ThaiPublica > ประเด็นร้อน > COVID-19 พลิกโลก > หน้ากากกันโควิดแต่ไม่กันใยพลาสติก

หน้ากากกันโควิดแต่ไม่กันใยพลาสติก

4 มกราคม 2021


ที่มาภาพ: https://www.scmp.com/news/china/science/article/3116133/covid-19-masks-cause-plastic-fibre-inhalation-we-should-still

การสวมใส่หน้ากากกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันไปแล้ว ในช่วงการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่หรือ โควิด-19 แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ เราก็สูดเอาใยพลาสติกที่มีอันตรายเข้าสู่ร่างกายจากรายงานผลการศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์จีน

นักวิจัยได้ทดสอบหน้ากากหลายชนิดและพบว่า เกือบจะทุกประเภทที่ทำให้การรับปริมาณไมโครพลาสติกไฟเบอร์ หรือใยพลาสติกขนาดเล็กของร่างกายในแต่ละวันเพิ่มขึ้น เป็นผลจากโครงสร้างที่เปราะบาง แตกยับได้ง่าย

นักวิจัยระบุว่า แม้ใยพลาสติกมีผลต่อสุขภาพในบางด้าน แต่ก็มีประโยชน์มากกว่า ในช่วงการระบาดใหญ่และไม่ควรให้ประชาชนเลิกสวมใส่หน้ากาก

“ใยพลาสติกเป็นปัญหาย่อยเมื่อเทียบกับการปกป้องผู้คนจากโควิด-19” คณะวิจัยจากสถาบันชลชีววิทยา(Institute of Hydrobiology) ในเมืองอู่ฮั่น ระบุไว้ในรายงานวิชาการที่ผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ(peer-reviewed paper )ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Hazardous Materials

นักวิทยาศาสตร์ พบไมโครพลาสติกในเนื้อเยื่อปอดของคนไข้ที่เสียชีวิตจากมะเร็งปอด เป็นครั้งแรกในทศวรรษ1990s และผลการศึกษาอีกหลายชิ้นตั้งแต่นั้นชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของไมโครพลาสติกที่มีต่อสุขภาพ

พลาสติกย่อยสลายได้ช้า ดังนั้นเมื่อเข้าในสู่ปอดแล้วก็จะคงอยู่และเพิ่มปริมาณขึ้น งานศึกษาบางชิ้นพบว่าระบบภูมิคุ้มกันสามารถจัดการกับสิ่งแปลกปลอมนี้ได้ แต่ก็เกิดการอักเสบและนำไปสู่การเป็นมะเร็ง

ที่มาภาพ:https://www.scmp.com/news/china/science/article/3116133/covid-19-masks-cause-plastic-fibre-inhalation-we-should-still

หน้ากากช่วยป้องกันจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา เพราะมีเส้นใยเป็นส่วนประกอบ และใช้กันโดยทั่วไป เช่น หน้ากากที่ใช้สำหรับห้องผ่าตัด ที่มีผ้าเมลต์โบลน(melt-blown textiles)ที่ทำจากเม็ดพลาสติกถึง 3 ชั้น

บางคนอาจจะใช้หน้ากากผ้า หรือหน้ากากแฟชั่น ที่ทำจากโพลีเมอร์ ที่ปกป้องได้น้อย แต่สวมใส่สบายกว่าเมื่อต้องใส่ตลอดทั้งวัน

นักวิจัย จาก Institute of Hydrobiology แห่งอู่ฮั่น ได้ทำการนับจำนวนเส้นใยพลาสติกที่หลุดออกจากหน้ากากเป็นเวลากว่า 1 เดือน และใช้เครื่องมือในห้องทดลองจำลองการหายใจของคน ก็พบว่าหน้ากากที่เสริมแผ่น Activated Carbon มีใยพลาสติกออกมามากที่สุดราว 4,000

นอกจากนี้ยังได้ทดสอบหน้ากากที่ใช้สำหรับห้องผ่าตัด หน้ากากผ้า หน้ากากแฟชั่น และหน้ากาก N95 ที่ไม่ระบุยี่ห้อในรายงานวิจัย พบว่า ใยพลาสติกบางอันมีความยาวหลายมิลลิเมตร และใหญ่กว่าอนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศ

ที่มาภาพ: https://www.scmp.com/news/china/science/article/3116133/covid-19-masks-cause-plastic-fibre-inhalation-we-should-still

รายงานการศึกษาบางชิ้น พบว่า ปัจจุบันในสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของคนมีไมโครพลาสติกเต็มไปหมด ราว 1 ใน 3 ของอนุภาคในชั้นบรรยากาศเป็นพลาสติก และมาจากแหล่งใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่ไปจนถึงฟาร์มที่ใช้พลาสติกกันน้ำ(plastic membrane)

รายงานวิจัยของจีนล่าสุดยังระบุว่า หน้ากากสามารถกันมลพิษทางอากาศได้แตกต่างกัน ยกเว้นหน้ากาก N95 แต่ทุกประเภทมีใยพลาสติกมากกว่าที่จะกรองได้

ผลการทดสอบ หน้ากาก N95 พบว่า เป็นหน้ากากประเภทเดียวที่มีไมโครพลาสติกหลุดออกมากน้อยกว่าหน้ากากสำหรับห้องผ่าตัดราวครึ่งหนึ่ง หน้ากาก N95 ออกแบบมาเพื่อกรองอนุภาคในอากาศได้ถึง 95% และมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมนั้น จึงผลิตด้วยมาตรฐานที่สูงขึ้นและมีโครงสร้างที่แข็งกว่า

แต่การสวมใส่หน้ากาก N95 เป็นเวลานานอาจจะทำให้อ่อนเพลียได้จากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และมีการเตือนกันมาแล้ว ในหลายประเทศจำกัดให้ใช้หน้ากาก N95 สำหรับบุคคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ในแนวหน้าเท่านั้น

ผลการศึกษาของสถาบัน ยังพบว่า หน้ากากที่ใช้ซ้ำ ยิ่งมีใยพลาสติกที่ยุบตัวมากขึ้น และมีผลกระทบต่อโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า การทำความสะอาดด้วยการใช้แสงอาทิตย์มีให้ใยพลาสติกยุบตัวน้อยที่สุด ขณะที่การซักด้วยสบู่มีผลบ้างแต่ไม่มากนัก

ผลข้างเคียงต่อสุขภาพจากเส้นใยที่แตกตัวยังไม่ชัดเจน แม้มีการเตือนผู้คนถึงความเสี่ยงที่จะสูดใยพลาสติกเข้าไป แต่ก็ต้องสวมใส่หน้ากากต่อไป

หน้ากากที่ใช้แล้วยังเพิ่มปริมาณขยะและผลการศึกษาหลายชิ้นเตือนถึงผลกระทบต่อมลพิษทางน้ำ และมีผลต่อการบริโภคพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์