
นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่า เมืองเวนิสของอิตาลีจะจมน้ำอย่างสิ้นเชิงในปลายศตวรรษหน้า อันเนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เมิองเวนิส ซึ่งเป็นมืองมรดกโลกสำคัญ และสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก ในอิตาลีเกิดน้ำท่วมกระทันหันและรุนแรง โดยพื้นที่ราว 85% ของเมืองมีระดับน้ำสูง หลังจากที่วันอังคาร( 12 พฤศจิกายน) ระดับน้ำสูงถึง 187 เซนติเมตรหรือ 74 นิ้ว ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1966 ซึ่งเป็นปีที่น้ำสูงขึ้นทำสถิติ
น้ำท่วมเวนิสครั้งนี้ร้ายแรงสุดในรอบ 50 ปี และเป็นการท่วมหนักครั้งที่สองนับตั้งแต่มีการบันทึกเหตุการณ์ แม้ชาวเวนิสจะคุ้นชินระดับน้ำในคลองที่มักจะสูงขึ้นในช่วงนี้ของทุกปี
เวนิสตั้งอยู่ในพื้นที่ทะเลสาปที่มีน้ำขึ้นน้ำลงและอยู่ในระดับเดียวกับระดับน้ำทะเล ดังนั้นเมื่อน้ำขึ้น พื้นที่เมืองและถนนก็จะถูกน้ำท่วม ในสัปดาห์นี้ ระดับน้ำสูงสุดเหนือกว่าระดับน้ำขึ้นปกติถึงมากกว่า 6 ฟุต จนมีผู้เสียชีวิต 1 ราย(เมืองเวนิสสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กเกาะน้อย จำนวน 118 เกาะ เข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ทะเลเอเดรียติกทางภาคเหนือของ ประเทศอิตาลี)
ระดับน้ำที่สูงของปีนี้ท่วมพื้นที่ 85% ของเมือง ซึ่งชาวเมืองเวนิสต่างบอกกันว่า น้ำท่วมปีนี้ผิดปกติ ระดับน้ำสูงถึงระดับหน้าอก ร้านค้าและโรงแรมเสียหายอย่างมาก จตุรัส เซนต์มาร์ก แลนด์มาร์กสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาร่วม 300 ปี ก็จมน้ำ
ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่รัฐระบุว่า สาเหตุที่เวนิสประสบกับน้ำท่วมหนักมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
นายลุยจิ บรูญาโร นายกเทศมนตรีเมืองเวนิสทวีตข้อความว่า “นี่เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
โบสถ์เซนต์มาร์ก ที่ก่อสร้างมาร่วม 1,000 ปี ถูกน้ำท่วม 6 ครั้งในประวัติศาสตร์ และถูกน้ำท่วม 2 ครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ในปี 2003 เวนิสได้สร้างกำแพงกั้นน้ำ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าแม้จะสร้างต่อให้เสร็จ แต่ไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาได้ เพราะระดับน้ำทะเลด้านนอกสูงกว่า
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยประกอบด้วย นายริคคาร์โด เมล จากมหาวิทยาลัยคาลาเบรีย นายลูก้า คาร์เนียลโลก และนายลุยจิ ดิอัลปาออส จากมหาวิทยาลัยปาดัว ระบุว่า ระดับน้ำที่ขึ้นสูง หรือ acqua alta ในภาษาอิตาเลียน ที่เวนิสจะเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น เพราะระดับน้ำทะเลในโลกสูงขึ้น
การที่เกิดน้ำท่วมเวนิสในวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นเพราะภาวะ acqua alta ซึ่งเป็นครั้งที่สองที่ระดับน้ำสูงขึ้นมากจนมีผลรุนแรง คลื่นสูงได้โถมเข้ามาในอ่าว สร้างความเสียหายให้กับเรือและสิ่งก่อสร้างในเมืองอย่างมาก
โรงแรมร้านอาหาร ร้านค้าและอาคารต่างๆถูกน้ำท่วม เพราะกำแพงกั้นที่หน้าประตูไม่สามารถกั้นระดับน้ำที่สูงได้ นอกจากนี้ยังผลต่อระบบกระแสไฟฟ้า โทรศัพท์ให้หยุดชะงักในบางพื้นที่และบางเกาะในอ่าว โดยเฉพาะโบสถ์เซนต์มาร์กที่ถูกน้ำท่วมมาแล้ว 6 ครั้งในรอบ 1,200 ปี ได้รับความเสียหายระดับที่แก้ไขไม่ได้
เวนิสเจอน้ำท่วมบ่อยขึ้นและแนวโน้มนี้ยังต่อเนื่อง มีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้น 4 ครั้ง สร้างความเสียหายให้กับมหาวิหารนี้ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ภาวะคลื่นพายุซัดฝั่งหรือ สตอร์มเซิร์จ ในทะเลสาป เกิดถี่ขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพจากภูมิอากาศ ข้อมูลจากมาตรวัดระดับน้ำขึ้นลง ที่จุดชมวิว Punta della Salute ซึ่งเปรียบเสมือนสถานีตรวจวัดระดับน้ำและใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 6 มิลลิเมตรต่อปีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
“แนวโน้มนี้คาดว่ายังเกิดขึ้นต่อเนื่องในศตวรรษนี้ และจะมีผลให้น้ำท่วมถี่ขึ้นในเวนิส นอกจากนี้ จากการศึกษาที่ทำขึ้นเมื่อเร็วๆนี้บ่งชี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดพายุ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงบริเวณชายฝั่ง”
การประมาณการณ์ล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 61-110 เซนติเมตรหรือ 2-3.6 ฟุต ภายในปี 2100 ภายใต้สถานการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ RCP 8.5 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อเนื่องตลอดศตวรรษที่ 21 อีกทั้งตัวเลขนี้อาจจะประเมินต่ำไป หากน้ำแข็งในแถบแอนตาร์ติกละลายเร็วกว่าที่คาด หรือมีปัจจัยเข้ามา
นักวิจัยยังระบุว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเป็นปัญหาของเมืองเวนิส เพราะระดับน้ำท่วมต่ำสุดที่ผ่านมาอยู่ที่ 60 เซนติเมตรในเขตพื้นที่ต่ำสุดเมือง ขณะเดียวกันระดับน้ำที่สูงถึง 80 เซนติเมตรจะมีผลให้น้ำท่วมบริเวณมหาวิหารเซนต์มาร์กและถนนสายย่อย
ภายในปี 2000 คณะกรรมการ IPCC ประเมินว่าระดับน้ำทะเลโลกจะสูงขึ้นราว 2-5 เมตรหรือ 6.5-16.4 ฟุต ซึ่งจะมีผลให้เวนิสจมน้ำอย่างถาวร หากไม่มีการดำเนินการใดเพื่อป้องกัน (แม้ระดับน้ำทะเลจะไม่เพิ่มขึ้นเท่ากันทั่วโลก และการเปลี่ยนแปลงในทะเลเอเดรียติก ซึ่งแยกออกไปทางตอนเหนือของทะเลเมดิเตอรเรเนียน ซึ่งเป็นที่ตั้งของทะเลสาปเวนิเทียอาจจะแตกต่างจากการประมาณการณ์ของทั้งโลกเล็กน้อย)
นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นว่า น้ำท่วมเมืองเวนิสมาจากปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงระดับน้ำที่ขึ้นลงตามอิทธิพล ของแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์อื่นเป็นหลัก ผลของแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ ทำให้เกิดความดันบรรยากาศสูงหรือต่ำผิดปกติและลมที่รุนแรงและนาน ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดน้ำท่วม แต่ขณะที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ถี่กว่าเดิม และเป็นภัยคุกคามเมืองที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว
แม้จะเป็นเมืองมรดกโลกแต่ปัจจุบันยังไม่มีระบบปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วม เพื่อป้องกันเมือง มีการก่อสร้างกำแพงใต้ทะเลแบบเคลื่อนที่ได้เพื่อกั้นน้ำทะเล(ในชื่อ Mo.S.E.system)เริ่มตั้งแต่ปี 2003 เพื่อป้องกันทะเลสาปเวนิเทียจากน้ำท่วม อย่างไรก็ตามก็ไม่น่าจะเสร็จสมบูรณ์จนกระทั่งปี 2022 และโครงการนี้มีความล่าช้า งบบานปลายและมีการทุจริต

https://www.bbc.com/news/world-europe-50430855
“ระบบ Mo.S.E.มีแท่นแบริเออร์ 4 แท่นแยกติดตั้งที่ช่องทางเชื่อมต่อระหว่างทะเลสาปกับทะเล 3 จุด แต่แท่นแบริเออร์จะมี 20 ประตู เมื่อสร้างเสร็จคาดว่าจะช่วยปิดช่องทางเชื่อมนี้ในช่วงที่เกิดคลื่นสูงซัดชายฝั่ง”
ปัจจุบันไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการปิดช่องทางเชื่อมนี้ในช่วงที่ยังเกิดคลื่นสูงซัดชายฝั่ง ดังนั้นการก่อสร้างระบบ Mo.S.E. ให้เสร็จจึงเป็นหนทางเดียวที่จะป้องกันเวนิส และที่ตั้งเมืองอื่นๆในทะเลสาป
อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์มองว่า แม้ระบบ M.o.S.E.จะสร้างเสร็จและเปิดใช้งาน แต่ก็ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองเวนิส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเข้ามามีผลมากขึ้น
คำถามสำคัญคือแท่นแบริเออร์นี้จะป้องกันเมืองได้นานแค่ไหน เพราะแรงลม (ลมที่ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นจากสภาวะน้ำนิ่ง)ในทะเลสาปเวนิเทียสูงขึ้นอย่างมาก เมื่อปิดประตูน้ำในช่องทางเชื่อม
ปรากฎการณ์นี้จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการกำหนดทำงานของแท่นแบริเออร์ ในระบบ Mo.S.E. barriers ตามเป้าหมายที่จะป้องกันน้ำท่วมในทุกเขตเมืองที่ตั้งอยู่ภายในทะเลสาป
ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าโครงการนี้ซี่งริเริ่มมาตั้งแต่ปี 1984 จะไม่สามารถรับมือกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นตามประมาณการณ์ของคณะกรรมการ IPCC นอกจากนี้รายงานของยูเนสโกที่จัดทำขึ้นก่อนรายงานของ IPCC ยังเตือนว่าระบบ M.o.S.E.ออกแบบมาให้รองรับกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเพียง 22 เซนติเมตรภายในปี 2100
รายงานยูเนสโกระบุว่า จากการประมาณการณ์ระดับน้ำทะเลในรายงานฉบับนี้ จึงคาดว่าระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นถึงในระดับที่ทะเลสาปและเมืองประวัติศาสตร์แห่งนี้จะไม่ยั่งยืน แผนการก่อสร้างระบบกั้นน้ำอาจจะช่วยเลี่ยงภาวะน้ำท่วมในอีกไม่กี่ทศวรรษ แต่ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นไปที่ระดับที่แม้จะมีการกั้นน้ำทั้งหมดก็ไม่สามารถป้องกันเมืองจากน้ำท่วมได้ คำถามจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าจะเกิดหรือไม่ แต่อยู่ที่จะเกิดขึ้นเมื่อไร
ในงานวิจัย ของนักวิจัย 3 ราย(นายริคคาร์โด เมล จากมหาวิทยาลัยคาลาเบรีย นายลูก้า คาร์เนียลโลก และนายลุยจิ ดิอัลปาออส จากมหาวิทยาลัยปาดัว) พบว่า แท่นแบริเออร์ Mo.S.E. ควรมีการปิด 6 ครั้งต่อปี และครั้งละ 3 ชั่วโมง แต่จากการที่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 30 เซนติเมตร การปิดแท่นแบริเออร์ควรมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 50 เซนติเมตรก็ควรที่จะปิดวันละ 1 ครั้ง หรือรวมแล้ว 1 ใน 4 ของระยะเวลาทั้งปี
“การปิดที่ยาวขึ้นและปิดหลายครั้งไม่เพียงแต่มีผลต่อต้นทุนการบำรุงรักษา แต่มีผลต่อคุณภาพของน้ำในทะเลสาปและอุตสาหกรรมท่าเรือด้วย ในความเห็นของเรา การทำให้ระบบ Mo.S.E. ใช้งานได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเริ่มศึกษาทันทีเพื่อหาแนวทางอื่นในการป้องกัน เสริมจากการใช้ระบบ Mo.S.E. ก่อนที่ไม่มีประสิทธิภาพ”