ThaiPublica > เกาะกระแส > PwC เผยผลสำรวจซีอีโออาเซียน มองเศรษฐกิจกำลังชะลอ-รายได้หด ชี้ “ทักษะบุคลากร” อุปสรรคหลักของการก้าวสู่ดิจิทัล

PwC เผยผลสำรวจซีอีโออาเซียน มองเศรษฐกิจกำลังชะลอ-รายได้หด ชี้ “ทักษะบุคลากร” อุปสรรคหลักของการก้าวสู่ดิจิทัล

22 กุมภาพันธ์ 2019


นายศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร และหุ้นส่วน PwC ประเทศไทย

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 นายศิระ อินทรกําธรชัย ประธานกรรมการบริหาร และหุ้นส่วนบริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงผลสํารวจซีอีโอทั่วโลกครั้งที่ 22 ประจําปี 2562 (PwC’s 22nd Annual Global CEO Suvrey) ที่ใช้ในการประชุมสมัชชาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งสํารวจความคิดเห็นซีอีโอทั่วโลกจํานวน 1,378 รายใน 91 ประเทศ โดยที่กว่าครึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 30,000 ล้านบาท และในจํานวนนี้เป็นซีอีโอจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จํานวน 78 ราย

ทั้งนี้ ผลการสำรวจซีอีโออาเซียนเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะชะลอตัวจากปีก่อนคล้ายคลึงกันกับมุมมองของซีอีโอโลก โดยพบว่าซีอีโออาเซียนถึง 46% เชื่อว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกปีนี้จะลดลงจากปีก่อนเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีเพียง 10% ขณะที่ซีอีโอโลก 28% เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะชะลอตัวเปรียบเทียบจากปีก่อนที่ 5%

โดยพบว่า 5 อันดับปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและรายได้ในสายตาของซีอีโออาเซียนในปี 2562 ได้แก่ ความขัดแย้งทางการค้า (83% เทียบกับโลกที่ 70%) ความไม่แน่นอนทางภูมิศาสตร์การเมือง (81% เทียบกับโลกที่ 75%) ความไม่แน่นอนของนโยบาย (78% เท่ากับโลก) กฎระเบียบข้อบังคับที่มากและเข้มงวดเกินไป (77% เทียบกับโลกที่ 73%) และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก(73% เท่ากับโลก)

“ผลสํารวจในปีนี้สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกกำลังอยูในชวงขาลงโดยซีอีโอมองประเด็นเรื่องของความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ความไม่แน่นอนทางการเมืองในหลายๆประเทศ รวมถึงสภาพแวดล้อมของกฎระเบียบและนโยบายต่างๆที่เข้มงวดหรือมีมากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันการเติบโต โดยในปีนี้สัดส่วนของซีอีโออาเซียนที่มีมุมมองในเชิงลบยังมีมากกว่าซีอีโลกด้วย แตกต่างจากปีก่อนๆ ที่ผู้บริหารในฝั่งเอเชียมักมีความเชื่อมั่นมากกว่าซีอีโอจากฝั่งตะวันตก” นายศิระกล่าว

นายศิระกล่าวต่อว่าสถานการณ์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ส่งผลให้ซีอีโออาเซียนมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินธุรกิจและกลยุทธ์ในการเติบโต โดย 29% มีการปรับกลยุทธ์ในการบริหารห่วงโซ่ อุปทานและจัดหาวัตถุดิบ ได้หันไปส่งออกและหาแหล่งวัตถุดิบจากประเทศอื่นแทน รวมถึงชะลอการใช้จ่ายด้านการลงทุน ออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์และคาดหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถเจรจากันได้ และอีก 17% เลือกที่จะเปลี่ยนกลยุทธ์ไปเติบโต ในตลาดอื่นๆที่มีศักยภาพ เช่น ตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย อย่าง อินโดนีเซียและเวียดนาม

ในส่วนของความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของรายได้ (Revenue growth) ของซีอีโออาเซียนในปีนี้ ผลสํารวจระบุว่าเปอร์เซ็นต์ความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของรายได้ในระยะ 12 เดือนข้างหน้านั้นลดลงจาก 44% ในปีก่อนเหลือ 33% ในปีนี้ ขณะที่ 39% ของซีอีโอ อาเซียนเชื่อมั่นว่ารายได้ในอีก 3 ปี ข้างหน้าจะเติบโตลดลงจากปีก่อนที่ 53%

สําหรับอุปสรรคสําคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อการดําเนินธุรกิจของซีอีโออาเซียน ได้แก่

    1.การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ (82%)
    2.ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (81%)
    3.ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว (72%)

“การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะทางด้านดิจิทัลซึ่งในปัจจุบันกําลังเป็นที่ต้องการของตลาด จะส่งผลให้บริษัทสูญเสียโอกาสหลายๆ อย่าง ทั้งความสามารถทางการแข่งขัน การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ รวมไปถึงการขยายสู่ตลาดใหม่ๆอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของธุรกิจในอาเซียน” นายศิระกล่าว

ผู้นำธุรกิจอาเซียนยังมองด้วยว่า 3 อันดับตลาดน่าลงทุนที่จะช่วยผลักดันให้บริษัทของพวกเขาเติบโตได้ในปีนี้ ได้แก่ จีน (42%) รองลงมาคือ อินโดนีเซีย (24%) และอันดับที่สามคือ สหรัฐอเมริกา (21%) ตามลําดับ

นายศิระกล่าวต่อว่า ผู้นําธุรกิจต่างตระหนักดีว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(Artificial intelligence) หรือเอไอ กําลังเข้ามามีอิทธิพลต่อการดําเนินธุรกิจทั่วโลก โดย 72% ของซีอีโออาเซียนคาดว่าการปฏิวัติของเอไอจะสงผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อโลก มากกว่าการปฏิวัติทางอินเทอร์เน็ตซึ่งเคยเกิดขึ้นในช่วงกลางของยุค 90s และ 87% ยังเห็นด้วยว่าเอไอจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทํา ธุรกิจของตนอย่างมีนัยสําคัญในอีก 5 ปี ข้างหน้า

แต่อย่างไรก็ดีผลสํารวจกลับพบว่าธุรกิจอาเซียนเกือบ 40% ยังไม่มีการนําเอไอเข้ามาใช้งานในปัจจุบัน ขณะที่อีก 32% มีแผนที่จะ นำาเอไอเข้ามาใช้งานในอีก 3 ปี ข้างหน้า 28% มีการใช้งานเอไอในวงจํากัด และมีเพียง 4 % ที่มีการใช้เอไออย่างกว้างขวางและเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานในองค์กร

“เรามองว่า สาเหตุสําคัญที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังคงไมตื่นตัวในการพัฒนาหรือลงทุนเพื่อนําเอไอเข้ามาประยุกต์ใช้ในการทํางาน อย่างจริงจัง แม้ว่าจะตระหนักถึงความสําคัญในจุดนี้น่าจะเป็นเพราะช่องว่างทางทักษะของแรงงาน ที่มีความรู้ไม่เพียงพอในการใช้งานเอไอ” นายศิระกล่าว

ทั้งนี้ช่องว่างทางทักษะ (Skills gap) ถือเป็นอุปสรรคสําคัญในการดําเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล เพราะปัจจุบันหลายธุรกิจประสบ ปัญหาการมีแรงงานที่มีทักษะในการทํางานน้อยกว่าที่คาด หรือมีคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดย 58% ของซีอีโออาเซียนยังมองว่าปัญหานี้เป็นสาเหตุหลักที่ทําให้องค์กรของพวกเขาไม่สามารถใช้งานเอไอได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและสูญเสียโอกาสในการแสวงหาตลาดใหม่ๆ โดยอุปสรรครองลงมาคือทําให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่สูงเกินกว่าที่คาดและมีผลต่อคุณภาพและการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

“ในยุคที่หุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินธรกิจอย่างเช่นทุกวันนี้ ภาครัฐ ผู้นําองค์กร รวมถึงพวกเราทุกคนควรต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเองด้วยการเพิ่มพูนทักษะใหม่และฝึกฝนอบรมทักษะเดิมอย่างสมํ่าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานทักษะทางด้านดิจิทัล การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้เหตุผล ซึ่งผมมองว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกฝ่าย ส่วนตัวยังเชื่อว่าการเข้สมาของเอไอจะเป็นไปในลักษณะของ “เพื่อนร่วมงาน” ที่เข้ามาสนับสนุนการทํางานประเภทที่ต้องทําซํ้าๆ และเปิดโอกาสให้แรงงานคนได้ไปใช้ทักษะในด้านอื่นมากกว่าเข้ามาแย่งงาน แต่นั่นแปลว่าเราก็ต้องรู้จักวิธีที่จะสามารถทํางานร่วมกับเอไอได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย สถาบันการศึกษาเองควรส่งเสริมหลักสูตร STEM อย่างต่อเนื่องซึ่งจะเป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้ เกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ให้แก่บุคลากรที่กําลังจะถูกป้อนออกสู่ตลาดแรงงาน โดยไม่ลืมที่จะปลูกฝังทักษะทางด้านอารมณ์ควบคู่กัน” นายศิระกล่าว