยะต่อไป

    อุปสงค์จากต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นช่วยรองรับผลกระทบเชิงลบของโควิดต่อการผลิตในประเทศ
    ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลง 2.8% YoY ในเดือนมกราคมใกล้เคียงกับเดือนธันวาคม เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงในภาคต่อไปนี้ (1) น้ำมันเครื่องบินเนื่องจากการเดินทางทางอากาศยังคงซบเซา (2) อาหารและเครื่องดื่ม เป็นผลจากการสั่งห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารระหว่างการล็อกดาวน์ (3) ยานยนต์อันเป็นผลมาจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ อย่างไรก็ตามการผลิตสินค้าที่มีผลต่อนโยบายการทำงานจากที่บ้าน (work-from-home) เนื่องจากความต้องการจากภายนอกที่เพิ่มขึ้นเช่น HDD, IC และเซมิคอนดักเตอร์

    การใช้กำลังการผลิตลดลงเหลือ 64.2% ในเดือนมกราคมจาก 65.0% ในเดือนธันวาคม แต่ใกล้เคียงกับระดับก่อนการระบาด

    แยกตามรายภาค การส่งออกและการใช้กำลังการผลิตในหลายกลุ่มกำลังฟื้นตัวไปที่ระดับก่อนการระบาด
    ในเดือนมกราคมการส่งออกในหลายภาคส่วนขยายตัวเร็วกว่าระดับก่อนการระบาด (ในไตรมาส 1/2563) นำโดยผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการทำงานจากที่บ้านและรองรับการแพร่ระบาด สินค้าส่งออก 13 จาก 20 อันดับแรก มีการเติบโตที่แข็งแกร่งกว่าในไตรมาส 1/2563 นำโดยผลไม้ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง รถยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง อุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจร การส่งออกที่แข็งแกร่งขึ้นส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการผลิตในประเทศ อัตราการใช้กำลังการผลิตในหลายภาคส่วนเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับก่อนโควิด แม้อุปสงค์ในประเทศยังคงอ่อนแอและได้รับผลกระทบจากการระบาดรอบสองในช่วงต้นปีนี้

    การท่องเที่ยวในประเทศจะฟื้นตัวขึ้นด้วยการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ แม้ได้รับผลกระทบจากการระบาดรอบสองในเดือนมกราคม

    นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 99.8% YoY เป็น 7,649 คนในเดือนมกราคมใกล้เคียงกับ 6,556 ในเดือนธันวาคม ส่วนการเดินทางเข้าภายใต้โครงการ Special Tourist Visa (STV), Thailand Privilege Card และวีซ่าธุรกิจส่วนใหญ่มาจากยุโรปโดยเฉพาะฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์และเดนมาร์ก

    การท่องเที่ยวในประเทศหดตัวลง 65.9% YoY เป็น 6.79 ล้านเที่ยวในเดือนมกราคม (เทียบกับ -31.9% หรือ 15.2 ล้านเที่ยวในเดือนธันวาคม) เป็นผลจาการระบาดรอบสองซึ่งเริ่มในเดือนธันวาคม ทำให้รัฐบาลสั่งห้ามการเดินทางระหว่างจังหวัด รายรับจากการท่องเที่ยวก็ลดลง 75.3% เป็น 23.2 ล้านบาท (เทียบกับ -46.4% หรือ 54.4 พันล้านบาท)

    การหดตัวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทย ทำให้อัตราการเข้าพักในประเทศลดลงเหลือ 10.9% ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563

    มองไปข้างหน้าคาดว่าการท่องเที่ยวในประเทศจะฟื้นตัว เพราะความกังวลต่อการแพร่ระบาดผ่อนคลายลง รวมทั้งการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ โครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ

    การท่องเที่ยวขาเข้าฟื้นตัวอย่างมากในไตรมาส 4 การผ่อนคลายข้อจำกัดโควิด-19 จะช่วยฟื้นฟูกิจกรรม
    โครงการฉีดวัคซีนและความกังวลต่อโควิด-19 ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ที่ผ่อนคลายลง จะเปิดทางให้รัฐบาลผ่อนปรนข้อจำกัดการเดินทางขาเข้า ซึ่งจะดำเนินการใน 3 ขั้นตอน โดยข้อเสนอหนึ่งคือ ลดระยะเวลากักกันตัวสำหรับผู้เดินทางขาเข้า ข้อกำหนดการกักกันใหม่ของกรมควบคุมโรคกำหนดไว้เบื้องต้นจะเริ่มในวันที่ 1 เมษายนและกักกันเป็นเวลา 7-10 วัน รวมทั้งพิจารณาเป็นรายกรณี ข้อเสนอดังกล่าวรอการอนุมัติอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 มีนาคม แต่ที่สำคัญที่สุดคือข้อเสนอที่จะเปิดพรมแดนให้กับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมซึ่งจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวขาเข้า วิจัยกรุงศรียังคงคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจำนวน 3.2 ล้านใน ไตรมาส 4 ปี 2021

    การใช้จ่ายในประเทศมีสัญญาณฟื้นตัวหลังจากชะลอตัวลงในช่วงต้นปีนี้จากการระบาดรอบสอง
    ดัชนีความเชื่อมั่นเดือนกุมภาพันธ์แสดงสัญญาณเชิงบวก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) พลิกกลับมาในเดือนกุมภาพันธ์และเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ดีขึ้น การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และมาตรการของรัฐบาลที่จะสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศในระยะต่อไป

    ในเดือนมกราคมดัชนีการบริโภคภาคเอกชนลดลง 4.9% YoY (เทียบกับ + 2.9% ในเดือนธันวาคม) หมวดการใช้จ่ายทั้งหมดลดลงจากการระบาดรอบสองของโควิด-19 การล็อกดาวน์บางส่วน การระงับกิจกรรมบางประเภท และการห้ามเดินทางข้ามจังหวัด

    การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวช้าลง 1.6% (เทียบกับ + 6.1%) ตามการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ชะลอตัว และการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างที่หดตัว อย่างไรก็ตามการส่งออกที่เติบโตช่วยไม่ให้การลงทุนลดลงมาก

    เงินออมส่วนเกินบ่งชี้ว่าการใช้จ่ายในประเทศจะขยายตัวเมื่อการระบาดใหญ่สิ้นสุดลง
    เงินออมส่วนเกิน (หมายถึงความแตกต่างระหว่างเงินออมจริงกับแนวโน้ม) เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มมีการระบาดเป็น 926 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2563 ซึ่งคิดเป็นเกือบ 6% ของ GDP ไทย ซึ่งหมายถึงความสามารถสูงที่จะใช้จ่ายหลังจากการระบาดของโรคสิ้นสุดลง เงินออมส่วนเกินของบุคคลทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็น 647 พันล้านบาท (หรือ 4% ของ GDP) และเงินออมส่วนเกินธุรกิจเพิ่มขึ้นเป็น 167 พันล้านบาท (ราว 1% ของ GDP) สิ่งเหล่านี้จะสนับสนุนการเติบโตของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไป

    อัตราเงินเฟ้ออ่อนตัวชั่วคราวลงไปติดลบในเดือนกุมภาพันธ์คาดว่าจะกลับมาเป็นบวกในไตรมาส 2 ปี 2021
    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนที่ -1.17% YoY จาก -0.34% ในเดือนมกราคมซึ่งติดลบเป็นเดือนที่ 12 ส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากมาตรการลดค่าน้ำและค่าไฟฟ้าในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมของรัฐบาล รวมทั้งราคาอาหารดิบที่ลดลง (-1.38%) ดัชนีราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับการผลิตและความต้องการของผู้บริโภค ยกเว้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือนตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น

    อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารดิบและพลังงานที่ผันผวน) อยู่ที่ 0.04% ในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงจาก 0.21% ในเดือนมกราคม สำหรับในรอบ 2 เดือนแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ -0.75% และ 0.12% ตามลำดับ วิจัยกรุงศรีคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับสู่แดนบวกในไตรมาส 2 ปีนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้น มีการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ และการเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีน นอกจากนี้มาตรการของรัฐบาลในการสนับสนุนกำลังซื้อ จะกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศซึ่งจะส่งผลให้
    ราคาผู้บริโภคปรับตัวขึ้นอย่างช้าๆ

    แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้นและมีความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ แต่กนง. จะยังคงรักษานโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเนื่องจากอัตราการหมุนของเงินอยู่ในระดับต่ำ

    แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ (สูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2019) และความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้นท่ามกลางปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่มีสัญญาณว่านโยบายการเงินจะเข้มงวดขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่ในช่วงเริ่มต้นและอัตราการหมุนของเงินซึ่งชี้วัดวามถี่ของการทำธุรกรรมยังคงอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ (ที่ 0.68 เทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 0.80)

    วิจัยกรุงศรีคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตลอดทั้งปีนี้ ขณะเดียวกันกนง. ไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจท่ามกลางการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ต่อเนื่อง

    ในการประชุมครั้งล่าสุดกนง. ระบุว่า การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการที่เจาะจงไปที่กลุ่มเป้าหมาย ภาครัฐกำลังดำเนินการช่วยเหลือใหม่ภายใต้โครงการ “โกดังเก็บหนี้” ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในไตรมาส 2 ปีนี้ โดยมีเป้าหมายไปที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก รวมถึงโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐ(SFIs) จึงมีนัยะว่าไม่จำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยอีก