ThaiPublica > เกาะกระแส > ILO สำรวจ แรงงานอาเซียนชั่วโมงทำงานนานที่สุด เมียนมานำโด่ง 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ILO สำรวจ แรงงานอาเซียนชั่วโมงทำงานนานที่สุด เมียนมานำโด่ง 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

9 ตุลาคม 2019


ที่มาภาพ: https://theaseanpost.com/article/long-work-hours-making-asean-less-productive

รายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization-ILO) ที่เปิดเผยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่า 9 ประเทศในเอเชีย ติด 10 อันดับแรกของประเทศที่แรงงานมีชั่วโมงทำงานนานที่สุด

ประเทศที่แรงงานมีชั่วโมงทำงานเฉลี่ยนานที่สุดในโลกคือ กาตาร์ โดยต้องทำงานถึง 49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขณะที่อีก 9 ประเทศที่เหลือทำงานเฉลี่ย 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3 ประเทศในอาเซียนที่แรงงานมีชั่วโมงทำงานมากที่สุดและติด 3 ใน 10 อันดับแรกของประเทศที่แรงงานมีชั่วโมงทำงานนานที่สุด ได้แก่ เมียนมา ทำงาน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บรูไน 47 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมาเลเซีย 46 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนไทยและสิงคโปร์ ติดอยู่ใน 20 อันดับแรก โดยทำงานนานถึงเฉลี่ย 43 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

สำหรับประเทศอื่นที่ติดอยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศที่แรงงานมีชั่วโมงทำงานนานที่สุด ได้แก่ มองโกเลียซึ่งชั่วโมงทำงานของแรงงานเท่ากับเมียนมาคือ 48 ชั่วโมงทำงาน ปากีสถานมีชั่งทำงานเท่ากับบรูไน เช่นเดียวกับบังคลาเทศ ส่วนจีนและเม็กซิโกชั่วโมงทำงานของแรงงานเฉลี่ย 46 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

แต่การทำงานนานไม่ได้หมายความจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเสมอไป ในทางกลับกันเมื่อทำงานนานชั่วโมงขึ้น ประสิทธิผลลดลง โดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พบว่า เมื่อแรงงานพบว่า แรงงานที่ทำงานเกินกว่า 40-50 ชั่วโมงในหนึ่งสัปดาห์ จะผลิตงานได้ต่ำกว่าการทำงานนานไม่เกิน 40-50 ชั่วโมงในหนึ่งสัปดาห์

ข้อมูลในศตวรรษที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการทำงานในจำนวนชั่วโมงที่นาน มีผลต่อประสิทธิผลและคุณภาพชีวิต โดยโรงงานผลิตเลนส์ถ่ายรูปคาร์ลส์ไซสส์ในเยอรมนีช่วงกว่าศตวรรษที่่ผ่าน ได้ลดชั่วโมงทำงานของแรงงานลงจาก 9 เป็น 8 ชั่วโมงต่อวันทำให้สามารถผลิตได้ากขึ้น

เช่นเดียวกับการทดลองที่โรงงานรถยนต์ฟอร์ดปี 1920 เมื่อเฮนรี่ ฟอร์ด ได้นำรูปแบบการทำงานหลากหลายมาใช้กับแรงงาน หลังจากที่ใช้วิธีการทำงานแลล 5 วันต่อสัปดาห์ หรือ 40 ชั่วโมงในปี 1926 พบว่าแรงงานสามารถผลิตรถได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการทำงาน 6 วันในหนึ่งสัปดาห์

ทางด้านคุณภาพชีวิตนั้น ประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ(Organisation for Economic Cooperation and Development-OECD) อยู่ในอันดับต่ำๆ โดยเนเธอร์แลนด์ติดอันดับหนึ่งของโลกที่แรงงานมีชั่วโมงการทำงานสั้นที่สุด 32 ชั่วโมง ส่วนประเทศอื่นในกลุ่ม OECD ทั้งออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์มีชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ 33 ชั่วโมง เดนมาร์กกับนอร์เวย์แรงงานมีชั่วโมงการทำงาน 34 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

แม้มีชั่วโมงทำงานที่สั้นกว่ากลุ่มแรงงานในประเทศอาเซียน แต่รายได้ประชาชาติหรือ จีดีพีโดยเฉลี่ยสูงกว่าประเทศสมาชิกอาเซียน ยกเว้นสิงคโปร์และบรูไน ที่มีกระบวนการทำงานทีก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากกว่า

กลุ่มประเทศ OECD ตระหนักว่าชั่วโมงการทำงานที่นานขึ้นมีผลลดเวลาการพักผ่อนและการดูแลตัวเองของแรงงาน ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเป็นอยู่

กิจกรรมสันทนาการ การพักผ่อน เช่น การเข้าสังคม การดูโทรทัศน์ รวมทั้งกิจกรรมส่วนตัว เช่น การนอนหลักพักผ่อน การกิน มีผลต่อความสุขทางใจมากกว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทั้งไม่ได้จ่ายเงินและงานที่ได้เงิน เป็นข้อมูลจากรายงาน How’s Life?: Measuring well-beingปี 2011 ของ OECD mu

นอกจากนี้การที่มีเวลาในการพักผ่อน การผ่อนคลายจากการทำงานมีความสำคัญต่อการรักษาสุขอนามัยสุขภาพ รวมทั้งประสิทธิผลและการลดความกดดัน

การเดินทางไปกลับที่ทำงานก็มีความสำคัญ เพราอาจจะมีผลไปจนถึงการขยายวันทำงานและกินเวลาการพักผ่อนกับการอยู่ร่วมกับครอบครัว การเดินทางไม่เพียงกินเวลาของแต่ละวัน และบังสร้างแรงกดดัน ความเหนื่อยล้าและมีต้นทุน

คำถามก็คือ เทคโนโลยีสามารถช่วงแรงงานอาเซียนที่มีชั่วโมงทำงานนานได้หรือไม่

การปฏิวัตอุตสาหกรรม 4.0 คาดกันว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการทำงาน ทำให้แรงงงานมีเวลามากขึ้น และสามารถที่จะสร้างประสิทธิผลและนวัตกรรมได้

กระบวนการออโตเมชั่นและเทคโนโลยีใหม่ กำลังเข้ามาทีบทบาทแทนแรงงานมากขึ้น ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาแมคเคนซี่ย์ แอนด์โคประเมินว่า แนวโน้มนี้จะสร้างงาน 20-50 ล้านตำแหน่งทั่วโลกภายใน 2030 และในงานด้านวิชาชีพ เช่น วิศวกรรม คอมพิวตอร์ และไอที

งานที่ต้องการความรู้ทักษะในการวิเคราะห์ อาจจะได้ประโยชน์นักจากกระบวนการออโตเมชั่นและจากอินเตอร์เน็ตออฟธิงค์ในภาคอุตสาหกรรม (Industrial Internet of Things -IIoT) แต่โดยทั่วไปเน้นไปที่ประสิทธิภาพ แทนที่จะมุ่งการทำงานชั่วโมงที่นาน ควรต้องมุ่งไปที่ว่าการทำงานแต่ละชั่วโมงนั้นสร้างประสิทธิผล